การดูแลผิวด้วยแสง LEDs (light-emitting diodes)
แสง LEDs มีคุณสมบัติที่แตกต่างจากแสงเลเซอร์ (ต้นกำเนิดแสง และลักษณะของแสงที่ได้ต่างกัน) *
ตัวอย่างของการนำแสง LEDs สีต่างๆมาใช้ในทางผิวหนังและความงามกันบ่อยๆ
เช่น ช่วยเสริมการรักษาสิว (นอกจากการกินยา ทายา เลเซอร์), การช่วยให้แผลผ่าตัดหายไวขึ้น ยุบบวมได้เร็วขึ้น
ผ่านกลไกที่เรียกว่า Photobiomodulation
📌 ประโยชน์ของแสง LEDs ที่ใช้กันบ่อยๆ 3 สี
หมอยุ้ยขอสรุปแบบเข้าใจง่ายๆ ดังนี้ค่ะ
🔵 แสงสีฟ้า | Blue light ลงตื้นที่สุด
รักษาที่ต้นเหตุของการเกิดสิว
- ช่วยฆ่าเชื้อสิว(C.Acne)
- ช่วยลดความมันบนผิวหน้า
- ลดสิวอักเสบ ลดการอุดตันของรูขุมขน
🟡 แสงสีเหลือง | Yellow light ลงสู่ชั้นผิวได้ลึกปานกลาง
- ช่วยลดรอยแดงจากสิวอักเสบ
- ลดการสร้างเม็ดสี ช่วยลดรอยดำ รอยสิว
- การกระตุ้นการไหลเวียนน้ำเหลือง
🔴 แสงสีแดง | Red light ลงสู่ชั้นผิวได้ลึกที่สุด
- ลดการอักเสบบวมช้ำของผิว เช่น ฉายหลังการกดสิว
- ใช้ควบคู่กับแสงสีฟ้าที่ช่วยการฆ่าเชื้อสิวและลดหน้าช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน
- ลดเลือนริ้วรอยเล็กๆตื้นๆบนใบหน้า
นอกจากข้อแตกต่างเรื่องของสีต่างๆแล้ว ปัจจัยที่มีผลต่อผลการรักษา ขึ้นกับ
ความเข้มของแสง ระยะเวลาที่ใช้ และความต่อเนื่องในการรักษา รวมทั้งการตอบสนองของผิวที่อาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน
ขั้นตอนการทำแบบคร่าวๆนะคะ
1. ทำความสะอาดผิวก่อนเริ่มทำ
2. ใช้เวลาทำโดยทั่วๆไปประมาณครั้งละ 10-20 นาที แล้วแต่เครื่องแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อ และวัตถุประสงค์ของการรักษา
3. ต้องสวมแว่นตาสำหรับเครื่อง LEDs ไว้ตลอดขณะฉายแสง เพื่อป้องกันไม่ให้แสงทำอันตรายต่อดวงตา
4. ขณะที่ทำรู้สึกอุ่นๆเล็กน้อยตรงจุดที่ฉาย ระหว่างรอครบเวลาสามารถนอนหลับพักผ่อนได้
5. หลังทำเสร็จสามารถล้างหน้า แต่งหน้าได้ตามปกติ โดยไม่ต้องพักหน้า
* แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนทำทุกครั้งเพื่อวางแผนการรักษา ว่า ควรฉายแสงสีไหน โดสเท่าไหร่ ระยะเวลานานแค่ไหน ต้องทำกี่ครั้ง แต่ละคนจะมีแผนการรักษาที่แตกต่างกันค่ะ
** ถ้าทำภายใต้การดูแลของแพทย์ โดยเครื่องมือที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน จะไม่เป็นอันตรายต่อผิว โดยการใช้แสง LEDs เพื่อการรักษาทางผิวหนังและความงามมีงานวิจัยรองรับทั้งเรื่องประสิทธิภาพและความปลอดภัยในระยะยาว
*** ถึงแม้ว่าแสง LEDs จะมีประโยชน์และมีความปลอดภัย แต่ไม่แนะนำหาซื้อเครื่องมาใช้เองนะคะ
เครดิตภาพประกอบบทความจาก
Austin E, Geisler AN, Nguyen J, et al. Visible light. Part I: Properties and cutaneous effects of visible light. J Am Acad Dermatol. 2021;84(5):1219-1231.
แสง LEDs ตัวช่วยเรื่องผิว สีไหนช่วยเรื่องอะไร มาดูกันค่ะ
การดูแลผิวด้วยแสง LEDs (light-emitting diodes)
แสง LEDs มีคุณสมบัติที่แตกต่างจากแสงเลเซอร์ (ต้นกำเนิดแสง และลักษณะของแสงที่ได้ต่างกัน) *
ตัวอย่างของการนำแสง LEDs สีต่างๆมาใช้ในทางผิวหนังและความงามกันบ่อยๆ
เช่น ช่วยเสริมการรักษาสิว (นอกจากการกินยา ทายา เลเซอร์), การช่วยให้แผลผ่าตัดหายไวขึ้น ยุบบวมได้เร็วขึ้น
ผ่านกลไกที่เรียกว่า Photobiomodulation
📌 ประโยชน์ของแสง LEDs ที่ใช้กันบ่อยๆ 3 สี
หมอยุ้ยขอสรุปแบบเข้าใจง่ายๆ ดังนี้ค่ะ
🔵 แสงสีฟ้า | Blue light ลงตื้นที่สุด
รักษาที่ต้นเหตุของการเกิดสิว
- ช่วยฆ่าเชื้อสิว(C.Acne)
- ช่วยลดความมันบนผิวหน้า
- ลดสิวอักเสบ ลดการอุดตันของรูขุมขน
🟡 แสงสีเหลือง | Yellow light ลงสู่ชั้นผิวได้ลึกปานกลาง
- ช่วยลดรอยแดงจากสิวอักเสบ
- ลดการสร้างเม็ดสี ช่วยลดรอยดำ รอยสิว
- การกระตุ้นการไหลเวียนน้ำเหลือง
🔴 แสงสีแดง | Red light ลงสู่ชั้นผิวได้ลึกที่สุด
- ลดการอักเสบบวมช้ำของผิว เช่น ฉายหลังการกดสิว
- ใช้ควบคู่กับแสงสีฟ้าที่ช่วยการฆ่าเชื้อสิวและลดหน้าช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน
- ลดเลือนริ้วรอยเล็กๆตื้นๆบนใบหน้า
นอกจากข้อแตกต่างเรื่องของสีต่างๆแล้ว ปัจจัยที่มีผลต่อผลการรักษา ขึ้นกับ
ความเข้มของแสง ระยะเวลาที่ใช้ และความต่อเนื่องในการรักษา รวมทั้งการตอบสนองของผิวที่อาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน
ขั้นตอนการทำแบบคร่าวๆนะคะ
1. ทำความสะอาดผิวก่อนเริ่มทำ
2. ใช้เวลาทำโดยทั่วๆไปประมาณครั้งละ 10-20 นาที แล้วแต่เครื่องแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อ และวัตถุประสงค์ของการรักษา
3. ต้องสวมแว่นตาสำหรับเครื่อง LEDs ไว้ตลอดขณะฉายแสง เพื่อป้องกันไม่ให้แสงทำอันตรายต่อดวงตา
4. ขณะที่ทำรู้สึกอุ่นๆเล็กน้อยตรงจุดที่ฉาย ระหว่างรอครบเวลาสามารถนอนหลับพักผ่อนได้
5. หลังทำเสร็จสามารถล้างหน้า แต่งหน้าได้ตามปกติ โดยไม่ต้องพักหน้า
* แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนทำทุกครั้งเพื่อวางแผนการรักษา ว่า ควรฉายแสงสีไหน โดสเท่าไหร่ ระยะเวลานานแค่ไหน ต้องทำกี่ครั้ง แต่ละคนจะมีแผนการรักษาที่แตกต่างกันค่ะ
** ถ้าทำภายใต้การดูแลของแพทย์ โดยเครื่องมือที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน จะไม่เป็นอันตรายต่อผิว โดยการใช้แสง LEDs เพื่อการรักษาทางผิวหนังและความงามมีงานวิจัยรองรับทั้งเรื่องประสิทธิภาพและความปลอดภัยในระยะยาว
*** ถึงแม้ว่าแสง LEDs จะมีประโยชน์และมีความปลอดภัย แต่ไม่แนะนำหาซื้อเครื่องมาใช้เองนะคะ
เครดิตภาพประกอบบทความจาก
Austin E, Geisler AN, Nguyen J, et al. Visible light. Part I: Properties and cutaneous effects of visible light. J Am Acad Dermatol. 2021;84(5):1219-1231.