ใช้เส้นสายเข้าหน่วยงานราชการ

เพื่อนที่รู้จักเล่าให้ฟังว่า หน่วยงานราชการหนึ่งหากมีญาติทำงานที่นั่นสามารถฝากคนเข้าทำงานได้โดยสอบ กพ ภาค ก อย่างเดียว ไม่ต้องสอบ ภาค ข กับ ภาค ค แล้วถึงเวลาไปรายงานตัวเป็นข้าราชการได้เลย 
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
ในกรณีข้าราชการพลเรือน ต่อให้เป็นท้องถิ่นก็ตาม
ผมไม่เชื่อนะ ที่ว่าสอบผ่านแค่ ภาค ก. ของ ก.พ. อย่างเดียว
แล้วเอาเข้าเป็นข้าราชการได้เลย โดยไม่ต้องสอบ ภาค ข. ภาค ค.
ยิ่งสมัยปัจจุบัน คนจ้องจับผิดเยอะแยะ
การทำอะไรต้องมีหลักฐานรองรับตลอด
ต่อให้ใช้เส้นจริง ๆ แต่ก็ต้องมีการเปิดให้สอบ แล้วค่อยไปช่วยตรงคะแนนเอา อะไรแบบนี้ยังพอเห็นบ้าง
แต่แบบที่ว่าผ่านแค่ ภาค ก. ของ ก.พ. แล้วเรียกมาสั่งบรรจุได้เลยนี่ผมไม่เชื่อ ถ้าทำได้จริงมันต้องมีอะไรมากกว่านั้น

เรื่องเส้นในการสอบแข่งขันเข้ารับราชการ ขอฝากข้อคิดไว้นิดนึงครับ

ขอแสดงความคิดเห็นและเล่าประสบการณ์ส่วนตัวไว้หน่อย
ผมสอบพนักงานราชการมา 2 สนาม สอบข้าราชการอีกร่วม ๆ 10 สนาม
พนักงานราชการผมสอบได้ที่ 2 ตั้งแต่สนามแรกเลย
แต่ตอนนั้นรับแค่ 1 อัตรา ก็รอเรียกบัญชีราว ๆ 7 เดือน จึงได้เข้าทำงาน
ส่วนข้าราชการผมมาสอบได้ในสนามที่ 4 มีคนสมัครร่วม 700 กว่าคน รับ 1 อัตรา
มีคนสอบผ่านข้อเขียนแค่ 33 คน
ผมสอบได้ที่ 8 แต่ก็ได้บรรจุเลย เพราะหน่วยงานขยายอัตรารับ ถือว่าโชคดีมาก ๆ
จนมาถึงข้าราชการในหน่วยงานปัจจุบัน
ผมก็ติดตามข่าวการรับสมัครเอง อ่านหนังสือสอบเอง
ไม่ได้รู้จักใคร ไม่ได้ใช้เส้นสายอะไรทั้งนั้น
สอบได้ด้วยตัวเองล้วน ๆ
ทั้งพนักงานราชการ และ ข้าราชการ ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ผมสอบเอง อ่านหนังสือเอง ไม่มีเส้นใด ๆ ทั้งนั้น
สอบในฐานะบุคคลภายนอก ไม่ใช่คนในแต่อย่างใดด้วยซ้ำ
บางคน มักจะเข้าใจผิด ๆ ว่าสอบงานราชการมีแต่พวกใช้เส้นสาย
ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วมันไม่ใช่เลย
หลาย ๆ คน และจำนวนมาก
ก็สอบได้เอง ไม่ได้มีเส้นอะไร

คุณไม่รู้หรอกครับว่าการสอบครั้งไหนมีเส้นหรือไม่มีเส้น
การที่คุณสอบไม่ผ่าน ไม่ใช่เพราะว่าคนอื่นเขาใช้เส้น
แต่มันเป็นเพราะคุณสอบไม่ผ่านเองนั่นแหละ ไม่ต้องไปโทษใคร
คนสอบได้โดยไม่ต้องใช้เส้นก็มีเยอะแยะ อ่านหนังสือเตรียมตัวไปสอบด้วยตัวเองนี่แหละ
ตระกูลผม นับขึ้นไปจนสุดชั่วอายุคน ก็หาบรรพบุรุษคนไหนรับราชการไม่เจอ
มีผมนี่แหละที่ได้เป็นข้าราชการคนแรกของตระกูล
ติดตามหาข่าวเอง สมัครเอง สอบเอง อ่านหนังสือเอง ไม่รู้จักใคร ไม่มีเส้นสาย ครับ
ใครบอกสอบราชการมีเส้น ๆ ทั้งนั้น, ไม่ต้องไปสอบหรอก, สอบไม่ได้หรอก อย่าไปเชื่อลมปากเลยครับ

มีคนอยู่ 2 จำพวกที่ชอบพูดแบบนั้น คือ
1. พวกสอบไม่ติดเอง แล้วโทษนู่นโทษนี่ไม่โทษตัวเอง
2. พวกไม่รู้จริง

เพิ่มเติมนิดนึง เพราะมีคนชอบเหมารวมว่า เด็กเส้น กับ คนใน ว่าคือพวกเดียวกันครับ
1. เด็กฝากเด็กเส้น คือ พวกที่ถูกฝากฝังเข้ามา ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ โดยไม่คำนึงถึงความรู้ความสามารถ
2. คนในองค์กรหรืออดีตคนในองค์กร คือ เป็นแค่คนที่ทำงานหรือเคยทำงานในองค์กรนั้น ๆ เฉย ๆ

พูดถึงกรณีคนใน คุณก็อย่าไปเหมาว่าเขาจะขี้โกง มีเส้น หรือกลัวไปก่อนว่าจะแข่งคนในไม่ได้นะ
การที่เราเคยเป็นหรือเป็นคนในหน่วยงานที่จะไปสมัครสอบงานราชการ แล้วเราจะมีโอกาสได้มากกว่าคนอื่น มันไม่ผิดนะครับ
ผลขอลองยกตัวอย่างในมุมของผมให้คุณดูหน่อยนะ เช่น
นาย A เคยเป็น จ้างเหมางานธุรการอยู่หน่วยงานหนึ่ง ซึ่งเป็นงานเอกสารที่มีลักษณะเฉพาะทาง คนนอกจะไม่ค่อยรู้ขั้นตอน และเนื้องาน
แต่ นาย A ลาออกมาเพราะสอบติดที่อื่น โดยเป็นการออกมาด้วยดี ยังมีน้ำใจไมตรีต่อกันกับที่ทำงานเก่า
เวลาผ่านไปหน่วยงานเก่าของ นาย A เปิดสอบข้าราชการ
นาย A ซึ่งเคยทำงานที่นั่นมาก่อน มีความรู้ในขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานดีมาก หัวหน้าและเพื่อนร่วมงานรักใคร่ กับ
คนนอกอื่นๆ ซึ่งไม่เคยจับงานด้านนี้มาก่อน ต้องใช้เวลาเรียนรู้กันพอสมควร และไม่รู้ว่านิสัยใจคอเป็นอย่างไร
นาย A กับ คนอื่น ๆ คะแนนข้อเขียนพอ ๆ กัน
คุณคิดว่า นาย A จะมีโอกาสได้มากกว่าคนอื่น ๆ ไม๊ครับ

อีกอย่างนึง
คะแนนทุกภาค (ยกเว้นภาค ก.  ของ ก.พ. เพราะไม่ได้นำมาคิดคะแนนรวมเพื่อจัดลำดับ)
ล้วนมีผลต่อการจัดลำดับทั้งสิ้น ผมจะลองยกตัวอย่างให้ดู
เช่น การสอบ ข้าราชการพลเรือน กรม A, ตำแหน่ง b, รับ 10 อัตรา
มีคนสมัครทั้งสิ้น 1,000 คน
การเรียงลำดับขึ้นบัญชีผู้สอบได้ จะเรียงตาม
1. คะแนนรวมสูงกว่า จะได้ลำดับดีกว่า
2. หากคะแนนรวมเท่ากัน ผู้ที่ได้คะแนน ภาค ข. หรือ ค. (แล้วแต่ประกาศ) สูงกว่า จะอยู่ลำดับดีกว่า
3. หากคะแนน ภาค ก. หรือ ข. (แล้วแต่ประกาศ ตามข้อ 2.) เท่ากัน
    ผู้ที่มีเลขประจำตัวสอบน้อยกว่า จะอยู่ลำดับดีกว่า (ซึ่งมักจะรันตามลำดับการจ่ายเงินค่าสมัคร)

ผลการสอบ ภาค ข. ออกมา มีคนสอบผ่าน 700 คน
จขกท. ได้คะแนน ภาค ข. 180/200
          ได้คะแนน ภาค ค. 80/100
          รวม 260 คะแนน เป็นคะแนนรวมสูงที่สุด
          มีเลขประจำตัวสอบ = 758
คนที่ได้คะแนนรวมเท่ากับ จขกท. มี 20 คน
(กรณีนี้ ผมสมมุติว่าหากคะแนนรวมเท่ากัน ผู้ที่ได้คะแนน ภาค ข. สูงกว่า จะอยู่ลำดับสูงกว่า)
จาก 20 คนที่ได้คะแนนรวมสูงสุด, มี 9 คน ที่ได้คะแนนภาค ข. มากกว่า จขกท.
กรณีนี้ เท่ากับว่า จขกท. จะสอบได้ที่ 10 ได้รับการบรรจุทันที
แต่ถ้า 1. จาก 20 คนที่ได้คะแนนรวมสูงสุด, มี 10 คน ที่ได้คะแนนภาค ข. มากกว่า จขกท.
            กรณีนี้ เท่ากับว่า จขกท. จะสอบได้ที่ 11 ได้ขึ้นบัญชี แต่ยังไม่ได้รับการบรรจุทันที ต้องรอเรียกบัญชี
แต่ถ้า 2. หาก จขกท. ได้คะแนน ภาค ค. 81 คะแนน
            คะแนนรวม จขกท. จะได้ 261 คะแนน ก็จะเป็นคะแนนรวมสูงที่สุด สอบได้ที่ 1 ของบัญชี ได้รับการบรรจุทันที
นี่คือความสำคัญของคะแนน 1 - 2 คะแนน เล็กๆน้อยๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

ยกตัวอย่างอีกกรณีหนึ่ง
หากคนที่ได้คะแนนรวมสูงสุด 260 คะแนน มี 20 คน รวม จขกท. ด้วย
และ 20 คน ที่ได้คะแนนรวมสูงสุด ได้คะแนนภาค ข. เท่ากันอีก
กรณีต่อไปที่จะพิจารณาจัดลำดับคือเลขประจำตัวสอบ
จขกท. มีเลขประจำตัวสอบ = 758
แต่อีก 19 คนที่เหลือ มีเลขประจำตัวสอบน้อยกว่า จขกท. ทั้งหมด
เท่ากับ จขกท. จะสอบได้ที่ 20 ขึ้นบัญชีไว้ ยังไม่ได้บรรจุเลย ต้องรอเรียก

จริง ๆ มีตัวอย่างหลายกรณีเหมือนกัน แต่เพียงเท่านี้ จขกท. คงมองภาพออกแล้ว
ว่าการสอบงานราชการ คะแนน 1 คะแนน ก็มีความสำคัญ
รวมไปถึงปัจจัยอย่างเลขประจำตัวสอบด้วย

สำหรับการสอบงานราชการอื่น ๆ เช่น พนักงานราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ตำรวจ ทหาร ก็จะอยู่ราว ๆ นี้ ก็ลองเปรียบเทียบกันดูครับ

ทุกครั้งที่ไปสอบ ทุกครั้งที่สอบตก ทุกครั้งที่สอบผ่านแต่ได้อันดับไม่ดี
ลองถามตัวเองดูว่าเตรียมพร้อมแค่ไหน อ่านหนังสือพอหรือยัง มีความรู้ที่จะไปสอบหรือยัง
เวลาที่คุณเล่น เวลาที่คุณหลับ
ยังมีอีกหลายคนที่อ่านหนังสือสอบอยู่

เพราะฉะนั้น
ถ้าหวังจะเป็นข้าราชการ
อย่าไปหวังพึ่งเส้น
อย่าไปกลัวว่าจะแพ้เส้น
เส้นน่ะมี แต่ไม่ได้มีเยอะ ไม่ได้มีทุกการสอบ
คนส่วนมากมักจะมโนไปเอง ว่าเส้นทั้งนั้น
ที่ว่ามโนไปเอง ก็เพราะว่าแทบไม่มีหลักฐานอะไรเลย นอกจากฟังเขามาหรือคิดไปเอง
กรณีที่คุณสอบภาค ก. หรือ ภาค ข. ตก แบบไม่ได้ขึ้นบัญญชี ก็เป็นเพราะตัวคุณเอง
เพราะใครที่ทำคะแนนผ่าน 60 % ก็จะได้เข้าสอบสัมภาษณ์ ภาค ค. หมดทุกคน
ซึ่งในกรณีนี้พอสอบตกเอง กลับไปโทษว่าเป็นเพราะเส้นสายมาเบียดตก ซึ่งมันไม่ใช่
กรณีที่คุณสอบขึ้นบัญชีได้อันดับไม่ดี ก็เป็นเพราะคุณยังทำคะแนนได้ไม่ดีพอ ไม่ใช่เพราะมีคนใช้เส้นเขี่ยคุณ
ที่เราทำได้ คือ เตรียมตัวเองให้ดีที่สุด พร้อมที่สุด
ไม่ใช่คร่ำครวญว่าที่สอบไม่ได้ซักทีเพราะไม่มีเส้น เพราะแพ้เส้นครับ

สรุป
คุณไม่รู้หรอกครับว่าครั้งไหนเขาจะเปิดเพื่อเอาคนใน
ถ้าคุณอยากทำงานราชการ
หน้าที่ของคุณ คือ ติดตามข่าวสาร สมัคร เตรียมตัว และไปสอบครับ

ผมสอบพนักงานราชการได้ที่ 2 จากอัตราแรกรับ 1 อัตรา รอเรียกบัญชี 7 เดือนได้เข้าทำงาน
ผมสอบข้าราชการได้ที่ 8 จากอัตราแรกรับ 1 อัตรา ได้บรรจุเลยเพราะหน่วยงานขยายอัตรารับ
ทั้ง 2 แห่ง ถ้าผมเห็นว่ารับแค่ 1 อัตรา คงเอาแต่คนในแน่ ๆ และไม่ไปสอบ ผมคงไม่มีงานดี ๆ ทำในวันนี้ครับ

แฟนผมสอบพนักงานราชการได้ที่ 7 อัตราแรกรับ 4 อัตรา
ได้เข้าทำงานเพราะหน่วยงานขยายอัตรารับ
พอเข้าไปทำงานจึงรู้ว่า คนในก็ไปสอบเช่นกัน แต่สอบไม่ผ่านเอง และพวกที่สอบผ่านได้เข้าทำงานในรอบนั้นก็มีแต่คนนอกทั้งนั้น
หลังจากนั้นสอบเป็นข้าราชการได้แล้วด้วยตัวเอง 2 ครั้ง (บรรจุแล้วลาออกมาบรรจุใหม่)
ก็ไม่เห็นว่าจะต้องมีเส้นสาย หรือยัดเงินใต้โต๊ะใด ๆ

อย่างที่ยกตัวอย่างมา จะเห็นได้ว่าหน่วยงานก็ไม่ได้จะเปิดสอบเพื่อเอาคนในหรือเด็กเส้นเสมอไป
ถ้าคุณไปสอบ ผลจะออกมามี 2 ทาง คือ สอบได้ กับ สอบไม่ได้
แต่ถ้าคุณไม่ไปสอบ ผลออกมามีทางเดียว คือ สอบไม่ได้เลย
ลองเลือกดูครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่