JJNY : 5in1 เซฟบางกลอยลั่นตู่ต้องลาออก│เตือนเร่งด่วน!│EICชี้รายได้น้อยเจอพิษเงินเฟ้อ│จ่อขึ้นค่าขนส่ง4%│ไต้หวันกร้าวจีน

ภาคีเซฟบางกลอย ชูป้าย ทวงคืนผืนป่า ลั่น 8 ปีที่ถูกข่มขู่ บิ๊กตู่ต้องลาออก
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7110623
 
 
ภาคีเซฟบางกลอย ชูป้าย ทวงคืนผืนป่า ลั่น 8 ปีแห่งความอัปยศ ถูกข่มขู่ชาวบ้านโดนฟ้องเดือดร้อน ลั่นบิ๊กตู่ ตัวการ ต้องลาออก เปิดทางรัฐบาลประชาธิปไตย
   
วันที่ 14 มิ.ย.2565 กลุ่มภาคีเซฟบางกลอย จัดกิจกรรมชูป้าย และอ่านแถลงการณ์เพื่อเรียกร้องให้คืนสิทธิแก่กลุ่มคนชาติพันธุ์ และผู้คนชาวบางกลอยที่ถูกไล่ที่หลังมีคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 64/2557 หรือคำสั่ง ‘ทวงคืนผืนป่า’ พร้อมสอบถามคนเมืองว่าคนเมืองกับป่าอยู่รวมกันได้ไหม ที่บริเวณสกายวอล์ก แยกปทุมวัน
 
นายพชร คำชำนาญ แกนนำกลุ่มภาคีเซฟบางกลอย กล่าวว่า เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2557 หลังการทำรัฐประหารของ พล.อ.ประยุทธ์ ได้ออกคำสั่งทวงคืนผืนป่า เพื่อพี่น้องคนในเมือง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ การปฏิบัติการสนธิกำลังเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ และเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปในพื้นที่ที่พี่น้องที่อยู่ในเขตป่า พวกเขาถูกตัดพืชผล ถูกข่มขู่ให้ออกจากพื้นที่ บางรายชีวิตล่มสลาย บางคนฆ่าตัวตาย บางคนอุ้มหาย ตั้งแต่ปี 2557 ที่มีนโยบายทวงคืนผืนป่า
 
จนถึงวันนี้มีพี่น้องถูกดำเนินคดี 46,000 คดี ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ไม่ว่าจะเป็น เขตห้ามล่าสัตว์ป่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตอุทยานแห่งชาติที่พี่น้องอยู่มาก่อน แต่รัฐไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกาศพื้นที่ป่าสงวน ทับหัวพวกเขา และกล่าวหาว่าพวกเขาคือ ผู้บุกรุกป่า วันนี้ครบรอบ 8 ปี โดยรัฐบาลอัปยศ พวกเรามาเรียกร้อง ตั้งคำถามกับคนในเมือง ว่านโยบายทวงคืนผืนป่า เพื่อพี่น้องในเมืองจริงหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาเราเห็นพี่น้องชาติพันธุ์ต้องตายทั้งเป็น
 
การอภิปรายไม่ไว้วางใจที่จะเกิดขึ้นว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่เคยถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ มีแค่เรื่องการอภิปรายในสภาฯ เรื่องน้ำมันรั่วในระยอง แต่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับรากเหง้ามันต้องมีการอภิปรายในส่วนงบประมาณ
 
ส่วนที่สองคือ ถึงเวลาที่ต้องทบทวนว่า ตลอด 8 ปีการทวงคืนผืนป่า ทวงได้เท่าไหร่ มีชาวบ้าน ไม่มีที่ดินทำกินเท่าไหร่ นายทุนเท่าไหร่ สุดท้ายถอดมาว่า นโยบายสร้างผลกระทบ ไม่ได้สร้างพื้นที่ป่า ถึงเวลาที่ต้องสังคยนาใหม่ โดยต้องใช้กลไกของฝ่ายค้าน เพราะกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นพรรคร่วมรัฐบาล
 
โดยทางกลุ่มได้เรียกร้อง 4 ข้อ 
 
1. รัฐบาลต้องยกเลิกกฎหมาย และนโยบายภายใต้แผนการทวงคืนผืนป่าทั้งหมด และเปิดให้ประชาชนได้สร้างกฎหมายด้านที่ดิน-ป่าไม้ ในนามีผู้ถูกกดขี่ และผู้อาศัย ทำกินในเขตป่าที่รัฐประกาศทับด้วยตัวเอง 
 
2. สภาผู้แทนราษฎรต้องตรวจสอบงบประมาณ และแผนการดำเนินงานของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในปี 2566 ที่ยังคงปรากฏว่ามีแผนแม่บทป่าไม้ฯ จากปี 2557
 
3. ต้องผลักดันร่างกฎหมายว่าด้วยการนิรโทษกรรมแก่ราษฎรซึ่งได้รับความเสียหายจากการดำเนินการนโยบายของรัฐ ที่เสนอให้ยกเลิกคดีความที่ไม่เป็นธรรม โดยให้มีการแต่งตั้งกลไกที่ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมเพื่อพิจารณากลั่นกรองคดี โดยใช้ระบบลูกขุนในการไต่สวนพิจารณาคดีที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน

และ 4. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะตัวต้นเรื่องต้องลาออก และเปิดให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน เพื่อคืนสิทธิสู่ประชาชนอย่างแท้จริง
 
ภายหลังการอ่านแถลงการณ์เสร็จ ได้มีการแขวนป้ายระบุข้อความ ทวงคืนผืนป่า คนเมืองได้ป่าจริงหรือ บริเวณสกายวอล์กสี่แยกปทุมวัน พร้อมทำแบบสอบถามว่าคนเมืองกับป่าอยู่รวมกันได้ใหม โดยมีผู้เข้ามาแสดงความเห็นว่าอยู่ได้ จำนวนหนึ่ง แต่ไม่มีผู้ใดบอกว่าอยู่ไม่ได้เลย และระหว่างการจัดกิจกรรมดังกล่าวได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจจากสน.ปทุมวันเข้ามาสังเกตการณ์ ดูแลความเรียบร้อยจำนวนหนึ่ง
 


เตือนเร่งด่วน! กินเมนู ‘กัญชา’ ผ่านความร้อน อันตรายมากกว่าที่คิด
https://www.dailynews.co.th/news/1145855/

"อ.เจษฎ์" เตือน! กินเมนู "กัญชา" ที่ผ่านความร้อน ทำปริมาณสาร THC พุ่งสูงกว่าปกติ โดยเฉพาะการผัดน้ำมัน เร่งเลี่ยงและระวังให้ดี เหตุอันตรายกว่าที่คิด!
 
ทำเอาสังคมไทยต่างพูดถึงกันอย่างไม่หยุดหย่อนอย่างต่อเนื่อง สำหรับ “การปลดล็อกกัญชา” ที่มีผลไปเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2565 ที่ผ่านมา ที่ทุกส่วนของต้นกัญชา ไม่ถือเป็นยาเสพติด ยกเว้นนำไปสกัดเป็นสารสกัด และมีปริมาณสาร THC (Tetrahydrocannabinol) มากกว่า 0.2% นั้น
 
ล่าสุดเมื่อวันที่ 14 มิ.ย. รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ ว่า 
 
“ระวัง อาหารที่ใส่กัญชา แล้วผ่านความร้อน จะมีอันตรายกว่าที่คิดครับ” จากข่าวนี้ ที่คุณสรยุทธ เล่าเรื่องที่ทีมงานของเขา ไปกิน “คุกกี้กัญชา” เพียงครึ่งชิ้น มีอาการเมา จนต้องประคอง ทำงานไม่ได้ (อ่านข่าวด้านล่าง) …. เป็นเรื่องที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับนโยบายส่งเสริมการใช้กัญชา ต้องรีบทำความเข้าใจกับประชาชนนะครับ
 
คือ กัญชา นั้นมีสารสำคัญ 2 ชนิด ได้แก่ สารซีบีดี CBD และสารทีเอชซี THC … ซึ่งสาร THC ในกัญชานั้น เป็นตัวการทำให้เกิดอาการมึนเมา เคลิ้ม ถ้าผลิตภัณฑ์กัญชาตัวไหน มีสาร THC ในปริมาณสูง ก็จะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้เนื่องจากทำให้เป็นพิษและเมาได้
 
ทีนี้ พอกฎหมายอนุญาตให้นำกัญชามาใช้ในการทำอาหารได้ แม้ว่าห้ามนำเอาส่วนของกัญชาที่มีสาร THC มาก (เช่น ที่ช่อดอก) มาใส่ในอาหาร ควรใช้แค่บริเวณใบ ซึ่งมีสาร THC น้อยกว่า …. แต่ทั้งผู้ประกอบอาหารและผู้ที่กินอาหารนั้น จะต้องระมัดระวังว่า อย่าให้อาหารนั้นมีปริมาณของใบกัญชาอยู่มากเกินไป เพราะอาจทำให้สาร THC มีความเข้มข้นสูงตามไปด้วย
 
ทีนี้ เรื่องใหญ่ที่ไม่ค่อยเน้นกันก็คือ “เมื่อใบกัญชาผ่านความร้อน สาร THC จะออกฤทธิ์มากขึ้นกว่าเดิม” เพราะฉะนั้น การปรุงใบกัญชาเป็นอาหารด้วยวิธีการที่ผ่านความร้อนสูง เป็นเวลานาน (ดังเช่น กรณีที่เอามาทำคุ้กกี้ บราวนี่ เบเกอรี่ ฯลฯ) ยิ่งจะต้องระมัดระวัง
 
“แถมถ้าเป็นการนำใบกัญชา มาผัดน้ำมัน จะยิ่งอันตราย เพราะทั้งผ่านความร้อนและน้ำมัน ที่จะทำให้สกัดสาร THC ออกมาได้มาก อาจมีผลให้ได้สาร THC ปริมาณมากขึ้นอีก” ดังนั้น อย่ามองแต่เรื่อง “ข้อดีของสาร CBD ในกัญชา” อย่างที่โปรโมตกัน แต่ต้องพิจารณาว่า กัญชามีทั้งคุณและโทษนะครับ โดยเฉพาะในกรณีที่เกิดผลกระทบพัฒนาการสมองของเด็ก และต่อสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง เช่น หญิงตั้งครรภ์ เด็กเยาวชน และ ผู้สูงอายุ ครับ..
 
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก @อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์

https://www.facebook.com/OhISeebyAjarnJess/posts/pfbid0325RqrR8nFTXGi5kpB8ti9Xe4sDYPp47hfRPVNNhuo9vWj6acbSGmSBB5om341PXBl
 
https://www.khaosod.co.th/entertainment/news_7107191


 
EIC ชี้รายได้น้อย 7 ล้านครัวเรือน เจอพิษเงินเฟ้อซ้ำเติมภาระมากขึ้น
https://www.posttoday.com/finance-stock/news/685619

EIC ชี้พิษเงินเฟ้อซ้ำเติมคนายได้น้อย 7 ล้านครัวเรือน ทำให้สถานะทางการเงินถดถอยลง รายได้ลดแต่หนี้เพิ่ม
 
ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ รองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มงาน Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า EIC คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในประเทศไทย ที่จะเร่งตัวสูงถึง 5.9% เฉลี่ยทั้งปีนี้ (เดิม 4.9%) ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 24 ปี ท่ามกลางการทยอยลดมาตรการอุดหนุนค่าครองชีพของภาครัฐ จะกดดันกำลังซื้อและการบริโภคภายในประเทศ รวมถึงชะลอการลงทุนในภาคธุรกิจลง
 
โดย EIC วิเคราะห์ว่ารายได้ภาคครัวเรือนที่มีแนวโน้มเติบโตช้าตามตลาดแรงงานที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ จะเป็นข้อจำกัดต่อความสามารถในการรับมือกับค่าครองชีพที่เร่งตัวสูงในปีนี้ โดยเฉพาะสำหรับกลุ่มครัวเรือนที่มีปัญหารายได้ไม่พอรายจ่ายอยู่แล้ว ซึ่งมีจำนวนถึงกว่า 7 ล้านครัวเรือนหรือเกือบ 1 ใน 3 ของจำนวนครัวเรือนไทยทั้งหมด ที่ปัญหาเงินเฟ้อสูงในปีนี้จะส่งผลซ้ำเติมทำให้สถานะทางการเงินถดถอยลง ทั้งจากสภาพคล่องที่ลดลงและหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้นจากครัวเรือนบางส่วนที่ต้องกู้มาใช้จ่ายเพื่อชดเชยรายได้ที่ไม่เพียงพอ ถือเป็นความเปราะบางของภาคครัวเรือนไทยที่เพิ่มมากขึ้น
 
นอกจากนี้ ภาคธุรกิจจะประสบปัญหาจากภาระต้นทุนที่สูงขึ้น ซึ่งยังสามารถส่งผ่านไปยังผู้บริโภคได้จำกัด โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าที่ไม่จำเป็น (discretionary)
 
ด้านนโยบายการเงิน EIC คาดว่า กนง. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ 0.75% ในไตรมาสที่ 3 ปี 2565 จากเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงและเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นหลังเปิดประเทศ เพื่อลดความเสี่ยงด้านเสถียรภาพราคาและชะลอการเร่งตัวของเงินเฟ้อคาดการณ์ที่เริ่มปรับสูงขึ้น โดยเงินเฟ้อคาดการณ์ระยะสั้น (1 ปีข้างหน้า) ของครัวเรือนปรับมาอยู่ที่ 3.1% ในเดือนพฤษภาคม 2565 ขณะที่อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของไทย (อัตราดอกเบี้ยหลังหักเงินเฟ้อ) ในปัจจุบันยังติดลบและอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งอาจส่งผลให้เงินทุนเคลื่อนย้ายมีแนวโน้มไหลออกจากไทยและเงินบาทมีโอกาสปรับอ่อนค่าลง
 
ทั้งนี้การลดระดับการผ่อนคลายสูงของนโยบายการเงิน (ultra-easy monetary policy) จะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อประคับประคองการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ยังเปราะบางและมีแผลเป็นจากวิกฤตโควิด ทั้งการว่างงาน รายได้ที่ฟื้นตัวช้า และภาระหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง
 
สำหรับค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ นับตั้งแต่ต้นปี 2565 จนถึงวันที่ 7 มิถุนายนที่ผ่านมา เงินบาทอ่อนค่าลงราว 3.6% ซึ่งเป็นการอ่อนค่าในทิศทางเดียวกันและใกล้เคียงกับสกุลอื่นในภูมิภาค EIC มองว่า ในระยะสั้นค่าเงินบาทจะยังเผชิญแรงกดดันจากการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed และความเสี่ยงของภาวะสงคราม ส่งผลให้เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าอยู่ในกรอบ 34.5-35.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
 
อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายปี 2565 จากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวขึ้น และดุลบัญชีเดินสะพัดที่จะปรับดีขึ้นตามดุลภาคบริการ โดย ณ สิ้นปี 2565 EIC คาดว่าเงินบาทมีแนวโน้มกลับมาแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วง 33.5-34.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
 

 
จ่อขึ้นค่าขนส่ง 4% หากน้ำมันปรับเกิน 35 บาทต่อลิตร รับส่งให้ราคาสินค้าพุ่งอีก
https://ch3plus.com/news/economy/ch3onlinenews/296024

สหพันธ์การขนส่งทางบกฯ เตรียมปรับราคาอัตราค่าขนส่ง 4% หากราคาน้ำมันดีเซลทะลุเกิน 35 บาทต่อลิตร หลังต้องแบกรับต้นทุนค่าน้ำมัน-ค่าบำรุงรักษาที่เพิ่มขึ้น เสนอรัฐลดค่าการกลั่น เพราะได้กำไรสูงมาก
 
นายวุฒิพงษ์ วิศิษฏ์ศักดิ์ รองประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในสัปดาห์หน้าทางกลุ่มสหพันธ์ฯ จะหารือเพื่อจะเคาะมติการขอปรับราคาค่าบรรทุกเพิ่มขึ้นหากราคาน้ำมันดีเซลปรับสูงเกินกว่า 35 บาทต่อลิตร
 
หากราคาน้ำมันดีเซลขึ้นอีก 1 บาทต่อลิตร จะขอขึ้นค่าขนส่งเป็น 4% จากเดิม 3% เนื่องจากต้นทุนอีก 1% ที่ปรับเพิ่มขึ้น มาจากค่าบำรุงรักษาตัวรถ เช่น ค่าอะไหล่ ค่าช่างฝีมือแรงงาน อุปกรณ์ ยางรถ ที่ปรับเพิ่มขึ้นมาราว 20%
 
ขณะนี้ทางกลุ่มผู้ประกอบการ 80% เห็นด้วยกับการขอขึ้นค่าขนส่งในครั้งนี้ เพราะกลุ่มรถบรรทุกประสบปัญหาเช่นเดียวกันเกือบทั้งหมด และอยากสะท้อนไปยังภาครัฐถึงต้นทุนของกลุ่มภาคขนส่งที่สูงขึ้นตามความเป็นจริง
 
เบื้องต้น ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นมาจะใช้วิธีการเจรจากับผู้ว่าจ้างขนส่งสินค้าในการขอขึ้นราคาค่าขนส่งที่ผันผวนตามราคาน้ำมันและค่าบำรุงรักษา โดยจะปรับทุกวันที่ 1 ของเดือน และยอมรับว่าคงจะมีผลต่อราคาสินค้าปลายทางสูงขึ้นอีก
 
พร้อมกับเสนอว่ารัฐบาลสามารถที่จะดูแลราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลให้ลดลงกว่านี้ได้เช่นการปรับลดค่าการกลั่นที่ปัจจุบันโรงกลั่นได้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่