JJNY : เสียชีวิต126 ติดเชื้อ12,888│ทุเรียนล้านตันติดด่านจีน│“ปริญญา”ชี้ประยุทธ์พ้นตำแหน่ง24สค.│"อดุลย์"แจงทำไมเลือกป้อม

ยอดดับยังสูง โควิดไทยวันนี้ เสียชีวิต 126 ราย ติดเชื้อเพิ่ม 12,888 คน
https://www.matichon.co.th/local/news_3317197
 
ยอดดับยังสูง โควิดไทยวันนี้ เสียชีวิต 126 ราย ติดเชื้อเพิ่ม 12,888 คน
 
เมื่อวันที่ 30 เมษายน ศูนย์ข้อมูลโควิด 19 รายงานสถานการณ์โควิด ประจำวันเสาร์ที่ 30 เมษายน 2565 รวม 12,888 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากในประเทศ 12,784 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 104 ราย ผู้ป่วยสะสม 2,027,514 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
หายป่วยกลับบ้าน 17,105 ราย หายป่วยสะสม 1,902,362 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 151,567 ราย เสียชีวิต 126 ราย
จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 1,773 ราย เฉลี่ยจังหวัดละ 23 ราย อัตราครองเตียง ร้อยละ 23.7



ทุเรียนล้านตันติดด่านจีน ระดมตรวจโควิดล้ง-เหมาเรือส่งออก
https://www.prachachat.net/local-economy/news-921250

ทุเรียนไทยหนีวิกฤตโควิด-19 หลังด่านทางบกจีน “ปิด ๆ เปิด ๆ” ส่งออกชะงัก-ล่าช้า ส่งผลกระทบทุเรียนตะวันออกอีกกว่า 370,000 ตัน ผสมโรงทุเรียนภาคใต้กำลังจะออกอีก 627,000 ตัน หวั่นตลาดเสียหายหนัก เอกชนดิ้นเช่าเหมาเรือส่งด่วนไปจีนลอตแรก 3,000 ตัน จีนคู่ค้าขู่หากตรวจพบโควิดปนเปื้อนซ้ำ ปิดเกมตลาดทุเรียนไทยทันที
 
จากประมาณการผลผลิตทุเรียนทั้งประเทศในปี 2565 ที่ปริมาณ 1.5 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 22 แบ่งเป็น ผลผลิตทุเรียนจากภาคตะวันออก 720,000 ตัน ทุเรียนใต้ 627,000 ตัน และอื่น ๆ ซึ่งกำลังทยอยออกสู่ตลาด ท่ามกลางสภาวการณ์การส่งออกในตลาดหลักอย่าง ประเทศจีน กำลังประสบปัญหาด่านทางบก “ปิด ๆ เปิด ๆ” จากความเข้มงวดในเรื่องของโควิด-19 ที่อ้างว่ามีการปนเปื้อนมากับทุเรียนไทย ได้ส่งผลกระทบทางด้านราคาทุเรียนในประเทศสะวิงขึ้นลงมาโดยตลอด ล่าสุดมีผู้ส่งออกทุเรียนไทยหลายรายตัดสินใจที่จะขนส่งทุเรียนทางเรือแทนการขนส่งทางบก แม้ต้นทุนและระยะทางจะยาวนานกว่า แต่เป็นทางออกสุดท้ายของทุเรียนไทยในฤดูกาลผลิตนี้

ทุเรียนจันทบุรีพีกสุด
 
ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานเข้ามาว่า เดือนพฤษภาคมถือเป็นช่วงพีกของผลผลิตทุเรียนภาคตะวันออกที่กำลังทยอยออกมามากที่สุด จากประมาณการผลผลิตทุเรียนประมาณ 720,000 ตัน ขณะนี้คงเหลือผลผลิตประมาณ 370,000 ตัน หรืออีกครึ่งหนึ่งของผลผลิตทุเรียนทั้งภาค ขณะที่ผู้ส่งออกทุเรียนต่างกังวลสถานการณ์ด่านชายแดน 4 ด่านของจีน อยู่ในสภาวะ “ปิด ๆ เปิด ๆ” เมื่อทุเรียนไทยตรวจเจอเชื้อโควิด-19 ทางด่านจีนก็จะสั่งระงับการนำเข้าทันทีเป็นระยะเวลาหลายวัน ขณะที่ความสุกของทุเรียนนั้น “รอไม่ได้” และจะก่อให้เกิดความเสียหายตามมา
 
ล่าสุดด่านโมฮานตรวจพบโควิด-19 ที่ขั้วทุเรียน-ผนังตู้คอนเทนเนอร์ด้านใน และบรรจุภัณฑ์ด้านนอก จนเจ้าหน้าที่ด่านจีนเตรียมที่จะออกกำสั่งระงับการนำเข้าทุเรียนไทยทั้งหมด แต่มีรายงานข่าวเข้ามาว่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยได้เข้าไปเจรจา และขอให้มีคำสั่ง “ระงับการนำเข้า” เฉพาะ “ล้ง” ที่ตรวจพบเชื้อโควิด-19 เป็นเวลาทั้งหมด 5 วัน (25-29 เมษายน 2565) แทน ด้านด่านจีนได้ออกหนังสือแจ้งเตือนอย่างเป็นทางการ หากตรวจพบเชื้อโควิด-19 ในทุเรียนไทยอีกก็จะห้ามทุเรียนทั้งหมดผ่านด่านโมฮาน ไม่ว่าจะมาจากล้งใดก็ตาม
 
ทั้งนี้ ล้งทั้ง 6 รายที่จีนอ้างว่าตรวจพบเชื้อโควิด-19 ได้แก่ สวน AC 03-9001-36472511111, สวน AC 03-9001-36290748111, สวน AC 03-9001-36478981111, สวน AC 03-9001-36479360111, สวน AC 03-9001-36502524111 และสวน AC03-9001-36538424111
 
สำหรับตัวเลขการส่งออกทุเรียนไปจีนล่าสุดจากรายงานของด่านตรวจพืชที่ออกใบรับรองสุขอนามัยพืช ด่านตรวจพืชจันทบุรี พบว่า ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์-27 เมษายน 2565 มีการออกใบรับรองให้กับทุเรียนไปจีนแล้ว คิดเป็นปริมาณ 110,037.20 ตัน โดยเป็นการส่งออกทุเรียนทางบก (ด่านเชียงของ-เชียงใหม่-นครพนม-มุกดาหาร-หนองคาย) จำนวน 41,920.64 ตัน ส่งออกทางเรือ 54,110.94 ตัน และส่งออกทางอากาศ (ลาดกระบัง-สุวรรณภูมิ) อีก 14,005.62 ตัน โดยมีข้อสังเกตว่าในฤดูกาลนี้ ผู้ส่งออกไทยกำลังเปลี่ยนการส่งออกทุเรียนจากการผ่านด่านชายแดนจีนทางบก มาเป็นการขนส่งทางเรือมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
 
หันเหมาเรือด่วนส่งไปจีน

นายสัญชัย โกสัลล์วัฒนา นายกสมาคมผู้ผลิตทุเรียนไทย กล่าวว่า ทุกวันนี้ทุเรียนไทยถูกส่งออกทางบกผ่านทางด่านหลัก 2 ด่าน คือ ด่านโหยวอี้กวนที่ต้องผ่านประเทศเวียดนาม กับด่านบ่อเต็น (โมฮาน) สปป.ลาว แต่ก็เกิดปัญหาตรวจพบเชื้อโควิด-19 ซึ่งถูกระงับการส่งออกในเดือนเมษายนมาแล้ว 2 ครั้ง ดังนั้น ผู้ประกอบการส่งออก (ชิปปิ้ง) จึงหันไปใช้บริการขนส่งทางเรือผ่านเวียดนามกันเป็นจำนวนมาก แต่เมื่อเวียดนามเปิดท่าเรือใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นกลับประสบปัญหาไม่มีเรือบริการ ดังนั้นผู้ประกอบการไทยจึงหันมา “เช่าเหมาเรือด่วน” ขนส่งผลไม้สดทั้งทุเรียน-มังคุดเป็นลอตใหญ่ไปจีนแทน
โดยลอตแรกมีปริมาณ 3,000 ตัน ได้เดินทางจากท่าเรือแหลมฉบัง ไปยังท่าเรือหนานซา นครกว่างโจว แล้วจัดเป็นการขนส่งที่รวดเร็ว ประกอบกับระบบการขนส่งทางเรือ มีการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโควิด-19 และใช้พิธีการศุลกากรของผลไม้สดนำเข้าเพื่อลดระยะเวลา ใช้เวลาเพียง 4 วัน เที่ยวต่อไปกำหนดส่งลงเรือวันที่ 2 พฤษภาคม 2565 ซึ่งการใช้บริการเส้นทางเดินเรือด่วนนี้ คาดการณ์ว่าจะช่วยให้ระบบการขนส่งทุเรียนสามารถระบายได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น
 
“เรือด่วนเช่าเหมาลำช่วยระบายสินค้าได้ลอตใหญ่ ผู้ส่งออกเข้าไปเหมาและมีเรือปริมาณมากพอ รวมทั้งยังมีท่าเรือที่ขึ้นหลายแห่ง ประกอบกับ นครกว่างโจว เป็นศูนย์กระจายผลไม้ขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคทางตอนใต้ของจีน ตลาดเจียงหนานก็เป็นตลาดใหญ่ สินค้า 80% เข้าที่นี่ ราคาทุเรียนไทยในตลาดจีนตอนนี้ดีมาก ราคา 700-800 หยวน/กล่อง (18 กก. กก.ละ 190-220 บาท) ทอนกลับมาเป็นราคารับซื้อของล้งประมาณ 130-150 บาท แต่ถ้าเป็นช่วงที่ต้องการทุเรียนไปบรรจุให้เต็มตู้คอนเทนเนอร์เพื่อส่งออก หรือเรียกว่าเพื่อปิดตู้ให้ได้ ราคาทุรียนก็จะพุ่งสูงขึ้นทันที แต่หลังจากนี้ทุเรียนจะขาดช่วงไป จะออกรุ่นต่อไปหลังวันที่ 10 เดือนพฤษภาคม เป็นลอตใหญ่ประมาณ 80% ของผลผลิตปีนี้ ถือเป็นช่วงพีกสุดที่ราคาทุเรียนจะดิ่งลงมาก พอถึงเดือนมิถุนายน ผลผลิตทุเรียนก็จะเริ่มน้อยลง คาดการณ์ว่าราคาทุเรียนปีนี้ไม่น่าจะต่ำกว่ากิโลกรัมละ 100 บาท ซึ่งเป็นราคาที่เกษตรกรรับได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ 2 ข้อ คือ ทุเรียนไทยต้องปลอดจากโควิด-19 ตามนโยบาย Zero COVID ของจีน ไม่อย่างนั้นจะส่งออกไปจีนไม่ได้ สวนทุเรียนต้องได้ GAP+ ล้งต้องได้ GMP+ และจีนต้องไม่ล็อกดาวน์เมืองเพิ่มขึ้น” นายกสมาคมผู้ผลิตทุเรียนไทยกล่าว
 
ทีมเล็บเหยี่ยวตรวจโควิด

ด้านนายชลธี นุ่มหนู ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 (สวพ.6) กรมวิชาการเกษตร ได้ตั้ง “ทีมเล็บเหยี่ยว” เข้าไปสุ่มตรวจทุเรียนอ่อนตามล้งต่าง ๆ ได้ให้ข้อมูลว่า หลังจากกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว แจ้งการตรวจพบการปนเปื้อนโควิด-19 บนผลผลิต บรรจุภัณฑ์และรถขนส่งจำนวน 8 ตู้ จากโรงคัดบรรจุ (ล้ง) จำนวน 6 แห่ง ทางกรมวิชาการเกษตรได้สั่งระงับการการส่งออกทุเรียนชั่วคราว (ใบ PC) 5 วัน (วันที่ 25-29 เมษายน 2565) และให้ปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุข ป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโควิด-19 ในผลไม้อย่างเคร่งครัด
 
ทีมเล็บเหยี่ยวได้แท็กทีมร่วมกับด่านตรวจพืชจันทบุรี ฝ่ายปกครอง เกษตรอำเภอ และสาธารณสุขอำเภอ ทำการเปลี่ยนภารกิจจากการตรวจหาทุเรียนอ่อน มาเป็นตรวจหาเชื้อโควิด-19 และเร่งตรวจสอบย้อนกลับในโรงคัดบรรจุทั้ง 6 แห่งแทน แบ่งเป็น ที่อำเภอเมืองจันทบุรี 2 แห่ง/แหลมสิงห์ 1 แห่ง/ท่าใหม่ 1 แห่ง และอำเภอมะขาม 2 แห่ง เพื่อหาจุดบกพร่องที่ทำให้เกิดการปนเปื้อนโควิด-19 และวางมาตรการป้องกันแก้ไขและจะรายงานกลับไปยังจีน เพื่อให้โรงคัดบรรจุได้ดำเนินกิจการต่อไปได้
 
“เราได้ดำเนินการตรวจประเมินทั้ง 6 ล้ง ตามคำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี รวมทั้งการป้องกันโควิด-19 ภายในโรงคัดบรรจุภัณฑ์ มาตรฐาน GMP+ และอื่น ๆ จากการตรวจ ATK ในกลุ่มแรงงานทั้งหมดภายในล้งแบบ 100% เจ้าหน้าที่เก็บตัวอย่าง swab ผลทุเรียน/บรรจุภัณฑ์/ถุงมือ/ตะกร้า/ตู้คอนเทนเนอร์และอื่น ๆ ส่งห้องปฏิบัติการ จะทราบผลวันที่ 1 พ.ค.นี้ ผลการตรวจสอบสรุปได้ว่า มาตรการป้องกันโควิด-19 ยังไม่เข้มงวดจริงจัง ยังพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในโรงคัดบรรจุการควบคุมยังหละหลวม ทั้งการไม่ใส่ถุงมือ ไม่สวมหน้ากาก และเชื่อว่ายังมีโรงคัดบรรจุที่เป็นแบบนี้อีกเป็นจำนวนมาก ภายในสัปดาห์หน้า กรมวิชาการเกษตรจะมีประกาศออกมาโดยเฉพาะสำหรับโรงคัดบรรจุภัณฑ์ (ล้ง) ที่จะต้องปฏิบัติตาม หากมีการกระทำผิดซ้ำกรณีเดิมจะดำเนินการตามมาตรการระงับสินค้าทุเรียนนำเข้าของจีน และเพิ่มระดับการลงโทษตามมาตรการขั้นต่อไป” นายชลธีกล่าว
 
นอกจากนี้ได้มีการพิจารณาคัดเลือก “แบ่งสี” โรงคัดบรรจุทุเรียนตามหลักเกณฑ์และมีการจัดมอบเกียรติบัตรให้ “โรงคัดบรรจุทุเรียนยอดเยี่ยม” ต้องผ่านหลักเกณฑ์ประจำฤดูกาลผลิต 2565 ภาคตะวันออก คือ 1) ผ่านการตรวจประเมิน GMP+ และรักษามาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ 2) มีเจ้าหน้าที่ QC ประจำโรงคัดบรรจุที่ผ่านการอบรมจาก สวพ.6 3) ไม่เคยตรวจพบทุเรียนอ่อน 4) ส่งออกทุเรียนมาแล้วมากกว่า 20 ตู้คอนเทนเนอร์ 5) ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่เป็นอย่างดี 6) ซื้อขายทุเรียนอย่างเป็นธรรม ไม่เอาเปรียบชาวสวน
 
“ตอนนี้มีโรงคัดบรรจุทุเรียนยอดเยี่ยมทั้งหมด จำนวน 24 ล้ง แบ่งเป็น จันทบุรี 19 ล้ง ตราด 1 ล้ง และระยอง 4 ล้ง และได้จัดแบ่งโรงคัดบรรจุทุเรียนออกเป็น 3 สี เพื่อตรวจสอบคุณภาพทุเรียนดังนี้ คือ สีเขียว วางใจได้ จำนวน 176 ล้ง สีเหลือง เฝ้าระวัง จำนวน 50 ล้ง และสีแดง เผลอไม่ได้ จำนวน 32 ล้ง” นายชลธีกล่าว
 
ทุเรียนใต้เข้มโควิด-19

นายอนุชา ยาอีด ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จ.สงขลา กล่าวว่า ในช่วงต้นปี 2565 สำนักงานได้ประเมินทุเรียนในภาคใต้ มีพื้นที่ปลูกกว่า 670,000 ไร่ คาดว่าจะมีผลผลิตกว่า 627,000 ตัน หรือเพิ่มขึ้นกว่า 18,000 ตัน จากปี 2564
 
สำหรับสาเหตุที่ทุเรียนใต้มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากพื้นที่ขยายตัวเติบโตเพิ่มขึ้น ประมาณ 40,000 ไร่ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากภาคใต้ประสบกับฝนตกหนักช่วงเดือนกุมภาพันธ์ และปลายเดือนมีนาคม 2565 ส่งผลให้ตัวเลขที่ประเมินไว้เปลี่ยนแปลงไป โดยทุเรียนจะมีผลผลิตลดลงประมาณ 40-50% เนื่องจากฝนตกลงมาระหว่างทุเรียนกำลังออกดอก ทำให้เกิดร่วงหล่นจำนวนมาก
 
“ภาคใต้ตอนบนผลผลิตทุเรียนน่าจะลดลงไม่มากนัก ในขณะที่ทุเรียนภาคตะวันออกประสบปัญหาตรวจพบโควิด-19 ในทุเรียนที่ส่งออกไปประเทศจีน จึงได้เตรียมความพร้อมดำเนินมาตรการต่าง ๆ ในการป้องกันโควิด-19 และจะประเมินผลข้อมูลเพื่อการวางแผนทั้งหมดก่อนที่ผลผลิตจะออกจริงในเดือนมิถุนายน” นายอนุชากล่าว
 
ขณะที่นายสุพิท จิตรภักดี ที่ปรึกษาสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนภาคใต้ กล่าวว่า สวนทุเรียนภาคใต้ปี 2565 นี้จะมีผลผลิตปริมาณน้อยจากสาเหตุสภาพภูมิอากาศที่ฝนตกต่อเนื่อง ได้ส่งผลกระทบดอกทุเรียนร่วงหล่นต่อยอดแตกใบ ภาคใต้ตอนบน ผลผลิตน่าถดถอยลงประมาณ 20% และภาคใต้ตอนล่างจะประมาณ 50%
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่