อั้นไม่ไหว “ปลากระป๋อง ข้าวถุง ของสด" ขึ้นราคาอีกรอบ
https://www.matichon.co.th/economy/news_3395658
อั้นไม่ไหว “ปลากระป๋อง ข้าวถุง ของสด” ขึ้นราคาอีกรอบ
วันที่ 12 มิ.ย. ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่สำราจสถานการณ์ราคาของแห้งของสดในตลาดสดแห่งหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยภาพรวมร้านค้าทั้งยี่ปั๊วและซาปั๊วต่างระบุไปในทิศทางเดียวกันว่าสินค้าหลายรายการยังปรับราคาขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งราคาต้นทุนและขายปลีก ตามต้นทุนการผลิตและค่าขนส่งที่ปรับสูงขึ้น
ขณะที่รายได้จากการขายลดลง เนื่องจากกำลังซื้อซบเซาและลูกค้าส่วนใหญ่ไปซื้อตามห้างสรรพสินค้ามากขึ้นเพราะราคาถูกและมีจัดโปรโมชั่นหลากหลาย
- ปลากระป๋องยี่ห้อดังขึ้นอีก 1 บาท
นาง
มยุรี เจ้าของร้านค้าส่ง กล่าวว่า เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ได้รับแจ้งจากผู้ผลิตและจำหน่ายปลากระป๋องยี่ห้อยอดนิยมยี่หนึ่งขึ้นราคาอีก 100 บาทต่อลัง (จำนวน 100 กระป๋อง ) จาก 2,100 บาท เป็น 2,200 บาทต่อลังหรือขึ้น 1 บาทต่อกระป๋อง โดยเป็นการปรับขึ้นเป็นครั้งที่ 6 นับจากเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2565
- “กาแฟสำเร็จรูป”คงราคาเดิม แต่ลดปริมาณ
นาง
มยุรี กล่าวว่า นอกจากนี้ยังได้รับแจ้งจากผู้ผลิตกาแฟปรุงสำเร็จรูปยี่ห้อยอดนิยมชะลอขึ้นราคาจากเดิมวันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา แต่ได้ปลดปริมาณลงแทน เช่น กาแฟปรุงสำเร็จแบบกล่องเดิมมีน้ำหนัก 400 กรัม เหลือ 360 กรัมต่อกล่อง เป็นต้น ส่วนสินค้าอื่นเตรียมขึ้นราคาในเดือนกรกฎาคมนี้ เช่น เป๊ปซี่ขวดเล็กขึ้น1 บาทต่อขวดและขวดใหญ่ขึ้น2-3 บาทต่อขวด
- “ข้าวถุง”ขึ้นพรวด 10 บาท
นาย
บัญชา เจ้าของร้านจำหน่ายของแห้ง กล่าวว่า ขณะนี้ทางร้านได้ปรับราคาขายไปหลายรายการแล้วนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ค่าขนส่งและน้ำมันแพง เช่น น้ำมันพืชขวด โดยน้ำมันปาล์มราคาขายปลีกอยู่ที่ 70 บาทต่อขวด และถั่วเหลืองอยู่ที่ 75 บาทต่อขวด ล่าสุดปรับขึ้นราคาข้าวถุงขนาด 5 กิโลกรัมทุกยี่ห้ออีก 10 บาทต่อถุง จาก220 บาท เป็น 230 บาทต่อถุง
- “ไข่เป็ด”ราคาพุ่งสวนทาง”ไข่ไก่”ลง 5 บาท
ด้านแม่ค้าขายไข่ไก่รายหนึ่ง กล่าวว่า วันที่ 12 มิถุนายนนี้ ทางร้านจะปรับราคาขายไข่ไก่ลงอีก 5 บาทต่อแผง(จำนวน 30 ฟอง) เนื่องจากราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์มปรับลดลง เช่น ไข่ไก่เบอร์1 จาก 125 บาท อยู่ที่ 120 บาทต่อแผง เบอร์ 2 จาก 120 บาท อยู่ที่ 115 บาทต่อแผง เบอร์3 จาก 115 บาท อยูที่ 110 บาทต่อแผง
“ส่วนราคาขายปลีกนั้นแม่ค้าบอกว่า ต้องดูร้านค้าภายในตลาดด้วยว่าจะปรับลงหรือไม่ ซึ่งราคาขายปลีกปัจจุบันราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 4-4.80 บาทต่อฟอง ส่วนไข่เป็ดนั้นราคาปรับขึ้นประมาณ 6-9 บาท ต่อแผง จาก 126 บาท เป็น 132-135 บาทต่อแผง และขายเปลีกเฉลี่ยอยู่ที่ 5 บาทต่อฟอง”
-“เนื้อหมู-เนื้อไก่”ขยับต่อเนื่อง
นาง
กาญจนา เจ้าของแผงหมู กล่าวว่า เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ร้านได้ปรับราคาหมูบดทุกชนิดขึ้น 10 บาทต่อกิโลกรัม เช่น จาก 90 บาท เป็น 100 บาทต่อกิโลกรัม เนื่องจากเศษหมูหายาก ส่วนราคาช้ินส่วนอื่นๆยังไม่ขึ้นราคา โดยเนื้อสันนอกอยู่ที่ 200 บาทต่อกิโลกรัม สามชั้น 220 บาทต่อกิโลกรัม เนื้อสะโพก 190 บาทต่อกิโลกรัม
“ตอนนี้ค้าขายไม่ค่อยดี กำไรลดลง 20% ต้องลดปริมาณการสั่งเนื้อส่วนที่ขายไม่ดีลง เช่น สะโพก สามชั้น สันนอก เพราะราคาแพง ทำให้คนไม่ค่อยซื้อกิน หันไปซื้ออย่างอื่นแทน” นางกาญจนากล่าว
- “พริกสด”ขึ้นเท่าตัว “มะนาว”ราคาตก
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในส่วนของไก่สดได้มีการทยอยปรับราคาขึ้น 20-30 บาทในช่วงที่ผ่านมา เช่น เนื้ออกเดิม 75 บาท เป็น 95 บาทต่อกิโลกรัม
ด้านผักสดที่ขึ้นราคา เช่น พริกแดง ขึ้นเกือบเท่าตัว จาก 70 บาท เป็น 100-120 บาทต่อกิโลกรัม ผักชีจาก 70 บาท เป็น 100 บาทต่อกิโลกรัม พริกขี้หนูจินดาอยู่ที่ 130-180 บาทต่อกิโลกรัม
ส่วนมะนาวเนื่องจากช่วงนี้มีผลผลิตออกมาจำนวนมาก ทำให้ราคาตกเหลือ 1.50 บาทต่อลูก
แบกไม่ไหว! สมาคมรถโดยสารประจำทางไทย ประกาศลดเที่ยววิ่ง เหตุราคาน้ำมันพุ่ง
https://ch3plus.com/news/economy/morning/295593
(12 มิ.ย.) นาย
พิเชษฐ์ เจียมบุรเศรษฐ์ นายกสมาคมกิจการรถโดยสารประจำทางไทย เผยว่า ในนามสมาคมผู้ประกอบการรถโดยสารประจำทางไทยจึงขอเป็นตัวแทนในการกล่าวขอโทษประชาชนผู้โดยสารที่มีความจำเป็นต้องใช้บริการรถโดยสารในชีวิตประจำวัน ว่าผู้ประกอบการรถโดยสารจะพยายามยืนหยัดเพื่อเคียงข้างการให้บริการให้ดีที่สุดเท่าที่สามารถดำเนินการได้ โดยระหว่างที่ยังไม่มีทางออกในการแบกรับต้นทุนนี้ อาจต้องส่งผลให้ผู้โดยสารได้รับผลกระทบในความไม่สะดวกในการใช้บริการ
เนื่องจากบรรดาผู้ประกอบการต้องลดเที่ยววิ่งลงและทยอยหยุดการให้บริการในบางเส้นทาง ซึ่งเป็นทางเลือกทางสุดท้ายก่อนที่อาจต้องปิดกิจการถาวรในที่สุด และขอขอบคุณประชาชนผู้โดยสารทุกท่าน ที่เข้าใจและเป็นกำลังใจในการประกอบการเดินรถโดยสารของไทยมาโดยตลอด
นาย
พิเชษฐ์ เปิดเผยว่า ด้วยสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา จากค่าโดยสารเมื่อปี 2562 ที่ราคาน้ำมันดีเซลอยู่ที่ลิตรละประมาณ 27 บาท
จนถึง ณ เวลานี้ ราคาน้ำมันดีเซลอยู่ที่ลิตรละ 34 บาท ปรับเพิ่มขึ้นถึงลิตรละประมาณ 7 บาท ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระเพิ่มขึ้นเที่ยวละประมาณ 1,400 บาท โดยเฉลี่ยหากวิ่งวันละ 50 เที่ยว ต้องแบกภาระเพิ่มขึ้นวันละประมาณ 70,000 บาท ประกอบกับต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆที่ทยอยปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้ประกอบการรถโดยสารประจำทางต้องทนแบกรับภาระค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง เพียงเพื่อให้สามารถเป็นช่องทางการเดินทางที่ประหยัด และสะดวกที่สุดแก่ประชาชน
พร้อมทั้งพยายามขอให้ภาครัฐพิจารณาแนวทางการช่วยเหลืออย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการใช้อัตราโครงสร้างค่าโดยสารที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เมื่อปี 2548 ซึ่งเป็นอัตราที่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง แต่จนถึงขณะนี้ รัฐบาลไม่มีทีท่าจะให้การเหลียวแลแต่อย่างใด ขณะที่การขนส่งทางอากาศ และทางน้ำได้มีการปรับค่าโดยสารกันไปแล้วก่อนหน้านี้
“เผ่าภูมิ” เผยถกงบคลังเจอแต่หนี้ค่าดอกเบี้ยพุ่ง
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_355180/
“เผ่าภูมิ” เผยถกงบคลังเจอแต่หนี้ค่าดอกเบี้ยพุ่ง จัดเก็บพลาดเพราะประเมินเศรษฐกิจผิด
นาย
เผ่าภูมิ โรจนสกุล รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย ในฐานะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กล่าวว่า การประชุมกมธ.งบฯ ได้พิจารณาสัปดาห์แรกจบไปแล้ว เป็นในส่วนของภาพรวมเศรษฐกิจ และกระทรวงการคลัง
รวมถึงธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ สิ่งที่พบเจอ ล้วนแต่น่าหนักใจ หนี้บนพรมพรึบ หนี้ใต้พรมเพียบ นอกจากหนี้สาธารณะ 4.4 ล้านล้านบาท ที่ถูกสร้างใหม่ขึ้นใน 8 ปี
ยังเจอกับหนี้ที่ไม่ถูกบันทึกเป็นหนี้สาธารณะจากมาตรการกึ่งการคลังอีกราว 1 ล้านล้านบาท และพุ่งแรงต่อเนื่องจากมาตรการด้านการเกษตรของรัฐบาล เป็นรายจ่ายก้อนโตทุกๆ ปี ที่ต้องตั้งงบประมาณจ่ายไปยัง ธกส. เป็นส่วนใหญ่ ที่สำคัญแทบไม่มีข้อมูลเลยว่ารัฐบาลใช้อะไรไปบ้าง ยอดคงค้างเท่าไหร่ ชำระเป็นอย่างไร
กมธ.จากพรรคเพื่อไทยได้เรียกขอเอกสารไปทั้งหมด ต้องติดตามกันดูต่อ ค่าดอกเบี้ยพุ่ง การใช้หนี้สาธารณะในส่วนของ สบน. ปีนี้เป็นดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมสูงถึง 192,126 ล้านบาท เกือบ 3 เท่าของการชำระเงินต้น ภาษีประชาชนถูกนำไปใช้หนี้แต่ไปจมอยู่ที่ค่าดอกเบี้ย ยังไม่รวมค่าดอกเบี้ยจากหนี้ใต้พรมอีก นี่คือต้นทุนอันมหาศาลของการกู้เงินและการสร้างหนี้สาธารณะไปเรื่อยๆ ซึ่งในระยะหลังๆ เป็นการกู้ที่ไม่สร้างรายได้ให้กับประเทศ
ประเมินเศรฐกิจฝันหวาน ภาพที่เห็นที่ห้อง กมธ.งบฯ นั้นหน่วยงานที่ชี้แจงเสนอภาพที่เต็มด้วยความหวัง ในขณะที่ฝั่ง กมธ. กลับเห็นภาพที่น่าเป็นห่วง เหมือนอยู่กันคนละประเทศ ต้องเจอทั้งเรื่องเงินเฟ้อ ผลจากการต่อสู้เงินเฟ้อของ FED ต้นทุนการผลิตพุ่ง
รวมถึงผลกระทบหากไทยต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย การคาดการณ์ GDP สำหรับปี 66 (ซึ่งใช้ทำงบ) ที่ 3.7% ยังคงตัวเลขเดิมตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา แม้จะมีปัจจัยลบใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จัดเก็บพลาด ปีงบฯ 65 กรมสรรพสามิตเก็บภาษีพลาดเป้าทุกเดือนติดต่อกัน ต่ำกว่าเป้าถึง 26,501 ล้านบาท และภาษีสำหรับการระดมทุนทั้งในตลาดหุ้นและตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล มีแนวโน้มเดินหน้าต่อ ทั้งสองภาษีนี้ทำลายตลาดการระดมทุนของประเทศ
ในขณะที่ภาษีที่ควรเก็บเช่น ภาษีมรดก กลับไม่คืบหน้า ย่ำอยู่กับที่ราว 200 กว่าล้าน ธนาคารรัฐ วางบทบาทผิด ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐบางแห่งมุ่งสร้างกำไร มุ่งลด NPL เพิ่ม BIS แต่พันธกิจหลักในการเข้าทำในสิ่งที่ธนาคารพาณิชย์ไม่อยากทำ เข้าเสี่ยงในสิ่งที่ธนาคารพาณิชย์ไม่อยากเสี่ยง กลับไม่ได้ทำ SME bank ที่มีหน้าที่เข้าช่วย SMEs ในช่วงวิกฤตโดยตรง กลับมี NPL ที่ลดลง ที่น่าตกใจสินเชื่อปล่อยใหม่ตั้งแต่ต้นปี 65 แทบไม่มี NPL เลย
อีกทั้งเงินให้กู้ยืมต่อรายกลับเพิ่มขึ้น ซึ่งตรงข้ามกับพันธกิจที่ต้องยอมเสี่ยงเพื่อช่วย SMEs และการคลังชนเพดาน การเงินโดนกดดัน ด้านการคลัง งบฉบับนี้ผ่านการเค้นทั้งการประมาณการรายได้ที่สูงเกินจริง
จากการคาดการณ์ที่ GDP ที่สูงเกินจริง รวมถึงตั้งขาดดุลเกือบเต็มเพดานเพื่อทำให้มีเงินมาใช้จ่าย จนเรียกได้ว่าการคลังชนเพดาน ส่วนนโยบายการเงินก็ถูกกดดันจากปัจจัยต่างประเทศให้ในที่สูงอาจต้องฝืนขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ทั้งๆ ที่ประเทศไม่มีความพร้อมเลย
JJNY : อั้นไม่ไหว ขึ้นราคาอีกรอบ│ส.รถโดยสารประจำทางไทยลดเที่ยววิ่ง│เผยงบคลังเจอแต่หนี้ดอกเบี้ย│สหรัฐไม่เชื่อลต.เมียนมา
https://www.matichon.co.th/economy/news_3395658
อั้นไม่ไหว “ปลากระป๋อง ข้าวถุง ของสด” ขึ้นราคาอีกรอบ
วันที่ 12 มิ.ย. ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่สำราจสถานการณ์ราคาของแห้งของสดในตลาดสดแห่งหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยภาพรวมร้านค้าทั้งยี่ปั๊วและซาปั๊วต่างระบุไปในทิศทางเดียวกันว่าสินค้าหลายรายการยังปรับราคาขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งราคาต้นทุนและขายปลีก ตามต้นทุนการผลิตและค่าขนส่งที่ปรับสูงขึ้น
ขณะที่รายได้จากการขายลดลง เนื่องจากกำลังซื้อซบเซาและลูกค้าส่วนใหญ่ไปซื้อตามห้างสรรพสินค้ามากขึ้นเพราะราคาถูกและมีจัดโปรโมชั่นหลากหลาย
- ปลากระป๋องยี่ห้อดังขึ้นอีก 1 บาท
นางมยุรี เจ้าของร้านค้าส่ง กล่าวว่า เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ได้รับแจ้งจากผู้ผลิตและจำหน่ายปลากระป๋องยี่ห้อยอดนิยมยี่หนึ่งขึ้นราคาอีก 100 บาทต่อลัง (จำนวน 100 กระป๋อง ) จาก 2,100 บาท เป็น 2,200 บาทต่อลังหรือขึ้น 1 บาทต่อกระป๋อง โดยเป็นการปรับขึ้นเป็นครั้งที่ 6 นับจากเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2565
- “กาแฟสำเร็จรูป”คงราคาเดิม แต่ลดปริมาณ
นางมยุรี กล่าวว่า นอกจากนี้ยังได้รับแจ้งจากผู้ผลิตกาแฟปรุงสำเร็จรูปยี่ห้อยอดนิยมชะลอขึ้นราคาจากเดิมวันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา แต่ได้ปลดปริมาณลงแทน เช่น กาแฟปรุงสำเร็จแบบกล่องเดิมมีน้ำหนัก 400 กรัม เหลือ 360 กรัมต่อกล่อง เป็นต้น ส่วนสินค้าอื่นเตรียมขึ้นราคาในเดือนกรกฎาคมนี้ เช่น เป๊ปซี่ขวดเล็กขึ้น1 บาทต่อขวดและขวดใหญ่ขึ้น2-3 บาทต่อขวด
- “ข้าวถุง”ขึ้นพรวด 10 บาท
นายบัญชา เจ้าของร้านจำหน่ายของแห้ง กล่าวว่า ขณะนี้ทางร้านได้ปรับราคาขายไปหลายรายการแล้วนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ค่าขนส่งและน้ำมันแพง เช่น น้ำมันพืชขวด โดยน้ำมันปาล์มราคาขายปลีกอยู่ที่ 70 บาทต่อขวด และถั่วเหลืองอยู่ที่ 75 บาทต่อขวด ล่าสุดปรับขึ้นราคาข้าวถุงขนาด 5 กิโลกรัมทุกยี่ห้ออีก 10 บาทต่อถุง จาก220 บาท เป็น 230 บาทต่อถุง
- “ไข่เป็ด”ราคาพุ่งสวนทาง”ไข่ไก่”ลง 5 บาท
ด้านแม่ค้าขายไข่ไก่รายหนึ่ง กล่าวว่า วันที่ 12 มิถุนายนนี้ ทางร้านจะปรับราคาขายไข่ไก่ลงอีก 5 บาทต่อแผง(จำนวน 30 ฟอง) เนื่องจากราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์มปรับลดลง เช่น ไข่ไก่เบอร์1 จาก 125 บาท อยู่ที่ 120 บาทต่อแผง เบอร์ 2 จาก 120 บาท อยู่ที่ 115 บาทต่อแผง เบอร์3 จาก 115 บาท อยูที่ 110 บาทต่อแผง
“ส่วนราคาขายปลีกนั้นแม่ค้าบอกว่า ต้องดูร้านค้าภายในตลาดด้วยว่าจะปรับลงหรือไม่ ซึ่งราคาขายปลีกปัจจุบันราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 4-4.80 บาทต่อฟอง ส่วนไข่เป็ดนั้นราคาปรับขึ้นประมาณ 6-9 บาท ต่อแผง จาก 126 บาท เป็น 132-135 บาทต่อแผง และขายเปลีกเฉลี่ยอยู่ที่ 5 บาทต่อฟอง”
-“เนื้อหมู-เนื้อไก่”ขยับต่อเนื่อง
นางกาญจนา เจ้าของแผงหมู กล่าวว่า เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ร้านได้ปรับราคาหมูบดทุกชนิดขึ้น 10 บาทต่อกิโลกรัม เช่น จาก 90 บาท เป็น 100 บาทต่อกิโลกรัม เนื่องจากเศษหมูหายาก ส่วนราคาช้ินส่วนอื่นๆยังไม่ขึ้นราคา โดยเนื้อสันนอกอยู่ที่ 200 บาทต่อกิโลกรัม สามชั้น 220 บาทต่อกิโลกรัม เนื้อสะโพก 190 บาทต่อกิโลกรัม
“ตอนนี้ค้าขายไม่ค่อยดี กำไรลดลง 20% ต้องลดปริมาณการสั่งเนื้อส่วนที่ขายไม่ดีลง เช่น สะโพก สามชั้น สันนอก เพราะราคาแพง ทำให้คนไม่ค่อยซื้อกิน หันไปซื้ออย่างอื่นแทน” นางกาญจนากล่าว
- “พริกสด”ขึ้นเท่าตัว “มะนาว”ราคาตก
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในส่วนของไก่สดได้มีการทยอยปรับราคาขึ้น 20-30 บาทในช่วงที่ผ่านมา เช่น เนื้ออกเดิม 75 บาท เป็น 95 บาทต่อกิโลกรัม
ด้านผักสดที่ขึ้นราคา เช่น พริกแดง ขึ้นเกือบเท่าตัว จาก 70 บาท เป็น 100-120 บาทต่อกิโลกรัม ผักชีจาก 70 บาท เป็น 100 บาทต่อกิโลกรัม พริกขี้หนูจินดาอยู่ที่ 130-180 บาทต่อกิโลกรัม
ส่วนมะนาวเนื่องจากช่วงนี้มีผลผลิตออกมาจำนวนมาก ทำให้ราคาตกเหลือ 1.50 บาทต่อลูก
แบกไม่ไหว! สมาคมรถโดยสารประจำทางไทย ประกาศลดเที่ยววิ่ง เหตุราคาน้ำมันพุ่ง
https://ch3plus.com/news/economy/morning/295593
(12 มิ.ย.) นายพิเชษฐ์ เจียมบุรเศรษฐ์ นายกสมาคมกิจการรถโดยสารประจำทางไทย เผยว่า ในนามสมาคมผู้ประกอบการรถโดยสารประจำทางไทยจึงขอเป็นตัวแทนในการกล่าวขอโทษประชาชนผู้โดยสารที่มีความจำเป็นต้องใช้บริการรถโดยสารในชีวิตประจำวัน ว่าผู้ประกอบการรถโดยสารจะพยายามยืนหยัดเพื่อเคียงข้างการให้บริการให้ดีที่สุดเท่าที่สามารถดำเนินการได้ โดยระหว่างที่ยังไม่มีทางออกในการแบกรับต้นทุนนี้ อาจต้องส่งผลให้ผู้โดยสารได้รับผลกระทบในความไม่สะดวกในการใช้บริการ
เนื่องจากบรรดาผู้ประกอบการต้องลดเที่ยววิ่งลงและทยอยหยุดการให้บริการในบางเส้นทาง ซึ่งเป็นทางเลือกทางสุดท้ายก่อนที่อาจต้องปิดกิจการถาวรในที่สุด และขอขอบคุณประชาชนผู้โดยสารทุกท่าน ที่เข้าใจและเป็นกำลังใจในการประกอบการเดินรถโดยสารของไทยมาโดยตลอด
นายพิเชษฐ์ เปิดเผยว่า ด้วยสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา จากค่าโดยสารเมื่อปี 2562 ที่ราคาน้ำมันดีเซลอยู่ที่ลิตรละประมาณ 27 บาท
จนถึง ณ เวลานี้ ราคาน้ำมันดีเซลอยู่ที่ลิตรละ 34 บาท ปรับเพิ่มขึ้นถึงลิตรละประมาณ 7 บาท ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระเพิ่มขึ้นเที่ยวละประมาณ 1,400 บาท โดยเฉลี่ยหากวิ่งวันละ 50 เที่ยว ต้องแบกภาระเพิ่มขึ้นวันละประมาณ 70,000 บาท ประกอบกับต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆที่ทยอยปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้ประกอบการรถโดยสารประจำทางต้องทนแบกรับภาระค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง เพียงเพื่อให้สามารถเป็นช่องทางการเดินทางที่ประหยัด และสะดวกที่สุดแก่ประชาชน
พร้อมทั้งพยายามขอให้ภาครัฐพิจารณาแนวทางการช่วยเหลืออย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการใช้อัตราโครงสร้างค่าโดยสารที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เมื่อปี 2548 ซึ่งเป็นอัตราที่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง แต่จนถึงขณะนี้ รัฐบาลไม่มีทีท่าจะให้การเหลียวแลแต่อย่างใด ขณะที่การขนส่งทางอากาศ และทางน้ำได้มีการปรับค่าโดยสารกันไปแล้วก่อนหน้านี้
“เผ่าภูมิ” เผยถกงบคลังเจอแต่หนี้ค่าดอกเบี้ยพุ่ง
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_355180/
“เผ่าภูมิ” เผยถกงบคลังเจอแต่หนี้ค่าดอกเบี้ยพุ่ง จัดเก็บพลาดเพราะประเมินเศรษฐกิจผิด
นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย ในฐานะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กล่าวว่า การประชุมกมธ.งบฯ ได้พิจารณาสัปดาห์แรกจบไปแล้ว เป็นในส่วนของภาพรวมเศรษฐกิจ และกระทรวงการคลัง
รวมถึงธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ สิ่งที่พบเจอ ล้วนแต่น่าหนักใจ หนี้บนพรมพรึบ หนี้ใต้พรมเพียบ นอกจากหนี้สาธารณะ 4.4 ล้านล้านบาท ที่ถูกสร้างใหม่ขึ้นใน 8 ปี
ยังเจอกับหนี้ที่ไม่ถูกบันทึกเป็นหนี้สาธารณะจากมาตรการกึ่งการคลังอีกราว 1 ล้านล้านบาท และพุ่งแรงต่อเนื่องจากมาตรการด้านการเกษตรของรัฐบาล เป็นรายจ่ายก้อนโตทุกๆ ปี ที่ต้องตั้งงบประมาณจ่ายไปยัง ธกส. เป็นส่วนใหญ่ ที่สำคัญแทบไม่มีข้อมูลเลยว่ารัฐบาลใช้อะไรไปบ้าง ยอดคงค้างเท่าไหร่ ชำระเป็นอย่างไร
กมธ.จากพรรคเพื่อไทยได้เรียกขอเอกสารไปทั้งหมด ต้องติดตามกันดูต่อ ค่าดอกเบี้ยพุ่ง การใช้หนี้สาธารณะในส่วนของ สบน. ปีนี้เป็นดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมสูงถึง 192,126 ล้านบาท เกือบ 3 เท่าของการชำระเงินต้น ภาษีประชาชนถูกนำไปใช้หนี้แต่ไปจมอยู่ที่ค่าดอกเบี้ย ยังไม่รวมค่าดอกเบี้ยจากหนี้ใต้พรมอีก นี่คือต้นทุนอันมหาศาลของการกู้เงินและการสร้างหนี้สาธารณะไปเรื่อยๆ ซึ่งในระยะหลังๆ เป็นการกู้ที่ไม่สร้างรายได้ให้กับประเทศ
ประเมินเศรฐกิจฝันหวาน ภาพที่เห็นที่ห้อง กมธ.งบฯ นั้นหน่วยงานที่ชี้แจงเสนอภาพที่เต็มด้วยความหวัง ในขณะที่ฝั่ง กมธ. กลับเห็นภาพที่น่าเป็นห่วง เหมือนอยู่กันคนละประเทศ ต้องเจอทั้งเรื่องเงินเฟ้อ ผลจากการต่อสู้เงินเฟ้อของ FED ต้นทุนการผลิตพุ่ง
รวมถึงผลกระทบหากไทยต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย การคาดการณ์ GDP สำหรับปี 66 (ซึ่งใช้ทำงบ) ที่ 3.7% ยังคงตัวเลขเดิมตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา แม้จะมีปัจจัยลบใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จัดเก็บพลาด ปีงบฯ 65 กรมสรรพสามิตเก็บภาษีพลาดเป้าทุกเดือนติดต่อกัน ต่ำกว่าเป้าถึง 26,501 ล้านบาท และภาษีสำหรับการระดมทุนทั้งในตลาดหุ้นและตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล มีแนวโน้มเดินหน้าต่อ ทั้งสองภาษีนี้ทำลายตลาดการระดมทุนของประเทศ
ในขณะที่ภาษีที่ควรเก็บเช่น ภาษีมรดก กลับไม่คืบหน้า ย่ำอยู่กับที่ราว 200 กว่าล้าน ธนาคารรัฐ วางบทบาทผิด ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐบางแห่งมุ่งสร้างกำไร มุ่งลด NPL เพิ่ม BIS แต่พันธกิจหลักในการเข้าทำในสิ่งที่ธนาคารพาณิชย์ไม่อยากทำ เข้าเสี่ยงในสิ่งที่ธนาคารพาณิชย์ไม่อยากเสี่ยง กลับไม่ได้ทำ SME bank ที่มีหน้าที่เข้าช่วย SMEs ในช่วงวิกฤตโดยตรง กลับมี NPL ที่ลดลง ที่น่าตกใจสินเชื่อปล่อยใหม่ตั้งแต่ต้นปี 65 แทบไม่มี NPL เลย
อีกทั้งเงินให้กู้ยืมต่อรายกลับเพิ่มขึ้น ซึ่งตรงข้ามกับพันธกิจที่ต้องยอมเสี่ยงเพื่อช่วย SMEs และการคลังชนเพดาน การเงินโดนกดดัน ด้านการคลัง งบฉบับนี้ผ่านการเค้นทั้งการประมาณการรายได้ที่สูงเกินจริง
จากการคาดการณ์ที่ GDP ที่สูงเกินจริง รวมถึงตั้งขาดดุลเกือบเต็มเพดานเพื่อทำให้มีเงินมาใช้จ่าย จนเรียกได้ว่าการคลังชนเพดาน ส่วนนโยบายการเงินก็ถูกกดดันจากปัจจัยต่างประเทศให้ในที่สูงอาจต้องฝืนขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ทั้งๆ ที่ประเทศไม่มีความพร้อมเลย