It's A Flickering Life หรือในชื่อไทย "แด่ภาพยนตร์ที่ฉันรัก" ผลงานการเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีของตำนานสตูดิโอที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่น “โชจิกุ” (Shochiku) ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากคณะละครคาบูกิตั้งแต่ปี 1895 ก่อนจะเริ่มเข้าสู่วงการภาพยนตร์ในปี 1920 จนตอนนี้ได้ผลิตภาพยนตร์สู่สายตาของผู้ชมแล้วกว่า 500 เรื่อง นี่จึงเป็นโอกาสที่เหมาะสมที่สุดที่ภาพยนตร์ที่จะมาเป็นหมุดหมายในการครบรอบ 100 ปี จะเป็นภาพยนตร์ที่ว่าด้วยเรื่องราวของการสร้างภาพยนตร์อันเป็นเหมือนจดหมายรักที่ผู้สร้างตั้งใจจะมอบให้กับวงการภาพยนตร์ที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานและเป็นงานศิลปะที่คอยส่งมอบความบันเทิงให้แก่ผู้คนในทุกยุคทุกสมัย
เรื่องราวอันงดงามก็ต้องได้ผู้กำกับระดับตำนานมาเป็นผู้ถ่ายทอด ซึ่งไม่มีใครเหมาะสมไปกว่า ยามาดะ โยจิ (Yamada Youji) ผู้กำกับวัย 92 ปี ที่โด่งดังจากภาพยนตร์ชุดเรื่อง Otoko wa Tsurai yo หรือรู้จักกันในชื่อ Tora-san และผลงานการกำกับอีกกว่า 90 เรื่อง แน่นอนว่าเขาเองก็เป็นคนนึงที่อยู่กับวงการภาพยนตร์ญี่ปุ่นมาแทบจะทุกยุคทุกสมัยเช่นเดียวกับในเรื่องด้วยคงไม่มีใครจะเข้าใจวงการภาพยนตร์ได้ดีเท่าผู้กำกับคนนี้อีกแล้ว ซึ่งนั่นทำให้ It's A Flickering Life เข้าชิงออสการ์ญี่ปุ่นถึง 8 สาขา ได้แก่ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม, กำกับภาพยอดเยี่ยม, จัดแสงยอดเยี่ยม, กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม, บันทึกเสียงยอดเยี่ยม และ ตัดต่อยอดเยี่ยม
เรื่องราวของครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวหนึ่งที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงิน แถมตาแก่ประจำบ้านอย่าง โก (ซาวาดะ เก็นจิ) ก็ยังก่อหนี้จากการพนัน ทำให้โยชิโกะ (มิยาโมโตะ โนบุโกะ) และลูกสาว (เทระจิมะ ชิโนบุ) ต้องทำการยึดบัตรเครดิตเพื่อไม่ให้โก ออกไปก่อหนี้ได้อีก เขาจึงเหลือความบันเทิงในชีวิตเพียงอย่างเดียว คือ โรงภาพยนตร์ นั่นทำให้โกได้กลับไปหาเพื่อนสนิทอย่าง เทระชิน (โคบายาชิ เน็นจิ) ผู้เป็นเจ้าของโรงภาพยนตร์เล็กๆ แห่งหนึ่ง ทั้งสองจึงได้ร่วมกันระลึกความหลังในสมัยที่ยังเป็นวัยรุ่น สมัยที่ทั้งคู่เคยทำงานให้กับสตูดิโอผลิตภาพยนตร์แห่งแรกของญี่ปุ่นที่ชื่อว่า “โชจิกุ” (Shochiku) ที่ซึ่งโกใฝ่ฝันอยากจะเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ที่ได้พบกับโยชิโกะและนักแสดงสาวชื่อดังในยุคนั้นอย่าง คาสึระ โซโนโกะ (คิตากาวะ เคอิโกะ) โชคชะตาแบบไหนกันแน่ที่พาให้พวกเขามาอยู่ในปัจจุบัน การตัดสินใจ ความเจ็บปวด ความฝัน และความรัก จะเป็นตัวแปรที่โอบล้อมพวกเขาทั้งหมดเอาไว้
เห็นหน้าหนังเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการสร้างภาพยนตร์ก็อย่าเพิ่งด่วนสรุปไปว่าตัวหนังจะต้องพูดเรื่องยากๆ ศัพท์ทางเทคนิค หรือการกระทำประหลาดๆ ที่ยากต่อการเข้าใจทำนองนั้น แต่ It's A Flickering Life เหมือนจะวางเรื่องราวเหล่านี้ไว้เป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งเท่านั้น แท้จริงแล้วเรื่องราวของภาพยนตร์เรื่องนี้ว่าด้วย "ชีวิตของคนคนนึง" ที่เคยประกอบอาชีพในการสร้างภาพยนตร์มากกว่า จะเห็นว่าตัวหนังเปิดเผยเรื่องราวชีวิตของโกในปัจจุบัน ที่อาจจะเรียกได้ว่า ไม่ค่อยประสบความสำเร็จนัก ทั้งปัญหาเรื่องการเงิน การใช้ชีวิต(ติดสุราและการพนัน) ความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว เมื่อเกิดปัญหาขึ้น สิ่งเดียวที่เขายังพอเหลือเพื่อสร้างความบันเทิงให้กับชีวิตก็คือ ภาพยนตร์ นั่นเป็นประเด็นที่พาเราไปพบกับอดีตของคนที่ครั้งหนึ่งเคยใฝ่ฝันที่จะเป็นผู้กำกับภาพยนตร์
การเล่าเรื่องจะตัดสลับกันเป็นสองส่วน คือ อดีตกับปัจจุบัน ซึ่งตัวหนังเองก็มีการใช้การตัดสลับนี้ได้เกิดประโยชน์ โดยค่อยๆ เล่าเรื่องส่วนอดีตทั้งการทำงานของโกในฐานะผู้ช่วยผู้กำกับ และประเด็นความรักของเขาโยชิโกะและเพื่อนสนิทเทระชิน จนกลายมาเป็นรักสามเศร้า และตัดสลับกับปัจจุบันเพื่อบอกว่าปลายทางของทั้งสามคนเป็นอย่างไร ซึ่งคนดูก็จะเกิดคำถามว่า ทำไมบั้นปลายของทั้งสามคนจึงลงเอยแบบนี้ แต่ละคนมีเหตุผลอะไรที่เลือกเส้นทางนี้ เกิดอะไรขึ้นกับโกถึงไม่ได้เป็นผู้กำกับ โยชิโกะทำไมถึงเลือกโกมากกว่าเทระชิน เทระชินยังคงรักในงานที่ทำอยู่หรือเปล่า ทุกอย่างนี้ตัวหนังจะค่อยๆ เผยทีละอย่างสลับกับการตัดไปในอดีตเพื่อเฉลยในแต่ละประเด็นนั่นเอง
ตัวหนังเหมือนเป็นตัวแทนเปรียบเทียบความแตกต่างของคนในแต่ละยุคได้อย่างแนบเนียน เริ่มจาก โกในวัยหนุ่มเป็นตัวแทนของความอิสระ ความฝัน ที่แม้เราจะรู้ว่าปลายทางของเขาเป็นอย่างไร แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าโกในวัยหนุ่มนั้นมีชีวิตชีวาและพลังชีวิตที่เหลือล้น รวมถึงคนอื่นๆ ถัดมาเป็นลูกสาวของโก ที่เป็นตัวแทนของคนวัยกลางคนในยุคปัจจุบันที่ไม่มีความฝัน ไม่มีอิสระ ต้องดิ้นรนทำงานกินเงินเดือนและรับภาระหน้าที่ในการส่งเเสียเลี้ยงดูคนในบ้าน ซึ่งดูเหมือนจะเป็นขั้วตรงข้ามของโกอย่างสิ้นเชิงและเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคมด้วย แต่กระนั้นหนังก็ใช้ตัวละครหลานชายของโก เป็นตัวแทนของคนรุ่นใหม่ที่แม้จะมีกรอบไม่ต่างกับคนยุคอื่นๆ แต่ด้วยความเป็นคนรุ่นใหม่นี่เองที่โหยหาความฝันและอิสระภาพในชีวิต แม้จะไม่ได้แสดงออกมาตรงๆ แต่หนังใช้ตัวละครนี้เปิดประตูที่ปิดอยู่ในใจของโกขึ้นมา ทำให้เขาหยิบบทหนังที่เคยเขียนไว้ในอดีต(และถูกปัดตกไปเพราะไม่สามารถถ่ายทำได้เนื่องจากข้อจำกัดทางเทคโนโลยีในสมัยนั้น) มาปัดฝุ่นใหม่ร่วมกับหลานชายของเขาและพิสูจน์ว่าบทหนังที่เคยถูกเมินนั้น กลายมาเป็นความสำเร็จของโกและครอบครัว ซึ่งอาจจะเป็นความสำเร็จเพียงหนึ่งเดียวในชีวิตของโกในฐานะของคนทำหนังก็ได้
อีกหนึ่งสิ่งที่เห็นได้ชัดเลย คือ ตัวหนังไม่ได้พยายามยัดเยียดความดราม่า ความเศร้าหยดย้อย ถึงขนาดต้องร้องไห้ฟูมฟายแต่อย่างใด กลับกันตัวหนังมีจุดยืนที่ชัดเจนในการพยายามเล่าเรื่องอย่างเป็นธรรมชาติที่สุด ไม่รีบร้อน ไม่หวือหวา จนคนดูเริ่มซึมซับเรื่องราวเหล่านี้ ประหนึ่งนั่งอ่านไดอารี่ของใครสักคน ที่เรียบเรียงชีวิตที่ไม่สวยหรูสมบูรณ์แบบ เป็นชีวิตของปุถุชนคนธรรมดาที่พบเห็นได้ทั่วไป ไปจนถึงฉากสุดท้าย ที่เราได้เห็นความรักในศาสตร์ของภาพยนตร์ในตัวโก ที่แม้ว่าเขาจะไม่อาจไปถึงจุดสูงสุดของมันได้ แต่ก็สัมผัสได้ถึงความรู้สึกของความภาคภูมิใจของโกที่ตัวเขามีต่อการสร้างภาพยนตร์ และตัวหนังเล่าออกมาได้อย่างเรียบง่ายแต่ก็กินใจจนอาจจะกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่เลยทีเดียว สมกับที่ใช้ชื่อไทยว่า "แด่ภาพยนตร์ที่ฉันรัก"
.
ในด้านนักแสดง บทของโก ได้ ซาวาดะ เก็นจิ (Sawada Kenji) อดีตตำนานนักร้องนำวง The Tigers ชายผู้ที่เรียกได้ว่าเป็น ไอดอลชายคนแรกของญี่ปุ่น ก่อนจะผันตัวมาเป็นนักแสดง ซึ่งเขาก็ถ่ายทอดความเป็นคนแก่หลงวัยออกมาได้น่าหมั่นไส้และน่าเอ็นดูในคราวเดียวกัน ส่วนบทโกวัยหนุ่ม ได้นักแสดงชายระดับต้นๆ ในยุคนี้อย่าง สุดะ มาซากิ (Suda Masaki) มาถ่ายทอดความทะเยอทะยาน ความฝัน ความมีชีวิตชีวาของโกวัยหนุ่ม ซึ่งสุดะก็แสดงออกมาได้ตามมาตรฐานของเขา ติดแต่เพียงว่าด้วยใบหน้าที่ดูอ่อนโยนของเขาดูจะขัดๆกับความโผงผ่างที่โกเป็นอยู่หน่อยๆ เมื่อเทียบกับเก็นจิแล้ว เขาดูมีความเกรียนกว่าหน่อยๆ อันเป็นสเน่ห์ของตัวละครนี้
ถัดมาที่ตัวละครโยชิโกะ ได้นักแสดงสาว นากาโนะ เมอิ (Nagano Mei) และ นักแสดงสาวรุ่นใหญ่ มิยาโมโตะ โนบุโกะ (Miyamoto Nobuko) แสดงเป็นโยชิโกะวัยสาวและปัจจุบัน ซึ่งในส่วนของเมอิ ได้มอบความสดใสและอ่อนโยนของหญิงสาว ที่ครองหัวใจของสองหนุ่มในเรื่องจนอยู่หมัด ส่วนคุณป้าโนบุโกะ ก็ได้มอบการแสดงในแววตาที่มีความเคลือบแคลงและรู้สึกตั้งคำถามถึงผลลัพธ์ของสิ่งที่ตัวเองเลือก ในด้านของเทระชิน ได้นักร้องนำวง Radwimps เจ้าของผลงานเพลงสุดโด่งดังจาก Yourname และ Weathering with You อย่าง โนดะ โยชิโระ (Noda Yojiro) มารับบทเทระชินวัยหนุ่ม แม้จะเพิ่งผ่านผลงานการแสดงมาได้ไม่มาก แต่เขาก็แสดงออกมาได้เป็นธรรมชาติและอยู่ในมาตรฐาน เช่นเดียวกัน นักแสดงรุ่นใหญ่อีกคน โคบายาชิ เน็นจิ (Kobayashi Nenji) กับบทเทระชินในปัจจุบัน ที่ดูเข้าขากับโกได้เป็นอย่างดี ส่วนอีกคนที่น่าพูดถึง คือ คิตากาวะ เคอิโกะ (Kitagawa Keiko) ในบท โซโนโกะ นักแสดงสาวหนึ่งในเพื่อนของโก (และดูเหมือนจะเป็นคนที่โกหมายปองจริงๆ) ซึ่งก็ต้องบอกว่านอกจากการแสดงแล้ว ใบหน้าที่งดงามของเธอสามารถเพิ่มความน่าสนใจให้กับเนื้อเรื่องส่วนอดีตไม่น้อยทีเดียว
ในส่วนงานสร้างอยู่ในระดับมาตรฐานภาพยนตร์ญี่ปุ่น ฉากกองถ่ายย้อนยุคก็ทำออกมาได้ดี ดูมีความเก่า ทั้งอุปกรณ์การทำงาน เราจะได้เห็นตัวกล้องยุคเก่า รางเลื่อนกล้อง กระทั่งตัวสเลทที่ยังใช้ชอร์กเขียนอยู่เลย แม้แต่กระบวนการฉายภาพยนตร์ที่สมัยนั้นใช้ม้วนฟิล์มขนาดใหญ่ก็ถูกหยิบมาใส่ด้วยเช่นกัน ใครที่เป็นพวกที่ชอบงานด้านกระบวนการสร้างภาพยนตร์ก็น่าจะให้ความรู้สึกเหมือนกลับไปเจอเพื่อนเก่าอีกครั้งนึง
แถมอีกนิด พอลองกลับมาคิดๆดูแล้ว บ้านเราไม่มีภาพยนตร์ทำนองนี้สักเท่าไหร่ (นอกจากกระแสหลักจำพวก ตลก ผี ที่หลายคนบ่นกันว่าซ้ำซากไม่พัฒนา) นี่เป็นตัวชี้วัดได้ถึงตลาดภาพยนตร์ของประเทศนั้นๆได้เลย คือ สมมติถ้าภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นของบ้านเรา มันจะสามารถทำเงินให้กับผู้สร้างได้รึเปล่า ฉายแล้วคนจะดูไหม ในขณะที่ตลาดภาพยนตร์ของประเทศญี่ปุ่นมีความแข็งแรงมาก จนสามารถสนับสนุนงานได้ทุกแนว ทำให้มีภาพยนตร์ไอเดียแปลกๆ แนวทางใหม่ๆ ทั้งดีบ้างแป๊กบ้าง แต่อย่างน้อยมันก็ไม่เจ๊งในยามออกฉาย ซึ่งในบ้านเรา ถ้าอยากพัฒนาในวงการภาพยนตร์จริงๆ คงต้องมองไปที่ตลาดว่า มันจะสามารถสนับสนุนงานที่ไม่ใช่กระแสหลักได้มากน้อยแค่ไหน ไม่อย่างนั้นเราก็จะวนๆอยู่กับภาพยนตร์กระแสหลักอยู่แบบนี้ไปอีกตราบนานเท่านาน (ยังไม่นับรวมถึงการสนับสนุนจากทั้งรัฐบาลและภาคส่วนต่างๆอีก)
.
สรุป It's A Flickering Life เป็นภาพยนตร์น้ำดีอีกหนึ่งเรื่องที่ผสมผสานเรื่องราวที่ร้อยเรียงความต่างของคนในแต่ละยุค ที่มีทั้งจิตวิญญาณและความฝัน ผ่านจดหมายรักที่มีต่อวงการภาพยนตร์ญี่ปุ่น ด้วยจังหวะการเล่าเรื่องที่ค่อยเป็นค่อยไป แต่แฝงไปด้วยความอบอุ่น ความเศร้าและความถวิลหาบางสิ่งบางอย่าง ที่อาจเป็นกระจกสะท้อนกลับมายังคนดูถึงประเด็นของครอบครัวและความฝันในครั้งที่ยังเต็มเปี่ยมไปด้วยพลังชีวิต ซึ่งบางทีอาจจะมอดไปหมดแล้วให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง
ฝากเพจด้วยครับ
Story Decoder
[รีวิว] It's A Flickering Life: จดหมายรักแด่วงการภาพยนตร์ญี่ปุ่นที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความฝัน
เรื่องราวอันงดงามก็ต้องได้ผู้กำกับระดับตำนานมาเป็นผู้ถ่ายทอด ซึ่งไม่มีใครเหมาะสมไปกว่า ยามาดะ โยจิ (Yamada Youji) ผู้กำกับวัย 92 ปี ที่โด่งดังจากภาพยนตร์ชุดเรื่อง Otoko wa Tsurai yo หรือรู้จักกันในชื่อ Tora-san และผลงานการกำกับอีกกว่า 90 เรื่อง แน่นอนว่าเขาเองก็เป็นคนนึงที่อยู่กับวงการภาพยนตร์ญี่ปุ่นมาแทบจะทุกยุคทุกสมัยเช่นเดียวกับในเรื่องด้วยคงไม่มีใครจะเข้าใจวงการภาพยนตร์ได้ดีเท่าผู้กำกับคนนี้อีกแล้ว ซึ่งนั่นทำให้ It's A Flickering Life เข้าชิงออสการ์ญี่ปุ่นถึง 8 สาขา ได้แก่ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม, กำกับภาพยอดเยี่ยม, จัดแสงยอดเยี่ยม, กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม, บันทึกเสียงยอดเยี่ยม และ ตัดต่อยอดเยี่ยม
เรื่องราวของครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวหนึ่งที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงิน แถมตาแก่ประจำบ้านอย่าง โก (ซาวาดะ เก็นจิ) ก็ยังก่อหนี้จากการพนัน ทำให้โยชิโกะ (มิยาโมโตะ โนบุโกะ) และลูกสาว (เทระจิมะ ชิโนบุ) ต้องทำการยึดบัตรเครดิตเพื่อไม่ให้โก ออกไปก่อหนี้ได้อีก เขาจึงเหลือความบันเทิงในชีวิตเพียงอย่างเดียว คือ โรงภาพยนตร์ นั่นทำให้โกได้กลับไปหาเพื่อนสนิทอย่าง เทระชิน (โคบายาชิ เน็นจิ) ผู้เป็นเจ้าของโรงภาพยนตร์เล็กๆ แห่งหนึ่ง ทั้งสองจึงได้ร่วมกันระลึกความหลังในสมัยที่ยังเป็นวัยรุ่น สมัยที่ทั้งคู่เคยทำงานให้กับสตูดิโอผลิตภาพยนตร์แห่งแรกของญี่ปุ่นที่ชื่อว่า “โชจิกุ” (Shochiku) ที่ซึ่งโกใฝ่ฝันอยากจะเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ที่ได้พบกับโยชิโกะและนักแสดงสาวชื่อดังในยุคนั้นอย่าง คาสึระ โซโนโกะ (คิตากาวะ เคอิโกะ) โชคชะตาแบบไหนกันแน่ที่พาให้พวกเขามาอยู่ในปัจจุบัน การตัดสินใจ ความเจ็บปวด ความฝัน และความรัก จะเป็นตัวแปรที่โอบล้อมพวกเขาทั้งหมดเอาไว้
เห็นหน้าหนังเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการสร้างภาพยนตร์ก็อย่าเพิ่งด่วนสรุปไปว่าตัวหนังจะต้องพูดเรื่องยากๆ ศัพท์ทางเทคนิค หรือการกระทำประหลาดๆ ที่ยากต่อการเข้าใจทำนองนั้น แต่ It's A Flickering Life เหมือนจะวางเรื่องราวเหล่านี้ไว้เป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งเท่านั้น แท้จริงแล้วเรื่องราวของภาพยนตร์เรื่องนี้ว่าด้วย "ชีวิตของคนคนนึง" ที่เคยประกอบอาชีพในการสร้างภาพยนตร์มากกว่า จะเห็นว่าตัวหนังเปิดเผยเรื่องราวชีวิตของโกในปัจจุบัน ที่อาจจะเรียกได้ว่า ไม่ค่อยประสบความสำเร็จนัก ทั้งปัญหาเรื่องการเงิน การใช้ชีวิต(ติดสุราและการพนัน) ความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว เมื่อเกิดปัญหาขึ้น สิ่งเดียวที่เขายังพอเหลือเพื่อสร้างความบันเทิงให้กับชีวิตก็คือ ภาพยนตร์ นั่นเป็นประเด็นที่พาเราไปพบกับอดีตของคนที่ครั้งหนึ่งเคยใฝ่ฝันที่จะเป็นผู้กำกับภาพยนตร์
การเล่าเรื่องจะตัดสลับกันเป็นสองส่วน คือ อดีตกับปัจจุบัน ซึ่งตัวหนังเองก็มีการใช้การตัดสลับนี้ได้เกิดประโยชน์ โดยค่อยๆ เล่าเรื่องส่วนอดีตทั้งการทำงานของโกในฐานะผู้ช่วยผู้กำกับ และประเด็นความรักของเขาโยชิโกะและเพื่อนสนิทเทระชิน จนกลายมาเป็นรักสามเศร้า และตัดสลับกับปัจจุบันเพื่อบอกว่าปลายทางของทั้งสามคนเป็นอย่างไร ซึ่งคนดูก็จะเกิดคำถามว่า ทำไมบั้นปลายของทั้งสามคนจึงลงเอยแบบนี้ แต่ละคนมีเหตุผลอะไรที่เลือกเส้นทางนี้ เกิดอะไรขึ้นกับโกถึงไม่ได้เป็นผู้กำกับ โยชิโกะทำไมถึงเลือกโกมากกว่าเทระชิน เทระชินยังคงรักในงานที่ทำอยู่หรือเปล่า ทุกอย่างนี้ตัวหนังจะค่อยๆ เผยทีละอย่างสลับกับการตัดไปในอดีตเพื่อเฉลยในแต่ละประเด็นนั่นเอง
ตัวหนังเหมือนเป็นตัวแทนเปรียบเทียบความแตกต่างของคนในแต่ละยุคได้อย่างแนบเนียน เริ่มจาก โกในวัยหนุ่มเป็นตัวแทนของความอิสระ ความฝัน ที่แม้เราจะรู้ว่าปลายทางของเขาเป็นอย่างไร แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าโกในวัยหนุ่มนั้นมีชีวิตชีวาและพลังชีวิตที่เหลือล้น รวมถึงคนอื่นๆ ถัดมาเป็นลูกสาวของโก ที่เป็นตัวแทนของคนวัยกลางคนในยุคปัจจุบันที่ไม่มีความฝัน ไม่มีอิสระ ต้องดิ้นรนทำงานกินเงินเดือนและรับภาระหน้าที่ในการส่งเเสียเลี้ยงดูคนในบ้าน ซึ่งดูเหมือนจะเป็นขั้วตรงข้ามของโกอย่างสิ้นเชิงและเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคมด้วย แต่กระนั้นหนังก็ใช้ตัวละครหลานชายของโก เป็นตัวแทนของคนรุ่นใหม่ที่แม้จะมีกรอบไม่ต่างกับคนยุคอื่นๆ แต่ด้วยความเป็นคนรุ่นใหม่นี่เองที่โหยหาความฝันและอิสระภาพในชีวิต แม้จะไม่ได้แสดงออกมาตรงๆ แต่หนังใช้ตัวละครนี้เปิดประตูที่ปิดอยู่ในใจของโกขึ้นมา ทำให้เขาหยิบบทหนังที่เคยเขียนไว้ในอดีต(และถูกปัดตกไปเพราะไม่สามารถถ่ายทำได้เนื่องจากข้อจำกัดทางเทคโนโลยีในสมัยนั้น) มาปัดฝุ่นใหม่ร่วมกับหลานชายของเขาและพิสูจน์ว่าบทหนังที่เคยถูกเมินนั้น กลายมาเป็นความสำเร็จของโกและครอบครัว ซึ่งอาจจะเป็นความสำเร็จเพียงหนึ่งเดียวในชีวิตของโกในฐานะของคนทำหนังก็ได้
อีกหนึ่งสิ่งที่เห็นได้ชัดเลย คือ ตัวหนังไม่ได้พยายามยัดเยียดความดราม่า ความเศร้าหยดย้อย ถึงขนาดต้องร้องไห้ฟูมฟายแต่อย่างใด กลับกันตัวหนังมีจุดยืนที่ชัดเจนในการพยายามเล่าเรื่องอย่างเป็นธรรมชาติที่สุด ไม่รีบร้อน ไม่หวือหวา จนคนดูเริ่มซึมซับเรื่องราวเหล่านี้ ประหนึ่งนั่งอ่านไดอารี่ของใครสักคน ที่เรียบเรียงชีวิตที่ไม่สวยหรูสมบูรณ์แบบ เป็นชีวิตของปุถุชนคนธรรมดาที่พบเห็นได้ทั่วไป ไปจนถึงฉากสุดท้าย ที่เราได้เห็นความรักในศาสตร์ของภาพยนตร์ในตัวโก ที่แม้ว่าเขาจะไม่อาจไปถึงจุดสูงสุดของมันได้ แต่ก็สัมผัสได้ถึงความรู้สึกของความภาคภูมิใจของโกที่ตัวเขามีต่อการสร้างภาพยนตร์ และตัวหนังเล่าออกมาได้อย่างเรียบง่ายแต่ก็กินใจจนอาจจะกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่เลยทีเดียว สมกับที่ใช้ชื่อไทยว่า "แด่ภาพยนตร์ที่ฉันรัก"
.
ในด้านนักแสดง บทของโก ได้ ซาวาดะ เก็นจิ (Sawada Kenji) อดีตตำนานนักร้องนำวง The Tigers ชายผู้ที่เรียกได้ว่าเป็น ไอดอลชายคนแรกของญี่ปุ่น ก่อนจะผันตัวมาเป็นนักแสดง ซึ่งเขาก็ถ่ายทอดความเป็นคนแก่หลงวัยออกมาได้น่าหมั่นไส้และน่าเอ็นดูในคราวเดียวกัน ส่วนบทโกวัยหนุ่ม ได้นักแสดงชายระดับต้นๆ ในยุคนี้อย่าง สุดะ มาซากิ (Suda Masaki) มาถ่ายทอดความทะเยอทะยาน ความฝัน ความมีชีวิตชีวาของโกวัยหนุ่ม ซึ่งสุดะก็แสดงออกมาได้ตามมาตรฐานของเขา ติดแต่เพียงว่าด้วยใบหน้าที่ดูอ่อนโยนของเขาดูจะขัดๆกับความโผงผ่างที่โกเป็นอยู่หน่อยๆ เมื่อเทียบกับเก็นจิแล้ว เขาดูมีความเกรียนกว่าหน่อยๆ อันเป็นสเน่ห์ของตัวละครนี้
ถัดมาที่ตัวละครโยชิโกะ ได้นักแสดงสาว นากาโนะ เมอิ (Nagano Mei) และ นักแสดงสาวรุ่นใหญ่ มิยาโมโตะ โนบุโกะ (Miyamoto Nobuko) แสดงเป็นโยชิโกะวัยสาวและปัจจุบัน ซึ่งในส่วนของเมอิ ได้มอบความสดใสและอ่อนโยนของหญิงสาว ที่ครองหัวใจของสองหนุ่มในเรื่องจนอยู่หมัด ส่วนคุณป้าโนบุโกะ ก็ได้มอบการแสดงในแววตาที่มีความเคลือบแคลงและรู้สึกตั้งคำถามถึงผลลัพธ์ของสิ่งที่ตัวเองเลือก ในด้านของเทระชิน ได้นักร้องนำวง Radwimps เจ้าของผลงานเพลงสุดโด่งดังจาก Yourname และ Weathering with You อย่าง โนดะ โยชิโระ (Noda Yojiro) มารับบทเทระชินวัยหนุ่ม แม้จะเพิ่งผ่านผลงานการแสดงมาได้ไม่มาก แต่เขาก็แสดงออกมาได้เป็นธรรมชาติและอยู่ในมาตรฐาน เช่นเดียวกัน นักแสดงรุ่นใหญ่อีกคน โคบายาชิ เน็นจิ (Kobayashi Nenji) กับบทเทระชินในปัจจุบัน ที่ดูเข้าขากับโกได้เป็นอย่างดี ส่วนอีกคนที่น่าพูดถึง คือ คิตากาวะ เคอิโกะ (Kitagawa Keiko) ในบท โซโนโกะ นักแสดงสาวหนึ่งในเพื่อนของโก (และดูเหมือนจะเป็นคนที่โกหมายปองจริงๆ) ซึ่งก็ต้องบอกว่านอกจากการแสดงแล้ว ใบหน้าที่งดงามของเธอสามารถเพิ่มความน่าสนใจให้กับเนื้อเรื่องส่วนอดีตไม่น้อยทีเดียว
ในส่วนงานสร้างอยู่ในระดับมาตรฐานภาพยนตร์ญี่ปุ่น ฉากกองถ่ายย้อนยุคก็ทำออกมาได้ดี ดูมีความเก่า ทั้งอุปกรณ์การทำงาน เราจะได้เห็นตัวกล้องยุคเก่า รางเลื่อนกล้อง กระทั่งตัวสเลทที่ยังใช้ชอร์กเขียนอยู่เลย แม้แต่กระบวนการฉายภาพยนตร์ที่สมัยนั้นใช้ม้วนฟิล์มขนาดใหญ่ก็ถูกหยิบมาใส่ด้วยเช่นกัน ใครที่เป็นพวกที่ชอบงานด้านกระบวนการสร้างภาพยนตร์ก็น่าจะให้ความรู้สึกเหมือนกลับไปเจอเพื่อนเก่าอีกครั้งนึง
แถมอีกนิด พอลองกลับมาคิดๆดูแล้ว บ้านเราไม่มีภาพยนตร์ทำนองนี้สักเท่าไหร่ (นอกจากกระแสหลักจำพวก ตลก ผี ที่หลายคนบ่นกันว่าซ้ำซากไม่พัฒนา) นี่เป็นตัวชี้วัดได้ถึงตลาดภาพยนตร์ของประเทศนั้นๆได้เลย คือ สมมติถ้าภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นของบ้านเรา มันจะสามารถทำเงินให้กับผู้สร้างได้รึเปล่า ฉายแล้วคนจะดูไหม ในขณะที่ตลาดภาพยนตร์ของประเทศญี่ปุ่นมีความแข็งแรงมาก จนสามารถสนับสนุนงานได้ทุกแนว ทำให้มีภาพยนตร์ไอเดียแปลกๆ แนวทางใหม่ๆ ทั้งดีบ้างแป๊กบ้าง แต่อย่างน้อยมันก็ไม่เจ๊งในยามออกฉาย ซึ่งในบ้านเรา ถ้าอยากพัฒนาในวงการภาพยนตร์จริงๆ คงต้องมองไปที่ตลาดว่า มันจะสามารถสนับสนุนงานที่ไม่ใช่กระแสหลักได้มากน้อยแค่ไหน ไม่อย่างนั้นเราก็จะวนๆอยู่กับภาพยนตร์กระแสหลักอยู่แบบนี้ไปอีกตราบนานเท่านาน (ยังไม่นับรวมถึงการสนับสนุนจากทั้งรัฐบาลและภาคส่วนต่างๆอีก)
.
สรุป It's A Flickering Life เป็นภาพยนตร์น้ำดีอีกหนึ่งเรื่องที่ผสมผสานเรื่องราวที่ร้อยเรียงความต่างของคนในแต่ละยุค ที่มีทั้งจิตวิญญาณและความฝัน ผ่านจดหมายรักที่มีต่อวงการภาพยนตร์ญี่ปุ่น ด้วยจังหวะการเล่าเรื่องที่ค่อยเป็นค่อยไป แต่แฝงไปด้วยความอบอุ่น ความเศร้าและความถวิลหาบางสิ่งบางอย่าง ที่อาจเป็นกระจกสะท้อนกลับมายังคนดูถึงประเด็นของครอบครัวและความฝันในครั้งที่ยังเต็มเปี่ยมไปด้วยพลังชีวิต ซึ่งบางทีอาจจะมอดไปหมดแล้วให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง
ฝากเพจด้วยครับ Story Decoder