Fly Fishing: Memories of Angling Days
เป็นหนึ่งในหนังสือที่เรื่องราวเบื้องหลัง
ที่มีความน่าสนใจมากกว่าตัวหนังสือเอง
ไม่ใช่ว่าหนังสือเล่มนี้ไม่น่าสนใจแต่อย่างใด
เพราะมีบทวิจารณ์ 244 รายการใน Amazon
ด้วยคะแนนเฉลี่ย 4.6
แต่หนังสือเล่มนี้ได้รับความนิยม
ก่อนที่จะตีพิมพ์วางขายในตลาด
ในปี 1983 โทรทัศน์อังกฤษได้ออกอากาศ
โฆษณาสำหรับ
สมุดหน้าเหลืองของอังกฤษ
ถึงวิธีที่สะดวกในการค้นหาคู่ค้า Suppliers
ในท้องถิ่นด้วยการใช้โทรศัพท์สอบถามสินค้า
โฆษณาชิ้นนี้เป็นภาพสุภาพบุรุษสูงอายุ
ที่แสดงโดยนักแสดง
Norman Lumsden
กำลังหาหนังสือที่เห็นได้ชัดว่ายังไม่ได้ตีพิมพ์
ชื่อ Fly Fishing โดย J. R. Hartley
.
.
.
.
ในโฆษณาจะแสดงให้เห็นว่า
ท่านเดินเข้าออกร้านหนังสือหลายร้านมาก
แต่ก็หาหนังสือเล่มนั้นไม่เจอเลย
เมื่อท่านกลับบ้านด้วยความเศร้าใจ
ลูกสาวจึงยื่น
สมุดหน้าเหลือง ให้กับท่าน
เพื่อจะได้ค้นหาร้านขายหนังสือร้านอื่นอีก
จากเก้าอี้ในห้องนั่งเล่นที่แสนสบาย
ด้วยการใช้โทรศัพท์ในการค้นหา
ในที่สุดท่านก็สามารถหาร้านขายหนังสือ
ที่มีหนังสือเล่มนี้วางขายอยู่ได้
เมื่อเจ้าของร้านขายหนังสือ สอบถามชื่อคนซื้อ
เพื่อเก็บหนังสือไว้ให้คนซื้อที่จะมารับภายหลัง
ชายชราที่มองเห็นหนังสือเล่มที่ต้องการได้
จึงตอบด้วยความดีใจว่า
" ชื่อของผม ใช่แล้ว J. R. Hartley ครับ "
ชาวอังกฤษต่างเห็นโฆษณาชิ้นนี้ในโทรทัศน์
และในไม่ช้าร้านหนังสือและห้องสมุดประชาชน
ต่างเริ่มได้รับคำขอหาหนังสือ J. R. Hartley
แน่นอนว่าตัวละครดังกล่าวเป็นเรื่องสมมุติ
และไม่มีหนังสือเล่มดังกล่าวอยู่จริงแต่อย่างใด
ในที่สุด
Michael Russell
ผู้เชี่ยวชาญด้านการตกปลา ก็มองเห็นโอกาส
จึงเขียนหนังสือ การตกปลาด้วยแมลงวัน
และจัดพิมพ์โดยใช้นามแฝง J. R. Hartley
ผู้จัดพิมพ์ Stanley Paul จึงจ้าง Norman Lumsden
เป็นนักแสดง J. R. Hartley ในโฆษณา
เพื่อประชาสัมพันธ์ PR หนังสือของผู้แต่งเล่มนี้
หนังสือเล่มนี้ขายดีมาก
กลายเป็นที่นิยมมาก
จนมีการพิมพ์ซ้ำถึง 8 ครั้ง
ในวันคริสต์มาสปี 1991
ขายได้ถึง 130,000 เล่ม
หนังสือเล่มนี้ยังมีภาคต่อที่ชื่อว่า
J.R. Hartley Casts Again :
More Memories of Angling Days
ซึ่งเป็นที่นิยมชื่นชอบไม่แพ้กัน
.
แม้ว่าหนังสือนี้จะมีที่มาจากเรื่องสมมุติในโฆษณา
แต่หนังสือเล่มนี้ก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้วิจารณ์
“ ผมนั่งอ่านก่อนรับประทานอาหารกลางวัน
และคิดว่าจะอ่านบทหรือสองบทก่อน
ผมอ่านเล่มนี้จบเมื่อเวลา 16.15 น.
แล้วรู้สึกเหมือนกับคนที่รับเชิญ
ไปร่วมในงานเลี้ยงอาหารค่ำ
แล้วคิดว่า งานนี้คงน่าจะเบื่อ
แต่แล้วกลับพบว่า
ค่ำคืนวันนั้นกลายเป็นเรื่องน่ายินดีแทน ”
Sidney Vines
จาก The Spectator เขียนวิจารณ์ไว้
แม้ว่าโฆษณาที่น่าจดจำชิ้นนี้
จะไม่ได้ออกอากาศทางโทรทัศน์แล้ว
แต่ยังคงดึงดูดใจผู้ชมชาวอังกฤษ
ในแบบสำรวจความคิดเห็นที่จัดทำโดย
Marketing Week ในปี 2018
ผู้ชมได้โหวตให้โฆษณา J.R. Hartley
เป็นโฆษณาที่ดีที่สุดของทศวรรษ 1980
โดยได้รับการโหวตให้อยู่ใน 15 อันดับแรก
จากการสำรวจความคิดเห็น
โฆษณาทางทีวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ประจำปี 2000
ของสหราชอาณาจักรด้วยเช่นกัน
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/39x6jZL
https://bit.ly/3zMHAv9
https://bit.ly/3tHBYym
https://bit.ly/3mVpaAJ
https://bit.ly/3QmWzC5
.
.
เรื่องเล่าไร้สาระ
สมัยก่อนบ้านที่มีโทรศัพท์บ้าน/พื้นฐาน (Basic Telephone)
มักจะได้รับแจกสมุดหน้าเหลือง Yellow Pages
เพื่อไว้ค้นหาร้านค้าในสมุดโทรศัพท์
ใครอยากให้คนหาเจอเร็ว ต้องจ่ายค่าโฆษณา
ก็จะตีพิมพ์โฆษณา ตัวหนา Bold ให้เห็นชัด
และมักจะแยกเป็นรายจังหวัด/อำเภอ
มักจะแถมของ กทม.ให้ด้วย ถ้าขอเพิ่มเติม
ส่วนอีกเล่มหนึ่งคือ สมุดหน้าขาว
ที่มีเบอร์โทรศัพท์ตามรายชื่อ
บุคคล นิติบุคคล ห้างร้าน ที่แจ้งไว้ใน 13 สมัยนั้น
ใครไม่อยากมีชื่อในสมุดหน้าขาว
จะต้องแจ้งก่อนในใบคำขอ/ต้องจ่ายเงินเพิ่ม
สมุดหนัาขาวมีข้อดีอย่างหนึ่งคือ
ถ้าระยะทางชุมสายห่างเกิน 50 กิโลเมตร
จะบวกเพิ่มนาทีละ 3 บาทเป็นจำนวนครั้งที่โทร
เช่น รหัส 074 โทรจากหาดใหญ่ ไป
สตูล พัทลุง สะบ้ายย้อย ปาดังเบซาร์ ควนเนียง
จะถูกองค์การโทรศัพท์บวกเป็นจำนวนครั้งที่โทร
เพราะเคยเจอของหัวหน้าโทรไปที่ปาดังเบซาร์
สตูล พัทลุง เดือนนั้นบิลค่าโทรศัพท์พันกว่าครั้ง
ถ้าใช้รหัส 1234 โทรจากหาดใหญ่
ไปที่สตูล พัทลุง จะได้ส่วนลดค่าบริการ
เห็นได้ชัดเลยว่าเป็น ทางไกลในทัองถิ่น
ยุคนั้น พวกตู้สาขาโทรศัพท์อัตโนมัติ
ตามโรงแรม อพาร์ทเมนต์ ที่ให้บริการ
ลูกค้าในห้องพักโทรออกโดยตรงได้เลย
ไม่ต้องผ่าน Operator หรือ พนักงาน
บางระบบคนนอกโทรเข้าโดยตรง
เมื่อต่อสายได้แล้ว โดยกดเบอร์ห้องพักตาม
มีปัญหามากต้องคอยใส่เบอร์ต่างอำเภอไกล ๆ
เบอร์ของพัทลุง สตูล ทึ่ปรากฏในสมุดหน้าขาว
เข้าในระบบเช็คบิลค่าโทรศัพท์ทุกเดือน
พอเรียกเก็บเงินจากลูกค้าตามบิล
ที่พิมพ์ออกจากตู้สาขาโทรศัพท์
ลูกค้าที่ไม่เข้าใจหาว่าเอาเปรียบค่าบริการ
เพราะเข้าใจว่า รหัส 074
คิดครั้งละ 3 บาทตลอดเวลาสนทนา
หลายเจ้าเลยตัดปัญหาปิดระบบไปเลย
เสียเวลาเจรจา/ชี้แจงให้เข้าใจการบวกเพิ่ม
กอปรกับช่วงหลังคนใช้มือถือกันมากขึ้น
แต่ที่เคยเจอปัญหาคือ
ทั้งสมุดปกขาว สมุดปกเหลือง ในสมัยนั้น
ร้านรับซื้อของเก่ามักไม่ยอมรับซื้อ
เพราะถือว่าได้มาฟรี มักจะขอฟรี ๆ
หลายแห่งเลยตัดปัญหาโดยโยนทิ้งถังขยะ
แต่ตอนนี้กลายเป็น Rere Items
ที่หายไปจากท้องตลาดแล้ว
ยังรำลึกถึงเสมอเช่นกัน
.
.
.
.
.
สมุดหน้าเหลือง หรือ Yellow Pages
ที่คุ้นเคยในอดีตหายไปไหน ? (วิเคราะห์)
ในอดีตเมื่อเราต้องการรู้หมายเลขโทรศัพท์
รายชื่อบุคคล หรือธุรกิจ
สิ่งที่เราจะทำนั้นไม่ใช่ยกโทรศัพท์
โทรถามเหมือนในปัจจุบัน
แต่เราจะถือสมุดเล่มใหญ่ๆ สีเหลือง
มานั่งเปิดไล่หาทีละตัวอักษร
หนังสือที่ว่านั้นก็คือ สมุดหน้าเหลือง หรือ
Yellow Pages ที่อยู่คู่คนไทยมานานเกินครึ่งอายุคน
แล้ว สมุดหน้าเหลือง มีความเป็นมาอย่างไร
เข้ามาในไทยตั้งแต่ตอนไหน
และตอนนี้ยังมีอยู่หรือไม่
ข้างล่างนี้คือคำตอบ
สมุดโทรศัพ์แบ่งเป็นสองแบบ คือ
– สมุดหน้าขาว เป็นรายชื่อบุคคทั่วไป
– สมุดหน้าเหลืองเป็นรายชื่อบริษัท
เพื่อประชาสัมพันธ์ บริการ สินค้า พร้อมเบอร์ติดต่อ
สมุดหน้าเหลืองเป็นคำที่หลายประเทศทั่วโลก
ใช้เรียกสมุดโทรศัพท์ประเภทไดเร็คทอรี่
ที่รวบรวมรายชื่อธุรกิจ สินค้า และบริการ
ที่เรียบเรียงไว้เป็นหมวดหมู่
แจกจ่ายไปตามบ้านเรือน ที่พักอาศัย บริษัท
ห้างร้าน และแหล่งธุรกิจต่าง ๆ
สมุดหน้าเหลืองถูกพิมพ์ครั้งแรกใน USA
ขณะที่ในประเทศไทย สมุดหน้าเหลือง
เข้ามาโดยบริษัทจีทีอี จากนั้นโอนย้าย
ไปอยู่ในการดูแลของ เอที แอนด์ ที
ภายใต้สัมปทานที่ได้มาจาก
องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (TOT)
และปัจจุบันผู้จัดทำสมุดหน้าเหลือง
Thailand YellowPages
อย่างเป็นทางการตั้งแต่ปีพ.ศ.2534 คือ
บริษัท เทเลอินโฟ มีเดีย จำกัด (มหาชน)
(เดิมชื่อ บริษัท ชินวัตร ไดเร็คทอรี่ส์ จำกัด)
ปัจจุบันอยู่ใน
กลุ่มบริษัท แอดวานซ์ อิโฟร์ เซอร์วิส จำกัด
(มหาชน) หรือ เอไอเอส
หากนับรวมที่เทเลอินโฟ มีเดีย
จัดทำสมุดหน้าเหลืองอย่างเป็นทางการ ในวันนี้
Thailand YellowPages มีอายุ 28 ปีแล้ว
หากถามถึงเรื่องรายได้นั้น มองว่า
เทเลอินโฟ มีเดีย
คงต้องเจอมรสุมทางธุรกิจอยู่มาก
เพราะในยุคที่ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์เฟื่องฟู
สมุดหน้าเหลืองหรือ Thailand YellowPages
คงทำรายได้จากการขายโฆษณาได้มากมายมหาศาล
แต่ยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไปธุรกิจสิ่งพิมพ์
ไม่ได้เฟื่องฟูเหมือนก่อน
ถูก Disruption จากเทคโนโลยีสมัยใหม่
รวมถึงเสิร์จเอนจิ้นยักษ์ใหญ่อย่าง Google
ที่ทำให้การค้นหาเบอร์โทรศัพท์ รายชื่อบุคคล ธุรกิจ
ไม่ต้องพึ่งสมุดเล่มหนา ๆ สีเหลืองอีกต่อไป
ทำให้รายได้ลดลงแตะระดับร้อยล้านบาท และลดลงต่อเนื่อง
ปี ’59 448,100,140.00 บาท
กำไร 3,675,239.00 บาท
ปี ’60 293,192,913.00 บาท
กำไร 10,950,725.00 บาท
ปี ’61 192,295,292.00 บาท
กำไร 12,995,965.00 บาท
*รายได้ดังกล่าวเป็นรายได้หลัก
ที่มา: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ทั้งนี้ บริษัทไม่ได้เป็นผู้จัดทำสมุดหน้าเหลืองเพียงอย่างเดียว
แต่ธุรกิจในมือเทเลอินโฟ มีเดีย ในอดีตนั้นมีทั้ง
Builder & Construction Guide หนังสือแจกฟรีรายปี
ที่รวบรวมสินค้าและบริการสำหรับงานก่อสร้าง
Factory Supply Guide หนังสือแจกฟรีรายปี
ที่รวบรวมสินค้าและบริการทางอุตสาหกรรมเว็บไซต์ aroi.com
ปัจจุบันนอกจากจะให้บริการสมุดหน้าเหลืองบนออนไลน์แล้ว
เทเลอินโฟ มีเดีย ยังให้บริการเป็น
Outsourced Contact Center อีกด้วย
นับว่าการเปลี่ยนผ่านมายุคดิจิทัลคือ
โจทย์ใหญ่ของสมุดหน้าเหลือง
เปลี่ยนจากข้อมูลบนกระดาษสีเหลือง
มาสู่แพลตฟอร์มออนไลน์
ให้ผู้บริโภคค้นหาข้อมูลผ่านเว็บไซต์
http://www.yellowpages.co.th/
และสายด่วน 1188 (เดิม 1154)
แถมบนเว็บไซต์ยังมีแค็ตตาล็อกออนไลน์
ที่มีข้อมูลสินค้า ข้อมูลธุรกิจที่สามารถให้
ผู้บริโภคหรือเจ้าของธุรกิจที่สนใจติดต่อกันได้โดยตรงด้วย
มองว่า จุดแข็งของ Thailand YellowPages
ที่ถึงแม้จะเปลี่ยนมาอยู่บนออนไลน์ทั้งเว็บไซต์
และแอปพลิเคชั่นแล้วแต่ความครอบคลุมยังคงเหมือนเดิม
เพราะการทำธุรกิจมาอย่างยาวนานร่วม 30 ปี
ทำให้บริษัทมีข้อมูลในมือมากมาย
รวมถึง Branding ที่แข็งแกร่ง ต้องการข้อมูล
เบอร์โทรบริษัทไหนก็ต้องนึกถึงสมุดหน้าเหลืองนี้
แต่ด้วยผลพลวงจากการถูกดิสรัปชั่น
ทำให้ปัจจุบัน ไทยแลนด์ เยลโล่เพจเจส หยุดพิมพ์แล้ว
แต่ สมุดหน้าเหลือง ของไทยยังไม่หายไปไหน
แค่ปรับตัวให้เข้ากับยุคดิจิทัลเท่านั้นเอง
นอกจาก ไทยแลนด์ เยลโล่เพจเจส
ที่ให้บริการค้นหาเบอร์โทรศัพท์
และข้อมูลทางธุรกิจแล้ว
ยังมีคู่แข่งอีกเจ้าที่ให้บริการในลักษณคล้ายๆ กัน
คือ BUG1113
ของ บริษัท สามารถ อินโฟ มีเดีย จำกัด
ที่ปัจจุบันหน้าเว็บไซต์แจ้งหยุดให้บริการ
ค้นหาข้อมูลตั้งแต่ 1 พ.ค. 2019 ที่ผ่านมา
©
https://bit.ly/3n0JnFa
หนังสือที่คนรู้จักก่อนมีการพิมพ์ขาย
.
© https://amzn.to/3Ofsnqq
.
.
J.R. Hartley - Classic Yellow Pages advert
.
.
Fly Fishing: Memories of Angling Days
เป็นหนึ่งในหนังสือที่เรื่องราวเบื้องหลัง
ที่มีความน่าสนใจมากกว่าตัวหนังสือเอง
ไม่ใช่ว่าหนังสือเล่มนี้ไม่น่าสนใจแต่อย่างใด
เพราะมีบทวิจารณ์ 244 รายการใน Amazon
ด้วยคะแนนเฉลี่ย 4.6
แต่หนังสือเล่มนี้ได้รับความนิยม
ก่อนที่จะตีพิมพ์วางขายในตลาด
ในปี 1983 โทรทัศน์อังกฤษได้ออกอากาศ
โฆษณาสำหรับ สมุดหน้าเหลืองของอังกฤษ
ถึงวิธีที่สะดวกในการค้นหาคู่ค้า Suppliers
ในท้องถิ่นด้วยการใช้โทรศัพท์สอบถามสินค้า
โฆษณาชิ้นนี้เป็นภาพสุภาพบุรุษสูงอายุ
ที่แสดงโดยนักแสดง Norman Lumsden
กำลังหาหนังสือที่เห็นได้ชัดว่ายังไม่ได้ตีพิมพ์
ชื่อ Fly Fishing โดย J. R. Hartley
.
.
ในโฆษณาจะแสดงให้เห็นว่า
ท่านเดินเข้าออกร้านหนังสือหลายร้านมาก
แต่ก็หาหนังสือเล่มนั้นไม่เจอเลย
เมื่อท่านกลับบ้านด้วยความเศร้าใจ
ลูกสาวจึงยื่น สมุดหน้าเหลือง ให้กับท่าน
เพื่อจะได้ค้นหาร้านขายหนังสือร้านอื่นอีก
จากเก้าอี้ในห้องนั่งเล่นที่แสนสบาย
ด้วยการใช้โทรศัพท์ในการค้นหา
ในที่สุดท่านก็สามารถหาร้านขายหนังสือ
ที่มีหนังสือเล่มนี้วางขายอยู่ได้
เมื่อเจ้าของร้านขายหนังสือ สอบถามชื่อคนซื้อ
เพื่อเก็บหนังสือไว้ให้คนซื้อที่จะมารับภายหลัง
ชายชราที่มองเห็นหนังสือเล่มที่ต้องการได้
จึงตอบด้วยความดีใจว่า
" ชื่อของผม ใช่แล้ว J. R. Hartley ครับ "
ชาวอังกฤษต่างเห็นโฆษณาชิ้นนี้ในโทรทัศน์
และในไม่ช้าร้านหนังสือและห้องสมุดประชาชน
ต่างเริ่มได้รับคำขอหาหนังสือ J. R. Hartley
แน่นอนว่าตัวละครดังกล่าวเป็นเรื่องสมมุติ
และไม่มีหนังสือเล่มดังกล่าวอยู่จริงแต่อย่างใด
ในที่สุด Michael Russell
ผู้เชี่ยวชาญด้านการตกปลา ก็มองเห็นโอกาส
จึงเขียนหนังสือ การตกปลาด้วยแมลงวัน
และจัดพิมพ์โดยใช้นามแฝง J. R. Hartley
ผู้จัดพิมพ์ Stanley Paul จึงจ้าง Norman Lumsden
เป็นนักแสดง J. R. Hartley ในโฆษณา
เพื่อประชาสัมพันธ์ PR หนังสือของผู้แต่งเล่มนี้
หนังสือเล่มนี้ขายดีมาก
กลายเป็นที่นิยมมาก
จนมีการพิมพ์ซ้ำถึง 8 ครั้ง
ในวันคริสต์มาสปี 1991
ขายได้ถึง 130,000 เล่ม
หนังสือเล่มนี้ยังมีภาคต่อที่ชื่อว่า
J.R. Hartley Casts Again :
More Memories of Angling Days
ซึ่งเป็นที่นิยมชื่นชอบไม่แพ้กัน
.
.
Michael Russell
.
.
.
แม้ว่าหนังสือนี้จะมีที่มาจากเรื่องสมมุติในโฆษณา
แต่หนังสือเล่มนี้ก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้วิจารณ์
“ ผมนั่งอ่านก่อนรับประทานอาหารกลางวัน
และคิดว่าจะอ่านบทหรือสองบทก่อน
ผมอ่านเล่มนี้จบเมื่อเวลา 16.15 น.
แล้วรู้สึกเหมือนกับคนที่รับเชิญ
ไปร่วมในงานเลี้ยงอาหารค่ำ
แล้วคิดว่า งานนี้คงน่าจะเบื่อ
แต่แล้วกลับพบว่า
ค่ำคืนวันนั้นกลายเป็นเรื่องน่ายินดีแทน ”
Sidney Vines
จาก The Spectator เขียนวิจารณ์ไว้
แม้ว่าโฆษณาที่น่าจดจำชิ้นนี้
จะไม่ได้ออกอากาศทางโทรทัศน์แล้ว
แต่ยังคงดึงดูดใจผู้ชมชาวอังกฤษ
ในแบบสำรวจความคิดเห็นที่จัดทำโดย
Marketing Week ในปี 2018
ผู้ชมได้โหวตให้โฆษณา J.R. Hartley
เป็นโฆษณาที่ดีที่สุดของทศวรรษ 1980
โดยได้รับการโหวตให้อยู่ใน 15 อันดับแรก
จากการสำรวจความคิดเห็น
โฆษณาทางทีวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ประจำปี 2000
ของสหราชอาณาจักรด้วยเช่นกัน
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/39x6jZL
https://bit.ly/3zMHAv9
https://bit.ly/3tHBYym
https://bit.ly/3mVpaAJ
https://bit.ly/3QmWzC5
.
.
เรื่องเล่าไร้สาระ
สมัยก่อนบ้านที่มีโทรศัพท์บ้าน/พื้นฐาน (Basic Telephone)
มักจะได้รับแจกสมุดหน้าเหลือง Yellow Pages
เพื่อไว้ค้นหาร้านค้าในสมุดโทรศัพท์
ใครอยากให้คนหาเจอเร็ว ต้องจ่ายค่าโฆษณา
ก็จะตีพิมพ์โฆษณา ตัวหนา Bold ให้เห็นชัด
และมักจะแยกเป็นรายจังหวัด/อำเภอ
มักจะแถมของ กทม.ให้ด้วย ถ้าขอเพิ่มเติม
ส่วนอีกเล่มหนึ่งคือ สมุดหน้าขาว
ที่มีเบอร์โทรศัพท์ตามรายชื่อ
บุคคล นิติบุคคล ห้างร้าน ที่แจ้งไว้ใน 13 สมัยนั้น
ใครไม่อยากมีชื่อในสมุดหน้าขาว
จะต้องแจ้งก่อนในใบคำขอ/ต้องจ่ายเงินเพิ่ม
สมุดหนัาขาวมีข้อดีอย่างหนึ่งคือ
ถ้าระยะทางชุมสายห่างเกิน 50 กิโลเมตร
จะบวกเพิ่มนาทีละ 3 บาทเป็นจำนวนครั้งที่โทร
เช่น รหัส 074 โทรจากหาดใหญ่ ไป
สตูล พัทลุง สะบ้ายย้อย ปาดังเบซาร์ ควนเนียง
จะถูกองค์การโทรศัพท์บวกเป็นจำนวนครั้งที่โทร
เพราะเคยเจอของหัวหน้าโทรไปที่ปาดังเบซาร์
สตูล พัทลุง เดือนนั้นบิลค่าโทรศัพท์พันกว่าครั้ง
ถ้าใช้รหัส 1234 โทรจากหาดใหญ่
ไปที่สตูล พัทลุง จะได้ส่วนลดค่าบริการ
เห็นได้ชัดเลยว่าเป็น ทางไกลในทัองถิ่น
ยุคนั้น พวกตู้สาขาโทรศัพท์อัตโนมัติ
ตามโรงแรม อพาร์ทเมนต์ ที่ให้บริการ
ลูกค้าในห้องพักโทรออกโดยตรงได้เลย
ไม่ต้องผ่าน Operator หรือ พนักงาน
บางระบบคนนอกโทรเข้าโดยตรง
เมื่อต่อสายได้แล้ว โดยกดเบอร์ห้องพักตาม
มีปัญหามากต้องคอยใส่เบอร์ต่างอำเภอไกล ๆ
เบอร์ของพัทลุง สตูล ทึ่ปรากฏในสมุดหน้าขาว
เข้าในระบบเช็คบิลค่าโทรศัพท์ทุกเดือน
พอเรียกเก็บเงินจากลูกค้าตามบิล
ที่พิมพ์ออกจากตู้สาขาโทรศัพท์
ลูกค้าที่ไม่เข้าใจหาว่าเอาเปรียบค่าบริการ
เพราะเข้าใจว่า รหัส 074
คิดครั้งละ 3 บาทตลอดเวลาสนทนา
หลายเจ้าเลยตัดปัญหาปิดระบบไปเลย
เสียเวลาเจรจา/ชี้แจงให้เข้าใจการบวกเพิ่ม
กอปรกับช่วงหลังคนใช้มือถือกันมากขึ้น
แต่ที่เคยเจอปัญหาคือ
ทั้งสมุดปกขาว สมุดปกเหลือง ในสมัยนั้น
ร้านรับซื้อของเก่ามักไม่ยอมรับซื้อ
เพราะถือว่าได้มาฟรี มักจะขอฟรี ๆ
หลายแห่งเลยตัดปัญหาโดยโยนทิ้งถังขยะ
แต่ตอนนี้กลายเป็น Rere Items
ที่หายไปจากท้องตลาดแล้ว
ยังรำลึกถึงเสมอเช่นกัน
.
.
.
สมุดหน้าเหลือง หรือ Yellow Pages
ที่คุ้นเคยในอดีตหายไปไหน ? (วิเคราะห์)
ในอดีตเมื่อเราต้องการรู้หมายเลขโทรศัพท์
รายชื่อบุคคล หรือธุรกิจ
สิ่งที่เราจะทำนั้นไม่ใช่ยกโทรศัพท์
โทรถามเหมือนในปัจจุบัน
แต่เราจะถือสมุดเล่มใหญ่ๆ สีเหลือง
มานั่งเปิดไล่หาทีละตัวอักษร
หนังสือที่ว่านั้นก็คือ สมุดหน้าเหลือง หรือ
Yellow Pages ที่อยู่คู่คนไทยมานานเกินครึ่งอายุคน
แล้ว สมุดหน้าเหลือง มีความเป็นมาอย่างไร
เข้ามาในไทยตั้งแต่ตอนไหน
และตอนนี้ยังมีอยู่หรือไม่
ข้างล่างนี้คือคำตอบ
สมุดโทรศัพ์แบ่งเป็นสองแบบ คือ
– สมุดหน้าขาว เป็นรายชื่อบุคคทั่วไป
– สมุดหน้าเหลืองเป็นรายชื่อบริษัท
เพื่อประชาสัมพันธ์ บริการ สินค้า พร้อมเบอร์ติดต่อ
สมุดหน้าเหลืองเป็นคำที่หลายประเทศทั่วโลก
ใช้เรียกสมุดโทรศัพท์ประเภทไดเร็คทอรี่
ที่รวบรวมรายชื่อธุรกิจ สินค้า และบริการ
ที่เรียบเรียงไว้เป็นหมวดหมู่
แจกจ่ายไปตามบ้านเรือน ที่พักอาศัย บริษัท
ห้างร้าน และแหล่งธุรกิจต่าง ๆ
สมุดหน้าเหลืองถูกพิมพ์ครั้งแรกใน USA
ขณะที่ในประเทศไทย สมุดหน้าเหลือง
เข้ามาโดยบริษัทจีทีอี จากนั้นโอนย้าย
ไปอยู่ในการดูแลของ เอที แอนด์ ที
ภายใต้สัมปทานที่ได้มาจาก
องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (TOT)
และปัจจุบันผู้จัดทำสมุดหน้าเหลือง
Thailand YellowPages
อย่างเป็นทางการตั้งแต่ปีพ.ศ.2534 คือ
บริษัท เทเลอินโฟ มีเดีย จำกัด (มหาชน)
(เดิมชื่อ บริษัท ชินวัตร ไดเร็คทอรี่ส์ จำกัด)
ปัจจุบันอยู่ใน
กลุ่มบริษัท แอดวานซ์ อิโฟร์ เซอร์วิส จำกัด
(มหาชน) หรือ เอไอเอส
หากนับรวมที่เทเลอินโฟ มีเดีย
จัดทำสมุดหน้าเหลืองอย่างเป็นทางการ ในวันนี้
Thailand YellowPages มีอายุ 28 ปีแล้ว
หากถามถึงเรื่องรายได้นั้น มองว่า
เทเลอินโฟ มีเดีย
คงต้องเจอมรสุมทางธุรกิจอยู่มาก
เพราะในยุคที่ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์เฟื่องฟู
สมุดหน้าเหลืองหรือ Thailand YellowPages
คงทำรายได้จากการขายโฆษณาได้มากมายมหาศาล
แต่ยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไปธุรกิจสิ่งพิมพ์
ไม่ได้เฟื่องฟูเหมือนก่อน
ถูก Disruption จากเทคโนโลยีสมัยใหม่
รวมถึงเสิร์จเอนจิ้นยักษ์ใหญ่อย่าง Google
ที่ทำให้การค้นหาเบอร์โทรศัพท์ รายชื่อบุคคล ธุรกิจ
ไม่ต้องพึ่งสมุดเล่มหนา ๆ สีเหลืองอีกต่อไป
ทำให้รายได้ลดลงแตะระดับร้อยล้านบาท และลดลงต่อเนื่อง
ปี ’59 448,100,140.00 บาท
กำไร 3,675,239.00 บาท
ปี ’60 293,192,913.00 บาท
กำไร 10,950,725.00 บาท
ปี ’61 192,295,292.00 บาท
กำไร 12,995,965.00 บาท
*รายได้ดังกล่าวเป็นรายได้หลัก
ที่มา: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ทั้งนี้ บริษัทไม่ได้เป็นผู้จัดทำสมุดหน้าเหลืองเพียงอย่างเดียว
แต่ธุรกิจในมือเทเลอินโฟ มีเดีย ในอดีตนั้นมีทั้ง
Builder & Construction Guide หนังสือแจกฟรีรายปี
ที่รวบรวมสินค้าและบริการสำหรับงานก่อสร้าง
Factory Supply Guide หนังสือแจกฟรีรายปี
ที่รวบรวมสินค้าและบริการทางอุตสาหกรรมเว็บไซต์ aroi.com
ปัจจุบันนอกจากจะให้บริการสมุดหน้าเหลืองบนออนไลน์แล้ว
เทเลอินโฟ มีเดีย ยังให้บริการเป็น
Outsourced Contact Center อีกด้วย
นับว่าการเปลี่ยนผ่านมายุคดิจิทัลคือ
โจทย์ใหญ่ของสมุดหน้าเหลือง
เปลี่ยนจากข้อมูลบนกระดาษสีเหลือง
มาสู่แพลตฟอร์มออนไลน์
ให้ผู้บริโภคค้นหาข้อมูลผ่านเว็บไซต์
http://www.yellowpages.co.th/
และสายด่วน 1188 (เดิม 1154)
แถมบนเว็บไซต์ยังมีแค็ตตาล็อกออนไลน์
ที่มีข้อมูลสินค้า ข้อมูลธุรกิจที่สามารถให้
ผู้บริโภคหรือเจ้าของธุรกิจที่สนใจติดต่อกันได้โดยตรงด้วย
มองว่า จุดแข็งของ Thailand YellowPages
ที่ถึงแม้จะเปลี่ยนมาอยู่บนออนไลน์ทั้งเว็บไซต์
และแอปพลิเคชั่นแล้วแต่ความครอบคลุมยังคงเหมือนเดิม
เพราะการทำธุรกิจมาอย่างยาวนานร่วม 30 ปี
ทำให้บริษัทมีข้อมูลในมือมากมาย
รวมถึง Branding ที่แข็งแกร่ง ต้องการข้อมูล
เบอร์โทรบริษัทไหนก็ต้องนึกถึงสมุดหน้าเหลืองนี้
แต่ด้วยผลพลวงจากการถูกดิสรัปชั่น
ทำให้ปัจจุบัน ไทยแลนด์ เยลโล่เพจเจส หยุดพิมพ์แล้ว
แต่ สมุดหน้าเหลือง ของไทยยังไม่หายไปไหน
แค่ปรับตัวให้เข้ากับยุคดิจิทัลเท่านั้นเอง
นอกจาก ไทยแลนด์ เยลโล่เพจเจส
ที่ให้บริการค้นหาเบอร์โทรศัพท์
และข้อมูลทางธุรกิจแล้ว
ยังมีคู่แข่งอีกเจ้าที่ให้บริการในลักษณคล้ายๆ กัน
คือ BUG1113
ของ บริษัท สามารถ อินโฟ มีเดีย จำกัด
ที่ปัจจุบันหน้าเว็บไซต์แจ้งหยุดให้บริการ
ค้นหาข้อมูลตั้งแต่ 1 พ.ค. 2019 ที่ผ่านมา
© https://bit.ly/3n0JnFa