หน้ากาก LED กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน... ได้จริงเหรอ??

กระทู้ข่าว
หน้ากาก LED ช่วยกระตุ้นผิวให้สร้างคอลลาเจน ได้จริงเหรอ??

เป็นที่ทราบกันดีว่าในวงการแพทย์ผิวหนังและความงามได้มีการนำช่วงแสงต่างๆ ของ Light Emitting Diode หรือ  LED มาช่วยกระตุ้นผิวให้สวยงามด้วยเทคโนโลยีการฉายแสง 4 สี ได้แก่ ฟ้า เหลือง แดง และเขียว ซึ่งมีหน้าที่แตกต่างกัน เช่น      Blue Light (แสงสีฟ้า) ช่วยยับยั้งปัจจัยการเกิดสิวและป้องกันการติดเชื้อใหม่  Yellow Light (แสงสีเหลือง) ช่วยรักษารอยดำ กระ ฝ้า เม็ดสีที่เข้มให้จางลงตามธรรมชาติ และกระตุ้นระบบน้ำเหลือง รวมถึงระบบการไหลเวียนโลหิตด้วย     Red Light (แสงสีแดง) ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ปรับสภาพผิวให้เรียบเนียน รักษาผิวที่ถูกเผาไหม้จากแสงแดด และลดเรือนริ้วรอย  Green Light (แสงสีเขียว) ช่วยลดรอยแดง หรือเส้นเลือดฝอยที่เกาะตัวอยู่ใต้ผิวหนัง
            ผศ.ดร.ขวัญชนก พสุวัต ภาควิชาวิศวกรรมเคมี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เจ้าของผลงาน หน้ากาก LED กระตั้นการสร้างคอลลาเจน กล่าวว่างานวิจัยดังกล่าว เป็นการนำคลื่นแสงสีแดงของ LED เพื่อกระตุ้นการสร้างคอราเจนในผิวหนังมนุษย์ โดยหาช่วงความถี่ที่เหมาะสมที่สุดกับเซลล์มนุษย์ โดยงานวิจัยชิ้นนี้มีการนำความยาวคลื่นแสงในระดับต่างๆ มาทดสอบกับเซลล์ผิวหนังที่ถูกไฟไหม้ กระทั่งพบว่าเซลล์ผิวหนังที่ได้รับแสงสีแดงมีการสร้างเซลล์ใหม่มากกว่าเซลล์ผิวหนังที่ไม่ได้รับแสงสีแดง ของ LED



            “ผลการวิจัยออกมาค่อนข้างชัดเจนว่า ตัวอย่างผิวหนังที่ถูกไฟไหม้ดีขึ้นจริงๆ ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งก่อนเริ่มต้นวิจัยเรื่องนี้เราทราบเบื้องต้นว่าแสงสีแดงมันใช้ได้ แต่สิ่งที่เราทำคือต้องหาความยาวคลื่นที่เหมาะสม เนื่องจากความยาวคลื่นของแสงแต่ละสีมีความสามารถเข้าไปยังใต้ผิวหนังในระดับที่ไม่เท่ากัน บางคลื่นลึกบาคลื่นไม่ลึก บางความยาวคลื่นกระตุ้นเซลล์ได้ ต่างกัน ซึ่งงานวิจัยของเราต้องการหาความยาวคลื่นของแสงสีแดงที่สามารถลงลึกไปนะดับเซลล์เพื่อให้มันผลิตคลลาเจนได้มากขึ้น นอกจากนี้เรื่องระยะเวลาในการฉายแสงก็ต้องมีการทำวิจัยเนื่องจากว่าถ้านานเกินไปอาจจะทำให้เกิดความร้อนหรือหน้าไหม้ได้ ซึ่งการใช้แสงสีแดงจากแอลอีดีเพื่อผิวพรรณนั้นเรายังต้องตรวจสอบให้แน่ชัดว่ามันสามารถเพิ่มปริมาณคอลลาเจนได้จริง หรือ มันไปทำให้เซลล์ผลิตยีนส์ที่มาผลิตคอลลาเจนได้มากขึ้น แล้วไปลดปริมาณยีนที่ไปทำลายคลลาเจน”
            ผศ.ดร.ขวัญชนก กล่าวว่าต้องการให้ผลงานวิจัยชิ้นนี้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ประชาชนทั่วไปสามารถซื้อไปใช้ได้เองที่บ้าน จึงจำเป็นที่จะต้องมีการทำงานวิจัยรองรับที่ผ่านมาผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันนี้มีวางขายบ้างแล้วในต่างประเทศ ทั้งแบบมือถือ และแบบที่เป็นหน้ากาก แต่ในส่วนที่เป็นหน้ากากนั้นเป็นประเภทที่ใต้ใกล้กับผิวมากเกินไปคือแนบติดกับใบหน้า ซึ่งอาจเกิดผลเสียต่อผิวได้ในระยะยาว นอกจากนี้ยังไม่มีผลการวิจัยรองรับว่าปลอดภัยจริงหรือไม่  ดังนั้นงานวิจัยของดร.ขวัญชนก จึงมุ่งเน้นในเรื่องความปลอดภัย ใช้ง่าย ทำได้เองที่บ้าน ทำให้ทีมวิจัยจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการค้นคว้าและทดลองให้ถูกต้องแม่นยำที่สุด       ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ ดังกล่าวอาจจะไม่เหมาะกับเด็กหรือวัยรุ่น เนื่องจากระบบการทำงานของคอลลาเจนยังเป็นปกติอยู่ แต่เหมาะที่จะใช้กับคนที่มีปัญหาผิวพรรณ เช่นโดนแดดเป็นเวลานาน ผิวแก่กว่าวัย หรือผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 30 ขึ้นไปมากกว่า.//

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่