อ้างอิง
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9560000020192
ในยุคที่ค่าแรงขึ้นข้าวของมีราคาแพงตาม ทำให้ผู้คนหันมาทำผิดกฎหมายกันมากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่วงการพระสงฆ์ มีกลุ่มคนที่ไม่มีความละอายต่อบาปนุ่งผ้าเหลืองสวมจีวรบังหน้าเพื่อหาผลประโยชน์ให้ตัวเอง ปัญหาเหล่านี้มีให้พบเห็นกันอยู่บ่อย ๆ ตามข่าวในโทรทัศน์ ตามหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์หลาย ๆ ฉบับ ความเชื่อความศรัทธาของประชาชนที่มีต่อพระพุทธศาสนาก็เริ่มเสื่อมถอยลงไปเรื่อย ๆ บางคนทำบุญไปทั้ง ๆ ที่ไม่รู้ว่าบุญที่ทำลงไปนั้นทำกับพระจริงหรือพระปลอม
พระปลอมเกลื่อนเมือง ทำบุญที่วัดปลอดภัยที่สุด
พระมหาธีรพล เจ้าอาวาสวัดตลาดใต้ ได้กล่าวว่า พระบวชปลอมในยุคสมัยนี้นั้นมีให้เห็นอยู่มาก ก่อนที่จะทำบุญแต่ละครั้งอยากให้ญาติโยมมองให้ดี ๆ หรือหากไม่มั่นใจว่าพระตรงหน้านั้นเป็นพระจริงหรือพระปลอมก็ให้เข้าไปทำบุญที่วัดเลยเป็นอันดีที่สุด
“สำหรับมารศาสนาที่ใช้ผ้าเหลืองหากินกับชาวบ้านนั้น ถือได้ว่าเป็นพวกบาปหนา ทำศาสนาเสื่อม การบวชจึงเป็นอีกวิธีหนึ่งในการหนีความผิดต่าง ๆ ซึ้งเป็นหนทางให้เหล่ามารศาสนาหลบหนีเข้ามาใช้ผ้าเหลืองบังหน้า เช่นการหนีคดี หรือบางรายมาบวชเพราะไม่มีงานทำและใช้ผ้าเหลืองเพื่อหาเงินโดยส่วนใหญ่จะได้เงินจากปัจจัยที่ชาวบ้านนำมาให้ เมื่อได้เงินตามจำนวนที่ต้องการก็จะสึกออกไป โดยขณะที่อยู่ใต้ผ้าเหลืองก็ไม่ได้ปฏิบัติตามวินัยของสงฆ์เลยแม้แต่น้อย”
ด้านนางมณี พูนทรัพย์ แม่ค้าขายข้าวแกงใส่ถุงหน้าวัดตลาดใต้ได้บอกว่าตนดูไม่ออกว่าคนไหนพระปลอมคนไหนพระจริง แต่ถ้าเป็นพระที่อาศัยอยู่ในวัดนั้นตนจำได้ทุกรูป เพราะอาศัยพื้นที่วัดนี้ขายของมานานแล้ว จะมีก็แต่พระที่มาจากวัดอื่น เวลาเราใส่บาตรแล้วพบพระวัดอื่นมาเราก็จะไม่ทำบุญกับพระรูปนั้นเพราะเราไม่คุ้นหน้า จะรอจนกว่าพระที่คุ้นหน้ามาถึงจะออกมาตักบาตรหน้าบ้าน
หลอกตาประชาชน ไม่รอดสายตาตำรวจพระ
พระรัตนเมธี เจ้าอาวาสวัดแก้วฟ้าจุฬามณี เจ้าคณะเขตบางซื่อ และหัวหน้าพระวินยาธิการ (ตำรวจพระ) คณะสงฆ์กรุงเทพมหานคร บอกถึงการทำงานของตำรวจพระ 250 รูปทั่ว กทม.ว่า ตำรวจพระทั้งสิ้น 35 เขต แต่ละเขตจะปฏิบัติงานไม่ต่ำกว่า 5 รูป ทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยตำรวจพระมีหน้าที่ตรวจตราตามสถานีขนส่งต่างๆ อย่างสถานีขนส่งหมอชิต หัวลำโพง ส่วนใหญ่เป็นช่วงหลังเที่ยงคืน เพื่อคอยนิมนต์พระที่อาศัยหลับนอนตามสถานีขนส่งต่างๆ มาตรวจสอบและตอนเช้าช่วงพระออกบิณฑบาต หากพบพระนั่งหรือยืนปักหลักรับบิณฑบาต จะนิมนต์มาตรวจสอบ
“เราจะนิมนต์พระที่ยืนหรือนั่งปักหลักไปพบกับเจ้าคณะเขต หรือเจ้าคณะแขวง เพื่อให้ท่านตรวจสอบว่า เป็นพระจริงหรือพระปลอม หากเป็นพระจริงก็จะว่ากล่าวตักเตือนว่า “อย่ามาทำแบบนี้อีก” และแจ้งให้วัดต้นสังกัดทราบ หากตรวจสอบว่าไม่ใช่พระ เป็นฆราวาสปลอมตัวมาก็จะให้สละสมณเพศ แล้วส่งตัวให้ตำรวจดำเนินคดีในข้อหาแต่งกายเลียนแบบสงฆ์
แต่ทว่าการทำงานของตำรวจพระต่อกรณีนิมนต์พระที่ยืนหรือนั่งปักหลักบิณฑบาตมาตรวจสอบว่าเป็นพระจริงหรือพระปลอมไม่ง่ายนัก พระรัตนเมธีบอกว่า การเวียนเทียน การนั่งหรือยืน ปักหลักบิณฑบาต ซึ่งเป็นลักษณะความผิดที่พบมากที่สุดนั้น เพราะเกิดจากคนที่ไม่ใช่พระมักฉวยโอกาส มองเห็นรายได้จากอาหารและปัจจัยที่ประชาชนมีจิตศรัทธาถวายพระสงฆ์เป็นช่องทางทำมาหากินโดยหลอกลวงประชาชน โดยที่ประชาชนไม่รู้ว่าเป็นพระจริงหรือพระปลอม
โยมท่านใดที่จะทำบุญตักบาตรพระ ถ้าเห็นพระนั่งอยู่กับเก้าอี้ก็ดี อย่าไปใส่บาตรเลย พระเวลาบิณฑบาตจะต้องเดินตามลำดับ ไม่ยืนที่ใดที่หนึ่งประจำ หรือมีพระยืนรออยู่ มีโยมยืนอยู่การนั่งผิดแน่นอน ไม่ถูกหลักพระวินัย ปัจจุบันก็มีนั่งอยู่ พระพุทธองค์เคยสอนไว้ เวลาให้ทานต้องเลือกให้ เลือกให้แก่บุคคลที่ควรให้มันจึงจะได้บุญ อยากให้ประชาชนแจ้งมาแต่โยมบางคนกลัวทำบาป คนที่คิดแบบนั้นทำบาปแล้วต้องแจ้ง จึงถือว่าทำบุญ กำจัดสิ่งไม่ดีออกจากศาสนาจะบาปได้อย่างไร”
ข้อสังเกตพระปลอม 7 ประการ
1.ย่ามใหญ่ ภายในย่ามอาจมีผ้าขนหนู เสื้อผ้า สบู่ ยาสีฟัน อย่างครบคันรวมอยู่ในย่าม
2.จีวรไม่สะอาด เพราะต้องนอนตามสถานีรถไฟ
3.มีบาตรและกลดพระติดตัวในย่านชุมชนเมือง ซึ่งกิจของพระธุดงค์ต้องเดินห่างจากชุมชนเมือง 25 กม.เป็นการเดินในป่าไม่ใช่ในเมือง
4.นอนมั่วทุกแห่ง
5.แหล่งที่พักไม่แน่นอน
6.สัญจรอยู่ตลอดเวลา
7.อธิฐานพรรษาไม่ถูก ไม่มีใบสุทธิ
เทียบสถิติพระปลอม ถึงลดลงแต่ก็ยังมีเหลืออยู่
นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวว่า พศ.ได้สรุปปัญหาเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับพระภิกษุสามเณรที่มีอาจารไม่สมควรแก่สมณวิสัย ในรอบปีงบประมาณ 2555 ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554-กันยายน 2555 พบว่า มีการร้องเรียนว่าพระบิณฑบาตขาดความสำรวม 227 รูป, เข้าร่วมงานโดยไม่ได้รับนิมนต์ เร่ร่อนไม่สังกัด 7 รูป, ปักกลดตามย่านชุมชน พักค้างแรมตามบ้าน ดื่มสุรา 19 รูป, เรี่ยไรโดยไม่ได้รับอนุญาต 51 รูป, ปลอมบวช 18 รูป โดยพบปัญหาการร้องเรียนสูงสุด คือช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2555 รวม 143 รูป เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลปีใหม่ที่มีพุทธศาสนิกชนทำบุญมากที่สุด
สำหรับมาตรการการดำเนินการแก้ไขปัญหาพระภิกษุสามเณรที่มีอาจารไม่สมควรนั้น พศ.และสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด (พศจ.) ถวายคำแนะนำ 86 รูป, เจ้าคณะผู้ปกครองภาคทัณฑ์และสั่งให้กลับสังกัด 112 รูป, เจ้าคณะผู้ปกครองสงฆ์ดำเนินการให้ลาสิกขา 106 รูป, ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการตามกฎหมาย กรณีปลอมบวชและเข้าเมืองผิดกฎหมาย 18 รูป สำหรับสังกัดพระภิกษุสามเณรที่มีอาจารไม่สมควร พบว่าในเขตกรุงเทพมหานคร 74 รูป สังกัดวัดในส่วนภูมิภาค 230 รูป สังกัดวัดในต่างประเทศ 18 รูป
“เทียบสถิติปีที่ผ่านมาการกระทำผิดของพระสงฆ์ สามเณรถือว่าลดลง เพราะ พศ.มีกระบวนการตรวจสอบที่เข้มงวดมากยิ่งขึ้น แต่กำลังเร่งผลักดันร่าง พ.ร.บ.อุปถัมภ์คุ้มครองพระพุทธศาสนา ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา เพื่อขับเคลื่อนการดูแล คุ้มครองพระพุทธศาสนาให้เข้มข้นยิ่งขึ้นและจะมีโทษทางอาญากับพระภิกษุ สามเณรที่กระทำความผิดเพิ่มขึ้นด้วย ก็จะทำให้เกิดระบบต่อการดูแลพระพุทธศาสนาเพิ่มมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม"
ข่าวโดยทีมข่าว ASTV ผู้จัดการ LIVE
ระวัง! มารศาสนาภายใต้ผ้าเหลือง ปล้นบุญประชาชน
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9560000020192
ในยุคที่ค่าแรงขึ้นข้าวของมีราคาแพงตาม ทำให้ผู้คนหันมาทำผิดกฎหมายกันมากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่วงการพระสงฆ์ มีกลุ่มคนที่ไม่มีความละอายต่อบาปนุ่งผ้าเหลืองสวมจีวรบังหน้าเพื่อหาผลประโยชน์ให้ตัวเอง ปัญหาเหล่านี้มีให้พบเห็นกันอยู่บ่อย ๆ ตามข่าวในโทรทัศน์ ตามหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์หลาย ๆ ฉบับ ความเชื่อความศรัทธาของประชาชนที่มีต่อพระพุทธศาสนาก็เริ่มเสื่อมถอยลงไปเรื่อย ๆ บางคนทำบุญไปทั้ง ๆ ที่ไม่รู้ว่าบุญที่ทำลงไปนั้นทำกับพระจริงหรือพระปลอม
พระปลอมเกลื่อนเมือง ทำบุญที่วัดปลอดภัยที่สุด
พระมหาธีรพล เจ้าอาวาสวัดตลาดใต้ ได้กล่าวว่า พระบวชปลอมในยุคสมัยนี้นั้นมีให้เห็นอยู่มาก ก่อนที่จะทำบุญแต่ละครั้งอยากให้ญาติโยมมองให้ดี ๆ หรือหากไม่มั่นใจว่าพระตรงหน้านั้นเป็นพระจริงหรือพระปลอมก็ให้เข้าไปทำบุญที่วัดเลยเป็นอันดีที่สุด
“สำหรับมารศาสนาที่ใช้ผ้าเหลืองหากินกับชาวบ้านนั้น ถือได้ว่าเป็นพวกบาปหนา ทำศาสนาเสื่อม การบวชจึงเป็นอีกวิธีหนึ่งในการหนีความผิดต่าง ๆ ซึ้งเป็นหนทางให้เหล่ามารศาสนาหลบหนีเข้ามาใช้ผ้าเหลืองบังหน้า เช่นการหนีคดี หรือบางรายมาบวชเพราะไม่มีงานทำและใช้ผ้าเหลืองเพื่อหาเงินโดยส่วนใหญ่จะได้เงินจากปัจจัยที่ชาวบ้านนำมาให้ เมื่อได้เงินตามจำนวนที่ต้องการก็จะสึกออกไป โดยขณะที่อยู่ใต้ผ้าเหลืองก็ไม่ได้ปฏิบัติตามวินัยของสงฆ์เลยแม้แต่น้อย”
ด้านนางมณี พูนทรัพย์ แม่ค้าขายข้าวแกงใส่ถุงหน้าวัดตลาดใต้ได้บอกว่าตนดูไม่ออกว่าคนไหนพระปลอมคนไหนพระจริง แต่ถ้าเป็นพระที่อาศัยอยู่ในวัดนั้นตนจำได้ทุกรูป เพราะอาศัยพื้นที่วัดนี้ขายของมานานแล้ว จะมีก็แต่พระที่มาจากวัดอื่น เวลาเราใส่บาตรแล้วพบพระวัดอื่นมาเราก็จะไม่ทำบุญกับพระรูปนั้นเพราะเราไม่คุ้นหน้า จะรอจนกว่าพระที่คุ้นหน้ามาถึงจะออกมาตักบาตรหน้าบ้าน
หลอกตาประชาชน ไม่รอดสายตาตำรวจพระ
พระรัตนเมธี เจ้าอาวาสวัดแก้วฟ้าจุฬามณี เจ้าคณะเขตบางซื่อ และหัวหน้าพระวินยาธิการ (ตำรวจพระ) คณะสงฆ์กรุงเทพมหานคร บอกถึงการทำงานของตำรวจพระ 250 รูปทั่ว กทม.ว่า ตำรวจพระทั้งสิ้น 35 เขต แต่ละเขตจะปฏิบัติงานไม่ต่ำกว่า 5 รูป ทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยตำรวจพระมีหน้าที่ตรวจตราตามสถานีขนส่งต่างๆ อย่างสถานีขนส่งหมอชิต หัวลำโพง ส่วนใหญ่เป็นช่วงหลังเที่ยงคืน เพื่อคอยนิมนต์พระที่อาศัยหลับนอนตามสถานีขนส่งต่างๆ มาตรวจสอบและตอนเช้าช่วงพระออกบิณฑบาต หากพบพระนั่งหรือยืนปักหลักรับบิณฑบาต จะนิมนต์มาตรวจสอบ
“เราจะนิมนต์พระที่ยืนหรือนั่งปักหลักไปพบกับเจ้าคณะเขต หรือเจ้าคณะแขวง เพื่อให้ท่านตรวจสอบว่า เป็นพระจริงหรือพระปลอม หากเป็นพระจริงก็จะว่ากล่าวตักเตือนว่า “อย่ามาทำแบบนี้อีก” และแจ้งให้วัดต้นสังกัดทราบ หากตรวจสอบว่าไม่ใช่พระ เป็นฆราวาสปลอมตัวมาก็จะให้สละสมณเพศ แล้วส่งตัวให้ตำรวจดำเนินคดีในข้อหาแต่งกายเลียนแบบสงฆ์
แต่ทว่าการทำงานของตำรวจพระต่อกรณีนิมนต์พระที่ยืนหรือนั่งปักหลักบิณฑบาตมาตรวจสอบว่าเป็นพระจริงหรือพระปลอมไม่ง่ายนัก พระรัตนเมธีบอกว่า การเวียนเทียน การนั่งหรือยืน ปักหลักบิณฑบาต ซึ่งเป็นลักษณะความผิดที่พบมากที่สุดนั้น เพราะเกิดจากคนที่ไม่ใช่พระมักฉวยโอกาส มองเห็นรายได้จากอาหารและปัจจัยที่ประชาชนมีจิตศรัทธาถวายพระสงฆ์เป็นช่องทางทำมาหากินโดยหลอกลวงประชาชน โดยที่ประชาชนไม่รู้ว่าเป็นพระจริงหรือพระปลอม
โยมท่านใดที่จะทำบุญตักบาตรพระ ถ้าเห็นพระนั่งอยู่กับเก้าอี้ก็ดี อย่าไปใส่บาตรเลย พระเวลาบิณฑบาตจะต้องเดินตามลำดับ ไม่ยืนที่ใดที่หนึ่งประจำ หรือมีพระยืนรออยู่ มีโยมยืนอยู่การนั่งผิดแน่นอน ไม่ถูกหลักพระวินัย ปัจจุบันก็มีนั่งอยู่ พระพุทธองค์เคยสอนไว้ เวลาให้ทานต้องเลือกให้ เลือกให้แก่บุคคลที่ควรให้มันจึงจะได้บุญ อยากให้ประชาชนแจ้งมาแต่โยมบางคนกลัวทำบาป คนที่คิดแบบนั้นทำบาปแล้วต้องแจ้ง จึงถือว่าทำบุญ กำจัดสิ่งไม่ดีออกจากศาสนาจะบาปได้อย่างไร”
ข้อสังเกตพระปลอม 7 ประการ
1.ย่ามใหญ่ ภายในย่ามอาจมีผ้าขนหนู เสื้อผ้า สบู่ ยาสีฟัน อย่างครบคันรวมอยู่ในย่าม
2.จีวรไม่สะอาด เพราะต้องนอนตามสถานีรถไฟ
3.มีบาตรและกลดพระติดตัวในย่านชุมชนเมือง ซึ่งกิจของพระธุดงค์ต้องเดินห่างจากชุมชนเมือง 25 กม.เป็นการเดินในป่าไม่ใช่ในเมือง
4.นอนมั่วทุกแห่ง
5.แหล่งที่พักไม่แน่นอน
6.สัญจรอยู่ตลอดเวลา
7.อธิฐานพรรษาไม่ถูก ไม่มีใบสุทธิ
เทียบสถิติพระปลอม ถึงลดลงแต่ก็ยังมีเหลืออยู่
นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวว่า พศ.ได้สรุปปัญหาเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับพระภิกษุสามเณรที่มีอาจารไม่สมควรแก่สมณวิสัย ในรอบปีงบประมาณ 2555 ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554-กันยายน 2555 พบว่า มีการร้องเรียนว่าพระบิณฑบาตขาดความสำรวม 227 รูป, เข้าร่วมงานโดยไม่ได้รับนิมนต์ เร่ร่อนไม่สังกัด 7 รูป, ปักกลดตามย่านชุมชน พักค้างแรมตามบ้าน ดื่มสุรา 19 รูป, เรี่ยไรโดยไม่ได้รับอนุญาต 51 รูป, ปลอมบวช 18 รูป โดยพบปัญหาการร้องเรียนสูงสุด คือช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2555 รวม 143 รูป เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลปีใหม่ที่มีพุทธศาสนิกชนทำบุญมากที่สุด
สำหรับมาตรการการดำเนินการแก้ไขปัญหาพระภิกษุสามเณรที่มีอาจารไม่สมควรนั้น พศ.และสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด (พศจ.) ถวายคำแนะนำ 86 รูป, เจ้าคณะผู้ปกครองภาคทัณฑ์และสั่งให้กลับสังกัด 112 รูป, เจ้าคณะผู้ปกครองสงฆ์ดำเนินการให้ลาสิกขา 106 รูป, ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการตามกฎหมาย กรณีปลอมบวชและเข้าเมืองผิดกฎหมาย 18 รูป สำหรับสังกัดพระภิกษุสามเณรที่มีอาจารไม่สมควร พบว่าในเขตกรุงเทพมหานคร 74 รูป สังกัดวัดในส่วนภูมิภาค 230 รูป สังกัดวัดในต่างประเทศ 18 รูป
“เทียบสถิติปีที่ผ่านมาการกระทำผิดของพระสงฆ์ สามเณรถือว่าลดลง เพราะ พศ.มีกระบวนการตรวจสอบที่เข้มงวดมากยิ่งขึ้น แต่กำลังเร่งผลักดันร่าง พ.ร.บ.อุปถัมภ์คุ้มครองพระพุทธศาสนา ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา เพื่อขับเคลื่อนการดูแล คุ้มครองพระพุทธศาสนาให้เข้มข้นยิ่งขึ้นและจะมีโทษทางอาญากับพระภิกษุ สามเณรที่กระทำความผิดเพิ่มขึ้นด้วย ก็จะทำให้เกิดระบบต่อการดูแลพระพุทธศาสนาเพิ่มมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม"
ข่าวโดยทีมข่าว ASTV ผู้จัดการ LIVE