[CR] นาแห้ว Na Haeo อยู่จังหวัดเลยก๋อ


ถิ่นกำเนิดลูกเสือชาวบ้าน อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย เลื่องลือไกลพระธาตุดินแทน สุดแดนสยามเมืองหนาว เมืองแห่งหุบเขากระชายดำ เลิศล้ำวัฒนธรรมประเพณีริมเหือง สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองวัดโพธิ์ชัย ผู้คนแจ่มใสน้ำใจดีงาม

 ดอกไม้
ใช่ค่ะข้อความข้างบนคือคำขวัญของ อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย เมืองที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรม ประเพณีที่โครตมีเสน่ห์ ภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ ธรรมชาติที่สมบูรณ์ ภูเขาโอบล้อม แถมติดชายแดนฝั่งลาว รวยน้ำใจ ผู้คนใจดี จะหาคำเคลมเมืองนี่ยังไงดี คือมันเลิศ มาที่นี่ยังไงก็ไม่ผิดหวัง สักครั้งในชีวิตต้องมาลองดูนะคะ
เรามีเวลาที่นี้ 1 คืนแล้ว  เดินทางถึง 11 มิ.ย. 65 เสาร์เย็น ช่วงนี้อากาศจะร้อนหน่อย แต่ถ้าฝนตกก็จะโชคดีได้เห็นหมอกบ้าง เราขอแนะนำที่เที่ยวเท่าที่เวลาจำกัดนะคะ อยากอยู่หลายวันจริงๆจะไปให้ครบทุกที่เลย ส่วนใครที่สนใจข้อมูลท่องเที่ยวแน่นๆไปตามเพจ นาแห้ว Na Haeo https://www.facebook.com/NahaeoDistrict จะมีแนะนำสถานที่เที่ยว ร้านอาหาร ไว้เยอะมากๆ ภาพมุมสวยๆเพียบเลย

 
ก่อนขึ้น อ.นาแห้ว เราแวะไหว้พระธาตุศรีสองรัก เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองที่สำคัญของ อ.ด่านซ้าย ก่อนขึ้นนาแห้วเราจะต้องผ่านอำเภอด่านซ้ายก่อนนะคะ
เม่าอ่าน
สร้างขึ้นตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2103 สมัยกรุงศรีอยุธยา  เพื่อเป็นสักขีพยานในการช่วยเหลือกันระหว่างพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา(ไทย) และพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่งอาณาจักรล้านช้าง(ลาว) เนื่องจากยุคนั้นพม่าเรืองอำนาจ และมีการรุกรานดินแดนต่างๆ เพื่อขยายอำนาจ  กษัตริย์ทั้งสองพระองค์จึงเห็นว่าควรจับมือกันเพื่อความมั่นคง จึงได้กระทำสัตยาธิษฐานว่าจะไม่ล่วงล้ำดินแดนของกันและกัน พร้อมได้ร่วมกันสร้างเจดีย์ขึ้นถวายมีพระนามว่า“พระธาตุศรีสองรัก”  ริมลำน้ำหมัน เป็นดังสักขีพยานแห่งสัจจะไมตรี และจะมีการจัดงานสมโภชพระธาตุในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี

ผู้ที่จะมาสักการะพระธาตุศรีสองรัก ห้ามใส่เสื้อผ้า "สีแดง" หรือถือสิ่งของที่มีสีแดงเข้าไปบริเวณองค์พระธาตุ  เพราะ "สีแดง" อาจเปรียบได้กับ "เลือด" ที่เป็นผลของการทำสงคราม ดังนั้น คนโบราณจึงมีการห้ามไม่ให้ผู้ที่สวมเสื้อผ้าสีแดง เข้าไปบริเวณองค์พระธาตุ จนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบมาจนถึงปัจจุบัน
(ขอบคุณข้อมูลจากเว็ปท่องเที่ยวจังหวัดเลย)


ทางขึ้นเขาที่นี่ไม่แพ้ทางภาคเหนือเลย สูงชัน ถ้าฝนตกต้องขับรถระวังถนนลื่น ใครสายมอเตอร์ไซค์น่าจะชอบเลยค่ะ วิวหลักล้าน จุดนี้อยู่ระหว่างทางนะคะ ถนนลอยฝ้า ภูเก้าง้อม ต.นามาลา (นามาลา ที่แปลว่า นาดอกไม้ แอบคิดว่าถ้าผู้หญิงที่ชื่อนามาลา ต้องเป็นผู้หญิงที่สวยมาก love) ถนนตัวเอสมากกกกกกกก ต้องตั้งหลักดีๆลงเนินมาหักเข้าที่จอดเลย เบาได้เบาก่อนนะคะจุดนี้  

เพี้ยนแช๊ะวัดโพธิ์ชัย WAT PHO CHAI
วัดโพธิ์ชัยตั้งอยู่ที่ ต.นาพึง อ.นาแห้ว กรมศิลปากรได้ทำการตรวจสอบพบว่าโบสถ์ วิหาร และพระพุทธรูปนั้นมีอายุ 400 ปี พระพุทธรูปสำคัญศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพของชาวบ้าน คือ พระเจ้าองค์แสน หรือพระพุทธรูปฝนแสนห่า ตามประวัติเล่าว่า เสด็จมาจากเมืองเชียงแสนด้วยพระองค์เอง มาประดิษฐานอยูที่วัดโพธิ์ชัย โดยมีฆ้องห้อยศอกมา 1 อัน และลูกแก้วเป็นทองสัมฤทธิ์มาด้วย 1 องค์ พร้อมด้วยปืน 1 กระบอก ต่อมาเจ้าเมืองเชียงของทราบข่าวจึงยกขบวนพลช้าง พลม้า เพื่อที่จะอัญเชิญไปเชียงของ แต่ไม่สามารถอัญเชิญไปได้ และเล่ากันต่อมาว่า ถ้าพระพุทธรูปองค์นี้เสด็จไปประดิษฐาน ณ ที่ใด ที่นั้นจะไม่มีการแล้ง จึงได้ชื่อว่าพระพุทธรูปฝนแสนห่า
วัดโพธิ์ชัย บ้านนาพึง ได้ก่อตั้งในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง โดยมีขุนแกนเป็นผู้นำในการก่อสร้างได้รวบรวมคนในพื้นที่ทุกคนร่วมมือกันก่อสร้าง วิหาร โบสถ์ เจดีย์ กำแพงรอบวัด ฯลฯ ก่อด้วยอิฐและฉาบด้วยหินปูน ผสมยางไม้และหนังสัตว์ ที่ได้รับการต้มและเคี่ยวให้เหลว วัดโพธิ์ชัยแห่งนี้ เป็นวัดใหญ่ที่สังเกตเห็นได้ถึงอุโบสถ์สร้างผสมผสานกันระหว่างล้านช้างและล้านนา แล้วยังมีจิตรกรรม
(ขอบคุณข้อมูลจากเว็ป gplace.com )
ในภาพกำลังบูรณะหลังคาโบสถ์ เลยมีการสร้างหลังคา(สีแดง)คลุมเพื่อกันฝน ไม่ให้ภาพจิตกรรมเสียหาย
หอไตร หรือหอพระไตรปิฎก สร้างด้วยไม้สูงมาก สวยมากจริงๆค่ะ  ส่วนใหญ่ที่เคยเห็นบางที่ก็สร้างบนบก หรือกลางน้ำ เพื่อป้องกันปลวก แต่ที่นี่คิดว่าใช้ความสูงเข้าสู้ เพี้ยนลอย

ภาพจิตกรรมฝาผนังผนังด้านนอกเขียนเรื่อง เนมิราชชาดก สังข์ศิลป์ชัย และการะเกต สะท้อนให้เห็นสภาพชีวิตความเป็นอยู่ และการนับถือศาสนาของชาวบ้านนาพึงในช่วงปลายสมัยอยุธยา
ส่วนตัวแล้วอ่านภาพ และเรื่องราวไม่ออก แต่การให้สีคือสวยมาก

มาดูภายใน สวยไม่แพ้ด้านนอกเลย

จิตกรรมฝาผนัง ด้านในเกี่ยวกับเรื่องพุทธประวัติ และพระเวสสันดรชาดก สีสวยมากที่เห็นคือยังไม่มีการบูรณะเลยสักครั้ง แต่สียังคงสดอยู่เลย
นั่งดูไป อ่านประวัติไปขนลุกเลย เรายังมีโอกาสได้เห็นสิ่งที่มีคุณค่าขนาดนี้ นี่เรากำลังนั่งอยู่ในสถานที่ที่มีอายุกว่า 400 ปี 

หลังออกมาจากวัดเราก็มุ่งหน้าไปที่ ชายแดนไทย-ลาว บ้านเหมืองแพร่ ทุกๆวันเสาร์จะมีถนนเดินด้วยนะ นี่เป็นสัปดาห์ที่2 เป็นสีสันให้กับนาแห้ว ฟังเพลงมองวิวฝั่งลาวกั้นด้วยลำน้ำเล็กๆเอง มองยังไงก็แผ่นดินเดียวกันบ้านพี่เมืองน้อง 
คุณยายคือน่ารักมาก มานั่งเตรียมเปิดฟลอร์รำวง เหมารอบได้นะคะคุณยายมีรายได้แถมสุขภาพแข็งแรงเพี้ยนลาเวนเดอร์


ชุมชนบ้านเหมืองแพร่ตั้งอยู่ในหุบเขาริมฝั่งลำน้ำเหือง ติดกับชายแดนไทย-ลาว ในท้องที่ตำบลนาแห้ว อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ห่างจากอำเภอเมืองเลย 109 กิโลเมตร แต่อยู่ห่างจากดินแดนลาวไม่เกิน 20 เมตร โดยมีแม่น้ำเหืองกั้นขวางเป็นพรมแดนสมมติอยู่เท่านั้น ในอดีตชุมชนบ้านเหมืองแพร่ตั้งอยู่ทั้งสองฝั่งของลำน้ำเหือง ชาวบ้านทั้งหมดต่างเป็นเครือญาติที่ดำเนินวิถีชีวิตและประกอบอาชีพโดยการข้ามแม่น้ำไปมา ต่อมาเมื่อมีเหตุการณ์การปักปันเขตแดนระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในสมัยรัชกาลที่ 5 ทำให้ส่วนหนึ่งของชุมชนที่อยู่ฝั่งซ้ายของลำน้ำเหือง ตกอยู่ในการกำกับดูแลของฝรั่งเศสและปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศลาว แม้ว่าชุมชนจะถูกแบ่งแยกออกจากกัน แต่ความสัมพันธ์ฉันเครือญาติยังคงอยู่ โดยคนบ้านเหมืองแพร่ฝั่งไทยมีคำเรียกบ้านเหมืองแพร่ที่อยู่อีกฝั่งลำน้ำเหืองว่า ‘ฟากน้ำ’ และพวกเขายังคงติดต่อไปมาหาสู่กับญาติที่อาศัยอยู่อีกฟากน้ำเป็นประจำ
(ขอบคุณข้อมูลจาก sac.or.th)
ในภาพฝั่งซ้ายไทย ฝั่งขวาลาว

บรรยากาศเริ่มแล้ว 4 5 โมงเย็นเริ่มตั้งร้านกันแล้ว

คุณยายขายขนมจีนเส้นสดบีบกันแบบนี้เลย ก่อเตาถ่านด้วยนะ
เราไม่กินเผ็ดเลยขอซื้อพะโล้ 1 ถุง ราดเลยยยยยย  

หลามไก่ ใหญ่มากกกกกกก
กระบอกไม้ไผ่เทแกง ใส่อาหารได้เลย เก๋มาก

ค่ำๆ อากาศเริ่มเย็น ดนตรีก็สนุก คุณยายก็สนุก เหมากันไปหลายรอบ เสียดายไม่ค่อยได้ถ่ายรูปเท่าไหร่ มีแต่วีดีโอ

เราพักแถวๆนี้ มีโฮมสเตย์หลายที่เลย ส่วนค่ำคืนนี้มันดีจริงๆค่ะได้นั่งพูดคุยกับคนในท้องที่น่ารักมาก พี่ๆเล่าเรื่องประวัติต่างๆ ยิ่งแถบชายแดนเรื่องเล่าเยอะจริงๆยิ่งฟังยิ่งสนุก ด่านชายแดนตรงนี้จะเปิดให้ข้ามไปเที่ยวชมวัดได้ 1 ก.ค.65 นี้นะคะ อยากไปมากเลยสงสัยว่าจะได้มาอีกแน่นอน(ไม่แน่ใจนะคะ 1 หรือ4 ตอนนั้นคือเมาแล้ว เพี้ยนชนแก้ว)


ชื่อสินค้า:   ท่องเที่ยวธรรมชาติ นาแห้ว
คะแนน:     

CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้

  • - จ่ายเงินซื้อเอง หรือได้รับจากคนรู้จักที่ไม่ใช่เจ้าของสินค้า เช่น เพื่อนซื้อให้
  • - ไม่ได้รับค่าจ้างและผลประโยชน์ใดๆ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่