ปัจจุบันบน ฉลากผลิตภัณฑ์ ส่วนใหญ่ เราจะทราบถึง ข้อมูลผลิตภัณฑ์ ข้อมูลโภชนาการ หรือส่วนประกอบต่างๆของผลิตภัณฑ์ แต่อีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญและเราไม่ควรมองข้าม คือ อักษรย่อบนผลิตภัณฑ์ หรือสินค้าที่บริโภค ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร MFG / MFD, EXP / EXD, BB / BBE / Reg. No. ตัวย่อเหล่านี้มีความสำคัญอย่างมากเพราะตัวอักษร ตัวเลขนี้ บอกถึง วันหมดอายุ วันผลิต ว่าเราสามารถรับประทาน หรือเก็บรักษาผลิตภัณฑ์นี้ได้นานเพียงใด
ตาม SGE จะพาทุกคนไปรู้จักกับกับ วันหมดอายุ และตัวย่อต่าง ๆ บนฉลากผลิตภัณฑ์กัน ว่ามีอะไรบ้าง?
▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾
วันหมดอายุ และควรบริโภคก่อน แตกต่างกันอย่างไร?
เรามารู้ความหมายของ “วันหมดอายุ และ ควรบริโภคก่อน” กันก่อน ว่า 2 คำนี้ มีความหมายแตกต่างกันอย่างไร?
👉 วันหมดอายุ
ตัวย่อ EXP หมายถึง เป็นวันที่บ่งบอกถึงวันที่อาหารหมดอายุ หลังจากวันนั้น ไม่ควรเอาอาหารนั้นมากิน เพราะหลังจากวันนั้นเป็นต้นไป อาหารก็จะเริ่มบูดหรือเน่าเสีย ฉะนั้น จึงไม่ควรที่จะรับประทานอาหารหลังจากวันที่กำหนดว่าหมดอายุแล้ว ควรทิ้ง นั่นเอง
👉 ควรบริโภคก่อน
ตัวย่อ BBE หมายถึง เป็นวันที่บ่งบอกว่าอาหารนั้น ยังคงมีคุณภาพ และมีรสชาติที่ดีเหมือนเดิม จนถึงวันที่ระบุไว้ ยังคงคุณค่าทางอาหารครบถ้วน แต่หลังจากวันนั้นไป รสชาติ คุณภาพ และคุณค่าทางอาหาร จะลดลง ยังสามารถบริโภคได้โดยไม่มีอันตราย แต่อาจไม่ได้ประโยชน์จากอาหารนั้น ตามที่ระบุไว้บนฉลากอาหารได้
นอกจากอาหารแล้ว BBF ยังปรากฏในสินค้าประเภทเครื่องสำอางค์ แสดงไว้คู่กับวันที่ผลิต ซึงปกติแล้ววันหมดอายุของเครื่องสำอางค์ จะต้องดูจากวันที่ผลิต และบวกเวลาไปอีก 2 ปี สำหรับเครื่องสำอางค์ประเภทครีม ส่วนเครื่องสำอางค์ประเภทแป้งนั้น หากเราไม่เปิดใช้งาน ก็สามารถเก็บไว้ได้นานประมาณ 5 ปีเลยทีเดียว
โดยทั่วไป ผู้ผลิตมักจะเลือกใช้คำว่า ควรบริโภคก่อน และจะกำหนดวันล่วงหน้าไว้ ระยะหนึ่งก่อนที่อาหารนั้น ๆ จะหมดอายุ หรือเสีย ดังนั้น วันที่ ที่ระบุหลังคำว่า ควรบริโภคก่อน คือ คำแนะนำให้ผู้บริโภครับประทานอาหารนั้น เพื่อความสด รสชาติ และสารอาหารในอาหารนั้น ๆ ก่อนที่มันจะเปลี่ยนแปลง หรือลดคุณภาพลง
อายุโดยประมาณของอาหารแต่ละประเภท
ของในตู้เย็นของเราอาจจะมีมากเกินไป และก็เป็นการยากที่เราจะจำวันหมดอายุของสินค้าแต่ละชิ้นได้อย่างแม่นยำ ฉะนั้นเราอาจจะเลือกจำอายุคร่าว ๆ ของสินค้าแต่ละประเภท ดังนี้
- ไข่ : ไข่ที่เก็บในที่แห้ง และเย็นอุณหภูมิ 3-5 องศาเซลเซียสจะอยู่ได้นานประมาณ 3-5 สัปดาห์
- อาหารกระป๋อง : อาหารกระป๋องมักจะอยู่ได้ประมาณ 1 ปีนับจากวันที่ผลิต
- ขนมปัง : หากเราเก็บขนมปังไว้ในอุณภูมิปกติ จะสามารถอยู่ได้ 3-5 วัน แต่ถ้าเก็บในช่องแช่แข็ง จะอยู่ได้ 2 สัปดาห์
- ซีเรียล : หากยังไม่เปิดกล่องและแช่เย็นไว้ จะสามารถเก็บซีเรียลไว้ได้นานถึง 6 เดือนถึง 1 ปี แต่หากเราพบว่าสีสัน หรือรสชาติของเซีเรียลเปลี่ยนไปก็ให้หยุดรับประทานไปเลย
อาหารที่หมดอายุแล้วก็ยังรับประทานได้
ไม่แนะนำให้รับประทานอาหารที่หมดอายุ แต่ถ้าหากเรารู้ไว้ก่อน เผื่อเผลอตัวทานเข้าไป จะได้พออุ่นใจได้ว่า อาจจะไม่ส่งผลเสียมากเท่าไร เช่น
- ขนมกรุบกรอบ : หากขณะที่เราเปิดรับประทานแล้วมีกลิ่นหืนขึ้นมา เราก็สามารถพรมน้ำมัน และนำไปอบ ขนมกรุบกรอบก็ยังสามารถกลับมากรอบและสามารถรับประทานได้ แต่หากหมดอายุนานเกินไปแล้วก็ทิ้งไปเลยจะปลอดภัยกว่า
- โยเกิร์ต : คือ นมที่ผ่านการหมักด้วยจุลินทรีย์ โดยหากโยเกิร์ตหมดอายุไป ก็ยังสามารถรับประทานต่อได้อีกช่วงเวลาหนึ่ง
- ไข่ : ผลิตภัณฑ์ประเภทไข่ หากเราเก็บไว้ที่อุณหภูมิต่ำ ก็จะสามารถเก็บไว้ได้นานกว่าวันหมดอายุที่กำหนดไว้
- นม : เมื่อเราเก็บนมไว้ที่อุณภูมิต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส ก็จะทำให้อายุของนมนั้นยาวนานขึ้น
- ช็อกโกแลต : สำหรับช็อกโกแลต เมื่อเก็บไว้นานระยะหนึ่งอาจจะเกิดคราบขาว ซึ่งอาจจะเป็นไขมันจากขั้นตอนการผลิตช็อกโกแลต ก็สามารถรับประทานได้
ข้อมูลเพิ่มเติม :
https://www.sgethai.com/article/%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b8%94%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%b8-%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%95%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b8%a2%e0%b9%88%e0%b8%ad-%e0%b8%9a%e0%b8%99%e0%b8%89/
วันหมดอายุ และตัวย่อ บนฉลากผลิตภัณฑ์ มีอะไรบ้าง?
เรามารู้ความหมายของ “วันหมดอายุ และ ควรบริโภคก่อน” กันก่อน ว่า 2 คำนี้ มีความหมายแตกต่างกันอย่างไร?
ตัวย่อ EXP หมายถึง เป็นวันที่บ่งบอกถึงวันที่อาหารหมดอายุ หลังจากวันนั้น ไม่ควรเอาอาหารนั้นมากิน เพราะหลังจากวันนั้นเป็นต้นไป อาหารก็จะเริ่มบูดหรือเน่าเสีย ฉะนั้น จึงไม่ควรที่จะรับประทานอาหารหลังจากวันที่กำหนดว่าหมดอายุแล้ว ควรทิ้ง นั่นเอง
👉 ควรบริโภคก่อน
ตัวย่อ BBE หมายถึง เป็นวันที่บ่งบอกว่าอาหารนั้น ยังคงมีคุณภาพ และมีรสชาติที่ดีเหมือนเดิม จนถึงวันที่ระบุไว้ ยังคงคุณค่าทางอาหารครบถ้วน แต่หลังจากวันนั้นไป รสชาติ คุณภาพ และคุณค่าทางอาหาร จะลดลง ยังสามารถบริโภคได้โดยไม่มีอันตราย แต่อาจไม่ได้ประโยชน์จากอาหารนั้น ตามที่ระบุไว้บนฉลากอาหารได้
นอกจากอาหารแล้ว BBF ยังปรากฏในสินค้าประเภทเครื่องสำอางค์ แสดงไว้คู่กับวันที่ผลิต ซึงปกติแล้ววันหมดอายุของเครื่องสำอางค์ จะต้องดูจากวันที่ผลิต และบวกเวลาไปอีก 2 ปี สำหรับเครื่องสำอางค์ประเภทครีม ส่วนเครื่องสำอางค์ประเภทแป้งนั้น หากเราไม่เปิดใช้งาน ก็สามารถเก็บไว้ได้นานประมาณ 5 ปีเลยทีเดียว
โดยทั่วไป ผู้ผลิตมักจะเลือกใช้คำว่า ควรบริโภคก่อน และจะกำหนดวันล่วงหน้าไว้ ระยะหนึ่งก่อนที่อาหารนั้น ๆ จะหมดอายุ หรือเสีย ดังนั้น วันที่ ที่ระบุหลังคำว่า ควรบริโภคก่อน คือ คำแนะนำให้ผู้บริโภครับประทานอาหารนั้น เพื่อความสด รสชาติ และสารอาหารในอาหารนั้น ๆ ก่อนที่มันจะเปลี่ยนแปลง หรือลดคุณภาพลง
อายุโดยประมาณของอาหารแต่ละประเภท
ของในตู้เย็นของเราอาจจะมีมากเกินไป และก็เป็นการยากที่เราจะจำวันหมดอายุของสินค้าแต่ละชิ้นได้อย่างแม่นยำ ฉะนั้นเราอาจจะเลือกจำอายุคร่าว ๆ ของสินค้าแต่ละประเภท ดังนี้
- ไข่ : ไข่ที่เก็บในที่แห้ง และเย็นอุณหภูมิ 3-5 องศาเซลเซียสจะอยู่ได้นานประมาณ 3-5 สัปดาห์
- อาหารกระป๋อง : อาหารกระป๋องมักจะอยู่ได้ประมาณ 1 ปีนับจากวันที่ผลิต
- ขนมปัง : หากเราเก็บขนมปังไว้ในอุณภูมิปกติ จะสามารถอยู่ได้ 3-5 วัน แต่ถ้าเก็บในช่องแช่แข็ง จะอยู่ได้ 2 สัปดาห์
- ซีเรียล : หากยังไม่เปิดกล่องและแช่เย็นไว้ จะสามารถเก็บซีเรียลไว้ได้นานถึง 6 เดือนถึง 1 ปี แต่หากเราพบว่าสีสัน หรือรสชาติของเซีเรียลเปลี่ยนไปก็ให้หยุดรับประทานไปเลย
อาหารที่หมดอายุแล้วก็ยังรับประทานได้
ไม่แนะนำให้รับประทานอาหารที่หมดอายุ แต่ถ้าหากเรารู้ไว้ก่อน เผื่อเผลอตัวทานเข้าไป จะได้พออุ่นใจได้ว่า อาจจะไม่ส่งผลเสียมากเท่าไร เช่น
- ขนมกรุบกรอบ : หากขณะที่เราเปิดรับประทานแล้วมีกลิ่นหืนขึ้นมา เราก็สามารถพรมน้ำมัน และนำไปอบ ขนมกรุบกรอบก็ยังสามารถกลับมากรอบและสามารถรับประทานได้ แต่หากหมดอายุนานเกินไปแล้วก็ทิ้งไปเลยจะปลอดภัยกว่า
- โยเกิร์ต : คือ นมที่ผ่านการหมักด้วยจุลินทรีย์ โดยหากโยเกิร์ตหมดอายุไป ก็ยังสามารถรับประทานต่อได้อีกช่วงเวลาหนึ่ง
- ไข่ : ผลิตภัณฑ์ประเภทไข่ หากเราเก็บไว้ที่อุณหภูมิต่ำ ก็จะสามารถเก็บไว้ได้นานกว่าวันหมดอายุที่กำหนดไว้
- นม : เมื่อเราเก็บนมไว้ที่อุณภูมิต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส ก็จะทำให้อายุของนมนั้นยาวนานขึ้น
- ช็อกโกแลต : สำหรับช็อกโกแลต เมื่อเก็บไว้นานระยะหนึ่งอาจจะเกิดคราบขาว ซึ่งอาจจะเป็นไขมันจากขั้นตอนการผลิตช็อกโกแลต ก็สามารถรับประทานได้
ข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.sgethai.com/article/%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b8%94%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%b8-%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%95%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b8%a2%e0%b9%88%e0%b8%ad-%e0%b8%9a%e0%b8%99%e0%b8%89/