จาก ชวน หลีกภัย ถึง ทักษิณ ชินวัตร จาก ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ถึง .................

กระทู้คำถาม
เม่าอ่าน

หลังเหตุการณ์พฤษภาคม 2535  
บุคคลที่โดดเด่นที่สุดสำหรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี  คือ นายชวน  หลีกภัย
ด้วยภาพลักษณ์  ซื่อสัตย์  สมถะ  ถ่อมตน   เป็นภาพหวังของสังคมไทยในขณะนั้น

สังคมไทยในตอนนั้น  ยังมองไม่เห็นภาพนักบริหารจัดการ
แค่ต้องการนักการเมืองที่ภาพลักษณ์ซื่อสัตย์ดูดี

นายชวน  ขึ้นสู่ตำแหน่งนายกฯ สองครั้ง
2535 - 2538  และ  2540 - 2544

ฉายาที่นายชวนได้รับขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ก็คือ  ชวนเชื่องช้า 

แต่ถึงอย่างไร  ภาพลักษณ์นายชวนก็ยังโดดเด่นดูดี
ยังไม่มีใครในวงการเมืองสามารถเทียบนายชวนได้

จนกระทั่งปี 2544   ที่ทักษิณ  ชินวัตร  เข้าสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ทักษิณใช้วิธีการทางการเมืองในแบบ "คิดใหม่ ทำใหม่"  ชนะใจประชาชน
นำเสนอนโยบาย  ดำเนินนโยบายอย่างเป็นรูปธรรม  สร้างความจดจำและประทับใจจนถึงทุกวันนี้

ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของทักษิณ  บดบังความโดดเด่นดูดีของนายชวนแทบสิ้น
ยิ่งทักษิณอยู่นาน  ยิ่งลดภาพลักษณ์นายชวนลงไป ๆ  

สังคมได้รับรู้  ว่าสำหรับการบริหารบ้านเมืองแล้ว  ภาพลักษณ์ที่ดูดีโดดเด่นไม่พอ
ต้องประกอบด้วยความรู้ความสามารถทางการบริหาร   วิสัยทัศน์ในการนำพาบ้านเมือง  และความกล้าในการตัดสินใจ
ซึ่งทักษิณมีครบ  แต่ชวนไม่เคยมี

ทักษิณได้สร้างบรรทัดฐานใหม่ทางการเมือง
ทำให้บรรดาพรรคการเมืองต้องชูนโยบาย และทำตามนโยบายที่หาเสียงไว้ให้ได้
และสำหรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี  ไม่ใช่แค่ภาพลักษณ์  แต่ต้องมีความรู้ความสามารถทางการบริหารที่สามารถจัดการกับปัญหาที่ซับซ้อนได้

ความเคยโดดเด่นดูดีของนายชวนสำหรับตำแหน่งนายกฯ หายไปจากความทรงจำของคนไทย
ต่างจากทักษิณ  เกือบยี่สิบปีแล้วที่โดนรัฐประหาร  แต่คนไทยไม่เคยลืมทักษิณ

.

วันนี้  กงล้อการเมืองหมุนวนมาทับซ้ำรอยเดิมอีกครั้ง
แม้จะเป็นการเมืองระดับท้องถิ่น กับ ระดับชาติ   แต่ระดับท้องถิ่นไม่ใช่ธรรมดา  เป็นท้องถิ่นระดับหัวใจของประเทศ
เสียงของปรชาชนในเมืองหลวงดังกว่าเสียงของคนต่างจังหวัด  มีอิทธิพลสูงต่ออำนาจรัฐ  และเป็นสถานที่ที่ชี้วัดผลทางการเมืองได้เสมอมา

ชัชชาติ  สิทธิพันธุ์   ชนะการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. เมื่อ 22 พ.ค. 2565  ด้วยเสียงท่วมท้น
กทม. 50 เขต  ชัชชาติชนะรวด   เป็นฉันทามติเด็ดขาดที่คน กทม. มอบให้ชัชชาติ

ภาพลักษณ์ของชัชชาติ  คือ  วุฒิภาวะดี  ความรู้ดี  วิสัยทัศน์ดี  ทำงานดี  เข้าถึงทั้งงานทั้งคน  บริหารความรู้สึกเป็น
การขึ้นสู่ตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครของชัชชาติ  ส่งผลสะเทือนถึงการเมืองระดับชาติอย่างมาก
เกิดการเปรียบเทียบเหมือนยุคทักษิณเปรียบเทียบชวน   นี่ขนาดชัชชาติยังไม่ได้เข้าสู่ตำแหน่งอย่างเป็นทางการ
ต่อไป  เมื่อชัชชาติโชว์ผลงาน  สร้างความประทับใจในการทำงาน   ก็ยิ่งจะเกืดการเปรียบเทียบมากขึ้น

.

ความขุ่นขวางเริ่มปรากฎ    การพยายามสร้างภาพและวางบทบาทว่าเหนือกว่าชัชชาติเริ่มมีให้เห็น
แต่ดูเหมือนยิ่งพยายามยิ่งไม่ได้ผล   มิหนำซ้ำดูเป็นตัวตลกเข้าไปมากกว่าเดิม

ฉันทามติเด็ดขาดเอกฉันท์ของคน กทม.  จะเป็นผนังทองแดงกำแพงเหล็กให้ชัชชาติ
ที่แม้จะมีใครก็ตามพยายามปัดแข้งปัดขา  จะขัดขวางไม่ให้ชัชชาติทำงานได้ตามนโยบาย   ก็เหมือนทำลายตัวเอง

อิจฉาคน กทม. ที่ได้ "เลือก" คนที่ต้องการ

.

2535 - 2548     จากชวน  หลีกภัย  ถึง  ทักษิณ  ชินวัตร
2565 - ........     จากชัชชาติ  สิทธิพันธุ์  ถึง  ........................

wait & see
เพี้ยนปูเสื่อรอ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่