สุดยอด! 3 นวัตกรรมป้องกันโรคโควิด ฝีมือคนไทย “สเปรย์พ่นจมูก - HXP-GPOVac - ChulaCov19” คืบหน้า ย้ำ! ไทยเป็นประเทศที่มีระบบสาธารณสุขเข้มแข็ง
.
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ชื่นชมความสำเร็จของนวัตกรรม “สเปรย์แอนติบอดีพ่นจมูก” ที่มีคุณสมบัติยับยั้งเชื้อโควิด-19 ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของหน่วยงานไทย คือ องค์การเภสัชกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และบริษัทไฮไบโอไซ จำกัด คาดสามารถผลิตออกสู่ตลาดได้ในไตรมาส 3 ของปีนี้
.
นอกจากนี้ วัคซีน HXP-GPOVac ขององค์การเภสัชกรรม ได้ผ่านการทดลองในมนุษย์ทั้งเฟส 1 และเฟส 2 ผลการทดลองพบว่า สามารถป้องกันโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนได้ และอยู่ระหว่างขอขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยมีแผนจะนำวัคซีนดังกล่าว กลับไปทำการทดลองเฟส 2 อีกครั้งในช่วงเดือน ส.ค. 65 เมื่อสำเร็จและได้ผลดี จะดำเนินการทดลองเฟส 3 ต่อไป คาดว่าจะเริ่มฉีดให้ประชาชนได้กลางปี 66
.
ส่วนวัคซีน ChulaCov19 ของศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลทดสอบพบว่า มีประสิทธิภาพสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีเทียบเท่ากับวัคซีนไฟเซอร์และโมเดอร์นา ขณะนี้อยู่ระหว่างการผลิตวัคซีนในโรงงานไทย และรอทดลองในคนระยะ 3 คาดสามารถขึ้นทะเบียนกับ อย. เพื่อใช้ในภาวะฉุกเฉินได้ภายในสิ้นปี
.
ความคืบหน้าของการพัฒนานวัตกรรมดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของคนไทย และรัฐบาลพร้อมส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงในระบบสุขภาพของประเทศ ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 เเม้ขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในช่วงเตรียมการเปลี่ยนไปสู่โรคประจำถิ่น แต่การพัฒนาวัคซีนใช้เองในประเทศยังเป็นสิ่งจำเป็น
#ไทยคู่ฟ้า #ร่วมต้านโควิด19
-------------------
👍Website : www.thaigov.go.th
👍Facebook/Twitter : ไทยคู่ฟ้า
👍YouTube : ไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล
👍LINE/TikTok : ไทยคู่ฟ้า (@thaigov)
@@@ สเปรย์พ่นจมูกยับยั้ง covid 19 @@@@
.
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ชื่นชมความสำเร็จของนวัตกรรม “สเปรย์แอนติบอดีพ่นจมูก” ที่มีคุณสมบัติยับยั้งเชื้อโควิด-19 ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของหน่วยงานไทย คือ องค์การเภสัชกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และบริษัทไฮไบโอไซ จำกัด คาดสามารถผลิตออกสู่ตลาดได้ในไตรมาส 3 ของปีนี้
.
นอกจากนี้ วัคซีน HXP-GPOVac ขององค์การเภสัชกรรม ได้ผ่านการทดลองในมนุษย์ทั้งเฟส 1 และเฟส 2 ผลการทดลองพบว่า สามารถป้องกันโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนได้ และอยู่ระหว่างขอขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยมีแผนจะนำวัคซีนดังกล่าว กลับไปทำการทดลองเฟส 2 อีกครั้งในช่วงเดือน ส.ค. 65 เมื่อสำเร็จและได้ผลดี จะดำเนินการทดลองเฟส 3 ต่อไป คาดว่าจะเริ่มฉีดให้ประชาชนได้กลางปี 66
.
ส่วนวัคซีน ChulaCov19 ของศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลทดสอบพบว่า มีประสิทธิภาพสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีเทียบเท่ากับวัคซีนไฟเซอร์และโมเดอร์นา ขณะนี้อยู่ระหว่างการผลิตวัคซีนในโรงงานไทย และรอทดลองในคนระยะ 3 คาดสามารถขึ้นทะเบียนกับ อย. เพื่อใช้ในภาวะฉุกเฉินได้ภายในสิ้นปี
.
ความคืบหน้าของการพัฒนานวัตกรรมดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของคนไทย และรัฐบาลพร้อมส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงในระบบสุขภาพของประเทศ ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 เเม้ขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในช่วงเตรียมการเปลี่ยนไปสู่โรคประจำถิ่น แต่การพัฒนาวัคซีนใช้เองในประเทศยังเป็นสิ่งจำเป็น
#ไทยคู่ฟ้า #ร่วมต้านโควิด19
-------------------
👍Website : www.thaigov.go.th
👍Facebook/Twitter : ไทยคู่ฟ้า
👍YouTube : ไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล
👍LINE/TikTok : ไทยคู่ฟ้า (@thaigov)