รู้จักกับโรคสมาธิสั้น โรคที่ทุกคนต้องรู้จัก ตอนที่ 3

รู้จักกับโรคสมาธิสั้น โรคที่ทุกคนต้องรู้จัก ตอนที่ 3
 บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับ โรคสมาธิสั้น ที่มาจากประสบการณ์ตรงของผม จากที่ผมเคยเรียน จากคุยกับเพื่อนที่เป็นเหมือนกัน และจากคุณหมอครับ เนื่องจากว่าผมเห็นว่าคนไทยยังไม่ค่อยเข้าใจโรคนี้ ผมจึงคิดที่จะทำสื่อเพื่อให้คนไทยรู้จักมากขึ้น โดยได้เขียนบทความที่ชื่อว่า “รู้จักกับโรคสมาธิสั้น โรคที่ทุกคนต้องรู้จัก” โดยจะแบ่งเป็น 3 ตอน อันนี้จะเป็นตอนที่ 3 ครับ หากว่าใครชอบดูในรูปแบบของคลิปวิดีโอมากกว่า สามารถรับชมคลิปได้เลยครับ แต่ถ้าใครชอบอ่านก็เลื่อนลงไปอ่านบทความได้เลยครับ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

การช่วยเหลือและการรักษา
 การปรับพฤติกรรมโดยภาพรวม (เทคนิคเหล่านี้สามารถใช้ได้ตั้งแต่เด็กยังไปถึงคนที่โตแล้วครับ)

 - ต้นแบบเป็นแบบอย่างที่ดี ข้อนี้สำคัญมากเพราะถ้าเด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมและมีต้นแบบที่ไม่ดีก็จะทำให้การปรับพฤติกรรมเด็กยากขึ้น ผู้ใหญ่โดยเฉพาะคนที่มีผลกับแด็กจะต้องเป็นต้นแบบที่ดี คุมอารมณ์ได้ดี มีเหตุผล รอคอยเป็น
 - การมีขั้นตอนในการดำเนินงาน ควรจะมีการจัดตารางหรือจัดขั้นตอนในการดำเนินชีวิตเพื่อจะทำให้ชีวิตเป็นระเบียบมากขึ้น ลดการซ้ำซ้อนในการทำงาน และค่อยๆ ทำที่ละขั้นตอน
 - หากว่าเด็กหัวร้อนอยู่ก็อย่างพึ่งไปดุหรือว่าตักเตือนไม่งั้นมันจะเหมือนกับยิ่งเอาไฟไปสุ่มซึ่งจะนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่แย่ลงได้ ควรรอให้เด็กสงบอารมณ์ก่อน
 - ใช้เครื่องมือช่วยเช่น นาฬิกา ช่วยในการตั้งเตือนและเปลี่ยนจากการจำด้วยปากเปล่าเป็นการจดบันทึกแทนซึ่งจะช่วยเหลือได้เพราะเด็กหลายๆ คนมีปัญหาเรื่องความจำ
 - ใช้วิธีการเสริมแรงเมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมเช่น ให้รางวัล อาจเป็นการให้ดาว ให้ขนม และคำชม กอด ไม่ควรใช้คำที่ต่อว่าเพราะอาจทำให้เด็กเสียความเห็นคุณค่าในตัวเอง และไม่ควรใช้กำลังหากว่าจำเป็นต้องใช้กำลังจริงๆ ก็ให้เป็นวิธีสุดท้ายและเป็นในรูปแบบการสั่งสอนเช่น การตี
 - ส่งเสริมกิจกรรมที่ช่วยเรื่องสมาธิเช่น กีฬา ดนตรี จากการศึกษาพบว่า เด็กสมาธิสั้นเหมือนกับจะมีพลังงานเยอะ การเล่นกีฬาก็มีส่วนช่วยทำให้ปลดปล่อยพลังในทางด้านที่ถูกต้อง นอกจากนี้ยังพบว่าการเล่นโยคะจะช่วยเรื่องทำให้อาการสมาธิสั้นดีขึ้นด้วย
 - บางครั้งการเกิดความผิดพลาดก็ช่วยทำให้เกิดความระวังมากขึ้น ถ้าเกิดว่ามีเรื่องที่ทำพลาดบางครั้งสิ่งนั้นจะถือว่าเป็นการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดการตระหนักมากขึ้นในครั้งหน้า อย่างตัวผมเคยเคยสะเพร่าและลืมปิดกระเป๋ากล้องไม่สนิทสุดท้ายกล้องเลยหลุดจากกระเป๋าทำให้เราตกใจและจดจำ
จากเหตุการณ์ในครั้งนั้นผมไม่เคยลืมเช็ดเรื่องการรูดซิมกระเป๋ากล้องอีกเลย
 - ถ้าหากว่าในคนที่โต ถ้ายังมีภาวะ อยู่ไม่นิ่ง ( Hyperactivity) อยู่ ก็สามารถให้ลุกเดินไปมาได้ถ้าหากว่าไม่รบกวนคนอื่นเพราะการที่บังคับไม่ให้เคลื่อนที่จะสร้างความอึดอัดได้ อาจใช้วิธีดูเวลาไม่ต้องเดินถี่อาจ 15 -20 นาทีค่อยเดิน และแทนที่จะเดินไปเฉยๆ อาจใช้วิธีทำให้มันดูดีและคนอื่นไม่สงสัยแทนเช่น ลุกไปเข้าห้องน้ำ
 - พยายามสร้างวินัยให้กับตัวเอง สมองคนเรามักจะหาวิธีใช้พลังงานน้อยที่สุดเพราะฉะนั้นเวลาเริ่มทำงานในช่วงแรกจะรู้สึกไม่อยากทำ พยายามจะหาวิธีเพื่อหยุดพักไปทำอย่างอื่นที่สบายกว่า แต่ถ้าเราทำไปได้ระยะหนึ่งแล้วเราจะทำงานต่อเนื่องได้เพราะเหมือนกับเครื่องติดแล้ว เพราะฉะนั้นในช่วงแรกๆ เราจะต้องมีวินัยกับการทำงาน หากมีความรู้สึกวอกแวกก็พยายามมีวินัยเพราะเมื่อทำไปได้ระยะหนึ่งเหมือนกับเครื่องจุดติดจะทำให้เราทำงานได้ดีขึ้น
 - การนั่งสมาธิถูกพูดถึงว่าได้ผลไหม ? คำตอบก็คือมันช่วยได้ถ้านั่งได้ การนั่งสมาธิจะช่วยทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองส่วนหน้าได้มากขึ้นทำให้สมองส่วนหน้าทำงานได้ดีขึ้น แต่ต้องเป็นการนั่งที่ยาวนานเหมาะสมซึ่งคนที่นั่งจะต้องพร้อมทั้งร่างกายและใจพร้อม แต่ในความเป็นจริงนั้นร้อยทั้งร้อยเป็นเรื่องที่ยากที่เด็กสมาธิสั้นจะนั่งได้ เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่น่าเบื่อและใช้เวลานาน ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าถ้าเด็กนั่งสมาธิได้ก็มีส่วนที่จะช่วยให้อาการสมาธิสั้นดีขึ้นได้ แต่ว่าไม่ใช่เรื่องง่ายๆ และจะทำได้ทุกคน

การช่วยเหลือในห้องเรียน

 - ใช้เนี้อหาเรียนที่มีความน่าสนใจ มีรูปภาพประกอบ อ่านสนุก สอนสนุก เป็นต้น
 - หากเด็กเริ่มมีอาการเหม่ยลอย วอกแวก เริ่มที่จะหลุดทำอย่างอื่นที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนครูจะต้องช่วยเตือนเช่น แตะตัวเด็ก เรียกเด็ก แต่อย่าใช้วิธีดุ ด่า
 - จัดตารางเวลาเรียนให้ชัดเจน เตือนเด็กก่อนที่จะหมดเวลาเรียนเพื่อจะทำให้เด็กรู้ตัวและจัดการเวลา รวมไปถึงเตือนให้เด็กจดสมุดจดการบ้านเพื่อจะได้ไม่ลืมทำการบ้าน
 - แนะนำให้เด็กจัดเอกสารการเรียนให้เป็นหมวดหมู่เช่น แยกเอกสารแต่ละวิชา แยกเอกสารว่าอันไหนจะกลับไปทำที่บ้าน
 - ถ้าเด็กไม่มีสมาธิจริงๆ อาจอนุญาตให้พักเป็นช่วงสั้นๆ เช่น ไปเข้าห้องน้ำ
 - ให้รางวัลและสร้างแรงจุงใจให้กับเด็กโดยให้บอกทันทีที่เด็กแสดงพฤติกรรมและให้บอกว่าทำไมถึงได้รับคำชม
 - การที่ให้เด็กนั่งหน้าห้องเป็นอีกวิธีที่จะช่วยทำให้เด็กหลุดน้อยลง โฟกัสง่ายขึ้น ประกอบกับสอนให้เด็กดูเวลาเพื่อที่จะทำให้เขาวางแผนจัดการเวลาได้ดีขึ้น
 - จากประสบการณ์ตรงของผู้เขียน ผู้เขียนจำได้เลยว่าวิธีหนึ่งที่จะช่วยทำให้ผู้เขียนเรียนได้มีประสิทธิภาพก็คือแบ่งเวลาเรียน อาจเรียนที่ละ 15 นาทีแล้วพักเป็นต้น เพราะถ้าหากว่าเรียนลากกันยาวๆ ยังไงผู้เขียนก็หลุดไปก่อนที่ครูจะสอนจบ โดยเฉพาะกับวิชาที่ไม่ชอบผมจะหลุดง่ายมาก บางทีไม่ถึง 5 นาทีก็หลุดแล้ว (วิธีนี้อาจใช้ได้ผลกับครุสอนพิเศษตัวต่อตัวมากกว่า)

มาดูในส่วนของตัวอย่างข้อดีและข้อด้อยกันบ้าง

ข้อดี
- ร่าเริงแจ่มใส
- ทำอะไรเร็ว มีพลังงานเยอะ
- มีจิตนาการมาก คิดไว

ข้อด้อย
- ต้องพูดเรื่องเดิมซ้ำๆ ดูไม่มีความรับผิดชอบ ไม่ตั้งใจ
- ชองเหม่าลอย ไม่วางแผน ไม่รอบคอบ
- ควบคุมอารมณ์ได้ไม่ดี จุดเดือดต่ำ
- พูดมาก พูดเก่ง ทำอะไรเร็วไปหมด

“Put the right man on the right job“ คำที่ควรใช้กับคนสมาธิสั้น

 ตอนที่ผมเรียนวิชาการศึกษาพิเศษ อาจารย์ของผมได้บอกว่าคนเป็นโรคนี้เรามักจะเรียกเขาว่า “1000 โปรเจ็กต์ แต่ไม่เสร็จสักโปรเจ็กต์เดียว” เนื่องมาจากที่ว่าคนเป็นโรคนี้อาจเป็นคนที่คิดไว ทำไว มีไอเดียดี แต่เขาไม่มีสมาธิที่จะทำงานจนสำเร็จได้ บางครั้งถ้าหากว่าเราใช้เขาในทางที่ถูกต้องเช่น ให้คนเป็นโรคนี้เป็นคนคิดโปรเจ็กต์แล้วให้คนอื่นไปทำจนสำเร็จอาจเป็นวิธีที่ดีกว่าให้เขาทั้งคิดและทำ เพราะมันอาจทำไม่เสร็จเลยด้วยซ้ำ

 จะเห็นได้ว่านี้เป็นตัวอย่างที่เป็นข้อดีและข้อด้อยของเด็กกลุ่มนี้ซึ่งถ้าหากว่ารักษาก็ยังมีถึง 2 ใน 3 ที่ยังมีอาการมาจนถึงตอนโต ส่วนในกรณีที่ไม่รักษาก็คงจะมีอาการจนถึงตอนโตซะเป็นส่วนใหญ่ เมื่อเข้าสู่วัยทำงานอันที่จริงแล้วเราเคยได้ยินประโยคที่ HR พูดบ่อยๆ ว่า “Put the right man on the right job” ซึ่งผมว่าประโยคนี้สามารถเอามาใช้กับการทำงานของคนเป็นโรคสมาธิสั้นได้เลย เพราะเขาจะมีจุดเด่นบางอย่างที่จะช่วยทำให้เราสร้างผลงาน ทำงานได้ดีขึ้น ในทางเดียวกันเราก็ไม่ให้เขาทำงานในส่วนที่เป็นข้อด้อยของเขา ว่าง่ายๆ ก็คือใช้ระบบช่วยชูจุดเด่นและปิดจุดด้อย

สรุปทิ้งท้าย

 ผมขอสรุปไว้ว่า ไม่มีใครเกิดมาปกติทุกคนจะมีความเป็นเด็กพิเศษหน่อยๆ เพียงแค่ว่าปริมาณมันน้อยจนมันไม่ได้กระทบต่อชีวิต ส่วนคนที่เป็นโรคสมาธิสั้นก็เพียงแค่ว่าเขามีบางอย่างไม่เหมือนคนอื่น บางอย่างเยอะเกิน บางอย่างขาด ถ้าหากว่าเราเข้าใจเขาต่อให้จะรักษาหายหรือไม่ก็ไม่ใช้ประเด็นใหญ่ ให้เขาได้เรียน ทำงานในแบบที่เหมาะสมกับเขา ส่งเสริมผลักดันเข้าไปในทิศทางที่ถูกต้องส่วนงานที่เขาไม่ถนัดหรือเป็นข้อด้อยก็ต้องใช้ตัวช่วยไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์รวมไปถึงตัวบุคคล ดังนั้นเราอาจปรับให้เขาทำงานในแบบที่ใช่เช่น เป็นคนคิด เป็นคนวิจารณ์ แต่ถึงเวลาทำงานที่ต้องใช้เวลาและความอดทนอาจมองไปให้คนอื่นทำแทน เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการสร้างทีมงานขึ้นมาที่แต่ละคนมีความถนัดไม่เหมือนกันแต่เป้าหมายเดียวกัน

 สุดท้ายเราอาจเลี่ยงเสียงด่าหรือการวิจารณ์ไม่ได้ น้องๆ ที่เป็นสมาธิสั้นทุกคน ขอให้เรารู้จักตัวเอง เรื่องไหนเป็นจุดอ่อนก็ยอมรับแต่ไม่ต้องไปยึดติดกับมัน แต่จงตื่นรู้กับจุดแข็งของเรา รู้จักคุณค่าของเรา ใครอยากจะว่าอะไรด่าอะไรก็ปล่อยไปไม่ต้องไปให้ค่า เพราะการทำเช่นนี้จะเป็นการเติมความแข็มแข็งให้จิตใจ ลดโอกาสที่จะทำให้เราเป็นโรคอื่นๆ ตามมาเช่น โรคซึมเศร้า และจะทำให้เราไม่เสีย Self Esteem ด้วย

ผม P สุรเชษฐ์ ฆังนิมิตร 
สามารถติดตามและพูดคุยกับผมได้ที่เพจ : P สุรเชษฐ์ ฆังนิมิตร
หรือลิงค์ : https://www.facebook.com/psurachet95/?show_switched_toast=0&show_invite_to_follow=0&show_switched_tooltip=0&show_podcast_settings=0&show_community_transition=0&show_community_review_changes=0
ช่อง Youtube : P สุรเชษฐ์ ฆังนิมิตร 
หรือลิงค์ :  https://www.youtube.com/channel/UCcaotwQy4XufCWfUdJGmFtw
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่