คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
ขออนุญาตแจมด้วยประสบการณ์ส่วนตัวจากการเพิ่ง overhaul บ้าน
ซื้อบ้านเก่าที่ไม่มีคนอยู่มากว่าสิบปี มาทำใหม่แล้วขยายต่อเติมจากบ้านเดิมค่ะ
ค่าใช้จ่ายพอสมควรอยู่แต่คิดว่าคุ้ม ขอแนะนำดังนี้
1. ลงทุนกับส่วนโครงสร้างพื้นฐานให้แน่นก่อน อย่างอื่นตามมาทีหลังได้
อย่าเพิ่งไปติดกับภาพฝันสวยงาม เพราะของสวยงามพวกเฟอร์ฯกับของตกแต่งเหมือนการแต่งหน้าทาปาก เอาลิปมาปาดเมื่อไร ก็แดงเด้งสวยได้ทันใจเมื่อนั้น
แต่โครงสร้างเหมือนเนื้อผิว ต้องดี ต้องแข็งแรง แล้วจะทำอะไรก็ง่าย
เช่น
อยากต่อครัวเพิ่ม อย่าประหยัดค่าฐานราก อันนี้สำคัญมาก
เข็มต้องลง พื้นต้องแน่น ครัวไม่สวยค่อย ๆ ปรับปรุงไปได้ไม่ยาก
แต่ถ้าพื้นทรุด เรื่องใหญ่จริง ๆ วุ่นวายมาก
ระบบน้ำไฟ ถ้าเก่ามาก อย่าเสียดาย เดินใหม่ทั้งหลังเถอะค่ะ
บ้านถ้าเก่ามาก บางทีระบบสายดินอะไรก็อาจจะไม่มีด้วย เดินใหม่ไปจะดีกว่า
แต่ถ้าหลังเดิมมี diagram ครบถ้วน รู้ว่าตรงไหน jump จากตรงไหนมา แบบนั้น ก็ใช้ของเก่าก็ได้
ถ้าไม่แน่ใจ เดินใหม่เถิดค่ะ
น้ำก็เช่นกัน ปัญหาเยอะมาก บ้านเก่า บางทีเจอปัญหาท่อประปาใต้ดินแตก
หูยยยยย ... บางทีมาเจอหลังเราปูกระเบื้องทับไปแล้วนี่ดูไม่จืดจริง ๆ ยุ่งยากวุ่นวายมาก
เรื่องปลวก รางน้ำ โครงสร้าง (หลังคา รางระบายน้ำ)
จัดการให้เรียบร้อยเสียตั้งแต่ตอนเริ่ม renovate
เพราะอาจต้องเดินท่อน้ำยา
เรื่องนี้จำเป็นมาก โดยเฉพาะบ้านทาวน์เฮ้าส์ที่อยู่ติด ๆ กัน นี่เคยอยู่มา
เรียกคนกำจัดปลวกมาาแบบเดือนเว้นเดือนเลย เค้าบอกว่าบ้านที่อยู่ติด ๆ กัน บางทีบ้านนี้กำจัดปลวก มันก็จะอพยพมาอีกบ้านนึง
ทีนี้ ถ้ามีท่อเดินน้ำยา หรือจุดอัดน้ำยา ลงทุนไปเลย ไม่งั้นถ้าทำ built-in โอกาสโดนปลวกแทะแล้วต้องรื้อทิ้ง สูงมาก
2. คำนึงถึง function การใช้งานก่อนออกแบบหรือบรีฟงาน
เช่น ปกติ เราทำกับข้าวเยอะไหม ? ทำงานเยอะไหม ? หนังสือเยอะไหม
ถ้าเนื้อที่จำกัด อย่ายัดทุก function ลงไปในบ้าน มันจะแน่นนนนไปหมดค่ะ
บ้านใหม่เน้นโปร่งกับนั่งทำงาน ไม่เอาโต๊ะกินข้าว
อยากกินข้าว โน่น...กลับบ้านเก่า
ไม่เน้นโต๊ะกลาง ก็วางแต่โซฟาตัว L ที่ดึงเป็น sofa bed ออกมานอนเขลงได้
แต่ถ้าชอบสังสรรค์ ชอบนั่งทำงานด้วย ชอบนั่งคุยที่โต๊ะด้วย เผลอ ๆ อาจเอาโต๊ะ ergo เรียบ ๆ ยาว ๆ มาทำเป็นโต๊ะกินข้าวได้ค่ะ
นั่งได้สัก 4-6 ที่ ตั้งในตำแหน่งที่เดินได้รอบ โต๊ะแบบนี้ปรับระดับสูงต่ำได้ด้วย
3. ลงทุนกับห้องน้ำ อุปกรณ์ทุกสิ่งห้องน้ำ พังแล้วชห.มาก
เห็นด้วย ห้องน้ำควรลงทุน ถ้าเป็นไปได้แยกส่วนเปียกแห้ง จะง่ายต่อการ maintain และดูแล
ถ้าที่น้อย ใช้พื้นต่างระดับ (ต่างระดับสัก 5 ซม.- 10 ซม. ก็รอดแล้วค่ะ) แยกส่วนเปียกแห้ง เอาม่านกั้น ก็ได้แล้วค่ะ ไม่แพงด้วย
ถ้ามีผู้สูงอายุอยู่ด้วย พื้นต่างระดับ ใช้คนละสี จะได้สังเกตได้ง่าย แล้วอาจมีทางลาดเล็ก ๆ เผื่อต้องเข็น wheelchair ไปอาบน้ำให้ท่าน
และไม่ลืม ที่เกาะตามห้องน้ำสำหรับตามจุดต่าง ๆ ด้วย
จุดตั้งน้ำอุ่นอย่าลืมต่อสายดิน
เจาะใส่ glassblock เยอะ ๆ ติดตั้งช่องหน้าต่างระบายอากาศ หรือพัดลมระบายอากาศ
อันนี้ สำคัญมาก ห้องน้ำ ถ้าอับแล้ว ก้านหอมยี่ห้ออะไรก็เอาไม่อยู่
อ้อ...อาจต่อวงจรให้เปิดไฟแล้ว พัดลมดูดอากาศทำงานอัตโนมัติเลยก็ได้ค่ะ
ถ้าห้องน้ำปิด เลือกใช้กลอนสับ อย่าใช้ลูกบิด
เพื่อนเคยเจอ ทาวน์โฮมไฮโซ ลูกบิดห้องน้ำเปิดไม่ออก ติดอยู่อย่างนั้นเกือบ 9 ชม.
ฝันร้ายมาก
อ้อ... ตู้เก็บของในห้องน้ำก็จำเป็นมากนะคะ
4. พื้นควรดูแลรักษาง่ายที่สุด ไม่เก็บฝุ่น
เห็นด้วยค่ะ
ส่วนตัวถ้าเป็นบ้าน ชอบพื้นสีอ่อน แต่ไม่ขาวโพลน เช่นพวกสีเทาควันบุหรี่ เพราะรู้สึกว่า สะอาดตา แต่ไม่เลอะง่าย
และทำให้บ้านดูสว่างด้วยค่ะ
5. วางแผนเรื่องการหมุนเวียนถ่ายเทอากาศในบ้านให้ดี ห้ามอับ ชื้น พัดลมดูดอากาศจุดไหนควรมีต้องมี
คอมเพรสเซอร์แอร์ซ่อนให้สวย
ไม้ควรใช้ของดี หรือใช้แบบเทียมไปเลย
จำเป็นมาก ๆ ค่ะ เรื่องการหมุนเวียนถ่ายเทอากาศ หน้าต่าง มุ้งลวดดี ๆ จำเป็นมาก เพื่อให้บ้านโปร่ง และไม่อับ
คอมเพรสเซอร์แอร์ ส่วนตัว ไม่ซ่อนค่ะ 555
ชอบแบบเปิด ๆ จะได้ดูแลง่าย ซ่อมแซมง่าย ถ้ามีอะไรต้องไปจัดการ
ไม้ --- ควรใช้ตามงบค่ะ 555 เพราะไม้แพงมากกกกกจริง ๆ
สิ่งสำคัญคือฝีมือประกอบของช่างมากกว่า
ส่วนตัวเน้นทน ทำความสะอาดง่าย มากกว่าสวย เพราะของสวย ถ้าทำความสะอาดยุ่งยากนัก
เราจะไม่ได้ทำความสะอาด และมันจะกลายเป็นไม่สวย
6. สีนอกอาคารในอาคาร ควรลงทุนมากๆ
ต้องคุมช่างตอนลอกสีเก่า และใช้รองพื้นให้ดีด้วยค่ะ
สีนอกอาคารสำคัญเป็นที่สุด ถ้ารองพื้นไม่ดี ทาไม่ดี เวลาทาใหม่ ค่าทาแพงมาก
ส่วนในอาคารนี่ ถ้างบน้อย drop ลงมาหน่อยได้ เพราะทาง่าย ซ่อมง่าย
เบื่อ ๆ ก็อาจใช้ wallpaper มาเปลี่ยนแทน
7. อย่าเพิ่งรีบซื้อเฟอร์นิเจอร์ตัวลอย เว้นแต่ตัวที่หมายหัวไว้จริงๆ วัดความกว้าง สูง ยาวรอไว้ทำกล่องได้ กล่องตู้เย็น เครื่องล้างจาน อบผ้าด้วย
ส่วนตัวไม่ค่อยชอบ built-in เพราะเคยเจอเรื่องปลวกมาเยอะ เลยแหยงมาก
แต่ถ้าที่จำกัด ทำ built-in เรียบร้อยดีค่ะ
ถ้ากินแบบโครมคราม ชอบใช้จานกระเบื้อง มีปาร์ตี้บ่อย
ไม่แนะนำให้ใช้ตู้แขวนลอยเลย เพราะเคยเห็นตัวอย่าง หล่นโครมลงมาแล้ว
บ้านเพื่อนใช้ตู้ไม้ตั้งพื้นแบบบานเปิดเป็นกระจก โชว์จานกระเบื้องสวย ๆ ที่หยิบใช้งานตามปกติ รู้สึกว่า practical ดีค่ะ
เครื่องอบผ้า จริง ๆ เหมือนเป็นตัวช่วยมากกว่า ใช้มากก็เปลือง
ที่บ้านตากนอกบ้านไว้ก่อนค่ะ พอใกล้ ๆ จะเย็นแล้ว มันยังไม่แห้ง เก็บมาอบให้แห้งอีกที ทำแบบนี้ไม่เปลือง
8. อย่างกกับสวิชไฟ ปลั๊กไฟ ทำรอไว้ให้รอบคอบ
บอกเลยว่า ห้อง 4 มุม ควรมีจุดสวิทช์ไปสักมุมละ 2 จุด ไม่งั้นปลั๊กต่อปลั๊กพ่วงระโยงระยางทั่วบ้านแน่
จุดไหนที่อาจเปียก เลือกกล่องสวิทช์แบบมีฝาปิดเปิดได้กันน้ำนะคะ
9. ควรมีห้องเก็บเครื่องมือช่าง และจุดซ่อน เว้นที่ให้พัดลม อุปกรณ์ทำความสะอาด
จริง ๆ ถ้ามีที่เหลือ ควรมีห้องเก็บของเลยค่ะ จำเป็นจริง ๆ
นี่ลืมคิดถึง function นี้ตอนมีบ้าน
อยู่กัน 5 คน ขนาดเคลียร์บ้านบ่อย ๆ แล้ว ยังมีปัญหาของไม่มีที่เก็บ
ของที่ใช้ประจำแล้วต้องติดมือ อย่างไม้กวาด ที่โกย หาขอแขวนเป็นระยะ ไว้ทั่วบ้านเลยค่ะ
เวลาหยิบฉวยมากวาดมาเช็ดจะได้สะดวก
ซื้อบ้านเก่าที่ไม่มีคนอยู่มากว่าสิบปี มาทำใหม่แล้วขยายต่อเติมจากบ้านเดิมค่ะ
ค่าใช้จ่ายพอสมควรอยู่แต่คิดว่าคุ้ม ขอแนะนำดังนี้
1. ลงทุนกับส่วนโครงสร้างพื้นฐานให้แน่นก่อน อย่างอื่นตามมาทีหลังได้
อย่าเพิ่งไปติดกับภาพฝันสวยงาม เพราะของสวยงามพวกเฟอร์ฯกับของตกแต่งเหมือนการแต่งหน้าทาปาก เอาลิปมาปาดเมื่อไร ก็แดงเด้งสวยได้ทันใจเมื่อนั้น
แต่โครงสร้างเหมือนเนื้อผิว ต้องดี ต้องแข็งแรง แล้วจะทำอะไรก็ง่าย
เช่น
อยากต่อครัวเพิ่ม อย่าประหยัดค่าฐานราก อันนี้สำคัญมาก
เข็มต้องลง พื้นต้องแน่น ครัวไม่สวยค่อย ๆ ปรับปรุงไปได้ไม่ยาก
แต่ถ้าพื้นทรุด เรื่องใหญ่จริง ๆ วุ่นวายมาก
ระบบน้ำไฟ ถ้าเก่ามาก อย่าเสียดาย เดินใหม่ทั้งหลังเถอะค่ะ
บ้านถ้าเก่ามาก บางทีระบบสายดินอะไรก็อาจจะไม่มีด้วย เดินใหม่ไปจะดีกว่า
แต่ถ้าหลังเดิมมี diagram ครบถ้วน รู้ว่าตรงไหน jump จากตรงไหนมา แบบนั้น ก็ใช้ของเก่าก็ได้
ถ้าไม่แน่ใจ เดินใหม่เถิดค่ะ
น้ำก็เช่นกัน ปัญหาเยอะมาก บ้านเก่า บางทีเจอปัญหาท่อประปาใต้ดินแตก
หูยยยยย ... บางทีมาเจอหลังเราปูกระเบื้องทับไปแล้วนี่ดูไม่จืดจริง ๆ ยุ่งยากวุ่นวายมาก
เรื่องปลวก รางน้ำ โครงสร้าง (หลังคา รางระบายน้ำ)
จัดการให้เรียบร้อยเสียตั้งแต่ตอนเริ่ม renovate
เพราะอาจต้องเดินท่อน้ำยา
เรื่องนี้จำเป็นมาก โดยเฉพาะบ้านทาวน์เฮ้าส์ที่อยู่ติด ๆ กัน นี่เคยอยู่มา
เรียกคนกำจัดปลวกมาาแบบเดือนเว้นเดือนเลย เค้าบอกว่าบ้านที่อยู่ติด ๆ กัน บางทีบ้านนี้กำจัดปลวก มันก็จะอพยพมาอีกบ้านนึง
ทีนี้ ถ้ามีท่อเดินน้ำยา หรือจุดอัดน้ำยา ลงทุนไปเลย ไม่งั้นถ้าทำ built-in โอกาสโดนปลวกแทะแล้วต้องรื้อทิ้ง สูงมาก
2. คำนึงถึง function การใช้งานก่อนออกแบบหรือบรีฟงาน
เช่น ปกติ เราทำกับข้าวเยอะไหม ? ทำงานเยอะไหม ? หนังสือเยอะไหม
ถ้าเนื้อที่จำกัด อย่ายัดทุก function ลงไปในบ้าน มันจะแน่นนนนไปหมดค่ะ
บ้านใหม่เน้นโปร่งกับนั่งทำงาน ไม่เอาโต๊ะกินข้าว
อยากกินข้าว โน่น...กลับบ้านเก่า
ไม่เน้นโต๊ะกลาง ก็วางแต่โซฟาตัว L ที่ดึงเป็น sofa bed ออกมานอนเขลงได้
แต่ถ้าชอบสังสรรค์ ชอบนั่งทำงานด้วย ชอบนั่งคุยที่โต๊ะด้วย เผลอ ๆ อาจเอาโต๊ะ ergo เรียบ ๆ ยาว ๆ มาทำเป็นโต๊ะกินข้าวได้ค่ะ
นั่งได้สัก 4-6 ที่ ตั้งในตำแหน่งที่เดินได้รอบ โต๊ะแบบนี้ปรับระดับสูงต่ำได้ด้วย
3. ลงทุนกับห้องน้ำ อุปกรณ์ทุกสิ่งห้องน้ำ พังแล้วชห.มาก
เห็นด้วย ห้องน้ำควรลงทุน ถ้าเป็นไปได้แยกส่วนเปียกแห้ง จะง่ายต่อการ maintain และดูแล
ถ้าที่น้อย ใช้พื้นต่างระดับ (ต่างระดับสัก 5 ซม.- 10 ซม. ก็รอดแล้วค่ะ) แยกส่วนเปียกแห้ง เอาม่านกั้น ก็ได้แล้วค่ะ ไม่แพงด้วย
ถ้ามีผู้สูงอายุอยู่ด้วย พื้นต่างระดับ ใช้คนละสี จะได้สังเกตได้ง่าย แล้วอาจมีทางลาดเล็ก ๆ เผื่อต้องเข็น wheelchair ไปอาบน้ำให้ท่าน
และไม่ลืม ที่เกาะตามห้องน้ำสำหรับตามจุดต่าง ๆ ด้วย
จุดตั้งน้ำอุ่นอย่าลืมต่อสายดิน
เจาะใส่ glassblock เยอะ ๆ ติดตั้งช่องหน้าต่างระบายอากาศ หรือพัดลมระบายอากาศ
อันนี้ สำคัญมาก ห้องน้ำ ถ้าอับแล้ว ก้านหอมยี่ห้ออะไรก็เอาไม่อยู่
อ้อ...อาจต่อวงจรให้เปิดไฟแล้ว พัดลมดูดอากาศทำงานอัตโนมัติเลยก็ได้ค่ะ
ถ้าห้องน้ำปิด เลือกใช้กลอนสับ อย่าใช้ลูกบิด
เพื่อนเคยเจอ ทาวน์โฮมไฮโซ ลูกบิดห้องน้ำเปิดไม่ออก ติดอยู่อย่างนั้นเกือบ 9 ชม.
ฝันร้ายมาก
อ้อ... ตู้เก็บของในห้องน้ำก็จำเป็นมากนะคะ
4. พื้นควรดูแลรักษาง่ายที่สุด ไม่เก็บฝุ่น
เห็นด้วยค่ะ
ส่วนตัวถ้าเป็นบ้าน ชอบพื้นสีอ่อน แต่ไม่ขาวโพลน เช่นพวกสีเทาควันบุหรี่ เพราะรู้สึกว่า สะอาดตา แต่ไม่เลอะง่าย
และทำให้บ้านดูสว่างด้วยค่ะ
5. วางแผนเรื่องการหมุนเวียนถ่ายเทอากาศในบ้านให้ดี ห้ามอับ ชื้น พัดลมดูดอากาศจุดไหนควรมีต้องมี
คอมเพรสเซอร์แอร์ซ่อนให้สวย
ไม้ควรใช้ของดี หรือใช้แบบเทียมไปเลย
จำเป็นมาก ๆ ค่ะ เรื่องการหมุนเวียนถ่ายเทอากาศ หน้าต่าง มุ้งลวดดี ๆ จำเป็นมาก เพื่อให้บ้านโปร่ง และไม่อับ
คอมเพรสเซอร์แอร์ ส่วนตัว ไม่ซ่อนค่ะ 555
ชอบแบบเปิด ๆ จะได้ดูแลง่าย ซ่อมแซมง่าย ถ้ามีอะไรต้องไปจัดการ
ไม้ --- ควรใช้ตามงบค่ะ 555 เพราะไม้แพงมากกกกกจริง ๆ
สิ่งสำคัญคือฝีมือประกอบของช่างมากกว่า
ส่วนตัวเน้นทน ทำความสะอาดง่าย มากกว่าสวย เพราะของสวย ถ้าทำความสะอาดยุ่งยากนัก
เราจะไม่ได้ทำความสะอาด และมันจะกลายเป็นไม่สวย
6. สีนอกอาคารในอาคาร ควรลงทุนมากๆ
ต้องคุมช่างตอนลอกสีเก่า และใช้รองพื้นให้ดีด้วยค่ะ
สีนอกอาคารสำคัญเป็นที่สุด ถ้ารองพื้นไม่ดี ทาไม่ดี เวลาทาใหม่ ค่าทาแพงมาก
ส่วนในอาคารนี่ ถ้างบน้อย drop ลงมาหน่อยได้ เพราะทาง่าย ซ่อมง่าย
เบื่อ ๆ ก็อาจใช้ wallpaper มาเปลี่ยนแทน
7. อย่าเพิ่งรีบซื้อเฟอร์นิเจอร์ตัวลอย เว้นแต่ตัวที่หมายหัวไว้จริงๆ วัดความกว้าง สูง ยาวรอไว้ทำกล่องได้ กล่องตู้เย็น เครื่องล้างจาน อบผ้าด้วย
ส่วนตัวไม่ค่อยชอบ built-in เพราะเคยเจอเรื่องปลวกมาเยอะ เลยแหยงมาก
แต่ถ้าที่จำกัด ทำ built-in เรียบร้อยดีค่ะ
ถ้ากินแบบโครมคราม ชอบใช้จานกระเบื้อง มีปาร์ตี้บ่อย
ไม่แนะนำให้ใช้ตู้แขวนลอยเลย เพราะเคยเห็นตัวอย่าง หล่นโครมลงมาแล้ว
บ้านเพื่อนใช้ตู้ไม้ตั้งพื้นแบบบานเปิดเป็นกระจก โชว์จานกระเบื้องสวย ๆ ที่หยิบใช้งานตามปกติ รู้สึกว่า practical ดีค่ะ
เครื่องอบผ้า จริง ๆ เหมือนเป็นตัวช่วยมากกว่า ใช้มากก็เปลือง
ที่บ้านตากนอกบ้านไว้ก่อนค่ะ พอใกล้ ๆ จะเย็นแล้ว มันยังไม่แห้ง เก็บมาอบให้แห้งอีกที ทำแบบนี้ไม่เปลือง
8. อย่างกกับสวิชไฟ ปลั๊กไฟ ทำรอไว้ให้รอบคอบ
บอกเลยว่า ห้อง 4 มุม ควรมีจุดสวิทช์ไปสักมุมละ 2 จุด ไม่งั้นปลั๊กต่อปลั๊กพ่วงระโยงระยางทั่วบ้านแน่
จุดไหนที่อาจเปียก เลือกกล่องสวิทช์แบบมีฝาปิดเปิดได้กันน้ำนะคะ
9. ควรมีห้องเก็บเครื่องมือช่าง และจุดซ่อน เว้นที่ให้พัดลม อุปกรณ์ทำความสะอาด
จริง ๆ ถ้ามีที่เหลือ ควรมีห้องเก็บของเลยค่ะ จำเป็นจริง ๆ
นี่ลืมคิดถึง function นี้ตอนมีบ้าน
อยู่กัน 5 คน ขนาดเคลียร์บ้านบ่อย ๆ แล้ว ยังมีปัญหาของไม่มีที่เก็บ
ของที่ใช้ประจำแล้วต้องติดมือ อย่างไม้กวาด ที่โกย หาขอแขวนเป็นระยะ ไว้ทั่วบ้านเลยค่ะ
เวลาหยิบฉวยมากวาดมาเช็ดจะได้สะดวก
แสดงความคิดเห็น
บทเรียนสำคัญอะไรบ้างที่คุณได้ "เมื่อทำบ้าน"??
อย่างตัวคิสเองที่ไม่เคยทำบ้านเลยพบว่า
- ลงทุนกับห้องน้ำ อุปกรณ์ทุกสิ่งห้องน้ำ พังแล้วชห.มาก
- ระวังเรื่องปลวก น้ำรั่วซึม ระบายน้ำฝน
- พื้นควรดูแลรักษาง่ายที่สุด ไม่เก็บฝุ่น
- วางแผนเรื่องการหมุนเวียนถ่ายเทอากาศในบ้านให้ดี ห้ามอับ ชื้น พัดลมดูดอากาศจุดไหนควรมีต้องมี
- คอมเพรสเซอร์แอร์ซ่อนให้สวย
- ไม้ควรใช้ของดี หรือใช้แบบเทียมไปเลย
- สีนอกอาคารในอาคาร ควรลงทุนมากๆ
- อย่าเพิ่งรีบซื้อเฟอร์นิเจอร์ตัวลอย เว้นแต่ตัวที่หมายหัวไว้จริงๆ วัดความกว้าง สูง ยาวรอไว้ทำกล่องได้ กล่องตู้เย็น เครื่องล้างจาน อบผ้าด้วย
- อย่างกกับสวิชไฟ ปลั๊กไฟ ทำรอไว้ให้รอบคอบ
- ควรมีห้องเก็บเครื่องมือช่าง และจุดซ่อน เว้นที่ให้พัดลม อุปกรณ์ทำความสะอาด
คร่าวๆของคิสที่นึกออกตอนนี้ก็ประมาณนี้ค่ะ แชร์กันให้เป็นความรู้กับคนที่สนใจจะทำบ้านด้วยกัน คิสมีเรื่องที่ต้องเรียนรู้ใหม่หมดเลย