หลายๆ ท่านที่เดินทางผ่านไปผ่านมาบนถนนวัวลาย รวมไปถึงช่วงเย็นวันเสาร์ที่มี "ถนนคนเดิน-ย่านวัวลาย"
อันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญทางเศรษฐกิจของเชียงใหม่มายาวนานทีเดียว เรามารู้จักกับที่มาที่ไปว่ามีประวัติศาสตร์เป็นมาอย่างไร
........................
...รูปวัวลาย หรือ "งัวลาย" เป็นสิ่งที่ชาวบ้านวัวลายนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของหมู่บ้านมานานแล้ว
สัญลักษณ์รูปวัวตัวลาย ๓ ตัวที่ตั้งตระหง่านอยู่ริมถนนวัวลาย ใต้ป้ายชื่อวัดหมื่นสารบริเวณปากทางเข้าวัดหมื่นสาร
เป็นสัญลักษณ์ของชาวบ้านหมื่นสารวัวลาย ที่ชาวบ้านร่วมบริจาคทุนทรัพย์จัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๔
โดยมีพ่อหนานเมืองใจ ไชยชนะ ผู้นำชาวบ้านหมื่นสารวัวลายในขณะนั้นเป็นผู้ริเริ่ม
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายแสดงถึงความเป็นชาวบ้านวัวลายที่มีประวัติศาสตร์ช่างเงินอันยาวนาน
เป็นสิ่งที่แสดงถึงความสมัครสมานสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของชาวบ้านวัวลาย
การนำเอาวัวตัวลายมาเป็นสัญลักษณ์ของหมู่บ้าน และชาวบ้านหมื่นสารวัวลายมีมานานหลายปีมาแล้ว
โดยมีการนำรูปวัวลายมาทำเป็นกระทงบนแพหยวกกล้วยเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๗๗ มีขบวนแห่ไปลอยที่แม่น้ำปิง
ต่อมาก็ได้มีการนำเอารูปวัวลายมาใช้เป็นสัญลักษณ์บ้านวัวลายมาโดยตลอด
เช่น การนำรูปวัวลายพิมพ์ลงด้านหลังเสื้อม่อฮ่อมที่ชาววัวลายสวมใส่ทุกครั้งเมื่อมีการจัดกิจกรรมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่
หรือกิจกรรมทางศาสนาในนามของชาวบ้านวัวลาย
การจัดขบวนกลุ่มหนุ่มสาววัดหมื่นสารเพื่อเข้าร่วมขบวนสรงน้ำพระในวันสงกรานต์รอบเมืองเชียงใหม่
กิจกรรมประเพณียี่เป็ง และขบวนครัวทานงานผ้าป่าปอยหลวงวัดต่าง ๆ เป็นต้น
...หมู่บ้านวัวลายในปัจจุบันนี้เดิมเป็นหมุ่บ้านแห่งหนึ่งซึ่งอยู่แขวงเมืองปั๋นแถบลุ่มแม่น้ำสาละวิน (แม่น้ำคง)
อยู่ฝั่งตะวันตก เป็นรัฐที่ตั้งของไทยใหญ่
ซึ่งมีเขตแดนทางทิศใต้และทิศตะวันออกอยู่ติดกับเขตอำเภอเชียงดาวและอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
ทิศเหนือติดกับเขตรัฐเชียงตุง (ปัจจุบันคือที่มั่นเขตไทยใหญ่ที่ถูกทหารพม่าขับไล่แตกกระจายเผาบ้านเรือนที่มั่นเดิมเสียหาย
วอดวาย ชาวไทยใหญ่จึงแตกกระจายหนีไปอยู่คนละทิศคนละทาง ส่วนมากอยู่ตามแนวตะเข็บชายแดนไทย)
...ความเป็นมาของหมู่บ้านวัวลาย ที่อพยพมาอยู่ที่เชียงใหม่นี้ มีปรากฏอยู่ในพงศาวดารโยนกและตำนานราชวงศ์ปกรณ์เชียงใหม่ว่า
ในสมัยพระเจ้ากาวิละ (พ.ศ.๒๓๒๓-๒๓๕๖) ใช้นโยบายเรียกว่า "เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง"
พระองค์ได้ส่งกองทัพออกไปตีเมืองต่างๆ ในรัฐไทยใหญ่ ไทยลื้อ (สิบสองปันนา)
เมื่อตีได้แล้วก็กวาดต้อนเอาผู้คนมาไว้ที่เมืองเชียงใหม่ เพื่อเป็นการเพิ่มกำลังของเมืองเชียงใหม่มากขึ้น
...บรรดาหัวเมืองต่างๆ ที่ถูกกวาดต้อนมา เอาผู้คนมาไว้ที่เมืองเชียงใหม่ เช่น เมืองเลน เมืองวะ เมืองขอน เมืองพยาก
เมืองโก ซึ่งตั้งอยู่ที่ อำเภอสันทราย เมืองลวง อำเภอดอยสะเก็ด เมืองหลวย เมืองออน อยู่ที่สันกำแพง
เชียงแสน เชียงของ อยู่ที่อำเภอสารภี เมืองสาตร์ เมืองกาย เมืองมาง เมืองลัง บ้านเขิน บ้านงัวลาย บ้านสะต๋อย
อยู่ในเขตอำเภอเมือง พวกที่ถูกกวาดต้อนมาส่วนมากจะเป็นพวกช่างที่มีฝีมือต่างๆ หลากหลายกันออกไป
เช่น ช่างเคี่ยนไม้ ช่างกระดาษ ช่างฆ้อง ช่างแต้ม (วาด) ช่างเขิน ช่างเงิน เป็นต้น
ช่างเหล่านี้ถูกนำมาไว้ในตัวเมืองเพื่อทำความเจริญให้แก่บ้านเมือง
บ้านวัวลายนั้นเป็นช่างทำเครื่องเงิน ก็ให้มาอยู่ ณ ที่บริเวณกำแพงเมืองชั้นนอก จึงได้ตั้งชื่อตามที่อยู่เดิม
คือ บ้านวัวลาย ซึ่งมีอาชีพการทำเครื่องเงินเป็นหลัก
...ในปี พ.ศ.๒๕๓๔ วันที่ ๑๓ เมษายน พระครูสุทธิจิตตาภิรัต เจ้าอาวาสวัดหมื่นสาร พร้อมด้วยคณะศรัทธา
ได้มอบหมายให้นายสุรศักดิ์ กันทวงค์ (สล่าศักดิ์) ได้ช่วยกันทำการปั้นรูปวัวลายตัวนี้ขึ้นมาไว้เป็นสัญลักษณ์ของหมู่บ้าน
เพราะว่าตามตำนานแต่เดิมบ้านวัวลายที่เมืองปั่นนั้น มีสภาพอยู่ลุ่มสันเขา มีลำห้วยไหลลงมาสู่แม่น้ำคง
บนเขาสูงป่าใหญ่นั้นก็มีถ้ำใหญ่ ในถ้ำนั้นมีงัววิเศษ มีเขาเป็นแก้ว ตัวลายดำ (ทอง)
ในวันดีคืนดีวัวลายตัวนี้ก็จะออกถ้ำมาหาอาหารกิน ก็จะถ่ายมูลออกมาเป็น แร่ เงิน คำ ไว้ตามลำห้วย
เมื่อชาวบ้านที่อาศัยอยู่ได้ไปพบปะ จึงช่วยกันไปร่อนเอามา นำมาทำเป็นเครื่องใช้อื่นๆ
เช่น สลุง ขัน ขันเซี่ยนหมาก ทำเป็นเครื่องประดับแต่งกาย
บ้านไหนหาได้มากก็ตกแต่งให้คนในครอบครัวเป็นที่เชิดหน้าชูตาในกลุ่มชาวบ้านเดียวกันและใกล้เคียง
ต่อมาก็เริ่มขยายออกไปยังเมืองใกล้เคียงต่างๆ จึงเป็นที่กำเนิดชุมชนช่างขึ้น ณ ที่บ้านงัวลายแห่งนี้
ซึ่งจะมีช่างฝีมือดีๆ มาก
เพราะฉะนั้นเมื่อถูกกวาดต้อนมาไว้ ณ เมืองเชียงใหม่ ก็ได้ตั้งชื่อว่า "บ้านวัวลาย" ตามชื่อเดิม
เมื่อมาอยู่บ้านงัวลายก็ได้เจริญรุ่งเรืองมาก
ในอดีตบ้านงัวลายได้เป็นชุมชนช่างขนาดใหญ่ เกือบทั้งหมดของประชากรในหมู่บ้านจะทำเครื่องเงินทุกหลังคาเรือน
จนส่งลูกหลานเรียนหนังสือ บรรดาลูกหลานก็ไปรับราชการ ทำงานบริษัท ก็เลยขาดช่างผู้สืบทอด
ผู้ที่สูงอายุก็เลิกทำไป ปัจจุบันก็เลยเหลือลดลงตามวิถีชีวิต เหลือประมาณไม่ถึง ๕๐ ครัวเรือนที่ยังทำอยู่
และเปลี่ยนรูปแบบจากการทำเครื่องเงินไปเป็นใช้วัสดุอื่นๆ มาทดแทนเงิน เช่น ทองเหลือง ทองแดง
ดีบุก สแตนเลส สังกะสี อลูมิเนียม เพราะราคาจะถูกลงกว่าเครื่องเงิน แต่ฝีมือก็ยังปรากฏอยู่เหมือนเดิม
...ในการจัดสร้างรูปปูนปั้น "งัวลาย" ครั้งล่าสุดเมื่อประมาณปลายปี พ.ศ.๒๕๔๓
โดยการรวมตัวของช่างฝีมือเครื่องเงินบ้านวัวลายร่วมแรงร่วมใจกันสร้างรูปปูนปั้นสัญลักษณ์ชาวบ้านหมื่นสารวัวลายขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ของชาวบ้านวัวลายในการจัดกิจกรรมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมในโอกาสต่าง ๆ
รูปปูนปั้นดังกล่าวได้จัดสร้างขนาดเท่าของจริง เป็นผลงานของช่างฝีมือเครื่องเงินบ้านวัวลาย
โดยมีนายสุรศักดิ์ กันทวงศ์ เป็นสล่าเก๊า ใช้เวลาปั้นรวมทั้งสิ้น ๖ เดือน ๑๓ วัน
โดยใช้เงินบริจาคจากคณะศรัทธาชาวบ้านวัวลาย และได้มีการจัดพิธีฉลองสมโภชรูปปั้น "งัวลาย" เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๓
................................................................
<<< บันทึกท้ายกระทู้ >>>
...............................................................
...กระทู้นี้ด้วยความตั้งใจถ่ายทอดให้นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวถนนวัวลาย จนมาถึงรูปปั้น "วัวลาย" ด้านหน้าทางเข้าวัดหมื่นสาร
ทราบที่มาที่ไปว่าเป็นมาอย่างไร และชุมชนละแวกนี้มีสล่าหรือช่างฝีมือเก่งๆ ย่อมเชื่อมั่นได้ว่า เครื่องเงินที่ชุมชนนี้
ล้วนสร้างขึ้นด้วยช่างหรือสล่าที่มีฝีมือมากๆ รับรองได้ว่า เป็นของที่คุ้มค่าครับ
เชียงใหม่-วัวลายมาจากไหน ทำไมต้องมีวัวลาย รู้จักที่มาที่ไปของวัวลาย แหล่ง "สล่า" เครื่องเงินที่มีที่มาอันยาวนาน
หลายๆ ท่านที่เดินทางผ่านไปผ่านมาบนถนนวัวลาย รวมไปถึงช่วงเย็นวันเสาร์ที่มี "ถนนคนเดิน-ย่านวัวลาย"
อันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญทางเศรษฐกิจของเชียงใหม่มายาวนานทีเดียว เรามารู้จักกับที่มาที่ไปว่ามีประวัติศาสตร์เป็นมาอย่างไร
........................
...รูปวัวลาย หรือ "งัวลาย" เป็นสิ่งที่ชาวบ้านวัวลายนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของหมู่บ้านมานานแล้ว
สัญลักษณ์รูปวัวตัวลาย ๓ ตัวที่ตั้งตระหง่านอยู่ริมถนนวัวลาย ใต้ป้ายชื่อวัดหมื่นสารบริเวณปากทางเข้าวัดหมื่นสาร
เป็นสัญลักษณ์ของชาวบ้านหมื่นสารวัวลาย ที่ชาวบ้านร่วมบริจาคทุนทรัพย์จัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๔
โดยมีพ่อหนานเมืองใจ ไชยชนะ ผู้นำชาวบ้านหมื่นสารวัวลายในขณะนั้นเป็นผู้ริเริ่ม
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายแสดงถึงความเป็นชาวบ้านวัวลายที่มีประวัติศาสตร์ช่างเงินอันยาวนาน
เป็นสิ่งที่แสดงถึงความสมัครสมานสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของชาวบ้านวัวลาย
การนำเอาวัวตัวลายมาเป็นสัญลักษณ์ของหมู่บ้าน และชาวบ้านหมื่นสารวัวลายมีมานานหลายปีมาแล้ว
โดยมีการนำรูปวัวลายมาทำเป็นกระทงบนแพหยวกกล้วยเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๗๗ มีขบวนแห่ไปลอยที่แม่น้ำปิง
ต่อมาก็ได้มีการนำเอารูปวัวลายมาใช้เป็นสัญลักษณ์บ้านวัวลายมาโดยตลอด
เช่น การนำรูปวัวลายพิมพ์ลงด้านหลังเสื้อม่อฮ่อมที่ชาววัวลายสวมใส่ทุกครั้งเมื่อมีการจัดกิจกรรมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่
หรือกิจกรรมทางศาสนาในนามของชาวบ้านวัวลาย
การจัดขบวนกลุ่มหนุ่มสาววัดหมื่นสารเพื่อเข้าร่วมขบวนสรงน้ำพระในวันสงกรานต์รอบเมืองเชียงใหม่
กิจกรรมประเพณียี่เป็ง และขบวนครัวทานงานผ้าป่าปอยหลวงวัดต่าง ๆ เป็นต้น
...หมู่บ้านวัวลายในปัจจุบันนี้เดิมเป็นหมุ่บ้านแห่งหนึ่งซึ่งอยู่แขวงเมืองปั๋นแถบลุ่มแม่น้ำสาละวิน (แม่น้ำคง)
อยู่ฝั่งตะวันตก เป็นรัฐที่ตั้งของไทยใหญ่
ซึ่งมีเขตแดนทางทิศใต้และทิศตะวันออกอยู่ติดกับเขตอำเภอเชียงดาวและอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
ทิศเหนือติดกับเขตรัฐเชียงตุง (ปัจจุบันคือที่มั่นเขตไทยใหญ่ที่ถูกทหารพม่าขับไล่แตกกระจายเผาบ้านเรือนที่มั่นเดิมเสียหาย
วอดวาย ชาวไทยใหญ่จึงแตกกระจายหนีไปอยู่คนละทิศคนละทาง ส่วนมากอยู่ตามแนวตะเข็บชายแดนไทย)
...ความเป็นมาของหมู่บ้านวัวลาย ที่อพยพมาอยู่ที่เชียงใหม่นี้ มีปรากฏอยู่ในพงศาวดารโยนกและตำนานราชวงศ์ปกรณ์เชียงใหม่ว่า
ในสมัยพระเจ้ากาวิละ (พ.ศ.๒๓๒๓-๒๓๕๖) ใช้นโยบายเรียกว่า "เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง"
พระองค์ได้ส่งกองทัพออกไปตีเมืองต่างๆ ในรัฐไทยใหญ่ ไทยลื้อ (สิบสองปันนา)
เมื่อตีได้แล้วก็กวาดต้อนเอาผู้คนมาไว้ที่เมืองเชียงใหม่ เพื่อเป็นการเพิ่มกำลังของเมืองเชียงใหม่มากขึ้น
...บรรดาหัวเมืองต่างๆ ที่ถูกกวาดต้อนมา เอาผู้คนมาไว้ที่เมืองเชียงใหม่ เช่น เมืองเลน เมืองวะ เมืองขอน เมืองพยาก
เมืองโก ซึ่งตั้งอยู่ที่ อำเภอสันทราย เมืองลวง อำเภอดอยสะเก็ด เมืองหลวย เมืองออน อยู่ที่สันกำแพง
เชียงแสน เชียงของ อยู่ที่อำเภอสารภี เมืองสาตร์ เมืองกาย เมืองมาง เมืองลัง บ้านเขิน บ้านงัวลาย บ้านสะต๋อย
อยู่ในเขตอำเภอเมือง พวกที่ถูกกวาดต้อนมาส่วนมากจะเป็นพวกช่างที่มีฝีมือต่างๆ หลากหลายกันออกไป
เช่น ช่างเคี่ยนไม้ ช่างกระดาษ ช่างฆ้อง ช่างแต้ม (วาด) ช่างเขิน ช่างเงิน เป็นต้น
ช่างเหล่านี้ถูกนำมาไว้ในตัวเมืองเพื่อทำความเจริญให้แก่บ้านเมือง
บ้านวัวลายนั้นเป็นช่างทำเครื่องเงิน ก็ให้มาอยู่ ณ ที่บริเวณกำแพงเมืองชั้นนอก จึงได้ตั้งชื่อตามที่อยู่เดิม
คือ บ้านวัวลาย ซึ่งมีอาชีพการทำเครื่องเงินเป็นหลัก
...ในปี พ.ศ.๒๕๓๔ วันที่ ๑๓ เมษายน พระครูสุทธิจิตตาภิรัต เจ้าอาวาสวัดหมื่นสาร พร้อมด้วยคณะศรัทธา
ได้มอบหมายให้นายสุรศักดิ์ กันทวงค์ (สล่าศักดิ์) ได้ช่วยกันทำการปั้นรูปวัวลายตัวนี้ขึ้นมาไว้เป็นสัญลักษณ์ของหมู่บ้าน
เพราะว่าตามตำนานแต่เดิมบ้านวัวลายที่เมืองปั่นนั้น มีสภาพอยู่ลุ่มสันเขา มีลำห้วยไหลลงมาสู่แม่น้ำคง
บนเขาสูงป่าใหญ่นั้นก็มีถ้ำใหญ่ ในถ้ำนั้นมีงัววิเศษ มีเขาเป็นแก้ว ตัวลายดำ (ทอง)
ในวันดีคืนดีวัวลายตัวนี้ก็จะออกถ้ำมาหาอาหารกิน ก็จะถ่ายมูลออกมาเป็น แร่ เงิน คำ ไว้ตามลำห้วย
เมื่อชาวบ้านที่อาศัยอยู่ได้ไปพบปะ จึงช่วยกันไปร่อนเอามา นำมาทำเป็นเครื่องใช้อื่นๆ
เช่น สลุง ขัน ขันเซี่ยนหมาก ทำเป็นเครื่องประดับแต่งกาย
บ้านไหนหาได้มากก็ตกแต่งให้คนในครอบครัวเป็นที่เชิดหน้าชูตาในกลุ่มชาวบ้านเดียวกันและใกล้เคียง
ต่อมาก็เริ่มขยายออกไปยังเมืองใกล้เคียงต่างๆ จึงเป็นที่กำเนิดชุมชนช่างขึ้น ณ ที่บ้านงัวลายแห่งนี้
ซึ่งจะมีช่างฝีมือดีๆ มาก
เพราะฉะนั้นเมื่อถูกกวาดต้อนมาไว้ ณ เมืองเชียงใหม่ ก็ได้ตั้งชื่อว่า "บ้านวัวลาย" ตามชื่อเดิม
เมื่อมาอยู่บ้านงัวลายก็ได้เจริญรุ่งเรืองมาก
ในอดีตบ้านงัวลายได้เป็นชุมชนช่างขนาดใหญ่ เกือบทั้งหมดของประชากรในหมู่บ้านจะทำเครื่องเงินทุกหลังคาเรือน
จนส่งลูกหลานเรียนหนังสือ บรรดาลูกหลานก็ไปรับราชการ ทำงานบริษัท ก็เลยขาดช่างผู้สืบทอด
ผู้ที่สูงอายุก็เลิกทำไป ปัจจุบันก็เลยเหลือลดลงตามวิถีชีวิต เหลือประมาณไม่ถึง ๕๐ ครัวเรือนที่ยังทำอยู่
และเปลี่ยนรูปแบบจากการทำเครื่องเงินไปเป็นใช้วัสดุอื่นๆ มาทดแทนเงิน เช่น ทองเหลือง ทองแดง
ดีบุก สแตนเลส สังกะสี อลูมิเนียม เพราะราคาจะถูกลงกว่าเครื่องเงิน แต่ฝีมือก็ยังปรากฏอยู่เหมือนเดิม
...ในการจัดสร้างรูปปูนปั้น "งัวลาย" ครั้งล่าสุดเมื่อประมาณปลายปี พ.ศ.๒๕๔๓
โดยการรวมตัวของช่างฝีมือเครื่องเงินบ้านวัวลายร่วมแรงร่วมใจกันสร้างรูปปูนปั้นสัญลักษณ์ชาวบ้านหมื่นสารวัวลายขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ของชาวบ้านวัวลายในการจัดกิจกรรมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมในโอกาสต่าง ๆ
รูปปูนปั้นดังกล่าวได้จัดสร้างขนาดเท่าของจริง เป็นผลงานของช่างฝีมือเครื่องเงินบ้านวัวลาย
โดยมีนายสุรศักดิ์ กันทวงศ์ เป็นสล่าเก๊า ใช้เวลาปั้นรวมทั้งสิ้น ๖ เดือน ๑๓ วัน
โดยใช้เงินบริจาคจากคณะศรัทธาชาวบ้านวัวลาย และได้มีการจัดพิธีฉลองสมโภชรูปปั้น "งัวลาย" เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๓
................................................................
<<< บันทึกท้ายกระทู้ >>>
...............................................................
...กระทู้นี้ด้วยความตั้งใจถ่ายทอดให้นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวถนนวัวลาย จนมาถึงรูปปั้น "วัวลาย" ด้านหน้าทางเข้าวัดหมื่นสาร
ทราบที่มาที่ไปว่าเป็นมาอย่างไร และชุมชนละแวกนี้มีสล่าหรือช่างฝีมือเก่งๆ ย่อมเชื่อมั่นได้ว่า เครื่องเงินที่ชุมชนนี้
ล้วนสร้างขึ้นด้วยช่างหรือสล่าที่มีฝีมือมากๆ รับรองได้ว่า เป็นของที่คุ้มค่าครับ