โครงการส่งต่อความฝัน ของคนอยากเป็นนักเขียน
“ตามหากะทิ”
“ในปีหน้า 2566 หนังสือ “ความสุขของกะทิ” จะครบรอบการตีพิมพ์ 20 ปี ซึ่งปัจจุบันได้จัดพิมพ์มาแล้ว 114 ครั้ง ถือว่าเป็นหนังสือที่มีผู้อ่านจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อให้รับรู้ถึงการเดินทางมาครบ 20 ปี ของหนังสือ “ความสุขของกะทิ” เราจึงอยากจะทำโครงการอะไรสักอย่าง
เมื่อมองย้อนไปในวันที่เริ่มต้นเขียนหนังสือเล่มนี้ ตอนนั้นยังเป็นนักแปลอยู่แต่มีความฝันที่อยากจะเป็นนักเขียนมาก จำได้ว่าในวันนั้นที่คิดจะเริ่มเขียนหนังสืออย่างแรกที่ต้องคำนึงถึงคือ ถ้าเราเขียนหนังสือเราจะต้องขาดรายได้แน่ แต่ตอนนั้นตั้งใจว่าจะใช้เวลา 3 เดือนในการเขียนหนังสือสักเล่ม โดยตั้งเป้าหมายที่จะเขียนทุกวัน ซึ่งในวันที่เราตัดสินใจว่าจะพักงานประจำเพื่อมาเขียนหนังสือโดยใช้เวลา 3 เดือนนั้น เราก็คิดว่าก็คงมีคนอื่นๆ ที่คิดเช่นเดียวกับเราแน่ คือ “ฝันที่อยากจะเป็นนักเขียน” แต่ยังไม่มีโอกาส
เราจึงคิดขึ้นมาว่า ในต่างประเทศเขามีโครงการให้บ้านนักเขียนมาพำนัก ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นโดยทั่วไป เราจึงคิดว่าถ้าเราจะทำอย่างนั้นบ้างจะดีหรือไม่? ซึ่งพอดีว่าเรามีบ้านอยู่ที่ปากช่อง เราจึงคิดว่าเราทำโครงการนี้ขึ้นมาดีกว่า คือ โครงการบ้านพักสำหรับนักเขียน โดยตั้งชื่อโครงการว่า “ตามหากะทิ” โดยให้กะทิเป็นตัวแทนของคนที่อยากจะเป็นนักเขียน”
บทสัมภาษณ์ของอาจารย์งามพรรณ เวชชาชีวะ
ผู้ริเริ่มโครงการ “ตามหากะทิ”
สัมภาษณ์เมื่อวันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน 2565 เวลาโดยประมาณ 15.00 น. ณ สวนโมกข์ กรุงเทพฯ
ท่านใดสนใจติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ... แฟนเพจ ตามหากะทิ
https://www.facebook.com/katitongtan
ตามหากะทิ : โครงการส่งต่อความฝัน ของคนอยากเป็นนักเขียน
“ตามหากะทิ” : โครงการส่งต่อความฝัน ของคนอยากเป็นนักเขียน
“ตามหากะทิ”
“ในปีหน้า 2566 หนังสือ “ความสุขของกะทิ” จะครบรอบการตีพิมพ์ 20 ปี ซึ่งปัจจุบันได้จัดพิมพ์มาแล้ว 114 ครั้ง ถือว่าเป็นหนังสือที่มีผู้อ่านจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อให้รับรู้ถึงการเดินทางมาครบ 20 ปี ของหนังสือ “ความสุขของกะทิ” เราจึงอยากจะทำโครงการอะไรสักอย่าง
เมื่อมองย้อนไปในวันที่เริ่มต้นเขียนหนังสือเล่มนี้ ตอนนั้นยังเป็นนักแปลอยู่แต่มีความฝันที่อยากจะเป็นนักเขียนมาก จำได้ว่าในวันนั้นที่คิดจะเริ่มเขียนหนังสืออย่างแรกที่ต้องคำนึงถึงคือ ถ้าเราเขียนหนังสือเราจะต้องขาดรายได้แน่ แต่ตอนนั้นตั้งใจว่าจะใช้เวลา 3 เดือนในการเขียนหนังสือสักเล่ม โดยตั้งเป้าหมายที่จะเขียนทุกวัน ซึ่งในวันที่เราตัดสินใจว่าจะพักงานประจำเพื่อมาเขียนหนังสือโดยใช้เวลา 3 เดือนนั้น เราก็คิดว่าก็คงมีคนอื่นๆ ที่คิดเช่นเดียวกับเราแน่ คือ “ฝันที่อยากจะเป็นนักเขียน” แต่ยังไม่มีโอกาส
เราจึงคิดขึ้นมาว่า ในต่างประเทศเขามีโครงการให้บ้านนักเขียนมาพำนัก ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นโดยทั่วไป เราจึงคิดว่าถ้าเราจะทำอย่างนั้นบ้างจะดีหรือไม่? ซึ่งพอดีว่าเรามีบ้านอยู่ที่ปากช่อง เราจึงคิดว่าเราทำโครงการนี้ขึ้นมาดีกว่า คือ โครงการบ้านพักสำหรับนักเขียน โดยตั้งชื่อโครงการว่า “ตามหากะทิ” โดยให้กะทิเป็นตัวแทนของคนที่อยากจะเป็นนักเขียน”
บทสัมภาษณ์ของอาจารย์งามพรรณ เวชชาชีวะ
ผู้ริเริ่มโครงการ “ตามหากะทิ”
สัมภาษณ์เมื่อวันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน 2565 เวลาโดยประมาณ 15.00 น. ณ สวนโมกข์ กรุงเทพฯ
ท่านใดสนใจติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ... แฟนเพจ ตามหากะทิ
https://www.facebook.com/katitongtan