🇹🇭มาลาริน❤️22พ.ค.ป่วยใหม่5,377คน หายป่วย5,775คน ตาย37คน รักษาอยู่58,475คน/'หมอ ยง’เลคเชอร์‘ฝีดาษวัว ลิง คน/การติดเชื้อ


https://www.bangkokbiznews.com/social/1005613



‘หมอ ยง’เลคเชอร์‘ฝีดาษวัว ลิง คน’ โอกาสข้ามจากสัตว์สู่คน-การปลูกฝีในอดีต
วันอาทิตย์ ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2565, 08.34 น.

22 พฤษภาคม 2565 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan หัวข้อ “ฝีดาษวานร การปลูกฝีป้องกันฝีดาษในอดีต” มีเนื้อหาดังนี้...
 
“ฝีดาษวานร การปลูกฝีป้องกันฝีดาษในอดีต

ขอพูดซ้ำอีกครั้ง การเรียกฝีดาษวานร เพื่อเป็นเกียรติให้กับศาสตราจารย์นายแพทย์ประเสริฐ ทองเจริญ ที่ใช้เรียกชื่อนี้มามากกว่า 10 ปี

ไวรัสในตระกูลฝีดาษ Poxvirus ทำให้เกิดโรคทั้งในมนุษย์ และในสัตว์หลายชนิด เช่น วัว ลิง นกและไก่
 
ไวรัสพบในสัตว์อาจจะข้ามมาสู่คนได้ เช่น ฝีดาษวัว ฝีดาษลิง ฝีดาษคน (smallpox) ถ้าเกิดในมนุษย์จะรุนแรงที่สุด และติดต่อคนสู่คนได้ง่ายมาก แต่การข้ามสายพันธุ์ของไวรัสฝีดาษวานร มาสู่คน การแพร่กระจายจะเกิดได้ยากกว่า ต้องสัมผัสอย่างใกล้ชิด และความรุนแรงของโรคจะน้อยกว่าฝีดาษคนมาก

ฝีดาษวัว ก็ข้ามมายังคนได้ ตัวอย่างเช่นหญิงรีดนม ที่ติดฝีดาษวัว ในสมัยคุณหมอเอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ กว่า 200 ปีที่แล้ว ที่คุณหมอเจนเนอร์ พบว่า หญิงรีดนมที่ติดฝีดาษวัว แล้วเมื่อเกิดการระบาดของโรคฝีดาษคน หญิงรีดนมคนนี้ไม่ติดโรคฝีดาษ จึงเป็นที่มาของการเอาเชื้อฝีดาษวัว มาปลูกให้กับคนแล้วสามารถป้องกันฝีดาษของคนได้ โดยที่คนติดฝีดาษวัว เป็นเพียงแค่ตุ่มหนองเล็กๆตุ่มหนึ่งเท่านั้น และก็หายไปโดยที่แผลเป็นไว้
 
โรคสุกใส (Chicken pox) เป็นไวรัสคนละตัว ไม่เกี่ยวข้องกันเลย 
 
ไวรัสในกลุ่มฝีดาษวานร ฝีดาษวัว ฝีดาษคน มีความคล้ายคลึงกันมาก ดังนั้นการปลูกฝีป้องกันฝีดาษวัว ป้องกันฝีดาษคนได้ และยังพบว่าน่าจะป้องกันฝีดาษวานรได้ด้วย

ประเทศไทย แต่เติมปลูกฝีให้กับทุกคน โดยเฉพาะตั้งแต่แรกเกิด และโรคนี้สามารถควบคุมได้ และหมดไป จึงเลิกการปลูกฝีในประเทศไทย ประมาณปี พ.ศ.2517 เป็นต้นมา และองค์การอนามัยโลกประกาศว่าฝีดาษหมดไปในปี พ.ศ.2523  และทั่วโลกก็เลิกปลูกฝีตั้งแต่นั้นมา

ประชากรไทยที่เกิดก่อนปี 2517  เกือบทุกคนมีการปลูกฝี หรือสังเกตได้จากการมีแผลเป็นของการปลูกฝี เป็นแผลเป็นที่แบนราบ แต่เรายังมีการให้วัคซีน BCG ป้องกันวัณโรค ซึ่งแผลเป็นของวัคซีนป้องกันวัณโรคจะมีลักษณะนูนกว่า ดังแสดงในรูป แผลเป็นบนจะเป็นวัคซีนป้องกันวัณโรค แผลเป็นล่างจะเป็นวัคซีนป้องกันฝีดาษ (รูปที่ 1) รูปที่ 2 เป็นวัณโรค รูปที่ 3 เป็นแผลเป็นจากวัคซีนฝีดาษ



https://www.naewna.com/local/655104

เพี้ยนแคปเจอร์"ฝีดาษลิง"บุกยุโรป...! โรคระบาดมีการติดเชื้อกันอย่างไร



เชื้อไวรัส "ฝีดาษลิง" กำลังแพร่ระบาดกระจายไปในทวีปยุโรป ขณะนี้พบผู้ติดเชื้อแล้ว กว่า 100 ราย โดยมีการยืนยันพบผู้ติดเชื้อในหลายประเทศ รวมถึงสหราชอาณาจักร, สเปน, โปรตุเกส, เบลเยียม, ฝรั่งเศส, สหรัฐฯ และออสเตรเลีย

ทั้งนี้ เชื้อไวรัส ฝีดาษลิง จะพบอยู่ในลิง สามารถติดโรคนี้จากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สิ่งคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือจากการถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัด การแพร่เชื้อจากคนสู่คนอาจเกิดขึ้นได้แต่มีโอกาสน้อยมาก และมักพบการแพร่ระบาดในภูมิภาคแอฟริกากลางและตะวันตก โดยระบาดใหญ่ครั้งสุดท้าย เมื่อปี 2560 การที่เชื้อชนิดนี้กำลังแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในยุโรปและพื้นที่อื่นๆ

ล่าสุด "องค์การอนามัยโลก" เรียกประชุมฉุกเฉิน เมื่อวันที่ 20 พ.ค.ที่ผ่านมา เพื่อหารือเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสชนิดนี้ พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า การระบาดของฝีดาษลิงครั้งนี้มีความผิดปกติอยู่ 3 ประการคือ....

1) ผู้ป่วยเกือบทุกรายไม่มีประวัติเดินทางไปยังพื้นที่ซึ่งมีการระบาดของฝีดาษลิง

2.ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม “ชายรักชาย” ซึ่งเมื่อแสดงอาการป่วยจึงไปพบหมอที่คลินิกรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 

และ 3.การพบผู้ติดเชื้อในกว่า 10 ประเทศแสดงให้เห็นว่าโรคมีการแพร่กระจายมาสักระยะหนึ่งแล้ว

สำหรับ "โรคฝีดาษลิง" เกิดจากไวรัสฝีดาษลิง ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกันกับเชื้อไวรัสโรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษ แต่ว่ามีความรุนแรงน้อยกว่ามาก เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มพอกซ์วิริเด (Poxviridae) จัดอยู่ในจีนัสไวรัสออร์โธพอกซ์ (Orthopoxvirus) เช่นเดียวกับไวรัสอีกหลายชนิด เช่น ไวรัสวัคซิเนีย (vaccinia virus), ไวรัสฝีดาษวัว (cowpox virus), ไวรัสวาริโอลา (variola virus) เป็นต้น
 
เชื้อไวรัสฝีดาษลิงเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกับเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคฝีดาษคน หรือไข้ทรพิษ ส่วนใหญ่จะพบในพื้นที่ห่างไกลในประเทศทางตอนกลางและตะวันตกของทวีปแอฟริกา ใกล้บริเวณที่เป็นป่าดิบชื้น โดยมีไวรัสสองสายพันธุ์หลักคือ แอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก ส่วนใหญ่คนติดโรคฝีดาษลิงจากสัตว์ฟันแทะและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แต่มีโอกาสน้อยในการแพร่จากคนสู่คน

อาการเบื้องต้น ได้แก่ มีไข้ ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองบวม ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ กระสับกระส่าย จากนั้นจะเริ่มมีผื่นหรือตุ่มขึ้นโดยส่วนใหญ่เริ่มจากใบหน้า ก่อนจะกระจายไปตามส่วนอื่นของร่างกาย ที่พบบ่อยคือฝ่ามือ ฝ่าเท้า ตุ่มที่ขึ้นอาจทำให้คันหรือเจ็บและเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ก่อนจะกลายเป็นสะเก็ดและร่วงออกมา อาการจะปรากฏราววันที่ 6-13 หลังได้รับเชื้อ การติดเชื้ออาจหายเองโดยไม่ต้องรักษาและคงอยู่ประมาณ 14-21 วัน

https://www.bangkokbiznews.com/social/1005613

....ติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ

สถานการณ์ดีขึ้นต่อเนื่อง

....✌️💕✌️💕
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 16

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม 2565
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/567189071566088


จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 21 พ.ค. 2565)
รวม 136,540,949 โดส ใน 77 จังหวัด

ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 21 พฤษภาคม 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 275,672 โดส

เข็มที่ 1 : 30,162 ราย
เข็มที่ 2 : 100,770 ราย
เข็มที่ 3 : 144,740 ราย

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 56,615,261 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 52,292,128 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 27,633,560 ราย

แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/567125124905816


หน้ากากอนามัย ใช้ถูกวิธีลดเสี่ยง เลี่ยงนำเชื้อเข้าบ้าน

ที่มา: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/567105091574486


ไทยลงนามร่วมญี่ปุ่นตกลงขับเคลื่อนจัดหาอุปกรณ์ถ่ายโอนเทคโนโลยี เตรียมพร้อมด้านสาธารณสุขหลังโควิดคลี่คลายลง

นางอุรีรัชต์ เจริญโต อธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ และนาย Morita Takahiro, Chief Representative องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency – JICA) สำนักงานประเทศไทย ได้ลงนามในเอกสารความตกลง Grant Agreement for the Programme for COVID-19 Crisis Response Emergency Support ณ กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยมีผู้แทนจากกระทรวงสาธารณสุข สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย และ JICA สำนักงานประเทศไทยเข้าร่วมในพิธีลงนามด้วย

การลงนามดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนแผนงาน the Programme for COVID-19 Crisis Response Emergency Support เพื่อจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่ถ่ายโอนเทคโนโลยีของญี่ปุ่นเพื่อเตรียมพร้อมด้านสาธารณสุขเมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในไทยคลี่คลาย ภายใต้วงเงินงบประมาณ ๕๐๐ ล้านเยน (ประมาณ ๑๓๓ ล้านบาท) โดยมุ่งเน้นการดำเนินงานใน ๓ ด้าน ได้แก่ การยกระดับมาตรการกักตัวและตรวจโรค COVID-19 ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและด่านชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ จ.หนองคาย จ.สระแก้ว จ.ระนอง และ จ.สงขลา รวม ๔ จังหวัด รวมถึงสนับสนุนสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ด้วย การพัฒนาระดับการเก็บรักษาวัคซีน และพัฒนาระบการตรวจและรักษาผู้ป่วยโรค COVID-19 ที่ห้องปฏิบัติการและสถานพยาบาล เน้นสถานพยาบาลของไทยในพื้นที่ชายแดนของไทย

การสนับสนุนดังกล่าวสะท้อนถึงความร่วมมือที่ใกล้ชิดระหว่างไทยกับญี่ปุ่นในด้านความร่วมมือเพื่อการพัฒนา ผ่านการดำเนินงานของกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข และ JICA ซึ่งช่วยสนับสนุนบทบาทที่แข็งขันด้านสาธารณสุขของไทยในพื้นที่ชายแดน โดยจะช่วยส่งเสริมภารกิจของโรงพยาบาลในพื้นที่ฝั่งไทยให้ดำเนินความร่วมมือทางการแพทย์ที่เชื่อมโยงใกล้ชิดกับโรงพยาบาลในฝั่งประเทศเพื่อนบ้าน ที่กรมความร่วมมือระหว่างประเทศร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินโครงความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับประเทศเพื่อนบ้านมาแล้วอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ความร่วมมือด้านการพัฒนาของไทยและญี่ปุ่นครั้งนี้จึงช่วยกระชับความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาของทั้งสองประเทศควบคู่กับการเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีของประชาชนตามแนวชายแดน

ที่มา: กระทรวงการต่างประเทศ
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/567111808240481


1 มิ.ย. นี้
ยกเลิก Thailand Pass สำหรับคนไทย
เปิดสถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ โซนสีเขียว-สีฟ้า

ที่ประชุม ศบค. มีมติปรับพื้นที่สถานการณ์ (โซนสี) ในการควบคุมโรคโควิด-19 เหลือเพียงโซนสีเขียว 14 จังหวัด สีฟ้า 17 จังหวัด และสีเหลือง 46 จังหวัด โดยพื้นที่สีเขียว - ฟ้า สามารถเปิดสถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ ฯลฯ ได้ตั้งแต่ 1 มิ.ย. 65 เป็นต้นไป ภายใต้มาตรการ Universal Prevention อย่างเคร่งครัด เช่น ตรวจ ATK ทุก ๆ 7 วัน หรือเมื่อมีอาการ - เสี่ยง ขณะที่ผู้ใช้บริการต้องแสดงหลักฐานการรับวัคซีนครบตามเกณฑ์ (เข็มกระตุ้น)

รวมถึงปรับแผนการผ่อนปรนมาตรการเข้าประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวยิ่งขึ้น โดยชาวต่างชาติยังคงต้องลงทะเบียน Thailand Pass อยู่ แต่กรอกเฉพาะข้อมูลที่จำเป็น ได้แก่ วัคซีน ประกัน และหนังสือเดินทาง (รับ QR code ทันทีหลังลงทะเบียนเสร็จ)

สอดคล้องกับการประกาศเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบของรัฐบาล เพื่อรองรับนักเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งในช่วงเดือน ม.ค. – 18 พ.ค. 65 มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไทยแล้วกว่า 1 ล้านคน ส่งผลให้ตัวเลขรายได้ในไตรมาสแรกของปี 65 เพิ่มขึ้นกว่าช่วงเดียวกันของปี 64 กว่า 2 พัน% และมีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 1.4 พัน%

อ่านเพิ่มเติม คลิก https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/54789

ที่มา: ไทยคู่ฟ้า
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/567131394905189


รายละเอียดผู้เสียชีวิตของประเทศไทย
วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม 2565 จำนวน 31 ราย
แหล่งข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/567193848232277


ถาม: เหตุใดผู้สูงอายุจึงควรรับวัคซีนต้านโควิด
ตอบ: เพราะผู้สูงอายุมีความเสี่ยงที่จะป่วยและเสียชีวิตจากโควิด 19 สูงกว่าคนที่อายุน้อยกว่าอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ หรือโรคเบาหวาน

ผู้สูงอายุและคนทุกวัยที่มีโรคประจำตัว (เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคปอด หรือมะเร็ง) มีความเสี่ยงสูงกว่าที่จะป่วยหนักเมื่อติดเชื้อโควิด 19 และเนื่องจากผู้สูงอายุมักมีโรคประจำตัว พวกเขาจึงมีความเสี่ยงถึงสองเท่า หรืออาจเป็นสามเท่า หากมีโรคในกลุ่มเสี่ยงมากกว่าหนึ่งอย่าง

การวิเคราะห์ล่าสุดเกี่ยวกับการติดเชื้อโควิด 19 ในประเทศไทยใน 2 เดือนแรกของปี 2565 พบว่าร้อยละ 75 ของการเสียชีวิตทั้งหมดเกิดขึ้นในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี และจากผู้เสียชีวิต 928 ราย ร้อยละ 60 ไม่ได้รับวัคซีน การวิเคราะห์ล่าสุดอีกหนึ่งชิ้นในประเทศไทยชี้ว่า การรับวัคซีน 2 เข็มช่วยลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตได้ 6 เท่า และการรับวัคซีน 3 เข็มลดความเสี่ยงได้ 41 เท่า

ข้อมูลปัจจุบันยังแสดงให้เห็นว่า ร้อยละ 83.3 ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีในประเทศไทยได้รับวัคซีนเพียงเข็มเดียว ร้อยละ78.8 ได้รับ 2 เข็ม และร้อยละ 32 ได้รับ 3 เข็ม แม้ว่าสัดส่วนเหล่านี้จะค่อนข้างสูง แต่ก็ยังหมายความว่า อีกร้อยละ 20.2 ของกลุ่มประชากรที่เปราะบางที่สุดในประเทศไทยยังได้รับวัคซีนเข็มพื้นฐานไม่ครบ

ปัจจุบันสัดส่วนผู้ป่วยโควิด 19 ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลกำลังเพิ่มสูงขึ้น และเป็นเหตุให้เราควรกังวล เนื่องจากในช่วงสงกรานต์ ประชากรที่อายุน้อยกว่าและอาจติดเชื้อจะเดินทางกลับบ้านเพื่อไปพักผ่อนกับครอบครัว รวมถึงญาติผู้สูงอายุ

ดังนั้น เราทุกคนจึงต้องจริงจังมากขึ้นในการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันขั้นพื้นฐานที่เราทราบดีว่าช่วยตัดวงจรการระบาด และทำให้เส้นกราฟราบลง รวมทั้งสวมหน้ากาก หลีกเลี่ยงสถานที่แออัดและอากาศไม่ถ่ายเท หมั่นล้างมือ และไอจามอย่างถูกวิธี กล่าวคือ ไอจามใส่ข้อพับแขนด้านในหรือทิชชู และทิ้งในภาชนะที่ปลอดภัย

องค์การอนามัยโลก ประเทศไทย สนับสนุนการดำเนินงานในปัจจุบันของกระทรวงสาธารณสุขในการส่งเสริมการฉีดวัคซีนในผู้สูงอายุ

- ผู้สูงอายุที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีน ต้องเข้ารับวัคซีน
- ผู้สูงอายุที่ได้รับวัคซีนเข็มแรกแล้ว ต้องรับเข็มที่ 2 ตามเวลาที่กำหนด
- ผู้สูงอายุที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 มาเกินกว่า 3 เดือนแล้ว ต้องเข้ารับเข็มที่ 3 โดยเร็วที่สุด

ที่มา : องค์การอนามัยโลก ประเทศไทย
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=322516070027390&id=100068069971811


https://web.facebook.com/fanmoph/posts/378350987653484
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่