กรมส่งเสริมวัฒนธรรม จับมือ มูลนิธิวิชาหนังสือ และสำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ลงนาม MOU สืบสานภาษาไทย ส่งเสริมวัฒนธรรมหนังสือ-ระบบหนังสือของประเทศ
(๒๓ พ.ค. ๖๕) พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กระทรวงวัฒนธรรม มูลนิธิวิชาหนังสือ และสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ในการส่งเสริมให้คนในชาติเห็นคุณค่าร่วมกันสืบสานภาษาไทย และพัฒนาวัฒนธรรมด้านหนังสือ ส่งเสริมให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพได้อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง โดยนายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธี โดยมี นางสาวลิปิการ์ กำลังชัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม นายมกุฏ อรฤดี ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ เลขานุการมูลนิธิวิชาหนังสือ และ รศ.ดร.ศานติ ภักดีคำ รองเลขาธิการราชบัณฑิตยสภา ผู้แทนหน่วยงานลงนาม ณ หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ประธานพิธีกล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม ดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล ในการส่งเสริมวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของชาติ โดยการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและเผยแพร่ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ศิลปะ ประเพณี ภูมิปัญญา โดยเฉพาะ การสนับสนุนความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างกรมส่งเสริมวัฒนธรรม มูลนิธิวิชาหนังสือ และสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ในการส่งเสริมให้คนในชาติเห็นคุณค่าของภาษาไทยและวัฒนธรรมด้านหนังสือ ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและแผนยุทธศาสตร์ชาติ ส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาวัฒนธรรมด้านหนังสือ ส่งเสริมให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพได้อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง อันจะเป็นการสืบสาน รักษา และต่อยอดวัฒนธรรมภาษาไทยและหนังสือไทยให้คงอยู่ตลอดไป
นายอิทธิพล คุณปลื้ม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
นางสาวลิปิการ์ กำลังชัย
รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม
ด้าน นางสาวลิปิการ์ กำลังชัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้กล่าวถึงความเป็นมาในการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในครั้งนี้ว่า ด้วยทั้งสามหน่วยงาน เล็งเห็นความสำคัญของหนังสือว่า เป็นเครื่องมือพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พัฒนาศักยภาพในการแข่งขันของชาติ หนังสือเป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อสาร การแลกเปลี่ยนความรู้การถ่ายทอดจินตนาการ ความรู้สึกนึกคิด และการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ไว้เป็นหลักฐาน เพื่อพัฒนาความคิด สติปัญญาของมนุษย์ให้เจริญงอกงาม
รองอธิบดีสวธ. กล่าวต่อว่า บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการฉบับนี้ จัดทำขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ ๔ ด้าน คือ ๑. เพื่อส่งเสริมให้คนในชาติเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมทางหนังสือ เป็นการสืบสาน รักษา และต่อยอดภาษาไทยอันดีงาม ๒. เพื่อร่วมกันส่งเสริม สนับสนุน เผยแพร่ และประสานความร่วมมือให้เกิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาวัฒนธรรมทางหนังสือ เพื่อการพัฒนาตนเองของเด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๓. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการระดับท้องถิ่น ตั้งแต่ชาวบ้าน นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ และนักวิชาการต่าง ๆ และ ๔. เพื่อร่วมกันพัฒนาและสร้างสื่อการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับบุคคลแต่ละกลุ่มเป้าหมาย อันเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนทุกคนในประเทศเข้าถึงสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพได้อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง ทั้งจะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน สร้างวัฒนธรรมหนังสือและระบบหนังสือของประเทศได้ อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาคนและพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
ด้านมูลนิธิวิชาหนังสือ อาจารย์มกุฏ อรฤดี ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ เลขานุการมูลนิธิวิชาหนังสือ ได้กล่าวถึงแนวทางความร่วมมือการส่งเสริมวัฒนธรรมหนังสือและระบบหนังสือของประเทศไทย ว่า ภาษาเป็นวัฒนธรรมอันสำคัญของชาติเป็นสื่อกลางให้คนในชาติสื่อสารติดต่อถึงกัน ทั้งยังช่วยส่งเสริมให้วัฒนธรรมด้านอื่น ๆ ของชาติเจริญยิ่งขึ้น ภาษานำมาซึ่งการสร้างสรรค์งานเขียนหรือหนังสือในรูปแบบที่หลากหลาย ซึ่งหนังสือนั้นเป็นมากกว่าเครื่องมือถ่ายทอดความคิดและความบันเทิงเริงรมย์ หนังสือคือผลผลิตขนาดใหญ่จากการอ่าน การเขียน และความคิด ด้วยเหตุนี้ มูลนิธิวิชาหนังสือ จึงร่วมมือกับกรมส่งเสริมวัฒนธรรม และสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ในการส่งเสริมวัฒนธรรมหนังสือ และระบบหนังสือของประเทศไทย ร่วมกันสร้างสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพให้ถึงมือประชาชนอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง ร่วมกันส่งเสริมเผยแพร่นโยบาย ‘หนังสือคือวัฒนธรรมของชาติ’ ตลอดจนร่วมกันจัดกิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาวัฒนธรรมหนังสือทุกรูปแบบ เพื่อการพัฒนาตนเองของเด็ก เยาวชนและประชาชนทั่วไปด้วยความรู้และสติปัญญา ด้วยวัฒนธรรมหนังสือ
มกุฏ อรฤดี ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์
เลขานุการมูลนิธิวิชาหนังสือ
รองศาสตราจารย์ ดร.ศานติ ภักดีคำ
รองเลขาธิการราชบัณฑิตยสภา
ในส่วนผู้แทนสำนักงานราชบัณฑิตยสภา รองศาสตราจารย์ ดร.ศานติ ภักดีคำ รองเลขาธิการราชบัณฑิตยสภา กล่าวว่า บันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับนี้ จะเป็นการรักษา ส่งเสริมเผยแพร่ภาษาไทย อันเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ และเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย แสดงออกถึงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้านวัฒนธรรม เป็นการอนุรักษ์และสืบสานภาษาไทยให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป ร่วมกันพัฒนาเผยแพร่ และอนุรักษ์ภาษาไทย ส่งเสริมภาษาไทย มิให้แปรเปลี่ยนไปในทางที่เสื่อม ร่วมส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ส่งเสริมรากฐานวัฒนธรรมหนังสือ เผยแพร่หนังสือทุกรูปแบบ รวมทั้งจัดกิจกรรมทางวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันดำเนินงานโครงการให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล บรรลุเป้าหมายตามนโยบายหรือแผนที่กำหนดไว้ อันจะเป็นจุดเริ่มต้นและส่งผลกระทบในวงกว้างให้คนในชาติเห็นคุณค่าของภาษาไทยและวัฒนธรรมหนังสืออย่างยั่งยืนสืบไป
อนึ่ง แนวทางการดำเนินงานและกิจกรรมความร่วมมือ ตามบันทึกข้อตกลงในฉบับนี้ ประกอบด้วย
๑. ร่วมพัฒนาการเผยแพร่การใช้ภาษาไทย การอนุรักษ์ภาษาไทยมิให้แปรเปลี่ยนไปในทางเสื่อม การส่งเสริมภาษาไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้ปรากฏเด่นชัดยิ่งขึ้น และการให้บริการทางวิชาการแก่
ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์การมหาชน หน่วยงานอื่นของรัฐสถาบันการศึกษา หน่วยงานของเอกชน และประชาชน ตลอดจนงานวิชาการตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานทั้ง ๓ (สาม) ฝ่าย
๒. ร่วมกันเผยแพร่และสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลที่ประสงค์ให้หนังสือไทยเป็นวัฒนธรรมแห่งชาติร่วมส่งเสริมและสนับสนุนเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ส่งเสริมรากฐานวัฒนธรรมทางหนังสือ และเผยแพร่หนังสือทุกรูปแบบ
๓. จัดพิมพ์หนังสือและผลิตสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ประชาชน
ทุกช่วงวัยตั้งแต่เด็ก เยาวชน ไปจนถึงผู้สูงอายุได้มีโอกาสเข้าถึงการอ่านอย่างมีคุณภาพ
๔. จัดกิจกรรมทางวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันดำเนินงานโครงการให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล บรรลุเป้าหมายตามนโยบายหรือแผนซึ่งกำหนดไว้ รวมทั้งดำเนินการอื่นใด ตามที่กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม มูลนิธิวิชาหนังสือ และสำนักงานราชบัณฑิตยสภาเห็นสมควร
๕. ในการร่วมกันดำเนินการต่าง ๆ ตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการครั้งนี้ให้เป็นไปตาม อำนาจหน้าที่ของหน่วยงานทั้ง ๓ (สาม) ฝ่าย โดยแต่ละฝ่ายตกลงรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายและงบประมาณสำหรับการดำเนินงานภายใต้บันทึกข้อตกลงนี้ในส่วนที่เป็นภาระหน้าที่ของฝ่ายนั้นเอง ส่วนค่าใช้จ่ายและงบประมาณสำหรับการดำเนินงานโครงการย่อยใดภายใต้บันทึกข้อตกลงนี้ ให้เป็นไปตามข้อตกลงของแต่ละโครงการย่อยภายใต้บันทึกข้อตกลงนี้เป็นรายกรณีไป ทั้งนี้ ให้ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
คลิปวีดีโอบันทึกงานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ทางวิชาการ
ภาพบรรยากาศภายในงานฯ
(ขอขอบคุณภาพจากมูลนิธิวิชาหนังสือ)
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม มูลนิธิวิชาหนังสือ และสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ลงนาม MOU สืบสานภาษาไทย ส่งเสริมวัฒนธรรมหนังสือ
นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ประธานพิธีกล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม ดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล ในการส่งเสริมวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของชาติ โดยการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและเผยแพร่ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ศิลปะ ประเพณี ภูมิปัญญา โดยเฉพาะ การสนับสนุนความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างกรมส่งเสริมวัฒนธรรม มูลนิธิวิชาหนังสือ และสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ในการส่งเสริมให้คนในชาติเห็นคุณค่าของภาษาไทยและวัฒนธรรมด้านหนังสือ ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและแผนยุทธศาสตร์ชาติ ส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาวัฒนธรรมด้านหนังสือ ส่งเสริมให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพได้อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง อันจะเป็นการสืบสาน รักษา และต่อยอดวัฒนธรรมภาษาไทยและหนังสือไทยให้คงอยู่ตลอดไป
รองอธิบดีสวธ. กล่าวต่อว่า บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการฉบับนี้ จัดทำขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ ๔ ด้าน คือ ๑. เพื่อส่งเสริมให้คนในชาติเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมทางหนังสือ เป็นการสืบสาน รักษา และต่อยอดภาษาไทยอันดีงาม ๒. เพื่อร่วมกันส่งเสริม สนับสนุน เผยแพร่ และประสานความร่วมมือให้เกิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาวัฒนธรรมทางหนังสือ เพื่อการพัฒนาตนเองของเด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๓. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการระดับท้องถิ่น ตั้งแต่ชาวบ้าน นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ และนักวิชาการต่าง ๆ และ ๔. เพื่อร่วมกันพัฒนาและสร้างสื่อการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับบุคคลแต่ละกลุ่มเป้าหมาย อันเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนทุกคนในประเทศเข้าถึงสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพได้อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง ทั้งจะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน สร้างวัฒนธรรมหนังสือและระบบหนังสือของประเทศได้ อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาคนและพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
ด้านมูลนิธิวิชาหนังสือ อาจารย์มกุฏ อรฤดี ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ เลขานุการมูลนิธิวิชาหนังสือ ได้กล่าวถึงแนวทางความร่วมมือการส่งเสริมวัฒนธรรมหนังสือและระบบหนังสือของประเทศไทย ว่า ภาษาเป็นวัฒนธรรมอันสำคัญของชาติเป็นสื่อกลางให้คนในชาติสื่อสารติดต่อถึงกัน ทั้งยังช่วยส่งเสริมให้วัฒนธรรมด้านอื่น ๆ ของชาติเจริญยิ่งขึ้น ภาษานำมาซึ่งการสร้างสรรค์งานเขียนหรือหนังสือในรูปแบบที่หลากหลาย ซึ่งหนังสือนั้นเป็นมากกว่าเครื่องมือถ่ายทอดความคิดและความบันเทิงเริงรมย์ หนังสือคือผลผลิตขนาดใหญ่จากการอ่าน การเขียน และความคิด ด้วยเหตุนี้ มูลนิธิวิชาหนังสือ จึงร่วมมือกับกรมส่งเสริมวัฒนธรรม และสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ในการส่งเสริมวัฒนธรรมหนังสือ และระบบหนังสือของประเทศไทย ร่วมกันสร้างสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพให้ถึงมือประชาชนอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง ร่วมกันส่งเสริมเผยแพร่นโยบาย ‘หนังสือคือวัฒนธรรมของชาติ’ ตลอดจนร่วมกันจัดกิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาวัฒนธรรมหนังสือทุกรูปแบบ เพื่อการพัฒนาตนเองของเด็ก เยาวชนและประชาชนทั่วไปด้วยความรู้และสติปัญญา ด้วยวัฒนธรรมหนังสือ
อนึ่ง แนวทางการดำเนินงานและกิจกรรมความร่วมมือ ตามบันทึกข้อตกลงในฉบับนี้ ประกอบด้วย
๑. ร่วมพัฒนาการเผยแพร่การใช้ภาษาไทย การอนุรักษ์ภาษาไทยมิให้แปรเปลี่ยนไปในทางเสื่อม การส่งเสริมภาษาไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้ปรากฏเด่นชัดยิ่งขึ้น และการให้บริการทางวิชาการแก่
ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์การมหาชน หน่วยงานอื่นของรัฐสถาบันการศึกษา หน่วยงานของเอกชน และประชาชน ตลอดจนงานวิชาการตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานทั้ง ๓ (สาม) ฝ่าย
๒. ร่วมกันเผยแพร่และสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลที่ประสงค์ให้หนังสือไทยเป็นวัฒนธรรมแห่งชาติร่วมส่งเสริมและสนับสนุนเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ส่งเสริมรากฐานวัฒนธรรมทางหนังสือ และเผยแพร่หนังสือทุกรูปแบบ
๓. จัดพิมพ์หนังสือและผลิตสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ประชาชน
ทุกช่วงวัยตั้งแต่เด็ก เยาวชน ไปจนถึงผู้สูงอายุได้มีโอกาสเข้าถึงการอ่านอย่างมีคุณภาพ
๔. จัดกิจกรรมทางวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันดำเนินงานโครงการให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล บรรลุเป้าหมายตามนโยบายหรือแผนซึ่งกำหนดไว้ รวมทั้งดำเนินการอื่นใด ตามที่กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม มูลนิธิวิชาหนังสือ และสำนักงานราชบัณฑิตยสภาเห็นสมควร
๕. ในการร่วมกันดำเนินการต่าง ๆ ตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการครั้งนี้ให้เป็นไปตาม อำนาจหน้าที่ของหน่วยงานทั้ง ๓ (สาม) ฝ่าย โดยแต่ละฝ่ายตกลงรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายและงบประมาณสำหรับการดำเนินงานภายใต้บันทึกข้อตกลงนี้ในส่วนที่เป็นภาระหน้าที่ของฝ่ายนั้นเอง ส่วนค่าใช้จ่ายและงบประมาณสำหรับการดำเนินงานโครงการย่อยใดภายใต้บันทึกข้อตกลงนี้ ให้เป็นไปตามข้อตกลงของแต่ละโครงการย่อยภายใต้บันทึกข้อตกลงนี้เป็นรายกรณีไป ทั้งนี้ ให้ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง