ยุทธพงศ์ จี้ถามกลางสภา พิรุธท่อส่งน้ำอีอีซี ล้มประมูลรอบแรก รอบ 2 แก้ทีโออาร์เฉย
https://www.khaosod.co.th/monitor-news/news_7082815
“ยุทธพงศ์” ไล่บี้ประมูลท่อส่งน้ำอีอีซี ข้องใจล้มประมูลครั้งแรก ทั้งที่ “อีสท์วอเตอร์” ให้ผลตอบแทนดีกว่าคู่แข่ง “มหัศจรรย์” เปลี่ยน TOR จากครั้งแรก จนทำให้ผู้แพ้กลับมาชนะ ตะลึง!! ตรวจพบ TOR ครั้งแรกกับครั้งที่ 2 มีการเปลี่ยนแปลงหลายประเด็นสำคัญ
การประมูลโครงการท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออก กำลังเป็นเรื่องอื้ฉาวที่ประชาชนให้ความสนใจอย่างมาก ถึงขั้นตอนการประมูล ที่หลายฝ่ายยังกังขาว่ามีความโปร่งใสจริงหรือไม่ ระหว่างทางเกิดอะไรขึ้น ทำไมโครงการนี้ถึงต้องเปิดประมูลถึงสองรอบ และกำลังเป็นที่จับตามองของพรรคการเมืองฝ่ายค้านอย่างพรรคเพื่อไทย ที่ให้ความสนใจกับการประมูลโครงการนี้
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มี นาย
ชวน หลีกภัย ประธานสภา ทำหน้าเป็นประธานการประชุม พิจารณากระทู้ถามสด ของ นาย
ยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ถาม นาย
สันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เรื่องความไม่โปร่งใสเกี่ยวกับการประมูลโครงการท่อส่งน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออก หรืออีอีซี ที่กรมธนารักษ์รับผิดชอบ เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2565 แต่มีข้อครหาว่า การประมูลไม่โปร่งใส เพราะใช้วิธีการคัดเลือก เชิญเฉพาะบริษัทที่มีคุณสมบัติ แต่เป็นบริษัทขนาดเล็ก ทำไมไม่เชิญบริษัทขนาดใหญ่ ที่มีความน่าเชื่อถือ และมีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ เข้าคัดเลือกเพื่อให้เกิดการแข่งขันและรัฐเกิดประโยชน์
ระหว่างกระทู้ถามสด นาย
ยุทธพงศ์ ยังได้ถาม กรมธนารักษ์ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2564 ได้เปิดให้เอกชนยื่นซอง มีผู้มายื่นซองแค่ 3 ราย บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชั่น (มหาชน) บริษัทดับบลิวเอชเอ หรือ WHA ทั้งสองบริษัทยื่นไม่ได้ เพราะทำนิคมอุตสาหกรรมไม่ได้ทำน้ำประปา ส่วนบริษัทวิค ก็ตกไปเพราะขายท่อน้ำประปาเหลือแต่ บริษัท วงษ์สยามก่อสร้าง จำกัด และบริษัทอีสท์วอเตอร์ จากนั้นเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2564 คณะกรรมการคัดเลือกการประมูลพิจารณา ปรากฎว่า บริษัทที่ชนะคือ อีสท์วอเตอร์ เป็นบริษัทที่ได้คะแนนสูงสุด
จากนั้นวันที่ 26 สิงหาคม 2564 คณะกรรมการมีหนังสือ ยกเลิกผลการคัดเลือก ที่บริษัทอีสท์วอเตอร์ ได้คะแนนสูงสุด อย่างมีนัยสำคัญ ทำให้บริษัทอีสท์วอเตอร์ ต้องไปฟ้องศาลปกครองอยู่ในขณะนี้
นาย
ยุทธพงศ์ ยังได้โชว์เอกสารการให้ผลประโยชน์ เมื่อการประมูลครั้งที่ 1 ค่าแรกเข้า บริษัท วงษ์สยาม ให้ 800 ล้านบาท อีสท์วอเตอร์ให้ 1,400 ล้านบาท
ผลตอบแทนรวม 30 ปี บริษัท วงษ์สยาม ให้ 6,122 ล้านบาท ส่วนบริษัทอีสท์วอเตอร์ให้ 6,689 ล้านบาท
ส่วนแบ่งรายได้ 30 ปี บริษัท วงษ์สยามให้ 2,499 ล้านบาท บริษัท อีสท์วอเตอร์ให้ 2,567 ล้านบาท
ผลตอบแทนรวม 30 ปี บริษัท วงษ์สยามให้ 3,299 ล้านบาท บริษัท อีสท์วอเตอร์ให้ 3,967 ล้านบาท
แต่ประธานคัดเลือก คืออธิบดีกรมธนารักษ์ในขณะนั้น ได้ยกเลิกผลการคัดเลือก อ้างว่า TOR ไม่สมบูรณ์
นาย
ยุทธพงศ์ ระบุด้วยว่าผู้จัดการโครงการ ที่เป็นคนเขียนงานวิจัยของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็เป็นกรรมการคัดเลือก ก็คัดค้าน บอกว่าบริษัทอีสวอเตอร์ชนะ ถูกต้องแล้ว แต่การตั้งคณะกรรมการคัดเลือกชุดใหม่ แล้วไล่กรรมการชุดเดิมออกหมดเลย มันผิดปกติมาก ไปไล่ออกทำไม
นาย
ยุทธพงศ์ ยังได้ถามนาย
สันติ ว่าช่วยอธิบาย TOR หรือ Terms of reference ที่เปลี่ยนจากครั้งที่ 1 มาเป็นครั้งที่ 2 ว่า TOR แปลว่าอะไร TOR ครั้งที่ 2 ที่เปลี่ยนใหม่แตกต่างจากครั้งที่ 1 อย่างไร และทำไมบริษัทที่แพ้ในครั้งที่ 1 ถึงกลับมาชนะในครั้งที่ 2 ได้ ทำไมมันถึงน่ามหัศจรรย์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อย่างไรก็ดี ข้อสงสัยของนายยุทธพงศ์ ต่อเงื่อนไข TOR ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 มีความแตกต่างอย่างไร แต่จากการตรวจสอบและเปรียบเทียบ TOR ครั้งที่ 1 และ TOR ครั้งที่ 2 พบมีประเด็นสำคัญที่ถูกเปลี่ยนแปลงอยู่หลายประเด็น เช่น การคัดเลือกครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2564 แต่การคัดเลือกครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2564 ประเด็นที่น่าสนใจของ TOR ที่มีความแตกต่างกัน ประกอบด้วย
การกำหนดคุณสมบัติต้องห้ามของผู้ยื่นข้อเสนอ การคัดเลือกครั้งที่ 1 ระบุคุณสมบัติต้องห้ามผู้ยื่นข้อเสนอว่า ไม่เป็นผู้ถูกหน่วยงานของรัฐบอกเลิกสัญญา แต่การคัดเลือกครั้งที่ 2 ตัดคุณสมบัติต้องห้ามนี้ออก
ส่วนคุณสมบัติทั่วไป ทุนจดทะเบียน การคัดเลือกครั้งที่ 1 กำหนดไว้ไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท การคัดเลือกครั้งที่ 2 เปลี่ยนเป็นไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท
บุคคลที่รับหนังสือเชิญ-กรณีผู้ยื่นข้อเสนอเป็นกิจการร่วมค้า ( joint Venture) การคัดเลือกครั้งที่ 1 ผู้เข้าร่วมการค้าแต่ละราย ต้องได้รับหนังสือเชิญ การคัดเลือกครั้งที่ 2 เปลี่ยนเป็น ผู้เข้าร่วมการค้าเพียงรายหนึ่งรายใด ต้องได้รับหนังสือเชิญชวน
การลงนามในเอกสาร-กรณีผู้ยื่นข้อเสนอเป็นกิจการร่วมค้า ( joint Venture) การคัดเลือกครั้งที่ 1 ผู้เข้าร่วมการค้าทุกรายต้องลงนามในเอกสาร การคัดเลือกครั้งที่ 2 เปลี่ยนเป็นผู้ค้าหลัก (Lead Firm) เป็นผู้ลงนาม
คุณสมบัติด้านเทคนิค ประสบการณ์และผลงาน โดยด้านประสบการณ์ การคัดเลือกครั้งที่ 1 กำหนดว่าผู้มีวิชาชีพและประสบการณ์ในการประกอบธุรกิจ และหรือบริหารจัดการระบบท่อส่งน้ำ ได้แก่ ระบบสูฐน้ำดิบ ระบบผลิตน้ำประปา บำรุงรักษาระบบประปา ระบบท่อส่งน้ำดิบ ลดน้ำสูญเสีย และงานวางท่อส่งน้ำหรือซ่อมท่อส่งน้ำ ประกอบกัน การคัดเลือกครั้งที่ 2 เปลี่ยนเป็นแค่ระบุกว้างๆ เพียง ดำเนินธุรกิจสาธารณูปดภคเกี่ยวกับบริหารจัดการน้ำ
ด้านผลงาน การคัดเลือกครั้งที่ 1 กำหนดผลงานในรอบ 5 ปีย้อนหลังจากเดิม “ไม่น้อยกว่า 2 โครงการ” การคัดเลือกครั้งที่ 2 “ตัดส่วนนี้ออก”
คุณสมบัติด้านการเงิน การคัดเลือกครั้งที่ 1 กำหนดให้แสดงมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ หรือ Net Worth ย้อนหลัง 5 ปี และ “ควรมีค่าเฉลี่ยเป็นบวก” การคัดเลือกครั้งที่ 2 เปลี่ยนเป็นผู้ยื่นข้อเสนอเพียงมีหลักฐานแสดงผลประกอบกิจการและงบดุลย้อยหลัง 2 ปี โดยไม่สนสนใจ Net Worth จะมีผลเป็นอย่างไร ส่วนการประชุมชี้แจงตอบคำถาม การคัดเลือกครั้งที่ 1 “มี” การคัดเลือกครั้งที่ 2 “ไม่มี”
การจัดทำข้อเสนอการคัดเลือก การคัดเลือกครั้งที่ 1 ไม่กำหนดจำนวนชุดเอกสาร ครั้งที่สอง กำหนดต้นฉบับ 1ชุด สำเนาอีก 7ชุด (ทั้ง 3 ซอง) ซองที่ 1 TOR ครั้งแรก N/A การคัดเลือกครั้งที่ 2 ได้กำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมให้มีการจัดทำเอกสารแสดงคุณสมับติด้านเทคนิคประสบการณ์ และผลงาน และเอกสารแสดงคุณสมบัติด้านการเงิน รวมไว้ในซองที่ 1 จากเดิมที่ให้จัดทำเอกสารเหล่านี้ไว้ซองที่ 2
สำหรับเกณฑ์การให้คะแนน ซองที่ 1 การคัดเลือกครั้งที่ 1 กำหนดตรวจสอบความครบถ้วนของเกอสาร และหลักประกันซอง ไม่มีคะแนน แต่ถ้าไม่ครบถ้วนจะไม่เปิดซองที่ 2 ส่วนการคัดเลือกครั้งที่ 2 ใช้แบบเดิม
ซองที่ 2 การคัดเลือกครั้งที่ 1 100 คะแนน แบ่งเป็น แผนธุรกิจและแผนการเงินร้อยละ 75 หลักฐานคุณสมบัติด้านเทคนิค ประสบการณ์ และผลงานร้อยละ 75 และหลักฐานคุณสมบัติด้านการเงินร้อยละ 75 คะแนนรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มิฉะนั้นจะไม่เปิดซองที่ 3
การคัดเลือกครั้งที่ 2 100 คะแนน กำหนดความครบถ้วนของเกอสาร (ไม่มีคะแนน แต่ถ้าไม่ครบจะไม่พิจารณาซอง 2) ข้อเสนอด้านเทคนิคและการลงทุน (100 คะแนน) รายละเอียดการดำเนินโครงการและแผน (20 คะแนน) ปัจจัยความสำเร็จของแผนธุรกิจ (20 คะแนน) แผนการเงิน (20 คะแนน) ค่าตอบแทนทางการเงินของโครงการ (40 คะแนน) คะแนนรวมไม่น้อยกว่า 80 คะแนน มิฉะนั้นจะไม่พิจารณาซองที่ 3
ซองที่ 3 การคัดเลือกครั้งที่ 1 100 คะแนน ประกอบด้วยค่าแรกเข้าไม่น้อยกว่า 482,713,600 บาท ผลประโยชน์รายปี (Fixed fee) ตามที่กำหนด ส่วนแบ่งรายได้ (Revenue sharing) ของรายได้รวมก่อนหักค่าใช้จ่าย ข้อเสนอราคาน้ำดิบต่อหน่วยเฉลี่ย 5 ปีแรก และเฉลี่ย 30 ปี คะแนนซอง 3 นำไปรวมกับซอง 2 คะแนนสูงสุดคือผู้ชนะ
การคัดเลือกครั้งที่ 2 100 คะแนนประกอบด้วย
1. ความครบถ้วนของเอกสาร (ไม่มีคะแนน แต่ถ้าไม่ครบจะไม่พิจารณาซอง 3)
2. ข้อเสนอผลตอบแทนทางการเงิน ( 80 คะแนน) พิจารณาจากค่าแรกเข้า+ส่วนแบ่งรายได้ รวมกัน โดยคำนวณเป็น Present Value จาก Discount rate 5% มูลค่าสูงสุดจะได้ 80 คะแนน มูลค่ารองลงมาได้คะแนนตามสัดส่วน
3. ข้อเสนอราคาน้ำดิบต่อหน่วย เฉลี่ยนตลอดอายุสัญญา (20 คะแนน) ราคาต่ำสุดได้ (20 คะแนน) นำคะแนน(1)และ (2) รวมกัน คะแนนสูงสุดเป็นผู้ชนะ ไม่นำไปรวมกับซองที่ 2
และนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับโครงการท่อส่งน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออกครั้งที่สอง ที่TOR ถูกปรับแก้หลายประเด็น จนทำให้ผู้เข้าร่วมประมูลอย่าง บริษัทอีสวอเตอร์ ไม่เห็นด้วย ทั้งๆที่การประมูลครั้งแรกเป็นผู้ชนะการประมูลไปแล้ว แต่ถูกคณะกรรมการพิจารณายกเลิกไป
รุมค้านบิ๊กดีล ทรู-ดีแทค ลดทางเลือกผู้บริโภค
https://www.prachachat.net/ict/news-941265
หลัง “กสทช.” ชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่รับช่วงการพิจารณาบิ๊กดีลการควบรวมกิจการระหว่าง “ทรู-ดีแทค” โดยกำหนดว่าจะมีการจัดทำโฟกัสกรุ๊ปเพื่อรับฟังความคิดเห็น 3 ครั้ง โดยครั้งแรกเปิดเวทีให้ตัวแทนภาคธุรกิจ (9 พ.ค. 2565)
อีกสองครั้งยังไม่กำหนดวัน แต่เป็นรอบของนักวิชาการ และตัวแทนผู้บริโภค ซึ่งในระหว่างทาง คณะอนุกรรมการเพื่อศึกษาและวิเคราะห์กรณีการรวมธุรกิจ
“ทรู-ดีแทค” ด้านคุ้มครองผู้บริโภคและสิทธิพลเมือง ได้เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในวงจำกัด (Focus Group) เช่นกัน เมื่อ 26 พ.ค. 65 ที่ผ่านมา
มีตัวแทนจากภาคส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับผู้บริโภคเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นคึกคัก โดยได้เชิญตัวแทน “ทรู และดีแทค” เข้าร่วมด้วย แต่ทั้งคู่ปฏิเสธการเข้าร่วม
โดย นาย
ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ประธานอนุกรรมการเพื่อศึกษาและวิเคราะห์ กรณีการรวมธุรกิจระหว่างทรู-ดีแทค ด้านคุ้มครองผู้บริโภคและสิทธิพลเมือง กล่าวว่า การระดมความเห็นวันนี้อยากได้มุมมองเรื่องผลกระทบและข้อเสนอในการจัดการผลกระทบต่อผู้บริโภค เพื่อที่ กสทช.จะนำไปประมวลว่าจะกำหนดเงื่อนไขเฉพาะหรือไม่อย่างไร และได้เชิญบริษัทผู้ขอควบรวมมาให้ข้อมูลด้วย แต่ไม่ทราบว่ามีเหตุฉุกละหุกใดจึงมาไม่ได้
“ถึงอย่างนั้น เราได้เตรียมข้อมูลที่บริษัทขอควบรวมไว้ด้วย เพื่อป้องกันปัญหาว่าข้อมูลไม่ครบถ้วน โดยรวบรวมจากเอกสารเท่าที่จะเตรียมได้ที่เอกชนเคยส่งมาแล้ว และเปิดเผยต่อสาธารณะ โดยในรายงานความเห็นของที่ปรึกษาการเงินอิสระ ที่เสนอต่อผู้ถือหุ้นทรู
สรุปเหุตผลการควบรวมว่า คือการต่อยอดบริษัทโทรคมนาคมเป็นบริษัทเทคโนโลยี ซึ่งจะเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันจากการขยายบริการ ลดการลงทุนซ้ำซ้อน และเปิดโอกาสให้บริษัทที่จะเกิดใหม่นำเงินไปลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีอื่น”
ส่วนผลที่จะเกิดขึ้นกับ “ผู้บริโภค” คือจะทำ Cross sell และนำเสนอบริการที่หลากหลาย มีปรับปรุงคุณภาพสัญญาณ 5G ให้ครอบคลุม และมีความเสถียร ทำให้ร้านค้าและศูนย์บริการของทั้งสองบริษัทเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น เป็นต้น”
“TDRI” ย้ำดีที่สุดต้องไม่ให้ควบรวม
ด้าน ดร.
สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) แสดงความเห็นว่า ในระบบการแข่งขันเสรีจะปล่อยให้มีการควบรวมโดยเสรีไม่ได้ แต่ต้องมีการกลั่นกรอง ซึ่งมาตรฐานในการกลั่นกรองในทางวิชาการจะมีการเทียบ
“ประโยชน์” ทั้งต่อสังคมหรือต่อธุรกิจ และ
“ความเสี่ยง” ต่อสาธารณชนหรือต่อผู้บริโภค ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ กสทช.ต้องพิจารณา ถ้าเสี่ยงสูงกว่าประโยชน์จะ
“ห้ามควบรวม”
JJNY : ยุทธพงศ์จี้ถามพิรุธท่อส่งน้ำอีอีซี│รุมค้านบิ๊กดีล ทรู-ดีแทค│ชัชชาติไม่กังวลปมถูกกกต.สอบ│"พิธา-พริษฐ์"อัดจัดงบปี66
https://www.khaosod.co.th/monitor-news/news_7082815
การประมูลโครงการท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออก กำลังเป็นเรื่องอื้ฉาวที่ประชาชนให้ความสนใจอย่างมาก ถึงขั้นตอนการประมูล ที่หลายฝ่ายยังกังขาว่ามีความโปร่งใสจริงหรือไม่ ระหว่างทางเกิดอะไรขึ้น ทำไมโครงการนี้ถึงต้องเปิดประมูลถึงสองรอบ และกำลังเป็นที่จับตามองของพรรคการเมืองฝ่ายค้านอย่างพรรคเพื่อไทย ที่ให้ความสนใจกับการประมูลโครงการนี้
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มี นายชวน หลีกภัย ประธานสภา ทำหน้าเป็นประธานการประชุม พิจารณากระทู้ถามสด ของ นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ถาม นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เรื่องความไม่โปร่งใสเกี่ยวกับการประมูลโครงการท่อส่งน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออก หรืออีอีซี ที่กรมธนารักษ์รับผิดชอบ เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2565 แต่มีข้อครหาว่า การประมูลไม่โปร่งใส เพราะใช้วิธีการคัดเลือก เชิญเฉพาะบริษัทที่มีคุณสมบัติ แต่เป็นบริษัทขนาดเล็ก ทำไมไม่เชิญบริษัทขนาดใหญ่ ที่มีความน่าเชื่อถือ และมีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ เข้าคัดเลือกเพื่อให้เกิดการแข่งขันและรัฐเกิดประโยชน์
ระหว่างกระทู้ถามสด นายยุทธพงศ์ ยังได้ถาม กรมธนารักษ์ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2564 ได้เปิดให้เอกชนยื่นซอง มีผู้มายื่นซองแค่ 3 ราย บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชั่น (มหาชน) บริษัทดับบลิวเอชเอ หรือ WHA ทั้งสองบริษัทยื่นไม่ได้ เพราะทำนิคมอุตสาหกรรมไม่ได้ทำน้ำประปา ส่วนบริษัทวิค ก็ตกไปเพราะขายท่อน้ำประปาเหลือแต่ บริษัท วงษ์สยามก่อสร้าง จำกัด และบริษัทอีสท์วอเตอร์ จากนั้นเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2564 คณะกรรมการคัดเลือกการประมูลพิจารณา ปรากฎว่า บริษัทที่ชนะคือ อีสท์วอเตอร์ เป็นบริษัทที่ได้คะแนนสูงสุด
จากนั้นวันที่ 26 สิงหาคม 2564 คณะกรรมการมีหนังสือ ยกเลิกผลการคัดเลือก ที่บริษัทอีสท์วอเตอร์ ได้คะแนนสูงสุด อย่างมีนัยสำคัญ ทำให้บริษัทอีสท์วอเตอร์ ต้องไปฟ้องศาลปกครองอยู่ในขณะนี้
นายยุทธพงศ์ ยังได้โชว์เอกสารการให้ผลประโยชน์ เมื่อการประมูลครั้งที่ 1 ค่าแรกเข้า บริษัท วงษ์สยาม ให้ 800 ล้านบาท อีสท์วอเตอร์ให้ 1,400 ล้านบาท
ผลตอบแทนรวม 30 ปี บริษัท วงษ์สยาม ให้ 6,122 ล้านบาท ส่วนบริษัทอีสท์วอเตอร์ให้ 6,689 ล้านบาท
ส่วนแบ่งรายได้ 30 ปี บริษัท วงษ์สยามให้ 2,499 ล้านบาท บริษัท อีสท์วอเตอร์ให้ 2,567 ล้านบาท
ผลตอบแทนรวม 30 ปี บริษัท วงษ์สยามให้ 3,299 ล้านบาท บริษัท อีสท์วอเตอร์ให้ 3,967 ล้านบาท
แต่ประธานคัดเลือก คืออธิบดีกรมธนารักษ์ในขณะนั้น ได้ยกเลิกผลการคัดเลือก อ้างว่า TOR ไม่สมบูรณ์
นายยุทธพงศ์ ระบุด้วยว่าผู้จัดการโครงการ ที่เป็นคนเขียนงานวิจัยของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็เป็นกรรมการคัดเลือก ก็คัดค้าน บอกว่าบริษัทอีสวอเตอร์ชนะ ถูกต้องแล้ว แต่การตั้งคณะกรรมการคัดเลือกชุดใหม่ แล้วไล่กรรมการชุดเดิมออกหมดเลย มันผิดปกติมาก ไปไล่ออกทำไม
นายยุทธพงศ์ ยังได้ถามนายสันติ ว่าช่วยอธิบาย TOR หรือ Terms of reference ที่เปลี่ยนจากครั้งที่ 1 มาเป็นครั้งที่ 2 ว่า TOR แปลว่าอะไร TOR ครั้งที่ 2 ที่เปลี่ยนใหม่แตกต่างจากครั้งที่ 1 อย่างไร และทำไมบริษัทที่แพ้ในครั้งที่ 1 ถึงกลับมาชนะในครั้งที่ 2 ได้ ทำไมมันถึงน่ามหัศจรรย์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อย่างไรก็ดี ข้อสงสัยของนายยุทธพงศ์ ต่อเงื่อนไข TOR ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 มีความแตกต่างอย่างไร แต่จากการตรวจสอบและเปรียบเทียบ TOR ครั้งที่ 1 และ TOR ครั้งที่ 2 พบมีประเด็นสำคัญที่ถูกเปลี่ยนแปลงอยู่หลายประเด็น เช่น การคัดเลือกครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2564 แต่การคัดเลือกครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2564 ประเด็นที่น่าสนใจของ TOR ที่มีความแตกต่างกัน ประกอบด้วย
การกำหนดคุณสมบัติต้องห้ามของผู้ยื่นข้อเสนอ การคัดเลือกครั้งที่ 1 ระบุคุณสมบัติต้องห้ามผู้ยื่นข้อเสนอว่า ไม่เป็นผู้ถูกหน่วยงานของรัฐบอกเลิกสัญญา แต่การคัดเลือกครั้งที่ 2 ตัดคุณสมบัติต้องห้ามนี้ออก
ส่วนคุณสมบัติทั่วไป ทุนจดทะเบียน การคัดเลือกครั้งที่ 1 กำหนดไว้ไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท การคัดเลือกครั้งที่ 2 เปลี่ยนเป็นไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท
บุคคลที่รับหนังสือเชิญ-กรณีผู้ยื่นข้อเสนอเป็นกิจการร่วมค้า ( joint Venture) การคัดเลือกครั้งที่ 1 ผู้เข้าร่วมการค้าแต่ละราย ต้องได้รับหนังสือเชิญ การคัดเลือกครั้งที่ 2 เปลี่ยนเป็น ผู้เข้าร่วมการค้าเพียงรายหนึ่งรายใด ต้องได้รับหนังสือเชิญชวน
การลงนามในเอกสาร-กรณีผู้ยื่นข้อเสนอเป็นกิจการร่วมค้า ( joint Venture) การคัดเลือกครั้งที่ 1 ผู้เข้าร่วมการค้าทุกรายต้องลงนามในเอกสาร การคัดเลือกครั้งที่ 2 เปลี่ยนเป็นผู้ค้าหลัก (Lead Firm) เป็นผู้ลงนาม
คุณสมบัติด้านเทคนิค ประสบการณ์และผลงาน โดยด้านประสบการณ์ การคัดเลือกครั้งที่ 1 กำหนดว่าผู้มีวิชาชีพและประสบการณ์ในการประกอบธุรกิจ และหรือบริหารจัดการระบบท่อส่งน้ำ ได้แก่ ระบบสูฐน้ำดิบ ระบบผลิตน้ำประปา บำรุงรักษาระบบประปา ระบบท่อส่งน้ำดิบ ลดน้ำสูญเสีย และงานวางท่อส่งน้ำหรือซ่อมท่อส่งน้ำ ประกอบกัน การคัดเลือกครั้งที่ 2 เปลี่ยนเป็นแค่ระบุกว้างๆ เพียง ดำเนินธุรกิจสาธารณูปดภคเกี่ยวกับบริหารจัดการน้ำ
ด้านผลงาน การคัดเลือกครั้งที่ 1 กำหนดผลงานในรอบ 5 ปีย้อนหลังจากเดิม “ไม่น้อยกว่า 2 โครงการ” การคัดเลือกครั้งที่ 2 “ตัดส่วนนี้ออก”
คุณสมบัติด้านการเงิน การคัดเลือกครั้งที่ 1 กำหนดให้แสดงมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ หรือ Net Worth ย้อนหลัง 5 ปี และ “ควรมีค่าเฉลี่ยเป็นบวก” การคัดเลือกครั้งที่ 2 เปลี่ยนเป็นผู้ยื่นข้อเสนอเพียงมีหลักฐานแสดงผลประกอบกิจการและงบดุลย้อยหลัง 2 ปี โดยไม่สนสนใจ Net Worth จะมีผลเป็นอย่างไร ส่วนการประชุมชี้แจงตอบคำถาม การคัดเลือกครั้งที่ 1 “มี” การคัดเลือกครั้งที่ 2 “ไม่มี”
การจัดทำข้อเสนอการคัดเลือก การคัดเลือกครั้งที่ 1 ไม่กำหนดจำนวนชุดเอกสาร ครั้งที่สอง กำหนดต้นฉบับ 1ชุด สำเนาอีก 7ชุด (ทั้ง 3 ซอง) ซองที่ 1 TOR ครั้งแรก N/A การคัดเลือกครั้งที่ 2 ได้กำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมให้มีการจัดทำเอกสารแสดงคุณสมับติด้านเทคนิคประสบการณ์ และผลงาน และเอกสารแสดงคุณสมบัติด้านการเงิน รวมไว้ในซองที่ 1 จากเดิมที่ให้จัดทำเอกสารเหล่านี้ไว้ซองที่ 2
สำหรับเกณฑ์การให้คะแนน ซองที่ 1 การคัดเลือกครั้งที่ 1 กำหนดตรวจสอบความครบถ้วนของเกอสาร และหลักประกันซอง ไม่มีคะแนน แต่ถ้าไม่ครบถ้วนจะไม่เปิดซองที่ 2 ส่วนการคัดเลือกครั้งที่ 2 ใช้แบบเดิม
ซองที่ 2 การคัดเลือกครั้งที่ 1 100 คะแนน แบ่งเป็น แผนธุรกิจและแผนการเงินร้อยละ 75 หลักฐานคุณสมบัติด้านเทคนิค ประสบการณ์ และผลงานร้อยละ 75 และหลักฐานคุณสมบัติด้านการเงินร้อยละ 75 คะแนนรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มิฉะนั้นจะไม่เปิดซองที่ 3
การคัดเลือกครั้งที่ 2 100 คะแนน กำหนดความครบถ้วนของเกอสาร (ไม่มีคะแนน แต่ถ้าไม่ครบจะไม่พิจารณาซอง 2) ข้อเสนอด้านเทคนิคและการลงทุน (100 คะแนน) รายละเอียดการดำเนินโครงการและแผน (20 คะแนน) ปัจจัยความสำเร็จของแผนธุรกิจ (20 คะแนน) แผนการเงิน (20 คะแนน) ค่าตอบแทนทางการเงินของโครงการ (40 คะแนน) คะแนนรวมไม่น้อยกว่า 80 คะแนน มิฉะนั้นจะไม่พิจารณาซองที่ 3
ซองที่ 3 การคัดเลือกครั้งที่ 1 100 คะแนน ประกอบด้วยค่าแรกเข้าไม่น้อยกว่า 482,713,600 บาท ผลประโยชน์รายปี (Fixed fee) ตามที่กำหนด ส่วนแบ่งรายได้ (Revenue sharing) ของรายได้รวมก่อนหักค่าใช้จ่าย ข้อเสนอราคาน้ำดิบต่อหน่วยเฉลี่ย 5 ปีแรก และเฉลี่ย 30 ปี คะแนนซอง 3 นำไปรวมกับซอง 2 คะแนนสูงสุดคือผู้ชนะ
การคัดเลือกครั้งที่ 2 100 คะแนนประกอบด้วย
1. ความครบถ้วนของเอกสาร (ไม่มีคะแนน แต่ถ้าไม่ครบจะไม่พิจารณาซอง 3)
2. ข้อเสนอผลตอบแทนทางการเงิน ( 80 คะแนน) พิจารณาจากค่าแรกเข้า+ส่วนแบ่งรายได้ รวมกัน โดยคำนวณเป็น Present Value จาก Discount rate 5% มูลค่าสูงสุดจะได้ 80 คะแนน มูลค่ารองลงมาได้คะแนนตามสัดส่วน
3. ข้อเสนอราคาน้ำดิบต่อหน่วย เฉลี่ยนตลอดอายุสัญญา (20 คะแนน) ราคาต่ำสุดได้ (20 คะแนน) นำคะแนน(1)และ (2) รวมกัน คะแนนสูงสุดเป็นผู้ชนะ ไม่นำไปรวมกับซองที่ 2
และนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับโครงการท่อส่งน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออกครั้งที่สอง ที่TOR ถูกปรับแก้หลายประเด็น จนทำให้ผู้เข้าร่วมประมูลอย่าง บริษัทอีสวอเตอร์ ไม่เห็นด้วย ทั้งๆที่การประมูลครั้งแรกเป็นผู้ชนะการประมูลไปแล้ว แต่ถูกคณะกรรมการพิจารณายกเลิกไป
รุมค้านบิ๊กดีล ทรู-ดีแทค ลดทางเลือกผู้บริโภค
https://www.prachachat.net/ict/news-941265
หลัง “กสทช.” ชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่รับช่วงการพิจารณาบิ๊กดีลการควบรวมกิจการระหว่าง “ทรู-ดีแทค” โดยกำหนดว่าจะมีการจัดทำโฟกัสกรุ๊ปเพื่อรับฟังความคิดเห็น 3 ครั้ง โดยครั้งแรกเปิดเวทีให้ตัวแทนภาคธุรกิจ (9 พ.ค. 2565)
อีกสองครั้งยังไม่กำหนดวัน แต่เป็นรอบของนักวิชาการ และตัวแทนผู้บริโภค ซึ่งในระหว่างทาง คณะอนุกรรมการเพื่อศึกษาและวิเคราะห์กรณีการรวมธุรกิจ “ทรู-ดีแทค” ด้านคุ้มครองผู้บริโภคและสิทธิพลเมือง ได้เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในวงจำกัด (Focus Group) เช่นกัน เมื่อ 26 พ.ค. 65 ที่ผ่านมา
มีตัวแทนจากภาคส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับผู้บริโภคเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นคึกคัก โดยได้เชิญตัวแทน “ทรู และดีแทค” เข้าร่วมด้วย แต่ทั้งคู่ปฏิเสธการเข้าร่วม
โดย นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ประธานอนุกรรมการเพื่อศึกษาและวิเคราะห์ กรณีการรวมธุรกิจระหว่างทรู-ดีแทค ด้านคุ้มครองผู้บริโภคและสิทธิพลเมือง กล่าวว่า การระดมความเห็นวันนี้อยากได้มุมมองเรื่องผลกระทบและข้อเสนอในการจัดการผลกระทบต่อผู้บริโภค เพื่อที่ กสทช.จะนำไปประมวลว่าจะกำหนดเงื่อนไขเฉพาะหรือไม่อย่างไร และได้เชิญบริษัทผู้ขอควบรวมมาให้ข้อมูลด้วย แต่ไม่ทราบว่ามีเหตุฉุกละหุกใดจึงมาไม่ได้
“ถึงอย่างนั้น เราได้เตรียมข้อมูลที่บริษัทขอควบรวมไว้ด้วย เพื่อป้องกันปัญหาว่าข้อมูลไม่ครบถ้วน โดยรวบรวมจากเอกสารเท่าที่จะเตรียมได้ที่เอกชนเคยส่งมาแล้ว และเปิดเผยต่อสาธารณะ โดยในรายงานความเห็นของที่ปรึกษาการเงินอิสระ ที่เสนอต่อผู้ถือหุ้นทรู
สรุปเหุตผลการควบรวมว่า คือการต่อยอดบริษัทโทรคมนาคมเป็นบริษัทเทคโนโลยี ซึ่งจะเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันจากการขยายบริการ ลดการลงทุนซ้ำซ้อน และเปิดโอกาสให้บริษัทที่จะเกิดใหม่นำเงินไปลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีอื่น”
ส่วนผลที่จะเกิดขึ้นกับ “ผู้บริโภค” คือจะทำ Cross sell และนำเสนอบริการที่หลากหลาย มีปรับปรุงคุณภาพสัญญาณ 5G ให้ครอบคลุม และมีความเสถียร ทำให้ร้านค้าและศูนย์บริการของทั้งสองบริษัทเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น เป็นต้น”
“TDRI” ย้ำดีที่สุดต้องไม่ให้ควบรวม
ด้าน ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) แสดงความเห็นว่า ในระบบการแข่งขันเสรีจะปล่อยให้มีการควบรวมโดยเสรีไม่ได้ แต่ต้องมีการกลั่นกรอง ซึ่งมาตรฐานในการกลั่นกรองในทางวิชาการจะมีการเทียบ “ประโยชน์” ทั้งต่อสังคมหรือต่อธุรกิจ และ “ความเสี่ยง” ต่อสาธารณชนหรือต่อผู้บริโภค ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ กสทช.ต้องพิจารณา ถ้าเสี่ยงสูงกว่าประโยชน์จะ “ห้ามควบรวม”