ทำไมพื้นที่ภาคตะวันออก ภาคอีสาน รวมถึงจังหวัดในภาคกลางด้านตะวันออกของภาค ถึงมีฟ้าผ่าบ่อยกว่า แถบจังหวัดที่อยู่ติดพม่า

ถ้าใครได้เห็นแผนที่ ที่ไล่สีความถี่การเกิดฟ้าผ่า จากหลายๆ แหล่ง จะเห็นว่า แถบกรุงเทพ อยุธยา สระบุรี ลพบุรี ไล่ไปจนถึงภาคตะวันออก ภาคอีสาน จะอยู่ในโซนที่ฟ้าผ่าบ่อยกว่า แถบกาญจนบุรี ตาก หรือจังหวัดที่อยู่ด้านตะวันตกของประเทศ จะอยู่ในโซนที่น้อยกว่า และจากที่ผมสังเกตในเรดาร์ฝน คู่กับ เรดาร์ที่ตรวจจับฟ้าผ่าได้ (https://weather.us/lightning/1014-e-142-n/20201213-0940z.html) ช่วงที่มีฝนก่อตัว มักจะเกิดฟ้าผ่าบ่อย และรุนแรงกว่าชัดเจนจริง ถ้าฝนอยู่ในโซนแดง แต่ไม่ได้หมายความว่าแถวกาญจน์ ตาก ไม่มีฟ้าผ่า แต่หมายถึง มีโอกาสที่จะมีฝนตกในพื้นที่ โดยไม่มีฟ้าผ่า หรือมีเล็กน้อยเท่านั้น สูงกว่า เมื่อเทียบกับ กทม. ภาคตะวันออก ภาคกลางโซนสระบุรี อยุธยา ลพบุรี
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
อันนี้ คหสต. ล้วนๆนะครับ
- น่าจะเกี่ยวกับพื้นที่อุตสาหกรรมเยอะ
ส่งผลต่อโอกาสในการถ่ายเทประจุจากเมฆสู่พื้นดินเยอะขึ้น
- มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ชนภูเขาด้านตะวันตก ข้ามเขามาก็หมดพลังงาน ผิดกับบางจังหวัดหน้าเขาก็จะตกเยอะหน่อย
- โดมความร้อนก็มีส่งต่อฝนที่เกิดจากเมฆก่อตัวทางตั้งโดยการพาความร้อน(convective cloud)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่