การที่ประชาชนตรวจสอบพระเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เพราะวัดเป็นนิติบุคคล เป็นเรื่องยุติธรรมไหม

ตามกฎหมายหรือตามนิตินัย วัดแต่ละวัดมีสถานะเป็นนิติบุคคล ไม่ใช่ที่สาธารณะ ใครจะเข้าตรวจสอบ ก็ต้องขออนุญาตอย่างเป็นกิจลักษณะ 

   แต่จริงๆแล้ว วัดตามพฤตินัย หรือตามสภาพความเป็นอยู่จริง วัดคือที่ของสาธารณชน พระในวัดก็เป็นบุคคลของส่วนรวม การที่ชาวบ้านจะขอตรวจสอบพระก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลก เพราะเงินที่มาสร้างวัดให้พระอยู่ก็เป็นเงินทำบุญของชาวบ้าน พระไม่ได้ประกอบอาชีพหาเงินมาสร้างวัดเอง ข้าวปลาอาหารที่พระฉันก็ได้รับบิณฑบาตรจากชาวบ้าน พระไม่ได้หาเงินมาซื้อข้าวเอง 
   ด้วยความที่กล่าวมานี้ พระกับชาวบ้านก็เปรียบเหมือนคนที่อาศัยอยู่ร่วมกัน พระยังต้องพึ่งพาชาวบ้าน พระเป็นหนี้ชาวบ้านในเรื่องปัจจัย 4 การจะใช้หนี้ของพระก็คือ การปฏิบัติตนให้ดี บำเพ็ญธรรม สร้างแต่บุญกุศล แล้วส่งบุญนั้นให้แก่ผู้ถวายปัจจัย 4 ให้ผู้ถวายนั้นได้รับสิ่งดีงามที่เขาได้ทำบุญในพระพุทธศาสนา

   แต่ทุกวันนี้มีพระบางกลุ่มคิดเห็นแก่ตัวเห็นแก่ได้ คิดว่าพระจะทำอะไรก็เรื่องพระ ญาติโยมถวายปัจจัยเพื่อบำรุงสงฆ์บำรุงวัด ก็เอาไปใช้ในทางที่ไม่ถูกวัตถุประสงค์บ้าง พระภิกษุผู้รับอาหารบิณฑบาตรจากชาวบ้านไม่ประพฤติตนให้อยู่ศีลสิกขาบท ไม่หมั่นปฏิบัติธรรม บางรูปประพฤติผิดหนัก อาบัติร้ายแรงก็มี เป็นหนี้ค้างต่อชาวบ้าน
   เพราะฉะนั้น การที่ชาวบ้านที่ช่วยทำนุบำรุงพระศาสนาซึ่งเปรียบเสมือนเจ้าหนี้ของพระของวัดทำการตรวจสอบพระที่ประพฤติไม่ดี ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่การตรวจสอบพระนั้นต้องมีขอบเขต

   เมื่อชาวบ้านคนใดรู้สึกว่าพระที่พบเห็นได้กระทำผิด ก็แจ้งพระเจ้าคณะปกครองให้ท่านช่วยตัดสินถูกผิดให้ อย่างนี้ก็จะทำให้การตรวจสอบพระอยู่ในขอบข่ายที่ดีที่เหมาะสม ชาวบ้านไม่ก้าวล่วงพระเกินเหตุ เป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี เป็นผลดีทั้งพระและชาวบ้าน ทำให้พระพุทธศาสนาอยู่ได้อย่างมั่นคง
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่