จูปีเตอร์ (ดาวพฤหัสบดี) ในแนวคิดความเชื่อโบราณ แทนด้วยความเชื่ิอผีสาง ที่ผันตัวถูกยกขึ้นเป็นเทพเจ้า
King of the Gods , God of the sky and lightning ของทางฝั่งยุโรปสมัยโบราณ
บทความคัดมาจาก blog
เอกโหรา (ekhora.com)
เหมาะสำหรับนักโหราศาสตร์ที่ต้องการพัฒนาตนเอง อธิบายไม่มีกั๊ก นำไปใช้ได้จริง
บทความนี้จะเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ส่วนหนึ่ง
นิยามเบื้องต้น
ดาวพฤหัสบดี เป็นตัวแทนของความโชคดี ทั้งยศศักดิ์, โชคลาภ, สุขภาพ, การก่อร่างขยายขอบเขตของอาณาจักร, การศึกษาและสติปัญญาในเชิงเหตุผล เป็นต้น, ส่วนโหราศาสตร์สมัยก่อนมีลักษณะคล้ายวิทยาศาสตร์อยู่เหมือนกันตรงที่ใช้กำหนดวันเพาะปลูก วันเก็บเกี่ยว และรักษามาตรฐาน ขนบธรรมเนียมพร้อมเพรียงกันของสังคม
-----
คำว่า “ไท่ส่วย” ของนักโหราศาสตร์ของจีนโบราณ เทียบได้กับ ดาวพฤหัสบดี
ไท่ส่วยนั้นมีพฤติกรรมหมุนเวียนไปสถิตราศีต่างๆ ปีละหนึ่งราศี ตั้งแต่ชวด – กุน เป็นระยะเวลา 12 ปี เช่นเดียวกับการโคจรของดาวพหัสบดีในปัจจุบัน ที่จะหมุนเวียนรอบพระอาทิตย์ครบ 1 รอบจักรราศี แต่เพราะเทคโนโลยีการคำนวนและเครื่องมือในสมัยโบราณมีข้อจำกัด จึงใช้ค่าตำแหน่งของดาวพฤหัสบดี ว่า 1 รอบปีปฏิทินสุริยคติ เป็น 1 ราศีไปเลย
ไท่ส่วย ทางความเชื่อแบบชาวจีนโบราณ (TAI SUI) ซึ่งแบบออกเป็น 12 แบบ ตาม 12 ราศีที่ดาวพฤหัสบดีจรเข้าไปสถิต จึงให้ผลลัพธ์ที่ต่างไป 12 อย่างหลักๆ
ค่าประมาณการณ์ในสมัยโบราณ
เครื่องมือการคำนวนในสมัยโบราณไม่สามารถเทียบได้กับเทคโนโลยีในปัจจุบัน ฉะนั้นนักโหราศาสตร์ดวงดาวสมัยโบราณจึงใช้ค่าอนุโลม หรือค่าประมาณการณ์ ค่าประมาณการณ์ของโหราศาสตร์สายหลักสมัยโบราณ คือ 30° เราจะพบระยะ 30° นี้ในโหราศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้แผ่นจานทรงกลม (ซึ่งโดยมากเป็น 2 มิติ) อาทิ โหราศาสตร์ 2 ส่วน, 4 ส่วน, 8 ราศี, 12 ราศี, 13 ราศี, 22 ส่วน, 24 ส่วน, 36 ส่วน, 108 ส่วน, 360 ส่วน, 720 ส่วน เป็นต้น
โดยส่วนของการแบ่งที่เท่าๆกันนี้ จะปรากฏในวิชาโหราศาสตร์ภาคดวงดาว, ปฏิทิน, และฮวงจุ้ย ซึ่งนักโหราศาสตร์ภาคคำนวนที่เป็นนักคิด (think tank) ต้องมีความเข้าใจ เพื่อคำนวนด้วยเทคนิคทางคณิตศาสตร์ อันนำไปสู่การกำหนดขอบเขตของเส้นแบ่ง อันใช้อธิบายกำลังของฤดูกาล หรือเหตุการณ์ เช่น การกำหนดเดือนต่างๆในปฏิทิน เป็นต้น
ตัวอย่าง ปฏิทินของชนเผ่ามายา ใน 1 รอบ จะมี 20 ส่วน และ 19 ส่วน เป็นต้น (อ่านต่อ
https://en.wikipedia.org/wiki/Maya_calendar)
ตำแหน่งที่แท้จริงของดาวพฤหัสบดี
นักโหราศาสตร์ที่ใส่ใจต้องเลือกปฏิทินดาราศาสตร์ฟ้าจริงที่มีความแม่นยำถูกต้องในระดับฟิลิปดา ซึ่งในสมัยปัจจุบันค่าตัวเลขที่หาได้มีความแม่นยำสูง สามารถนำไปใช้ปฏิบัติการด้านโหราศาสตร์ได้ทันที
ตัวอย่างปฏิทินดาราศาสตร์
1) Stellarium Astronomy Software (
https://stellarium.org)
2) ปฏิทินตำแหน่งดวงดาว 30,392 ปี ของ Swiss Ephemeris ที่ความแม่นยำสูงระดับ 0.001 arcseconds (
https://ekhora.com/2021/09/27/เอกโหรา-รู้จักปฏิทินตำ/)
การใช้งานดาวพฤหัสบดีในดวงกำเนิด
ภาพ Radix ดวงกำเนิดด้านบนนี้ มีดาวพฤหัสบดีอยู่ที่ 29°16′ ราศีมีน ระบบราศี tropical (ระบบราศีฤดูกาลจริงบนโลก)
เนื่องจากโหราศาสตร์เป็นการอุปมาอุปไมยเหตุการณ์ที่สอดคล้องกับความหมายในขอบเขตที่มีหลักการและวิธีคิดคำนวน เราใช้
1) 0°00′ ของราศีเมษ แทนทิศตะวันออก (จิ้ง) ธาตุไม้ 木
2) 0°00′ ของราศีกรกฏ แทนทิศเหนือ (ค่ำ) ธาตุน้ำ 水
3) 0°00′ ของราศีตุลย์ แทนทิศตะวันตก (ต๋วย) ธาตุทอง 金
4) 0°00′ ของราศีมะกร แทนทิศใต้ (ลี้) ธาตุไฟ 火
เมื่อเทียบกับเข็มทิศในปัจจุบัน
1) 0°00′ ของราศีเมษ เท่ากับ 90°
2) 0°00′ ของราศีกรกฏ เท่ากับ 0°
3) 0°00′ ของราศีตุลย์ เท่ากับ 270°
4) 0°00′ ของราศีมะกร เท่ากับ 180°
เมื่อเทียบได้แล้ว ดาวพฤหัสบดีในดวงของภาพข้างต้น ที่ 29°16′ ราศีมีน จะมีค่าบนเข็มทิศปัจจุบัน เท่ากับ 90°14′
ในทางฮวงจุ้ยเราต้องใช้ระบบจักรราศี tropical (ระบบจักราศีฤดูกาล) เนื่องจาก ฮวงจุ้ยสัมพันธ์โดยตรงกับฤดูกาลและสภาพแวดล้อมจริงบนโลก ทางฮวงจุ้ยนั้นจะใช้ตำแหน่งนี้ แทน หัวเตียงนอน, พนักผิงเก้าอี้ทำงาน, ทิศหลังบ้าน, หรือหากเป็นการเดินทาง คือ เป็นทิศที่เจ้าชะตาควรมุ่งหน้าไป เป็นต้น
ในทางข้าวของเครื่องใช้ เราจะนำตำแหน่งนี้ไปสัมพันธ์กับราศี เรือนชะตาตามความหมายของโหราศาสตร์อินเดีย ยุโรป จีน อาหรับ และอื่นๆ เพื่อสร้างความหมายของข้าวของมงคลให้แก่เจ้าชะตาต่อไป
การใช้งานดาวพฤหัสบดีในดวงจรในเชิงบวก
การใช้งานในลักษณะนี้ เราเน้นหามุมที่มีความสัมพันธ์กับดวงชะตากำเนิด เช่น เจ้าชะตาวัยรุ่นที่สนใจเรื่องความรัก สอบถามว่าช่วงไหนเธอจะมีความรักที่ดีเข้ามา นักโหราศาสตร์ก็หาความสัมพันธ์ของมุมที่เหมาะสมด้านความรัก โดยอาจเลือกพิจารณาดาวศุกร์กำเนิดเทียบกับพฤหัสบดีที่จรเข้ามา โดยมีมุมสัมพันธ์เชิงสร้างสรรค์ อาทิ มุมโยค 60°, 120° และมุมกุม 0° เป็นหลัก
ตัวอย่าง มุมโยค 120° ระหว่างดาวพฤหัสบดี กับดาวศุกร์ ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 18 Aug 2022 อยู่ที่ราศีเมถุน (สมมุติให้ดวงตัวอย่างนี้ดาวศุกร์เป็นดาวในดวงกำเนิด)
สมมุติให้ ดวงกำเนิดมีดาวศุกร์อยู่ที่ 8°02′ ในราศีสิงห์ และสัมพันธ์ 120° กับ ดาวพฤหัสบดีจร 08°02′ ในราศีเมษ (อธิบายเฉพาะบรรทัดที่ 1) ชุดนี้เป็นธาตุไฟ ในช่วงเวลานั้นก่อนวันที่ ถึง – 18 Aug 2022 จะมีลักษณะสอดคล้องด้านโชคลาภและความรักแบบธาตุไฟ และเกี่ยวข้องกับเรือนชะตาอะไร เราก็อ่านความหมายขยายไป ว่าความรักของเธอจะประกอบด้วยความลุ่มหลง ท้าทาย เกิด inspirtion ทำให้เกิดชีวิตชีวาแบบราศีเมษ เป็นต้น
ในการตกแต่งบ้านก็แสนง่ายดาย
การตกแต่งบ้านทางจีนใช้หลัก ซาฮะ (สามประสาน) ซึ่งไม่มีอะไรมากมาย มัน คือ ตรีกูลของธาตุ 120° นั่นเอง
เมื่อพบธาตุสัมพันธ์แล้ว ก็ตั้งจานหลอแกที่จุดศูนย์กลางบ้าน สั่งเปิดปิดช่องลม ทุบรื้อ และวางของตามตำแหน่งของดาวพฤหัสบดีที่สอดคล้อง กับเรือนและราศีนั่นเอง ส่วนการทายวันที่ได้โชค นักโหราศาสตร์ก็รู้อยู่แล้ว พอจัดบ้านเสร็จผลดีงามก็ออกเลย เป็นที่ชื่นชม สมราคา 555
-----------------------------------------
=====
ภาคขยายความ =====
สาเหตุที่ดาวพฤหัสบดี ถูกแทนด้วย ไท่ส่วย
ในสมัยโบราณ เทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์และเหตุผลเชิงประจักษ์ของเหตุการณ์ทางกายภาพยังมีไม่มากพอ คนสมัยนั้นไม่สามารถหาคำอธิบายปรากฏการณ์ทั้งดีและร้ายอันเกิดขึ้นได้ ฉะนั้นจึงมีความเชื่อในผี สาง วิญญาณหรืออำนาจที่มองไม่เห็น
โดยหากกลุ่มชนหรือชนเผ่าใดมีบ้านเมืองที่เข้มแข็งด้านทรัพยากรครบครัน ผีที่มีอำนาจตามความเชื่อของผู้นำชนเผ่าหรือกลุ่มชน ก็ถูกยกขึ้นเป็น “พระเจ้าของเผ่า” ไปโดยปริยาย
จากปรากฏการณ์สู่ผีดลบันดาลและสู่เทพเจ้าในเวลาต่อมา
เมื่อถูกยกจากผีขึ้นมาเป็นพระเจ้าผู้สร้าง ผู้ทรง ผู้ดลบันดาล และผู้ทำลายแล้ว ก็เผยแพร่ความเชื่อนั้น ไปยังผู้คนต่างๆ จึงสร้างความหวาดกลัวในอำนาจของผีที่คนยกขึ้นเป็นพระเจ้า แข่งกันว่าพระเจ้า (ผี) ของใครมีอำนาจเหนือกว่ากันโดยพิจารณาจากความยิ่งใหญ่ของอาณาจักร
ในขอบเขตของเอกเชียตะวันออกสมัยโบราณ หลังจากชนชั้นชาวนาชื่อ หลิวปัง ซึ่งเข้าเป็นทหารเลวประจำหมู่บ้าน ในสมัยของรางวงศ์ฉิน กลุ่มของหลิวปังได้รวบรวมดินแดนต่อจากราชวงศ์ฉิน โดยเทคนิคเดิมๆ คือ เข่นฆ่าทำลายผู้คนและทรัพย์สินของคนต่างกลุ่ม และหลิวปังก็สร้างเป็นการปกครองโดยครอบครัวใหม่ ในนาม “ฮั่น”
ในสมัยของหลิวปัง ก็มีผีชนเผ่ามากมาย ทำให้สมัยของราชวงศ์ฮั่น มีพระเจ้ามากมายหลายองค์ ในนั้นก็มีนักโหราศาสตร์ที่ผูกดวงดาวบนฟ้าไว้กับความเชื่อแบบผีเพื่อกล่อมให้กลุ่มชนเชื่อโดยง่าย อันได้แก่ ไท่ส่วย (ดาวพฤหัสบดี) เป็นต้น
ในข้างของทวีปยุโรปสมัยโบราณ ก็ใช่ย่อย นำดาวบนฟ้าไปผูกกับผี เช่นสมัยของกรีก ก็ปรากฏ เทพอะพอลโล (ดวงอาทิตย์) ขึ้นมาให้กราบไหว้สักการะแล้ว
ข้างของอิยิปต์ มีเทพเจ้ารา แทนพระอาทิตย์ และเทพอื่นๆ มากมาย อธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติ
ข้างของอินเดีย ของพราหมณ์ก็นำปรากฏการณ์ธรรมชาติ 3 ไตรลักษณ์ ผู้สร้าง, ผู้รักษา, ผู้ทำลาย เป็นเทพเจ้าแยกออกมาเป็นเรื่องๆ เช่นกัน
ข้างของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แถบลุ่มน้ำโขง ล้านนา ล้านช้าง อาณาจักรขอมโบราณ ก็มีความเชื่อเรื่องผี ที่ผูกพันกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น ยามที่เกิดสุริยุปราคา คือ ราหูเข้าอมอาทิตย์ อมจันทร์ ต้องขับไล่ ราหูออกไป ราหูจึงเปลี่ยนจากปรากฏการณ์ของเงาตกกระทบเป็นเทพเจ้า, หรือยามที่ต้องการให้ฝนตกก็ร้องขอดลบันดาลจากเทพเจ้าในอากาศ เป็นต้น
สรุปว่า เทพเจ้าจำนวนมากเป็นการเชื่อมโยงกับปรากฏการณ์ในโลก เพื่ออธิบายสาเหตุของเหตุการณ์ แต่สร้างผลลัพธ์ด้านภาระการดูแลรักษา สักการะ ทั้งสร้างขวัญกำลังใจและความหวาดกลัวกับผู้คนไปด้วยในตัว แต่อย่างไรก็ตามความเชื่อในเชิงยกขึ้นเป็นเทพเจ้า ก็ได้สร้างชนชั้นนักบวชหรือผู้อุทิศตนให้เป็นผู้มีอำนาจชี้นำสังคมด้วย แม้จะถูกหรือผิดแบบก็ตาม (การล่าแม่มดฆ่าหญิงสาวในยุโรป, การตัดคอคนที่ไม่รับพระเจ้าในอินเดีย, หรือการกีดกันการเข้าถึงทรัพยากรเพราะศรัทธาในลิทธิผีคนละตัวกัน เป็นต้น)
อ่านบทความอื่นๆ
เอกโหรา
เอกโหรา - เทคนิคใช้งาน ไท่ส่วย (พฤหัสบดีจรจีน) ให้ได้ผลสำเร็จจริง
จูปีเตอร์ (ดาวพฤหัสบดี) ในแนวคิดความเชื่อโบราณ แทนด้วยความเชื่ิอผีสาง ที่ผันตัวถูกยกขึ้นเป็นเทพเจ้า
King of the Gods , God of the sky and lightning ของทางฝั่งยุโรปสมัยโบราณ
บทความคัดมาจาก blog เอกโหรา (ekhora.com)
เหมาะสำหรับนักโหราศาสตร์ที่ต้องการพัฒนาตนเอง อธิบายไม่มีกั๊ก นำไปใช้ได้จริง
บทความนี้จะเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ส่วนหนึ่ง
นิยามเบื้องต้น
ดาวพฤหัสบดี เป็นตัวแทนของความโชคดี ทั้งยศศักดิ์, โชคลาภ, สุขภาพ, การก่อร่างขยายขอบเขตของอาณาจักร, การศึกษาและสติปัญญาในเชิงเหตุผล เป็นต้น, ส่วนโหราศาสตร์สมัยก่อนมีลักษณะคล้ายวิทยาศาสตร์อยู่เหมือนกันตรงที่ใช้กำหนดวันเพาะปลูก วันเก็บเกี่ยว และรักษามาตรฐาน ขนบธรรมเนียมพร้อมเพรียงกันของสังคม
-----
คำว่า “ไท่ส่วย” ของนักโหราศาสตร์ของจีนโบราณ เทียบได้กับ ดาวพฤหัสบดี
ไท่ส่วยนั้นมีพฤติกรรมหมุนเวียนไปสถิตราศีต่างๆ ปีละหนึ่งราศี ตั้งแต่ชวด – กุน เป็นระยะเวลา 12 ปี เช่นเดียวกับการโคจรของดาวพหัสบดีในปัจจุบัน ที่จะหมุนเวียนรอบพระอาทิตย์ครบ 1 รอบจักรราศี แต่เพราะเทคโนโลยีการคำนวนและเครื่องมือในสมัยโบราณมีข้อจำกัด จึงใช้ค่าตำแหน่งของดาวพฤหัสบดี ว่า 1 รอบปีปฏิทินสุริยคติ เป็น 1 ราศีไปเลย
ไท่ส่วย ทางความเชื่อแบบชาวจีนโบราณ (TAI SUI) ซึ่งแบบออกเป็น 12 แบบ ตาม 12 ราศีที่ดาวพฤหัสบดีจรเข้าไปสถิต จึงให้ผลลัพธ์ที่ต่างไป 12 อย่างหลักๆ
ค่าประมาณการณ์ในสมัยโบราณ
เครื่องมือการคำนวนในสมัยโบราณไม่สามารถเทียบได้กับเทคโนโลยีในปัจจุบัน ฉะนั้นนักโหราศาสตร์ดวงดาวสมัยโบราณจึงใช้ค่าอนุโลม หรือค่าประมาณการณ์ ค่าประมาณการณ์ของโหราศาสตร์สายหลักสมัยโบราณ คือ 30° เราจะพบระยะ 30° นี้ในโหราศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้แผ่นจานทรงกลม (ซึ่งโดยมากเป็น 2 มิติ) อาทิ โหราศาสตร์ 2 ส่วน, 4 ส่วน, 8 ราศี, 12 ราศี, 13 ราศี, 22 ส่วน, 24 ส่วน, 36 ส่วน, 108 ส่วน, 360 ส่วน, 720 ส่วน เป็นต้น
โดยส่วนของการแบ่งที่เท่าๆกันนี้ จะปรากฏในวิชาโหราศาสตร์ภาคดวงดาว, ปฏิทิน, และฮวงจุ้ย ซึ่งนักโหราศาสตร์ภาคคำนวนที่เป็นนักคิด (think tank) ต้องมีความเข้าใจ เพื่อคำนวนด้วยเทคนิคทางคณิตศาสตร์ อันนำไปสู่การกำหนดขอบเขตของเส้นแบ่ง อันใช้อธิบายกำลังของฤดูกาล หรือเหตุการณ์ เช่น การกำหนดเดือนต่างๆในปฏิทิน เป็นต้น
ตัวอย่าง ปฏิทินของชนเผ่ามายา ใน 1 รอบ จะมี 20 ส่วน และ 19 ส่วน เป็นต้น (อ่านต่อ https://en.wikipedia.org/wiki/Maya_calendar)
ตำแหน่งที่แท้จริงของดาวพฤหัสบดี
นักโหราศาสตร์ที่ใส่ใจต้องเลือกปฏิทินดาราศาสตร์ฟ้าจริงที่มีความแม่นยำถูกต้องในระดับฟิลิปดา ซึ่งในสมัยปัจจุบันค่าตัวเลขที่หาได้มีความแม่นยำสูง สามารถนำไปใช้ปฏิบัติการด้านโหราศาสตร์ได้ทันที
ตัวอย่างปฏิทินดาราศาสตร์
1) Stellarium Astronomy Software (https://stellarium.org)
2) ปฏิทินตำแหน่งดวงดาว 30,392 ปี ของ Swiss Ephemeris ที่ความแม่นยำสูงระดับ 0.001 arcseconds (https://ekhora.com/2021/09/27/เอกโหรา-รู้จักปฏิทินตำ/)
การใช้งานดาวพฤหัสบดีในดวงกำเนิด
ภาพ Radix ดวงกำเนิดด้านบนนี้ มีดาวพฤหัสบดีอยู่ที่ 29°16′ ราศีมีน ระบบราศี tropical (ระบบราศีฤดูกาลจริงบนโลก)
เนื่องจากโหราศาสตร์เป็นการอุปมาอุปไมยเหตุการณ์ที่สอดคล้องกับความหมายในขอบเขตที่มีหลักการและวิธีคิดคำนวน เราใช้
1) 0°00′ ของราศีเมษ แทนทิศตะวันออก (จิ้ง) ธาตุไม้ 木
2) 0°00′ ของราศีกรกฏ แทนทิศเหนือ (ค่ำ) ธาตุน้ำ 水
3) 0°00′ ของราศีตุลย์ แทนทิศตะวันตก (ต๋วย) ธาตุทอง 金
4) 0°00′ ของราศีมะกร แทนทิศใต้ (ลี้) ธาตุไฟ 火
เมื่อเทียบกับเข็มทิศในปัจจุบัน
1) 0°00′ ของราศีเมษ เท่ากับ 90°
2) 0°00′ ของราศีกรกฏ เท่ากับ 0°
3) 0°00′ ของราศีตุลย์ เท่ากับ 270°
4) 0°00′ ของราศีมะกร เท่ากับ 180°
เมื่อเทียบได้แล้ว ดาวพฤหัสบดีในดวงของภาพข้างต้น ที่ 29°16′ ราศีมีน จะมีค่าบนเข็มทิศปัจจุบัน เท่ากับ 90°14′
ในทางฮวงจุ้ยเราต้องใช้ระบบจักรราศี tropical (ระบบจักราศีฤดูกาล) เนื่องจาก ฮวงจุ้ยสัมพันธ์โดยตรงกับฤดูกาลและสภาพแวดล้อมจริงบนโลก ทางฮวงจุ้ยนั้นจะใช้ตำแหน่งนี้ แทน หัวเตียงนอน, พนักผิงเก้าอี้ทำงาน, ทิศหลังบ้าน, หรือหากเป็นการเดินทาง คือ เป็นทิศที่เจ้าชะตาควรมุ่งหน้าไป เป็นต้น
ในทางข้าวของเครื่องใช้ เราจะนำตำแหน่งนี้ไปสัมพันธ์กับราศี เรือนชะตาตามความหมายของโหราศาสตร์อินเดีย ยุโรป จีน อาหรับ และอื่นๆ เพื่อสร้างความหมายของข้าวของมงคลให้แก่เจ้าชะตาต่อไป
การใช้งานดาวพฤหัสบดีในดวงจรในเชิงบวก
การใช้งานในลักษณะนี้ เราเน้นหามุมที่มีความสัมพันธ์กับดวงชะตากำเนิด เช่น เจ้าชะตาวัยรุ่นที่สนใจเรื่องความรัก สอบถามว่าช่วงไหนเธอจะมีความรักที่ดีเข้ามา นักโหราศาสตร์ก็หาความสัมพันธ์ของมุมที่เหมาะสมด้านความรัก โดยอาจเลือกพิจารณาดาวศุกร์กำเนิดเทียบกับพฤหัสบดีที่จรเข้ามา โดยมีมุมสัมพันธ์เชิงสร้างสรรค์ อาทิ มุมโยค 60°, 120° และมุมกุม 0° เป็นหลัก
ตัวอย่าง มุมโยค 120° ระหว่างดาวพฤหัสบดี กับดาวศุกร์ ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 18 Aug 2022 อยู่ที่ราศีเมถุน (สมมุติให้ดวงตัวอย่างนี้ดาวศุกร์เป็นดาวในดวงกำเนิด)
สมมุติให้ ดวงกำเนิดมีดาวศุกร์อยู่ที่ 8°02′ ในราศีสิงห์ และสัมพันธ์ 120° กับ ดาวพฤหัสบดีจร 08°02′ ในราศีเมษ (อธิบายเฉพาะบรรทัดที่ 1) ชุดนี้เป็นธาตุไฟ ในช่วงเวลานั้นก่อนวันที่ ถึง – 18 Aug 2022 จะมีลักษณะสอดคล้องด้านโชคลาภและความรักแบบธาตุไฟ และเกี่ยวข้องกับเรือนชะตาอะไร เราก็อ่านความหมายขยายไป ว่าความรักของเธอจะประกอบด้วยความลุ่มหลง ท้าทาย เกิด inspirtion ทำให้เกิดชีวิตชีวาแบบราศีเมษ เป็นต้น
ในการตกแต่งบ้านก็แสนง่ายดาย
การตกแต่งบ้านทางจีนใช้หลัก ซาฮะ (สามประสาน) ซึ่งไม่มีอะไรมากมาย มัน คือ ตรีกูลของธาตุ 120° นั่นเอง
เมื่อพบธาตุสัมพันธ์แล้ว ก็ตั้งจานหลอแกที่จุดศูนย์กลางบ้าน สั่งเปิดปิดช่องลม ทุบรื้อ และวางของตามตำแหน่งของดาวพฤหัสบดีที่สอดคล้อง กับเรือนและราศีนั่นเอง ส่วนการทายวันที่ได้โชค นักโหราศาสตร์ก็รู้อยู่แล้ว พอจัดบ้านเสร็จผลดีงามก็ออกเลย เป็นที่ชื่นชม สมราคา 555
-----------------------------------------
===== ภาคขยายความ =====
สาเหตุที่ดาวพฤหัสบดี ถูกแทนด้วย ไท่ส่วย
ในสมัยโบราณ เทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์และเหตุผลเชิงประจักษ์ของเหตุการณ์ทางกายภาพยังมีไม่มากพอ คนสมัยนั้นไม่สามารถหาคำอธิบายปรากฏการณ์ทั้งดีและร้ายอันเกิดขึ้นได้ ฉะนั้นจึงมีความเชื่อในผี สาง วิญญาณหรืออำนาจที่มองไม่เห็น
โดยหากกลุ่มชนหรือชนเผ่าใดมีบ้านเมืองที่เข้มแข็งด้านทรัพยากรครบครัน ผีที่มีอำนาจตามความเชื่อของผู้นำชนเผ่าหรือกลุ่มชน ก็ถูกยกขึ้นเป็น “พระเจ้าของเผ่า” ไปโดยปริยาย
จากปรากฏการณ์สู่ผีดลบันดาลและสู่เทพเจ้าในเวลาต่อมา
เมื่อถูกยกจากผีขึ้นมาเป็นพระเจ้าผู้สร้าง ผู้ทรง ผู้ดลบันดาล และผู้ทำลายแล้ว ก็เผยแพร่ความเชื่อนั้น ไปยังผู้คนต่างๆ จึงสร้างความหวาดกลัวในอำนาจของผีที่คนยกขึ้นเป็นพระเจ้า แข่งกันว่าพระเจ้า (ผี) ของใครมีอำนาจเหนือกว่ากันโดยพิจารณาจากความยิ่งใหญ่ของอาณาจักร
ในขอบเขตของเอกเชียตะวันออกสมัยโบราณ หลังจากชนชั้นชาวนาชื่อ หลิวปัง ซึ่งเข้าเป็นทหารเลวประจำหมู่บ้าน ในสมัยของรางวงศ์ฉิน กลุ่มของหลิวปังได้รวบรวมดินแดนต่อจากราชวงศ์ฉิน โดยเทคนิคเดิมๆ คือ เข่นฆ่าทำลายผู้คนและทรัพย์สินของคนต่างกลุ่ม และหลิวปังก็สร้างเป็นการปกครองโดยครอบครัวใหม่ ในนาม “ฮั่น”
ในสมัยของหลิวปัง ก็มีผีชนเผ่ามากมาย ทำให้สมัยของราชวงศ์ฮั่น มีพระเจ้ามากมายหลายองค์ ในนั้นก็มีนักโหราศาสตร์ที่ผูกดวงดาวบนฟ้าไว้กับความเชื่อแบบผีเพื่อกล่อมให้กลุ่มชนเชื่อโดยง่าย อันได้แก่ ไท่ส่วย (ดาวพฤหัสบดี) เป็นต้น
ในข้างของทวีปยุโรปสมัยโบราณ ก็ใช่ย่อย นำดาวบนฟ้าไปผูกกับผี เช่นสมัยของกรีก ก็ปรากฏ เทพอะพอลโล (ดวงอาทิตย์) ขึ้นมาให้กราบไหว้สักการะแล้ว
ข้างของอิยิปต์ มีเทพเจ้ารา แทนพระอาทิตย์ และเทพอื่นๆ มากมาย อธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติ
ข้างของอินเดีย ของพราหมณ์ก็นำปรากฏการณ์ธรรมชาติ 3 ไตรลักษณ์ ผู้สร้าง, ผู้รักษา, ผู้ทำลาย เป็นเทพเจ้าแยกออกมาเป็นเรื่องๆ เช่นกัน
ข้างของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แถบลุ่มน้ำโขง ล้านนา ล้านช้าง อาณาจักรขอมโบราณ ก็มีความเชื่อเรื่องผี ที่ผูกพันกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น ยามที่เกิดสุริยุปราคา คือ ราหูเข้าอมอาทิตย์ อมจันทร์ ต้องขับไล่ ราหูออกไป ราหูจึงเปลี่ยนจากปรากฏการณ์ของเงาตกกระทบเป็นเทพเจ้า, หรือยามที่ต้องการให้ฝนตกก็ร้องขอดลบันดาลจากเทพเจ้าในอากาศ เป็นต้น
สรุปว่า เทพเจ้าจำนวนมากเป็นการเชื่อมโยงกับปรากฏการณ์ในโลก เพื่ออธิบายสาเหตุของเหตุการณ์ แต่สร้างผลลัพธ์ด้านภาระการดูแลรักษา สักการะ ทั้งสร้างขวัญกำลังใจและความหวาดกลัวกับผู้คนไปด้วยในตัว แต่อย่างไรก็ตามความเชื่อในเชิงยกขึ้นเป็นเทพเจ้า ก็ได้สร้างชนชั้นนักบวชหรือผู้อุทิศตนให้เป็นผู้มีอำนาจชี้นำสังคมด้วย แม้จะถูกหรือผิดแบบก็ตาม (การล่าแม่มดฆ่าหญิงสาวในยุโรป, การตัดคอคนที่ไม่รับพระเจ้าในอินเดีย, หรือการกีดกันการเข้าถึงทรัพยากรเพราะศรัทธาในลิทธิผีคนละตัวกัน เป็นต้น)
อ่านบทความอื่นๆ เอกโหรา