Editor’s Pick: กฏหมายปราบฮิตเลอร์ นี่คือสมญานามที่นานาชาติเรียกกฏหมาย ‘ให้ยืมและให้เช่า’ (Lend-Lease Act) ของรัฐบาลสหรัฐฯ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
เนื้อหาของกฏหมายค่อนข้างถูกวิจารณ์พอควรว่า สหรัฐฯ ยืมมือคนประเทศอื่น เพื่อทำสงครามตัวแทน เพราะเนื้อหาของกฏหมายเปิดประตูให้สหรัฐฯ และบริษัทอาวุธส่งยุทโธปกรณ์ และเสบียงต่าง ๆ ช่วยชาติพันธมิตรได้โดยง่าย แต่สถานะทางกฏหมายของสหรัฐฯ คือ “เป็นกลาง” ดังนั้น จึงไม่ถือว่าสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะสงคราม และนี่คือกฏหมายที่สหรัฐฯ รื้อฟื้นกลับมาอีกครั้งในรอบ 80 ปี แต่บริบทสงครามเปลี่ยนไป กับการใช้กฏหมายแบบเดิม จะใช้ได้ผลหรือไม่?
พ่อค้าสงคราม แต่สถานะคือเป็นกลาง
ช่วงกลางทศวรรษที่ 1930 การผงาดขึ้นของลัทธินาซี ภายใต้การนำของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ สร้างความปั่นป่วนไปทั่วยุโรป จนนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2
แต่สหรัฐฯ ในช่วงนั้น ปลีกตัวหนีห่างปัญหา เพราะไม่ต้องการส่งทหารหนุ่มไปเสียชีวิตในสงครามต่างแดนอีกแล้ว จากความเข็ดหลาบที่เสียทหารไปกว่า 1 แสนคน ในสงครามโลกครั้งที่ 1 รัฐบาลเองก็ถูกวิจารณ์ว่า ใช้ WWI เป็นตัวขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาวุธให้สหรัฐฯ
เมื่อฮิตเลอร์เคลื่อนทัพไปยังเช็กโกสโลวาเกีย ออสเตรเลีย และโปแลนด์ จนทำให้สหราชอาณาจักร (เกรทบริเตน) และฝรั่งเศส พันธมิตรสำคัญ 2 ชาติของสหรัฐฯ ต้องประกาศสงครามกับนาซีเยอรมนี แต่สหรัฐฯ นั้นก็ยังคงสถานะเป็นกลาง เพราะกฏหมายสภาคองเกรสห้ามส่งความช่วยเหลือไปยังคู่กรณีสงครามใด ๆ
ธีโอดอร์ โรสเวลต์ กับการตัดสินใจสำคัญ
รัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้ธีโอดอร์ โรสเวลต์ เข้าใจดีกว่า การจะพิทักษ์ชาวอเมริกัน และทหารอเมริกัน ไม่ให้ต้องสูญเสียเหมือนสมัย WWI คือการช่วยให้อังกฤษและฝรั่งเศส เอาชนะฮิตเลอร์ได้ โดยที่สหรัฐฯ ไม่ต้องไปเกี่ยวข้องโดยตรง แต่เขาติดกับอยู่ใน ‘กฏหมายเป็นกลาง’ ที่ห้ามส่งความช่วยเหลือ แม้กระทั่งในรูปแบบเม็ดเงินให้คู่กรณีสงคราม
แต่ด้วยชั้นเชิงทางการเมือง โรสเวลต์หาวิธีให้อเมริกาส่งความช่วยเหลือให้ชาติพันธมิตรได้ยาวนาน ก่อนที่สหรัฐฯ จะก้าวเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 เต็มตัว หลังเหตุโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ ในวันที่ 7 ธันวาคม ปี 1941 เสียอีก
ตัวอย่างหนึ่งคือ การใช้วิธีส่งเครื่องบินรบสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 บินไปจอดบริเวณพรมแดนใกล้กับแคนาดา แล้วให้ทางการแคนาดา ใช้เชือกผูกกับเครื่องบิน ลากเข้าไปในอาณาเขตของตนเอง เป็นต้น
ปรับแก้กฏหมายเป็นกลาง
ปี 1939 พอฮิตเลอร์บุกโปแลนด์ จนเกิดสงครามกับอังกฤษและฝรั่งเศส โรสเวลต์ตระหนักดีว่า วิธีชักเย่ออาวุธให้แคนาดา ไม่เพียงพออีกต่อไป จึงพยายามชักจูงให้คองเกรสปรับแก้กฏหมายเป็นกลาง ให้อนุมัติการขายอาวุธแบบ ‘เงินมา-ขนไปเอง’ (Cash and Carry) หมายความว่า รัฐบาลต่างชาติซื้ออาวุธแบบจ่ายเงินสด แล้วขนยุทโธปกรณ์ไปด้วยเรือของตนเอง
เพียงไม่กี่วัน หลังปรับแก้กฏหมายสำเร็จ อังกฤษได้จัดตั้งคณะกรรมการจัดซื้อในนครนิวยอร์ก เพื่อการซื้อและขนส่งอาวุธจากอเมริกาโดยเฉพาะ
เรือรบแลกสัมปทานฐานทัพ
พอเข้าสู่ปี 1940 นาซีบุกและยึดครองฝรั่งเศสได้ในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ ทำให้อังกฤษเหมือนกระต่ายขาเดียว ต้องต้านทานเยอรมนีเพียงลำพัง ช่วงนั้น โอกาสที่ฮิตเลอร์จะชนะสูงมาก
วินสตัน เชอร์ชิล นายกรัฐมนตรีอังกฤษในสมัยนั้น จึงเขียนจดหมายถึงโรสเวลต์ ขอยืมเรือพิฆาตอเมริกา 50 ลำ แต่โรสเวลต์ทราบดีว่า ยังไงคองเกรสก็จะไม่ยอมอนุมัติ
รัฐมนตรียุติธรรมของโรสเวลต์จึงเกิดแนวคิดอันชาญฉลาด อ้อมกฏหมาย เพื่อทำให้สหรัฐฯ ส่งเรือรบไปช่วยอังกฤษได้ ด้วยคำสั่งประธานาธิบดี นั่นคือ การที่สหรัฐฯ ‘แลกเปลี่ยน’ เรือรบสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ของสหรัฐฯ กับสัมปทานฐานทัพอังกฤษในหลายประเทศ นาน 99 ปี
แต่นั่นก็ไม่เพียงพอจะช่วยให้อังกฤษ ผ่านพ้นวิกฤต เพราะเยอรมนีทิ้งระเบิดโจมตีอย่างต่อเนื่อง จนเชอร์ชิลต้องเขียนจดหมายกดดันสหรัฐฯ อีกครั้ง
กฏหมายให้ยืม-ให้เช่า ดันอเมริกาสู่ ‘คลังแสงประชาธิปไตย’
ในที่สุด รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ เสนอโครงการ ‘ให้ยืม-ให้เช่า’ ขึ้นมา ในขณะที่โรสเวลต์พยายามล็อบบี้คองเกรสว่า การส่งอาวุธช่วยอังกฤษ จะได้รับการตอบแทน
เขาเปรียบเทียบว่า การช่วยอังกฤษก็เหมือน “การให้ยืมสายดับเพลิงให้กับบ้านหลังหนึ่งกำลังเกิดเพลิงไหม้ แม้คุณอาจไม่ได้สายดับเพลิงคืน แต่อย่างน้อยบ้านคุณก็ไม่ไฟไหม้ไปด้วย” เพราะหากไม่ทำเช่นนี้ สหรัฐฯ ต้องก้าวเข้าสู่สงครามแน่ ๆ
กฏหมายให้ยืม-ให้เช่า ภายใต้ชื่อ “กฏหมายส่งเสริมความมั่นคงแห่งสหรัฐอเมริกา” จึงเกิดขึ้นในปี 1941 ซึ่งเชอร์ชิลเรียกว่า “กฏหมายที่ไร้ซึ่งความเห็นแก่ตัวมากที่สุดในประวัติศาสตร์”
ใจความของกฏหมาย
อนุมัติให้รัฐบาลสหรัฐฯ สามารถให้ยืม หรือให้เช่า ไม่ใช่การขายอาวุธและเสบียงให้กับประเทศที่พิจารณาว่ามีความสำคัญต่อความมั่นคงของสหรัฐฯ ได้
แม้สหรัฐฯ จะส่งอาวุธให้ประเทศนั้น ๆ แต่สถานะของสหรัฐฯ ต่อสงครามดังกล่าว จะยังคงเป็นกลาง
รัฐมนตรีสงครามสหรัฐฯ ในเวลานั้น กล่าวว่า “สหรัฐฯ กำลังซื้อ...ไม่ใช่ยืม เรากำลังซื้อความมั่นคงของตัวเอง”
“เพราะในช่วง 6 ปี ที่สหรัฐฯ ไม่ได้ช่วยเหลือใคร เยอรมนีกำลังเตรียมตัว แล้วเราก็พบว่า เราไม่พร้อมและไม่มีอาวุธ แต่ต้องเผชิญหน้าศัตรูที่เพียบพร้อมและอาวุธครบมือ”
สหรัฐฯ มีแต่ได้กับได้ หลังสงคราม นับแต่บังคับใช้กฏหมาย ไม่เพียงสหรัฐฯ ส่งอาวุธและเสบียงมหาศาลให้กับอังกฤษเท่านั้น แต่ปลายปี 1941 กฏหมายยังครอบคลุมไปถึงการช่วยเหลือจีนและสหภาพโซเวียตด้วย
จนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐฯ ได้ส่งความช่วยเหลือรวมเป็นเงินมากกว่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไปยังกว่า 30 ประเทศทั่วโลก ถ้ามองมุมกลับ โรสเวลต์อาจไม่ได้มีน้ำใจ แต่เพียงมองถึงผลประโยชน์ของสหรัฐฯ เป็นหลัก ที่ส่งอาวุธให้พันธมิตร ไปทำสงครามกับนาซีแทนตนเอง โดยที่ชาวอเมริกันไม่เปื้อนเลือดและสูญเสีย
แต่ด้วยกฏหมายที่ช่วยให้เอาชนะนาซีเยอรมนีและฮิตเลอร์ได้ในที่สุด โชคชั้นที่สองของสหรัฐฯ คือ การได้รับการยกย่องเป็นผู้นำโลกและ ‘คลังแสงแห่งประชาธิปไตย’ ขับเคลื่อนสหรัฐฯ สู่มหาอำนาจยิ่งใหญ่ และเศรษฐกิจเพิ่มสูงมหาศาล
เรือรบแลกสัมปทานฐานทัพ อ่าน
https://www.facebook.com/TNNWorld/photos/a.361953458223574/708803706871879/?type=3&theater
กฏหมายให้ยืม-ให้เช่า ดันอเมริกาสู่ ‘คลังแสงประชาธิปไตย’
เนื้อหาของกฏหมายค่อนข้างถูกวิจารณ์พอควรว่า สหรัฐฯ ยืมมือคนประเทศอื่น เพื่อทำสงครามตัวแทน เพราะเนื้อหาของกฏหมายเปิดประตูให้สหรัฐฯ และบริษัทอาวุธส่งยุทโธปกรณ์ และเสบียงต่าง ๆ ช่วยชาติพันธมิตรได้โดยง่าย แต่สถานะทางกฏหมายของสหรัฐฯ คือ “เป็นกลาง” ดังนั้น จึงไม่ถือว่าสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะสงคราม และนี่คือกฏหมายที่สหรัฐฯ รื้อฟื้นกลับมาอีกครั้งในรอบ 80 ปี แต่บริบทสงครามเปลี่ยนไป กับการใช้กฏหมายแบบเดิม จะใช้ได้ผลหรือไม่?
พ่อค้าสงคราม แต่สถานะคือเป็นกลาง
ช่วงกลางทศวรรษที่ 1930 การผงาดขึ้นของลัทธินาซี ภายใต้การนำของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ สร้างความปั่นป่วนไปทั่วยุโรป จนนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2
แต่สหรัฐฯ ในช่วงนั้น ปลีกตัวหนีห่างปัญหา เพราะไม่ต้องการส่งทหารหนุ่มไปเสียชีวิตในสงครามต่างแดนอีกแล้ว จากความเข็ดหลาบที่เสียทหารไปกว่า 1 แสนคน ในสงครามโลกครั้งที่ 1 รัฐบาลเองก็ถูกวิจารณ์ว่า ใช้ WWI เป็นตัวขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาวุธให้สหรัฐฯ
เมื่อฮิตเลอร์เคลื่อนทัพไปยังเช็กโกสโลวาเกีย ออสเตรเลีย และโปแลนด์ จนทำให้สหราชอาณาจักร (เกรทบริเตน) และฝรั่งเศส พันธมิตรสำคัญ 2 ชาติของสหรัฐฯ ต้องประกาศสงครามกับนาซีเยอรมนี แต่สหรัฐฯ นั้นก็ยังคงสถานะเป็นกลาง เพราะกฏหมายสภาคองเกรสห้ามส่งความช่วยเหลือไปยังคู่กรณีสงครามใด ๆ
ธีโอดอร์ โรสเวลต์ กับการตัดสินใจสำคัญ
รัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้ธีโอดอร์ โรสเวลต์ เข้าใจดีกว่า การจะพิทักษ์ชาวอเมริกัน และทหารอเมริกัน ไม่ให้ต้องสูญเสียเหมือนสมัย WWI คือการช่วยให้อังกฤษและฝรั่งเศส เอาชนะฮิตเลอร์ได้ โดยที่สหรัฐฯ ไม่ต้องไปเกี่ยวข้องโดยตรง แต่เขาติดกับอยู่ใน ‘กฏหมายเป็นกลาง’ ที่ห้ามส่งความช่วยเหลือ แม้กระทั่งในรูปแบบเม็ดเงินให้คู่กรณีสงคราม
แต่ด้วยชั้นเชิงทางการเมือง โรสเวลต์หาวิธีให้อเมริกาส่งความช่วยเหลือให้ชาติพันธมิตรได้ยาวนาน ก่อนที่สหรัฐฯ จะก้าวเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 เต็มตัว หลังเหตุโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ ในวันที่ 7 ธันวาคม ปี 1941 เสียอีก
ตัวอย่างหนึ่งคือ การใช้วิธีส่งเครื่องบินรบสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 บินไปจอดบริเวณพรมแดนใกล้กับแคนาดา แล้วให้ทางการแคนาดา ใช้เชือกผูกกับเครื่องบิน ลากเข้าไปในอาณาเขตของตนเอง เป็นต้น
ปรับแก้กฏหมายเป็นกลาง
ปี 1939 พอฮิตเลอร์บุกโปแลนด์ จนเกิดสงครามกับอังกฤษและฝรั่งเศส โรสเวลต์ตระหนักดีว่า วิธีชักเย่ออาวุธให้แคนาดา ไม่เพียงพออีกต่อไป จึงพยายามชักจูงให้คองเกรสปรับแก้กฏหมายเป็นกลาง ให้อนุมัติการขายอาวุธแบบ ‘เงินมา-ขนไปเอง’ (Cash and Carry) หมายความว่า รัฐบาลต่างชาติซื้ออาวุธแบบจ่ายเงินสด แล้วขนยุทโธปกรณ์ไปด้วยเรือของตนเอง
เพียงไม่กี่วัน หลังปรับแก้กฏหมายสำเร็จ อังกฤษได้จัดตั้งคณะกรรมการจัดซื้อในนครนิวยอร์ก เพื่อการซื้อและขนส่งอาวุธจากอเมริกาโดยเฉพาะ
เรือรบแลกสัมปทานฐานทัพ
พอเข้าสู่ปี 1940 นาซีบุกและยึดครองฝรั่งเศสได้ในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ ทำให้อังกฤษเหมือนกระต่ายขาเดียว ต้องต้านทานเยอรมนีเพียงลำพัง ช่วงนั้น โอกาสที่ฮิตเลอร์จะชนะสูงมาก
วินสตัน เชอร์ชิล นายกรัฐมนตรีอังกฤษในสมัยนั้น จึงเขียนจดหมายถึงโรสเวลต์ ขอยืมเรือพิฆาตอเมริกา 50 ลำ แต่โรสเวลต์ทราบดีว่า ยังไงคองเกรสก็จะไม่ยอมอนุมัติ
รัฐมนตรียุติธรรมของโรสเวลต์จึงเกิดแนวคิดอันชาญฉลาด อ้อมกฏหมาย เพื่อทำให้สหรัฐฯ ส่งเรือรบไปช่วยอังกฤษได้ ด้วยคำสั่งประธานาธิบดี นั่นคือ การที่สหรัฐฯ ‘แลกเปลี่ยน’ เรือรบสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ของสหรัฐฯ กับสัมปทานฐานทัพอังกฤษในหลายประเทศ นาน 99 ปี
แต่นั่นก็ไม่เพียงพอจะช่วยให้อังกฤษ ผ่านพ้นวิกฤต เพราะเยอรมนีทิ้งระเบิดโจมตีอย่างต่อเนื่อง จนเชอร์ชิลต้องเขียนจดหมายกดดันสหรัฐฯ อีกครั้ง
กฏหมายให้ยืม-ให้เช่า ดันอเมริกาสู่ ‘คลังแสงประชาธิปไตย’
ในที่สุด รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ เสนอโครงการ ‘ให้ยืม-ให้เช่า’ ขึ้นมา ในขณะที่โรสเวลต์พยายามล็อบบี้คองเกรสว่า การส่งอาวุธช่วยอังกฤษ จะได้รับการตอบแทน
เขาเปรียบเทียบว่า การช่วยอังกฤษก็เหมือน “การให้ยืมสายดับเพลิงให้กับบ้านหลังหนึ่งกำลังเกิดเพลิงไหม้ แม้คุณอาจไม่ได้สายดับเพลิงคืน แต่อย่างน้อยบ้านคุณก็ไม่ไฟไหม้ไปด้วย” เพราะหากไม่ทำเช่นนี้ สหรัฐฯ ต้องก้าวเข้าสู่สงครามแน่ ๆ
กฏหมายให้ยืม-ให้เช่า ภายใต้ชื่อ “กฏหมายส่งเสริมความมั่นคงแห่งสหรัฐอเมริกา” จึงเกิดขึ้นในปี 1941 ซึ่งเชอร์ชิลเรียกว่า “กฏหมายที่ไร้ซึ่งความเห็นแก่ตัวมากที่สุดในประวัติศาสตร์”
ใจความของกฏหมาย
อนุมัติให้รัฐบาลสหรัฐฯ สามารถให้ยืม หรือให้เช่า ไม่ใช่การขายอาวุธและเสบียงให้กับประเทศที่พิจารณาว่ามีความสำคัญต่อความมั่นคงของสหรัฐฯ ได้
แม้สหรัฐฯ จะส่งอาวุธให้ประเทศนั้น ๆ แต่สถานะของสหรัฐฯ ต่อสงครามดังกล่าว จะยังคงเป็นกลาง
รัฐมนตรีสงครามสหรัฐฯ ในเวลานั้น กล่าวว่า “สหรัฐฯ กำลังซื้อ...ไม่ใช่ยืม เรากำลังซื้อความมั่นคงของตัวเอง”
“เพราะในช่วง 6 ปี ที่สหรัฐฯ ไม่ได้ช่วยเหลือใคร เยอรมนีกำลังเตรียมตัว แล้วเราก็พบว่า เราไม่พร้อมและไม่มีอาวุธ แต่ต้องเผชิญหน้าศัตรูที่เพียบพร้อมและอาวุธครบมือ”
สหรัฐฯ มีแต่ได้กับได้ หลังสงคราม นับแต่บังคับใช้กฏหมาย ไม่เพียงสหรัฐฯ ส่งอาวุธและเสบียงมหาศาลให้กับอังกฤษเท่านั้น แต่ปลายปี 1941 กฏหมายยังครอบคลุมไปถึงการช่วยเหลือจีนและสหภาพโซเวียตด้วย
จนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐฯ ได้ส่งความช่วยเหลือรวมเป็นเงินมากกว่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไปยังกว่า 30 ประเทศทั่วโลก ถ้ามองมุมกลับ โรสเวลต์อาจไม่ได้มีน้ำใจ แต่เพียงมองถึงผลประโยชน์ของสหรัฐฯ เป็นหลัก ที่ส่งอาวุธให้พันธมิตร ไปทำสงครามกับนาซีแทนตนเอง โดยที่ชาวอเมริกันไม่เปื้อนเลือดและสูญเสีย
แต่ด้วยกฏหมายที่ช่วยให้เอาชนะนาซีเยอรมนีและฮิตเลอร์ได้ในที่สุด โชคชั้นที่สองของสหรัฐฯ คือ การได้รับการยกย่องเป็นผู้นำโลกและ ‘คลังแสงแห่งประชาธิปไตย’ ขับเคลื่อนสหรัฐฯ สู่มหาอำนาจยิ่งใหญ่ และเศรษฐกิจเพิ่มสูงมหาศาล
เรือรบแลกสัมปทานฐานทัพ อ่าน https://www.facebook.com/TNNWorld/photos/a.361953458223574/708803706871879/?type=3&theater