คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 16
คกก.โรคติดต่อแห่งชาติ เห็นชอบยกเลิกเขตติดโรคติดต่ออันตราย “โควิด” นอกราชอาณาจักร และเพิ่ม “ฝีดาษวานร” เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง ลำดับที่ 56
นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ครั้งที่ 5/2565 กล่าวว่า ที่ประชุมมีการพิจารณาและเห็นชอบ 2 เรื่อง คือ 1.ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยกเลิกท้องที่นอกราชอาณาจักรที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... เนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด 19 ทั่วโลกอยู่ในแนวโน้มลดลง สายพันธุ์ Omicron มีความรุนแรงลดลง และทั่วโลกมีการฉีดวัคซีนแล้วจำนวนมาก ซึ่งตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่มีการผ่อนคลายมาตรการเดินทางเข้าประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางมากขึ้น โดยคนไทยไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนระบบ Thailand Pass เพียงแสดงข้อมูลการฉีดวัคซีนและผลตรวจ Professional-ATK หรือ RT-PCR พบว่าผู้เดินทางเข้าประเทศวันละหลายหมื่นคน มีผู้ติดเชื้อโควิด 19 น้อยมาก หรือบางวันไม่พบผู้ติดเชื้อจากต่างประเทศเลย ถือว่ามีความปลอดภัย จึงนำมาสู่การเห็นชอบประกาศยกเลิกเขตโรคติดต่ออันตรายนอกราชอาณาจักร 2.ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... โดยเพิ่มชื่อโรคฝีดาษวานรหรือฝีดาษลิง (Monkeypox) เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังลำดับที่ 56 ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ตามความเห็นชอบของคณะกรรมการด้านวิชาการที่ประชุมหารือเรื่องนี้เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคมที่ผ่านมา ทั้งนี้ โรคฝีดาษวานรยังแพร่ระบาดในต่างประเทศ ประเทศไทยมีการเฝ้าระวังยังไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อในประเทศไทย โดยกรมควบคุมโรคได้ตั้งศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (EOC) กรณีโรคฝีดาษวานร และเตรียมความพร้อมเสริมมาตรการคุมเข้ม ทั้งที่ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศที่สนามบินนานาชาติ และสั่งการโรงพยาบาลในสังกัดรัฐและเอกชน เตรียมพร้อมเฝ้าระวัง สังเกตอาการกลุ่มเสี่ยง และส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันการติดเชื้อ ฝีดาษวานร
ที่มา: กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0Jz2RWjagECCgueqeVU6H4onSHA7HPhSKhoK6EMvitjUu6RAD35xC1pAZLWTCZt3jl
สิงคโปร์อาจเผชิญการแพร่ระบาด COVID ระลอกใหม่ ในห้วง ก.ค. - ส.ค. 65 เชื้อสายพันธุ์โอมิครอนชนิดย่อย BA.4 และ BA.5 กำลังแพร่ระบาดในสหรัฐฯ และยุโรป
นายออง ยี กุง รมว.สธ.สิงคโปร์ เตือนถึงความเป็นไปได้ว่า สิงคโปร์อาจเผชิญกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ในห้วง ก.ค.-ส.ค.65 โดยเฉพาะจากเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนชนิดย่อย BA.4 และ BA.5 ที่กำลังแพร่ระบาดในหลายประเทศ ทั้งในสหรัฐฯ และยุโรป โดยประเมินจากสถิติการแพร่ระบาดที่ผ่านมา พบว่าการแพร่ระบาดระลอกใหม่มักจะเกิดขึ้นหลังระลอกก่อน 4-6 เดือน ประกอบกับห้วงดังกล่าวเป็นห้วงที่ประสิทธิภาพของวัคซีนเริ่มลดลง โดยนายออง เน้นย้ำให้สถานพยาบาลทุกแห่ง เตรียมความพร้อมรับมือกับผู้ป่วยจากการแพร่ระบาดระลอกใหม่ ทั้งนี้ สิงคโปร์พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนชนิดย่อยที่ตรวจพบในชุมชนครั้งแรกเมื่อ 15 พ.ค.65 โดยเป็นผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ย่อย BA.4 จำนวน 2 ราย และ BA.5 จำนวน 1 ราย โดยทั้งหมดไม่แสดงอาการหรือมีอาการเล็กน้อย และไม่จำเป็นต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล รวมถึงเป็นผู้ที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว
ที่มา: สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0HF1JRGT9V1misN4NEAFHPnSHeBy5hG7d7aUjGwFyMZaedvkkW1RMwQP3A9fRB9zAl
กรมการแพทย์เผยมาตรการด้านการแพทย์และการรักษาโรคโควิด 19 เพื่อเตรียมโรคประจำถิ่น(Post Pandemic)
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับ คณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ จากคณะแพทยศาสตร์ราชวิทยาลัย สมาคมวิชาชีพ และภาคส่วนต่างๆ ได้ร่วมจัดทำแนวทางปฏิบัติสำหรับสถานพยาบาลในช่วงระยะเปลี่ยนผ่านเข้าสู่โรคประจำถิ่น โดยมีเป้าหมาย คือ 1) ช่วยให้ระบบการให้บริการทางการแพทย์และการรักษาผู้ป่วยโควิด 19 สามารถรองรับกับสถานการณ์จำนวนผู้ติดเชื้อ เพื่อการเข้าถึงการวินิจฉัยและการรักษาได้อย่างรวดเร็ว และลดอัตราการเสียชีวิต รวมถึง 2) ประชาชนสามารถเข้าถึงระบบการให้ดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด 19 หลังรักษาหายหรือภาวะ Long COVID และการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคทั่วไป ได้อย่างรวดเร็ว และ ปลอดภัย
ทั้งนี้ มาตรการในระยะแรก เริ่มจากการตรวจคัดกรองโรคโควิด 19 ในผู้ป่วยทั่วไปและบุคลากรทางการแพทย์ รายละเอียด ดังประกาศของกรมการแพทย์ แนวทางปฏิบัติสำหรับสถานพยาบาลเรื่องการตรวจคัดกรองโรคโควิด 19 ในผู้ป่วยทั่วไป และบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงระยะเปลี่ยนผ่านสู่โรคประจำถิ่น ฉบับวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 (รายละเอียด อ่านต่อที่ https://bit.ly/3GMrDXr)
สรุปมาตรการด้านการรักษา จะแบ่งการดูแลผู้ป่วยเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1) กรณีผู้ป่วยโควิด ประกอบด้วย มาตรการการเตรียม การคัดกรองผู้ป่วย การตรวจวินิจฉัย การดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด ในกลุ่มอาการต่างๆ จะเน้นใน เรื่อง ของ Outpatient self Isolation ถ้าอาการมากขึ้น เข้ารับการรักษา ใน โรงพยาบาล Cohort Covid ward รวมถึง การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ระบบส่งต่อผู้ป่วยโควิด และมาตรการการสำหรับบุคลากรทางการแพทย์
2) กรณีผู้ป่วยมีเสี่ยงต่ออาการรุนแรง รวมถึง ภาวะ Long COVID เน้นการประเมินอาการของผู้ป่วยที่สงสัยเป็นLong Covid-19 และให้การรักษา การเฝ้าระวัง และ ติดตามช่วยเหลือ
3) กรณีผู้ป่วยทั่วไป เริ่มจากมาตรการการคัดกรองผู้ป่วย ในด้านต่างๆ ได้แก่ การดูแลผู้ป่วยก่อนทำผ่าตัด (Pre-operation) การดูแลผู้ป่วยที่ห้องฉุกเฉิน (ER) การดูแลผู้ป่วยที่ต้องทำหัตถการ ที่มีระยะเวลานาน การรับผู้ป่วยเข้านอนรักษาในโรงพยาบาล (IPD) การส่งต่อผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาล เป็นต้น
ทั้งนี้ หาก สถานการณ์ปรับเปลี่ยน ข้อมูลต่างๆ มากขึ้น อาจปรับมาตรการเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ สามารถติดตามในจากเวบไซต์ ของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข www.dms.go.th
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid025EMVUTjjpmv5CmZNekojpFkyrsxKJaoei7yZ7Vzn2pvpZrSsucsWCy7vvyunuYn6l&id=100069182200543
คกก.โรคติดต่อแห่งชาติ เห็นชอบยกเลิกเขตติดโรคติดต่ออันตราย “โควิด” นอกราชอาณาจักร และเพิ่ม “ฝีดาษวานร” เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง ลำดับที่ 56
นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ครั้งที่ 5/2565 กล่าวว่า ที่ประชุมมีการพิจารณาและเห็นชอบ 2 เรื่อง คือ 1.ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยกเลิกท้องที่นอกราชอาณาจักรที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... เนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด 19 ทั่วโลกอยู่ในแนวโน้มลดลง สายพันธุ์ Omicron มีความรุนแรงลดลง และทั่วโลกมีการฉีดวัคซีนแล้วจำนวนมาก ซึ่งตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่มีการผ่อนคลายมาตรการเดินทางเข้าประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางมากขึ้น โดยคนไทยไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนระบบ Thailand Pass เพียงแสดงข้อมูลการฉีดวัคซีนและผลตรวจ Professional-ATK หรือ RT-PCR พบว่าผู้เดินทางเข้าประเทศวันละหลายหมื่นคน มีผู้ติดเชื้อโควิด 19 น้อยมาก หรือบางวันไม่พบผู้ติดเชื้อจากต่างประเทศเลย ถือว่ามีความปลอดภัย จึงนำมาสู่การเห็นชอบประกาศยกเลิกเขตโรคติดต่ออันตรายนอกราชอาณาจักร 2.ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... โดยเพิ่มชื่อโรคฝีดาษวานรหรือฝีดาษลิง (Monkeypox) เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังลำดับที่ 56 ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ตามความเห็นชอบของคณะกรรมการด้านวิชาการที่ประชุมหารือเรื่องนี้เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคมที่ผ่านมา ทั้งนี้ โรคฝีดาษวานรยังแพร่ระบาดในต่างประเทศ ประเทศไทยมีการเฝ้าระวังยังไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อในประเทศไทย โดยกรมควบคุมโรคได้ตั้งศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (EOC) กรณีโรคฝีดาษวานร และเตรียมความพร้อมเสริมมาตรการคุมเข้ม ทั้งที่ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศที่สนามบินนานาชาติ และสั่งการโรงพยาบาลในสังกัดรัฐและเอกชน เตรียมพร้อมเฝ้าระวัง สังเกตอาการกลุ่มเสี่ยง และส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันการติดเชื้อ ฝีดาษวานร
ที่มา: กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0Jz2RWjagECCgueqeVU6H4onSHA7HPhSKhoK6EMvitjUu6RAD35xC1pAZLWTCZt3jl
สิงคโปร์อาจเผชิญการแพร่ระบาด COVID ระลอกใหม่ ในห้วง ก.ค. - ส.ค. 65 เชื้อสายพันธุ์โอมิครอนชนิดย่อย BA.4 และ BA.5 กำลังแพร่ระบาดในสหรัฐฯ และยุโรป
นายออง ยี กุง รมว.สธ.สิงคโปร์ เตือนถึงความเป็นไปได้ว่า สิงคโปร์อาจเผชิญกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ในห้วง ก.ค.-ส.ค.65 โดยเฉพาะจากเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนชนิดย่อย BA.4 และ BA.5 ที่กำลังแพร่ระบาดในหลายประเทศ ทั้งในสหรัฐฯ และยุโรป โดยประเมินจากสถิติการแพร่ระบาดที่ผ่านมา พบว่าการแพร่ระบาดระลอกใหม่มักจะเกิดขึ้นหลังระลอกก่อน 4-6 เดือน ประกอบกับห้วงดังกล่าวเป็นห้วงที่ประสิทธิภาพของวัคซีนเริ่มลดลง โดยนายออง เน้นย้ำให้สถานพยาบาลทุกแห่ง เตรียมความพร้อมรับมือกับผู้ป่วยจากการแพร่ระบาดระลอกใหม่ ทั้งนี้ สิงคโปร์พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนชนิดย่อยที่ตรวจพบในชุมชนครั้งแรกเมื่อ 15 พ.ค.65 โดยเป็นผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ย่อย BA.4 จำนวน 2 ราย และ BA.5 จำนวน 1 ราย โดยทั้งหมดไม่แสดงอาการหรือมีอาการเล็กน้อย และไม่จำเป็นต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล รวมถึงเป็นผู้ที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว
ที่มา: สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0HF1JRGT9V1misN4NEAFHPnSHeBy5hG7d7aUjGwFyMZaedvkkW1RMwQP3A9fRB9zAl
กรมการแพทย์เผยมาตรการด้านการแพทย์และการรักษาโรคโควิด 19 เพื่อเตรียมโรคประจำถิ่น(Post Pandemic)
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับ คณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ จากคณะแพทยศาสตร์ราชวิทยาลัย สมาคมวิชาชีพ และภาคส่วนต่างๆ ได้ร่วมจัดทำแนวทางปฏิบัติสำหรับสถานพยาบาลในช่วงระยะเปลี่ยนผ่านเข้าสู่โรคประจำถิ่น โดยมีเป้าหมาย คือ 1) ช่วยให้ระบบการให้บริการทางการแพทย์และการรักษาผู้ป่วยโควิด 19 สามารถรองรับกับสถานการณ์จำนวนผู้ติดเชื้อ เพื่อการเข้าถึงการวินิจฉัยและการรักษาได้อย่างรวดเร็ว และลดอัตราการเสียชีวิต รวมถึง 2) ประชาชนสามารถเข้าถึงระบบการให้ดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด 19 หลังรักษาหายหรือภาวะ Long COVID และการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคทั่วไป ได้อย่างรวดเร็ว และ ปลอดภัย
ทั้งนี้ มาตรการในระยะแรก เริ่มจากการตรวจคัดกรองโรคโควิด 19 ในผู้ป่วยทั่วไปและบุคลากรทางการแพทย์ รายละเอียด ดังประกาศของกรมการแพทย์ แนวทางปฏิบัติสำหรับสถานพยาบาลเรื่องการตรวจคัดกรองโรคโควิด 19 ในผู้ป่วยทั่วไป และบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงระยะเปลี่ยนผ่านสู่โรคประจำถิ่น ฉบับวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 (รายละเอียด อ่านต่อที่ https://bit.ly/3GMrDXr)
สรุปมาตรการด้านการรักษา จะแบ่งการดูแลผู้ป่วยเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1) กรณีผู้ป่วยโควิด ประกอบด้วย มาตรการการเตรียม การคัดกรองผู้ป่วย การตรวจวินิจฉัย การดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด ในกลุ่มอาการต่างๆ จะเน้นใน เรื่อง ของ Outpatient self Isolation ถ้าอาการมากขึ้น เข้ารับการรักษา ใน โรงพยาบาล Cohort Covid ward รวมถึง การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ระบบส่งต่อผู้ป่วยโควิด และมาตรการการสำหรับบุคลากรทางการแพทย์
2) กรณีผู้ป่วยมีเสี่ยงต่ออาการรุนแรง รวมถึง ภาวะ Long COVID เน้นการประเมินอาการของผู้ป่วยที่สงสัยเป็นLong Covid-19 และให้การรักษา การเฝ้าระวัง และ ติดตามช่วยเหลือ
3) กรณีผู้ป่วยทั่วไป เริ่มจากมาตรการการคัดกรองผู้ป่วย ในด้านต่างๆ ได้แก่ การดูแลผู้ป่วยก่อนทำผ่าตัด (Pre-operation) การดูแลผู้ป่วยที่ห้องฉุกเฉิน (ER) การดูแลผู้ป่วยที่ต้องทำหัตถการ ที่มีระยะเวลานาน การรับผู้ป่วยเข้านอนรักษาในโรงพยาบาล (IPD) การส่งต่อผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาล เป็นต้น
ทั้งนี้ หาก สถานการณ์ปรับเปลี่ยน ข้อมูลต่างๆ มากขึ้น อาจปรับมาตรการเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ สามารถติดตามในจากเวบไซต์ ของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข www.dms.go.th
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid025EMVUTjjpmv5CmZNekojpFkyrsxKJaoei7yZ7Vzn2pvpZrSsucsWCy7vvyunuYn6l&id=100069182200543
แสดงความคิดเห็น
🇹🇭มาลาริน💚8มิ.ย.ไม่ติดTop10โลก/ป่วย2,688คน หาย4,130คน ตาย21คน รักษาอยู่25,426คน/โต้วัคซีนคือทอง/ไม่ประกาศถอดหน้ากาก
https://www.bangkokbiznews.com/social/1008742
https://www.bangkokbiznews.com/news/1008795
ใครจะปัญญาอ่อน! ‘หมอหนู’ดุเดือดโต้ปมทิ้ง‘วัคซีน’ ชี้ไม่ใช่ขยะแต่คือ‘ทองคำ’
วันพุธ ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2565, 14.26 น.
‘อนุทิน’โต้กลับดุเดือด!‘วัคซีน’ไม่ใช่ขยะ แต่คือ‘ทองคำ’ ไม่มีใครปัญญาอ่อนพอที่จะเอาไปทิ้ง
นายอนุทิน กล่าวว่า โรคประจำถิ่นไม่ได้หมายความว่าความรุนแรงของโรคจะลดลง เพียงแต่เป็นโรคที่จะต้องอยู่กับเรา และเราจะต้องอยู่กับมันในทุกช่วงของชีวิต แต่การเป็นโรคประจำถิ่นจะทำให้เกิดความคุ้นชิน มีความเข้าใจในการปฏิบัติตนให้เกิดความปลอดภัย ถึงแม้ว่าเราจะมีผู้คนมากมายที่ยังไม่ได้รับวัคซีนตามที่สมควรจะได้รับ ซึ่งเป็นปัญหาที่กระทรวงสาธารณสุขกำลังเร่งรณรงค์ให้ผู้ที่ไม่ยอมรับวัคซีนได้รับวัคซีนต่อไป
“เรามีความพยายามที่จะคืนความเป็นปกติสุขให้กับประชาชนมากที่สุด มีการถอดหน้ากาก ใช้ชีวิตอย่างปกติ เปิดทุกอย่าง ไม่มีข้อจำกัดใดๆซึ่งเป็นเป้าหมาย เพียงแต่ว่าเราต้องใช้ความเข้าใจของสถานการณ์แต่ละคนด้วย ถ้าอยู่ในสถานที่ที่มีความเสี่ยง เราก็สามารถนำหน้ากากมาใส่ได้ แต่ที่บอกว่าต้องมีกฎต้องมีประกาศให้ถอดหน้ากากคงไม่มีประกาศเช่นนั้น จะใส่ก็ใส่ จะถอดก็ถอด โดยประเมินสถานการณ์กันด้วยความรู้ที่เราได้ประสบมา” นายอนุทิน กล่าว
นายอนุทิน กล่าวอีกว่า การที่มาถึงจุดนี้ได้เพราะเราได้รับวัคซีนกันอย่างถ้วนหน้า ซึ่งไทยได้ฉีดวัคซีนตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก จึงทำให้เกิดภูมิคุ้มกันกระจายอย่างกว้างขวาง ซึ่งวัคซีนทุกชนิดมีประโยชน์ มีฤทธิ์ในการป้องกันโรคในแต่ละช่วงเวลา โดยทางกระทรวงสาธารณสุขได้จัดวัคซีนให้มีความเพียงพอกับคนไทยทุกคน ไม่ใช่วัคซีนเหลือวัคซีนเกิน บางคนไปพูดหนักมากว่าเป็นขยะ เอาขยะในบ้านไปไว้นอกบ้าน เรียนว่า ไม่ใช่ “ขยะ” ในบ้านไปไว้นอกบ้าน แต่มันคือ “ทองคำ” เป็นสิ่งที่มีค่าเอาไปไว้ในเครือข่ายเพื่อบริการกับประชาชน
“ไม่มีใครปัญญาอ่อนพอที่จะเอาวัคซีนไปทิ้ง วัคซีนเป็นสิ่งที่มีค่า เป็นของที่ควรจะอยู่ในร่างกายของประชาชนเพื่อให้เขามีความปลอดภัย ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ขยะไม่สามารถบันดาลให้เกิดสิ่งดีๆเหล่านี้กับมนุษย์ได้” นายอนุทิน ระบุ
นายอนุทิน กล่าวเพิ่มเติมว่า ตนยืนยันด้วยเกียรติยศทุกอย่างที่มีว่าการกระทรวงสาธารณสุขจัดวัคซีน เวชภัณฑ์ และยาที่เป็นประโยชน์ และมีสรรพคุณในการรักษาประชาชน เราไม่มียาที่เอามาใช้เพื่อบรรเทาอาการ ลดอาการไปก่อนแล้วค่อยว่ากันที่หลังไม่มี อย่างไรก็ตามประเทศสมาชิกในภาคีต่างๆทั้งอาเซียน เอเปคต่างให้ความชื่นชมกับประเทศไทย แต่คนไทยที่ไม่ค่อยชื่นชม จึงต้องทำความเข้าใจกับเขาให้ได้ เราจะเอาสุขภาพของประชาชนเอามาเล่น เป็นตัวประกันไม่ได้ทั้งนั้น เรื่องสุขภาพ ชีวิตของประชาชน เรื่องการบริหารงานในกระทรวงสาธารณสุข ถ้าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องไม่มีการต่อรอง
https://www.naewna.com/local/658923
'หมอหนู' ลั่นไม่มีประกาศถอดหน้ากากแม้โควิด-19เป็นโรคประจำถิ่น
อนุทิน' เผยจะไม่มีออกประกาศถอดหน้ากาก แม้เปลี่ยนเป็นโรคประจำถิ่น ชี้จะใส่หรือถอดอยู่ที่ประชาชน เหน็บไม่ใช่คนปัญหาอ่อนเอาวัคซีนไปทิ้ง
08 มิ.ย.2565 - นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวตอนหนึ่งในงาน "Move on จาก Covid ใช้ชีวิตแบบมั่นใจ" ว่าสถานการณ์โควิดในไทยมีแนวโน้มดีขึ้น จำนวนผู้ติดเชื้อหรือเสียชีวิตลดลงอย่างต่อเนื่อง ผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่ำกว่า 3 พันรายต่อวัน และผู้เสียชีวิตต่ำกว่า 30 รายต่อวันเป็นเวลา 3 สัปดาห์แล้ว ซึ่งเป็นผลเกิดจากการที่ประชาชนให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตัวเองตามคำแนะนำของ สธ. วันนี้เป็นเวลาที่เราจะต้องสื่อสารเพิ่มเติมในการเตรียมความพร้อมของประชาชนใสการปรับวิถีชีวิตไปสู่การเป็นโรคประจำถิ่น
นายอนุทิน กล่าวว่า โรคประจำถิ่นไม่ได้หมายความว่าความรุนแรงของโรคจะลดลง เพียงแต่เป็นโรคที่จะต้องอยู่กับเรา และเราจะต้องอยู่กับมันในทุกช่วงของชีวิต แต่การเป็นโรคประจำถิ่นจะทำให้เกิดความคุ้นชิน มีความเข้าใจในการปฏิบัติตนให้เกิดความปลอดภัย ถึงแม้ว่าเราจะมีผู้คนมากมายที่ยังไม่ได้รับวัคซีนตามที่สมควรจะได้รับ ซึ่งเป็นปัญหาที่ สธ.กำลังเร่งรณรงค์ให้ผู้ที่ไม่ยอมรับวัคซีนได้รับวัคซีนต่อไป
"เรามีความพยายามที่จะคืนความเป็นปกติสุขให้กับประชาชนมากที่สุด มีการถอดหน้ากาก ใช้ชีวิตอย่างปกติ เปิดทุกอย่าง ไม่มีข้อจำกัดใดๆ ซึ่งเป็นเป้าหมาย เพียงแต่ว่าเราต้องใช้ความเข้าใจของสถานการณ์แต่ละคนด้วย ถ้าอยู่ในสถานที่ที่มีความเสี่ยง เราก็สามารถนำหน้ากากมาใส่ได้ แต่ที่บอกว่าต้องมีกฎต้องมีประกาศให้ถอดหน้ากากคงไม่มีประกาศเช่นนั้น จะใส่ก็ใส่ จะถอดก็ถอด ประเมินสถานการณ์กันด้วยความรู้ที่เราได้ประสบมา"นายอนุทินกล่าว
นายอนุทิน กล่าวอีกว่า การที่มาถึงจุดนี้ได้เพราะเราได้รับวัคซีนกันอย่างถ้วนหน้า ซึ่งไทยได้ฉีดวัคซีนตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก ซึ่งทำให้เกิดภูมิคุ้มกันกระจายอย่างกว้างขวาง ซึ่งวัคซีนทุกชนิดมีประโยชน์ มีฤทธิ์ในการป้องกันโรคในแต่ละช่วงเวลา โดย สธ.ได้จัดวัคซีนให้มีความเพียงพอกับคนไทยทุกคน ไม่ใช่วัคซีนเหลือวัคซีนเกิน บางคนไปพูดหนักมาเป็นขยะ เอาขยะในบ้านไปไว้นอกบ้าน เรียนว่าไม่ใช่ขยะในบ้านไปไว้นอกบ้าน มันคือทองคำเป็นสิ่งที่มีค่าเอาไปไว้ในเครือข่ายเพื่อบริการกับประชาชน
"ไม่มีใครปัญญาอ่อนพอที่จะเอาวัคซีนไปทิ้ง วัคซีนเป็นสิ่งที่มีค่า เป็นของที่ควรจะอยู่ในร่างกายของประชาชนเพื่อให้เขามีความปลอดภัยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ขยะไม่สามารถบันดาลให้เกิดสิ่งดีๆเหล่านี้กับมนุษย์ได้"นายอนุทิน ระบุ
นายอนุทิน กล่าวเพิ่มเติมว่า ยืนยันด้วยเกียรติยศทุกอย่างที่มีว่าการกระทรวงสาธารณสุขจัดวัคซีน เวชภัณฑ์ และยาที่เป็นประโยชน์ และมีสรรพคุณในการรักษาประชาชน เราไม่มียาที่เอามาใช้เพื่อบรรเทาอาการ ลดอาการไปก่อนแล้วค่อยว่ากันที่หลังไม่มี อย่างไรก็ตามประเทศสมาชิกในภาคีต่างๆทั้งอาเซียน เอเปกต่างให้ความชื่นชมกับประเทศไทย แต่มีคนไทยที่ไม่ค่อยชื่นชม จึงต้องทำความเข้าใจกับเขาให้ได้ เราจะเอาสุขภาพของประชาชนเอามาเล่น เป็นตัวประกันไม่ได้ทั้งนั้น เรื่องสุขภาพ ชีวิตของประชาชน เรื่องการบริหารงานในกระทรวงสาธารณสุข ถ้าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องไม่มีการต่อรอง
https://www.thaipost.net/covid-19-news/157323/
...ติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ
สถานการณ์ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
วิถีชีวิตใกล้เป็นปกติแล้วนะคะ
แต่ไม่มีประกาศถอดหน้ากากเป็นทางการ แล้วแต่วิจารณญาณ