อุทเทส
๑. "สิงคาลกะสูตร" ความช่วงหนึ่งทรงแสดงถึง "ทิศ ๖" และ "สังคหวัตถุ ๔" ทรงใช้คำว่า "บิดา - มารดา" ในภาษาไทย คือ ผู้เลี้ยงดูเรามาด้วยสองมือสองแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน ทำงานตัวเป็นเกลียวหัวเป็นน๊อต ด้วยไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย เพื่อในพวกเรากินดีอยู่ดี มีการศึกษา และเป็นคนดี มีความสุขความเจริญ แต่ไม่ปรากฏคำว่า "ชนก - ชนนี" (ผู้ให้กำเนิด -- ชาติปิ ทุกขา)
๒. "มงคลสูตร" มี "มาตาปิตุอุปัฏฐานา" และ "ปุตตทารัสสังคโห" ไม่มี "ชนก - ชนนี" เช่นกัน
๓. "อนันตริยกรรม" ก็แสดงแต่ "ปิตุฆาต" "มาตุฆาต" ส่วนใน ศีล ๕ และ ปราชิก ๔ แสดงการฆ่าไว้อย่างกว้าง ๆ และทรงชี้ว่า "เจตนาเป็นกรรม"
๔. "สัมมาทิฏฐิ ๑๐" (มัชชิมนิกาย อุปริปัณณาสก์) ก็แสดงว่า "มารดามี (พระคุณ)" "บิดามี (พระคุณ)"
๕. "น้ำนม (แม่)" เป็นเลือดในอริยวินัย
๖. (สิ่งของ) ที่เรียกหรือขอจากบุคคลมิใช่ญาติ (สายโลหิต) หรือ ปวารณา ถ้าภิกษุไม่สละเสีย ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
๗. โดยส่วนตัว พ่อ - แม่ ผมแยกทางกันแต่ผมยังเล็ก และ ผมเองก็หย่าร้างแต่ลูกยังเล็กเช่นกัน ทำให้รู้อะไร ๆ ดี ๆ เกี่ยวกับชีวิตคู่และชีวิตครอบครับ ว่า พ่อและ/หรือแม่คนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองทิ้งเราไป เพราะเหตุปัจจัย (เหตุปัจจะโย) แต่โชคดีได้มาศึกษาและปฏิบัติธรรมในพระศาสนาของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
นิทเทศ
หากจะถือเอาพุทธพจน์และเถระเถรีภาษิต ในพระไตรปิฎก เถรวาท อย่างประเทศไทยเรา เป็นประมาณ อย่างไรเสียท่านผู้ให้ชีวิตเราอย่างเดียว แต่ทอดทิ้งไม่เลี้ยงดูเรา ก็ยังมีพระคุณต่อลูกเหลือประมาณอย่างน้อยก็ ๒ ประการ ๑. แม่อุ่มท้องเรามาเหนื่อยยากกว่าใครทั้งนั้น ดังพระสมณนิพนธ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ์ ที่ว่า
แม่จ๋า ถนอมลูก ปิยะผูก สนิทใจ
นับแต่ อุบัติใน คภะเฝ้า ระวังกายฯ
แม้ยัง มิทันเห็น มุขะเป็น ธิดาชาย
แม่มุ่ง ผดุงสาย ชิวะแม้น หทัยตนฯ
อดออม ถนอมการ - บริโภค ก็ยอมทน
เผ็ดร้อน กระท้อนผล ทุษะะลูก มิยินดีฯ
ฯลฯ
อีกคำกล่าวหนึ่งกล่าวว่า "วันที่แม่คลอดเราออกมา ชีวิตของท่าน เป็น - ตาย เท่ากัน
ขอให้พิจารณาให้ถ้วนถี่สำหรับผู้เป็นแม่ทุกท่าน หรือ ลูกชายลูกสาวทุกคน ที่ยังมีโอกาสอยู่กับท่าน ถามท่านดูว่า ท่านรู้สึกกับลูก ๆ เช่นนี้ไหม
ประการต่อมา ดังพุทธพจน์ ที่ยกมาในเบื้องต้น "ชาติปิ ทุกขา" แปลว่า แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ ๆ ที่เกิดจากกองกิเลส (บาป) และ กองทุกข์จากการเวียนวายตายเกิดอันไม่จบสิ้น แม้นว่า ท่านทั้งสองไม่ได้ตั้งใจให้เราเกิดมา พระคุณอันเป็นอนันต์ของท่านทั้งสอง ที่ให้เราเกิดเช่นนั้น และ/หรือ ไม่ได้เลี้ยงเรามาดังแสดงมาข้างต้น ก็คือ ทำให้เราเกิดมาเป็นมนุษย์ อัตภาพที่ประเสริฐ สามารถปฏิบัติดำรงค์ตนในคุณงามความดี สั่งสมกุศลผลบุญญาธิการบารมี เพื่อการหลุดพ้นจากกองกิเลสและกองทุกข์ได้จริง
นิเขปบท
ข้อความสั้น ๆ นี้ เขียนขึ้มมาเพื่อในบุตรธิดาในทุกความหมาย ไม่ทอดทั้ง พ่อ - แม่ ทำดีกับท่านให้มาก ๆ ก่อนที่ท่านจะหาไม่ไแล้ว ตามคำสอนในทางพระพุทธศาสนา เช่น ทิศ ๖ และ สังคหวัตถุ ๔ และปฏิบัติตนเป็นคนดีเพื่อบูชาพระคุณให้สมกับที่ได้เกิดมาเป็นลูกของท่าน เป็นต้น
"พ่อ - แม่" ในบาลีพระไตรปิฎก
๑. "สิงคาลกะสูตร" ความช่วงหนึ่งทรงแสดงถึง "ทิศ ๖" และ "สังคหวัตถุ ๔" ทรงใช้คำว่า "บิดา - มารดา" ในภาษาไทย คือ ผู้เลี้ยงดูเรามาด้วยสองมือสองแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน ทำงานตัวเป็นเกลียวหัวเป็นน๊อต ด้วยไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย เพื่อในพวกเรากินดีอยู่ดี มีการศึกษา และเป็นคนดี มีความสุขความเจริญ แต่ไม่ปรากฏคำว่า "ชนก - ชนนี" (ผู้ให้กำเนิด -- ชาติปิ ทุกขา)
๒. "มงคลสูตร" มี "มาตาปิตุอุปัฏฐานา" และ "ปุตตทารัสสังคโห" ไม่มี "ชนก - ชนนี" เช่นกัน
๓. "อนันตริยกรรม" ก็แสดงแต่ "ปิตุฆาต" "มาตุฆาต" ส่วนใน ศีล ๕ และ ปราชิก ๔ แสดงการฆ่าไว้อย่างกว้าง ๆ และทรงชี้ว่า "เจตนาเป็นกรรม"
๔. "สัมมาทิฏฐิ ๑๐" (มัชชิมนิกาย อุปริปัณณาสก์) ก็แสดงว่า "มารดามี (พระคุณ)" "บิดามี (พระคุณ)"
๕. "น้ำนม (แม่)" เป็นเลือดในอริยวินัย
๖. (สิ่งของ) ที่เรียกหรือขอจากบุคคลมิใช่ญาติ (สายโลหิต) หรือ ปวารณา ถ้าภิกษุไม่สละเสีย ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
๗. โดยส่วนตัว พ่อ - แม่ ผมแยกทางกันแต่ผมยังเล็ก และ ผมเองก็หย่าร้างแต่ลูกยังเล็กเช่นกัน ทำให้รู้อะไร ๆ ดี ๆ เกี่ยวกับชีวิตคู่และชีวิตครอบครับ ว่า พ่อและ/หรือแม่คนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองทิ้งเราไป เพราะเหตุปัจจัย (เหตุปัจจะโย) แต่โชคดีได้มาศึกษาและปฏิบัติธรรมในพระศาสนาของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
นิทเทศ
หากจะถือเอาพุทธพจน์และเถระเถรีภาษิต ในพระไตรปิฎก เถรวาท อย่างประเทศไทยเรา เป็นประมาณ อย่างไรเสียท่านผู้ให้ชีวิตเราอย่างเดียว แต่ทอดทิ้งไม่เลี้ยงดูเรา ก็ยังมีพระคุณต่อลูกเหลือประมาณอย่างน้อยก็ ๒ ประการ ๑. แม่อุ่มท้องเรามาเหนื่อยยากกว่าใครทั้งนั้น ดังพระสมณนิพนธ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ์ ที่ว่า
แม่จ๋า ถนอมลูก ปิยะผูก สนิทใจ
นับแต่ อุบัติใน คภะเฝ้า ระวังกายฯ
แม้ยัง มิทันเห็น มุขะเป็น ธิดาชาย
แม่มุ่ง ผดุงสาย ชิวะแม้น หทัยตนฯ
อดออม ถนอมการ - บริโภค ก็ยอมทน
เผ็ดร้อน กระท้อนผล ทุษะะลูก มิยินดีฯ
ฯลฯ
อีกคำกล่าวหนึ่งกล่าวว่า "วันที่แม่คลอดเราออกมา ชีวิตของท่าน เป็น - ตาย เท่ากัน
ขอให้พิจารณาให้ถ้วนถี่สำหรับผู้เป็นแม่ทุกท่าน หรือ ลูกชายลูกสาวทุกคน ที่ยังมีโอกาสอยู่กับท่าน ถามท่านดูว่า ท่านรู้สึกกับลูก ๆ เช่นนี้ไหม
ประการต่อมา ดังพุทธพจน์ ที่ยกมาในเบื้องต้น "ชาติปิ ทุกขา" แปลว่า แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ ๆ ที่เกิดจากกองกิเลส (บาป) และ กองทุกข์จากการเวียนวายตายเกิดอันไม่จบสิ้น แม้นว่า ท่านทั้งสองไม่ได้ตั้งใจให้เราเกิดมา พระคุณอันเป็นอนันต์ของท่านทั้งสอง ที่ให้เราเกิดเช่นนั้น และ/หรือ ไม่ได้เลี้ยงเรามาดังแสดงมาข้างต้น ก็คือ ทำให้เราเกิดมาเป็นมนุษย์ อัตภาพที่ประเสริฐ สามารถปฏิบัติดำรงค์ตนในคุณงามความดี สั่งสมกุศลผลบุญญาธิการบารมี เพื่อการหลุดพ้นจากกองกิเลสและกองทุกข์ได้จริง
นิเขปบท
ข้อความสั้น ๆ นี้ เขียนขึ้มมาเพื่อในบุตรธิดาในทุกความหมาย ไม่ทอดทั้ง พ่อ - แม่ ทำดีกับท่านให้มาก ๆ ก่อนที่ท่านจะหาไม่ไแล้ว ตามคำสอนในทางพระพุทธศาสนา เช่น ทิศ ๖ และ สังคหวัตถุ ๔ และปฏิบัติตนเป็นคนดีเพื่อบูชาพระคุณให้สมกับที่ได้เกิดมาเป็นลูกของท่าน เป็นต้น