คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 34
คุณติดกับดักเรื่องคุณภาพชีวิตค่ะ ภาษาชาวบ้านเรียกว่าหัวสูง ถามว่าผิดไหมก็ไม่ผิดนะ เราเองยังใฝ่ฝันถึงคุณภาพชีวิตที่ดีเลย แต่ว่าบางทีความฝันกับความจริงมันดันไม่ไปด้วยกัน
คุณมองว่าของแพงเท่ากับของดี การใช้ของดีคือการยกระดับคุณภาพชีวิต ถ้าใช้ของที่เกรดกลางหรือกลางค่อนไปทางบนแล้วคุณภาพชีวิตจะไม่ดี (ทั้งที่ความจริงแล้วมันก็ไม่ได้แย่ มันอยู่ได้แบบไม่ลำบากเลยล่ะ) แต่คุณไม่ได้มองถึงความคุ้มค่าของการใช้งานและการเงินที่แบกรับ อีกอย่างคือถ้าอยากได้อะไรก็ต้องผ่อน บริหารเงินเพื่อให้มีเงินผ่อนเพียงพอในแต่ละเดือน แถมเมื่อผ่อนแล้วยังมานั่งอีกคิดว่า "เฮ้ย มันคุ้มไหม ทำไมเงินเก็บเราเหลือน้อยจัง" เราว่าคุณไม่ได้มีสภาพคล่องทางการเงินอย่างที่คุณคิด คุณอยู่แบบคาบลูกคาบดอก แค่ตอนนี้ยังไม่เกิดเหตุฉุกเฉินให้ติดขัดเฉย ๆ ซึ่งมันอันตรายมากถ้าคุณทำแบบนี้ต่อไปเรื่อย ๆ เกิดวันหน้าคุณตกงานหรือมีเหตุให้ขาดสภาพคล่องทางการเงินจนต้องดึงเงินเก็บออกมาใช้ นิสัยนี้ล่ะจะทำให้คุณหมดเงินไปแบบไวมาก ๆ
ลดสเปคลงมาหน่อยจะดีกว่า ไม่ต้องไปถึงขั้นใช้ของแบกะดินเสี่ยงระเบิดคามือหรือไฟไหม้บ้านอะไรเทือกนั้น เอาของใช้เกรดกลางจนถึงกลางค่อนไปทางบนก็ได้ นอกจากจะดีต่อกระเป๋าเงินแล้วยังดีต่อสุขภาพจิตเวลาบริหารเงินด้วยค่ะ
คุณมองว่าของแพงเท่ากับของดี การใช้ของดีคือการยกระดับคุณภาพชีวิต ถ้าใช้ของที่เกรดกลางหรือกลางค่อนไปทางบนแล้วคุณภาพชีวิตจะไม่ดี (ทั้งที่ความจริงแล้วมันก็ไม่ได้แย่ มันอยู่ได้แบบไม่ลำบากเลยล่ะ) แต่คุณไม่ได้มองถึงความคุ้มค่าของการใช้งานและการเงินที่แบกรับ อีกอย่างคือถ้าอยากได้อะไรก็ต้องผ่อน บริหารเงินเพื่อให้มีเงินผ่อนเพียงพอในแต่ละเดือน แถมเมื่อผ่อนแล้วยังมานั่งอีกคิดว่า "เฮ้ย มันคุ้มไหม ทำไมเงินเก็บเราเหลือน้อยจัง" เราว่าคุณไม่ได้มีสภาพคล่องทางการเงินอย่างที่คุณคิด คุณอยู่แบบคาบลูกคาบดอก แค่ตอนนี้ยังไม่เกิดเหตุฉุกเฉินให้ติดขัดเฉย ๆ ซึ่งมันอันตรายมากถ้าคุณทำแบบนี้ต่อไปเรื่อย ๆ เกิดวันหน้าคุณตกงานหรือมีเหตุให้ขาดสภาพคล่องทางการเงินจนต้องดึงเงินเก็บออกมาใช้ นิสัยนี้ล่ะจะทำให้คุณหมดเงินไปแบบไวมาก ๆ
ลดสเปคลงมาหน่อยจะดีกว่า ไม่ต้องไปถึงขั้นใช้ของแบกะดินเสี่ยงระเบิดคามือหรือไฟไหม้บ้านอะไรเทือกนั้น เอาของใช้เกรดกลางจนถึงกลางค่อนไปทางบนก็ได้ นอกจากจะดีต่อกระเป๋าเงินแล้วยังดีต่อสุขภาพจิตเวลาบริหารเงินด้วยค่ะ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
สินค้าราคาสูง มันมีหลายปัจจัยครับ
เช่น คุณภาพสูงกว่า เร็วกว่า เงียบกว่า สเป็คเครื่องดีกว่า ทนกว่า อึดกว่า อายุการใช้งานยาวกว่า วัสดุประกอบดีกว่า ฯลฯ
ดีกว่าอันอื่นๆ แค่เล็กน้อย แต่ราคาต่างกันลิบ
ยกตัวอย่างเช่น ที่โกนหนวดไฟฟ้าที่คุณพูดถึง
ของถูก พลาสติกห่วยๆ ดีไซน์ธรรมดา ใบมีดสังกะสี มอเตอร์กากๆ แต่ก็ใช้งานได้ดี 1-2ปี พัง ก็ซื้อใหม่ มีความเสี่ยงที่จะมือซวยเจอของผลิตตกเกรด 30%
ของแถง พลาสติกเกรดดี ดีไซน์สวย ใบมีสแตนเลส มอเตอร์อย่างอึด ใช้งานก็ไม่ได้แตกต่างกับของถูก แต่ ใช้งานได้ยาวนานเป็น10ปี มีความเสียงที่จะมือซวยเจอชิ้นตกเกรดแค่1% (ขนาดรถยุโรปราคาแพง ถ้าคนมือซวยไปซื้อเจอแจ็คพ็อต ก็เจอคันที่ห่วย เข้าศูนย์ซ่อมไม่หายสักที ก็มี นานๆทีก็จะมีข่าวออกมาทุบรถ)
มันก็มีทั้ง ข้อดี ข้อเสีย ก็แล้วแต่มุมมองอ่ะนะ
เช่น ดีไซน์สวยแล้วไงอ่ะ สวย แต่คุณก็ต้องทนดูมันไปเป็น10ปี ไม่พังสักกะที อยากได้ของใหม่ๆ ก็เสียดายของเก่าเพราะมันแพง
สำหรับผม ผมมีหลักคิดการเลือกซื้อของอยู่ว่า
- ถ้าสิ่งใดที่ใช้แล้วหมดไปต้องซื้อวนใหม่ ไม่สำคัญอะไรมาก ของที่พังง่าย จุ๊กจิก ง่อยๆ ผมจะไปซื้อร้าน20บาทมาใช้
- ถ้าสิ่งใดที่เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า เทคโนโลยี่ ผมจะซื้อคุณภาพกลางๆ เกรดกลางๆมาใช้ เช่น โทรทัศน์,คอมฯ เพราะ อีก5-7-10ปี เดี๋ยวมันก็มีอะไรใหม่ๆมาให้อัพเกรด คราวนี้จะเปลี่ยนก็ไม่เสียดายมาก
- ถ้าสิ่งใดที่เป็นเครื่องมือทำมาหากิน ก็จะลงทุนดีๆหน่อย ต้องทำงานได้ต่อเนื่อง อึด ถึก ทน เพราะมันทำให้การทำงานไหลลื่นไม่สะดุด สร้างรายได้ให้กับเรา เช่น ผมทำธุรกิจเกี่ยวกับงานช่าง พวกเครื่องมือไฟฟ้านี่ ผมก็ซื้อแต่ในห้างนะ เพราะมีรับประกันซ่อม ไม่ซื้อตามคลองถม,ตามร้านข้างทาง
- ถ้าสิ่งใดที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของชีวิต และสุขภาพ ทั้งของตนเองและครอบครัว ผมจะเลือกใช้ของดีๆ กินดีๆ เช่น เวลาไปซื้อของในห้าง ผมนี้เลือกซื้อผักออแกนิคอย่างไม่ต้องคิดอะไรมากเลย หรืออย่างรถยนต์ที่ขับประจำ ก็ใช้รถยุโรป เป็นต้น
อีกปัจจัยนึงที่หลายๆคนมองข้ามไป ของสินค้าราคาสูง คือ
"การตลาด" สินค้ายี่ห้อนั้นๆ เขาทำการตลาดดีไงล่ะ มีค่าการตลาดเข้ามาเพิ่มในสินค้า ที่ทำให้คุณฝังใจ,คุ้นเคย,ไว้วางใจ และเชื่อว่ายี่ห้อนั้นๆคือดีเยี่ยม
ต้นทุ่นค่าการตลาด มีทั้งค่าโฆษณาต่างๆ ค่าพนักงานแผนกการตลาด ค่าวิจัยการตลาด ค่าพรีเซ้นต์เตอร์ ... บานตะไท
ของแพง นอกจากตัวคุณภาพสินค้าแล้ว คุณก็ยังต้องจ่ายค่าความเชื่อเหล่านั้นด้วยครับ
แต่ทั้งนี้ สรุปสุดท้าย
ถ้าคุณมีเงิน แล้วไม่เดือดร้อนใคร อยากซื้ออะไร ก็ซื้อไปเถอะ มีเงิน ก็ใช้เงินซื้อความสุขซะ
ปล. "ไม่เดือดร้อนใคร" ในที่นี้ หมายถึง 1.ทั้งปัจจุบัน และอนาคตนะครับ 2.เดือนร้อนคนอื่นที่จะต้องมาคอยอิจฉา 55555
เช่น คุณภาพสูงกว่า เร็วกว่า เงียบกว่า สเป็คเครื่องดีกว่า ทนกว่า อึดกว่า อายุการใช้งานยาวกว่า วัสดุประกอบดีกว่า ฯลฯ
ดีกว่าอันอื่นๆ แค่เล็กน้อย แต่ราคาต่างกันลิบ
ยกตัวอย่างเช่น ที่โกนหนวดไฟฟ้าที่คุณพูดถึง
ของถูก พลาสติกห่วยๆ ดีไซน์ธรรมดา ใบมีดสังกะสี มอเตอร์กากๆ แต่ก็ใช้งานได้ดี 1-2ปี พัง ก็ซื้อใหม่ มีความเสี่ยงที่จะมือซวยเจอของผลิตตกเกรด 30%
ของแถง พลาสติกเกรดดี ดีไซน์สวย ใบมีสแตนเลส มอเตอร์อย่างอึด ใช้งานก็ไม่ได้แตกต่างกับของถูก แต่ ใช้งานได้ยาวนานเป็น10ปี มีความเสียงที่จะมือซวยเจอชิ้นตกเกรดแค่1% (ขนาดรถยุโรปราคาแพง ถ้าคนมือซวยไปซื้อเจอแจ็คพ็อต ก็เจอคันที่ห่วย เข้าศูนย์ซ่อมไม่หายสักที ก็มี นานๆทีก็จะมีข่าวออกมาทุบรถ)
มันก็มีทั้ง ข้อดี ข้อเสีย ก็แล้วแต่มุมมองอ่ะนะ
เช่น ดีไซน์สวยแล้วไงอ่ะ สวย แต่คุณก็ต้องทนดูมันไปเป็น10ปี ไม่พังสักกะที อยากได้ของใหม่ๆ ก็เสียดายของเก่าเพราะมันแพง
สำหรับผม ผมมีหลักคิดการเลือกซื้อของอยู่ว่า
- ถ้าสิ่งใดที่ใช้แล้วหมดไปต้องซื้อวนใหม่ ไม่สำคัญอะไรมาก ของที่พังง่าย จุ๊กจิก ง่อยๆ ผมจะไปซื้อร้าน20บาทมาใช้
- ถ้าสิ่งใดที่เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า เทคโนโลยี่ ผมจะซื้อคุณภาพกลางๆ เกรดกลางๆมาใช้ เช่น โทรทัศน์,คอมฯ เพราะ อีก5-7-10ปี เดี๋ยวมันก็มีอะไรใหม่ๆมาให้อัพเกรด คราวนี้จะเปลี่ยนก็ไม่เสียดายมาก
- ถ้าสิ่งใดที่เป็นเครื่องมือทำมาหากิน ก็จะลงทุนดีๆหน่อย ต้องทำงานได้ต่อเนื่อง อึด ถึก ทน เพราะมันทำให้การทำงานไหลลื่นไม่สะดุด สร้างรายได้ให้กับเรา เช่น ผมทำธุรกิจเกี่ยวกับงานช่าง พวกเครื่องมือไฟฟ้านี่ ผมก็ซื้อแต่ในห้างนะ เพราะมีรับประกันซ่อม ไม่ซื้อตามคลองถม,ตามร้านข้างทาง
- ถ้าสิ่งใดที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของชีวิต และสุขภาพ ทั้งของตนเองและครอบครัว ผมจะเลือกใช้ของดีๆ กินดีๆ เช่น เวลาไปซื้อของในห้าง ผมนี้เลือกซื้อผักออแกนิคอย่างไม่ต้องคิดอะไรมากเลย หรืออย่างรถยนต์ที่ขับประจำ ก็ใช้รถยุโรป เป็นต้น
อีกปัจจัยนึงที่หลายๆคนมองข้ามไป ของสินค้าราคาสูง คือ
"การตลาด" สินค้ายี่ห้อนั้นๆ เขาทำการตลาดดีไงล่ะ มีค่าการตลาดเข้ามาเพิ่มในสินค้า ที่ทำให้คุณฝังใจ,คุ้นเคย,ไว้วางใจ และเชื่อว่ายี่ห้อนั้นๆคือดีเยี่ยม
ต้นทุ่นค่าการตลาด มีทั้งค่าโฆษณาต่างๆ ค่าพนักงานแผนกการตลาด ค่าวิจัยการตลาด ค่าพรีเซ้นต์เตอร์ ... บานตะไท
ของแพง นอกจากตัวคุณภาพสินค้าแล้ว คุณก็ยังต้องจ่ายค่าความเชื่อเหล่านั้นด้วยครับ
แต่ทั้งนี้ สรุปสุดท้าย
ถ้าคุณมีเงิน แล้วไม่เดือดร้อนใคร อยากซื้ออะไร ก็ซื้อไปเถอะ มีเงิน ก็ใช้เงินซื้อความสุขซะ
ปล. "ไม่เดือดร้อนใคร" ในที่นี้ หมายถึง 1.ทั้งปัจจุบัน และอนาคตนะครับ 2.เดือนร้อนคนอื่นที่จะต้องมาคอยอิจฉา 55555
แสดงความคิดเห็น
ผมติดนิสัยที่ว่า "ของดี = ของแพง" เป็นความคิดที่ถูกตัองหรือเปล่า ครับ ?
1. สินค้าที่บอกผ่อน 50-60 รายการ เป็นระยะเวลารวม 2-3 ปีนะครับ แต่ปีล่าสุดจะเยอะหน่อย เนื่องจากพึ่งย้ายคอนโด เลยอารมณ์เหมือนซื้อของเข้าบ้านใหม่เลยอะครับ
2. ขออนุญาติให้ขอมูลเพิ่มว่า ผมยังไม่ถึงจุดที่ติดขัดเรื่องการเงินนะครับ แค่กำลังหาความสมดุลของราคาและคุณภาพ ให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุดอยู่ ซึ่งต่อให้ผมซื้อของที่ราคาถูกลง และคุณภาพไม่ลดลงมาก ท้ายสุดผมก็น่าจะยังเอา gap ส่วนต่างของเงินเหลือที่ได้มากเพิ่มไปทำอย่างอื่น หรือไปหาซื้ออย่างอื่นอยู่ดี
3. ผมพลาดเองที่ไม่ได้ระบุว่า ส่วนใหญ่ที่กังวลจะเป็นพวก utility อะครับ ส่วนพวกชิ้นไหนที่เอาไว้ entertrain อันนี้ผม ศึกษา + จัดเต็มตามความต้องการตัวเองล้วนๆ
**
เนื่องจาก ปัจจุบัน ผมได้สังเกตพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า มาใช้ โดยจะสนใจแค่ แบรนด์บนๆ ของสินค้าชนิดนั้น ที่ maximum พอดีกับรายได้เราเท่านั้นเลย (#อัพเดท 06/06/2022 17.35น ขอตัดประเด็นเงินเดือนออกไปนะครับ เดี๋ยวจะดราม่าเปล่าๆ เอาเป็นว่าตอนนี้ผ่อนสินค้า 0% หลายเดือน ราวๆ 60% ของรายได้ จ่ายประประมาณเดือนละ 50k ครับ ใครอยากทราบก็ไปแก้สมการเอาเอง ไม่อยากทราบก็ข้ามไปได้เลย)
ซึ่งเริ่มมาสังเกตตัวเองว่า ทำงานมา 2-3 ปี เงินเก็บเหลือน้อยมาก พอมาทำตารางค่าใช้จ่ายถึงเห็นว่าเรามีค่าผ่อนพวกเครื่องใช้ไฟฟ้าเยอะมาก แทบจะ 50-60% ของรายได้(ประมาณ 50-60 รายการ) อีกประมาณ 10 เดือนก็จะผ่อนหมดทุกชิ้น
เลยรู้สึกกังวลเรื่องระบบความคิดของตัวเอง ที่ไม่สนใจมองสินค้าประเภทเดียวกัน ที่ราคาถูกๆ เลย แม้แต่นิด โดยในหัวคิดแค่ว่ามันต้องมีเหตุผล อะไรบางอย่างที่มันทำให้ราคามันถูกเช่น ภาษี, ค่าต้นทุนการขาย, คุณภาพ, ค่างานวิจัย และอื่นๆ ซึ่งเราก็ไม่มีทางทราบ เลยต้องมองในมุมที่เป็น worst case ให้มากที่สุด ก็เลยสนใจแค่ว่าของราคาแพง มีโอกาสที่จะได้ของที่มีคุณภาพมากกว่า และก็มองว่าที่ของมันราคาสูง ก็เพราะมี demand นั่นหมายความว่ามันก็ต้องดีระดับที่ประคองราคาตัวเองได้อยู่
แต่พออ่านรีวิวของสินค้าที่ราคาถูกแล้ว ก็เห็นมีแต่คนชอบ หรือใช้งานได้ดี
อย่างเช่น ณ ตอนนี้ ผมกำลังมองหาที่โกนหนวดไฟฟ้า เพื่อมาแก้ไขปัญหาการที่ใช้ใบมีดโกนหนวดแล้วได้แผลทุกครั้ง
ซึ่งปักธงไว้ที่ flagship ของ philips ราคา 17k เพราะมันเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับใบหน้า อยากได้ของดีที่สุดมาใช้
แต่มันก็เหลือบไปเห็นรุ่นอื่นๆ หรือยี่ห้ออื่นที่ราคา มีตั้งแต่ 500-10k มากมาย ซึ่ง รีวิวจากผู้ใช้ใน platform ก็มีแต่คนถูกใจ
หรือว่าล่าสุด อาจจะไม่เกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่ขอยกตัวอย่างคือ ผมรู้สึกได้ว่าตัวเองมีปัญหาสายตา เลยไปตรวจ สรุปว่าสายตาเอียง ก็เข้าร้านตัดแว่น แล้วตัดไปเลยราคาจัดเต็มตัว เลนส์ 18k ตัวกรอบ 10k ซึ่งก็ไปเล่าให้พ่อแม่ฟัง พ่อก็บอกว่าแพงมากๆ ซึ่งอันนี้ผมมองว่ามันเกี่ยวกับสุขภาพก็อยากได้ของที่มันจัดเต็มไปเลย เพราะผมใช้ตาทำงานหนักมากๆ (สายงาน IT)
เลยอดสงสัยไม่ได้ว่า แล้วแบบนี้ จะมีตัวราคาแพงๆ ไปทำไมกันนะ เรากำลังหลงทางความคิดหรือติดกับดักอะไรหรือเปล่า
เพราะที่ผ่านๆ มา ผมซื้อของใช้มาเพื่อให้คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจะสนใจแต่ของแบรนด์ที่ราคาสูงลิ่วมาโดยตลอด อย่างเช่น ทีวี คอม เครื่องฟอกอากาศ เครื่องดูดควัน ตู้เย็น เครื่องเสียง สมาร์ทโฟน แม้กระทั่งคอนโด
มีแผนซื้อรถยนต์ อีก 2 ปี (อายุ 30) ซึ่งก็สนใจแต่แบรนด์ยุโรป 2 เจ้าหลักๆ แต่คิดว่าคงได้รุ่นล่างๆ - กลาง เท่านั้น ดันไปถึงตัวบนไม่น่าจะไหว เมื่อเทียบกับฐานรายได้
รบกวนสอบถามว่า มีรุ่นพี่ๆ ท่านไหนที่อายุเยอะกว่า และเคยมี หรือยังมีแนวคิดแบบผมบ้างหรือเปล่าครับ อยากทราบว่าปัจจุบัน ชีวิตเป็นอย่างไง มีวิธีจัดการระบบความคิดในเรื่องนี้อย่างไง ?
ปล. ให้ข้อมูลเรื่องอุปนิสัยเพิ่มครับ ผมอายุ 28 ซึ่งโดยอุปนิสัย จะขับเคลื่อนด้วยการที่อยากได้ของใช้ราคาแพงๆ แต่ทำให้ตัวเองเก่งขึ้น ก็เพียงพอ เพื่อที่จะได้ค่าตอบแทนที่สูงขึ้น โดยออกแรงในการทำงานแทบจะเท่าเดิม (อยู่ในสายงานที่ค่าแรง แปรผันตรงกับความสามารถ + มีอำนาจต่อรองค่าแรง ถ้าความสามารถถึงครับ เนื่องจากเกิด overdemand ในตลาดแรงงานในสายอาชีพสูงมาก)