ไม่อยากเห็นพระมาข้องแวะกับการจัดสร้างถาวรวัตถุกันมากนัก จนเหมือนท่านจะลืมไปไหมว่าที่ท่านมาบวชเนี่ย...เพื่ออะไรกัน?

ทุกคนทำอะไรล้วนต้องมีเป้าหมาย 
คนไปเรียน ก็เพราะมุ่งหวังสำเร็จการศึกษา จะได้มีความรู้ไปประกอบวิชาชีพเลี้ยงตัวในอนาคต
แล้วคนที่มาบวชพระล่ะ บวชเพื่ออะไร?
จะบวชไปทำไม ไหนตอบหน่อยซิ?
ในขั้นตอนของพิธีบวช ในขั้นแรกเลย มี 2 สิ่งที่พระอุปัชฌาย์ควรต้องถามผู้มาขอบวชก่อน คือ...
1.จะบวชเพื่ออะไร บวชไปทำไม บวชแล้วหวังว่าจะได้อะไร
2.กิจของสงฆ์มีกี่ข้อ อะไรบ้าง

กระทู้นี้มีสาระนะ และหัวข้อกระทู้ ก็เกี่ยวกับคำถามทั้ง 2 ข้อด้านบนนั่นแหละ คือ
การจัดสร้างถาวรวัตถุที่มีมูลค่าการจัดสร้างมากมายหลายล้านบาทนั้น จำเป็นแค่ไหน และมันใช่กิจของสงฆ์ไหม หรือ...มีกิจอย่างอื่นที่ควรทำมากกว่าไหม
เช่น การศึกษาพระธรรมวินัย รวมทั้งการปฏิบัติพระกรรมฐาน การเผยแผ่พุทธธรรมคำสอนของพระศาสดา เป็นต้น
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
ผมก็มีข้อสงสัยคล้ายๆ กันครับ    
แต่ก็เข้าใจนะครับว่า ในโลกนี้ การหาความพอดี  มันก็ไม่ง่ายในหลายกรณี

จากที่ได้รับฟังความเห็นจากครูอาจารย์ พระผู้ใหญ่หลายท่าน  ก็ประมาณว่า
ในทางพุทธ  ทุกเรื่องก็ต้องใช้สติปัญญาในการพิจารณา ว่าจะลงมือทำอะไร  ทำแค่ไหน  ทำแบบไหน ... ฯลฯ
ถึงจะเกิดประโยชน์อย่างเต็มที่

หลายครั้งเลยที่ไม่ว่าจะฆราวาส หรือพระ  ก็ทำอะไรที่คิดว่าเป็นประโยชน์  แต่มันก็ไม่เกิดประโยชน์เต็มที่นัก
เช่น ประโยชน์อย่างเต็มที่ของพระหรือฆราวาสในการสืบทอดเผยแผ่พระธรรม  คือ การศึกษาและปฏิบัติ
ฝึกตนจนเกิดผล  จนรู้จริง  แล้วนำมาสอน นำมาแนะนำให้แก่ผู้อื่น
ทำตัวเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่น   ฯลฯ

ไม่ได้หมายความว่า พวกวัตถุ หรือพิธีกรรม หรือสถานที่ทางศาสนา  ไม่มีประโยชน์อะไรเลย
แต่สิ่งเหล่านั้น  ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย  เราไม่ได้ขาดวัตถุ  ไม่ได้ขาดเรื่องพวกนี้

แต่ที่ขาดมากๆ  คือ  ขาดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อพุทธศาสนา
ซึ่งคนที่ทำหน้าที่เหล่านี้ ก็คือ พุทธบริษัท ทั้งพระ ทั้งโยม  นี่แหละครับ

การจะสร้างวัตถุ สถานที่ อะไร  เกินจำเป็น  มันก็คงเกิดประโยชน์อยู่บ้าง
แต่มันก็อาจจะมีโทษปนอยู่ในหลายกรณี

เรียกได้ว่า  เอาเวลา เอาหน้าที่ความเป็นพระ  ที่มีหน้าที่อันจำเป็นมากกว่านี้
แต่เอาไปทำเรื่องที่จำเป็นน้อยกว่า    
ถ้าเป็นสิ่งของ ก็เปรียบเป็นการใช้ประโยชน์แบบไม่คุ้มค่า  ก็ได้ครับ

และถ้าเน้นทางวัตถุ ทางพิธีกรรม  มากไป
มันส่งผลเป็นโทษได้  อย่างทุกวันนี้   ที่ "แก่นธรรม" แห่งการฝึกตนเพื่อพ้นทุกข์นั้นเลือนลางไปเยอะ
คนสนใจวัด เป็นแค่ที่พึ่งทางใจฉาบฉวย   แล้วก็ไปผสมกับพุทธพาณิชย์
ผสมกับความเชื่อโชคลาง สิ่งศักดิ์สิทธิ์      
ทั้งหมดนี้ มันเกี่ยวเนื่องกัน       ทำยังไงถึงจะหาความพอดีได้ก็ไม่ทราบครับ
เพราะเชื่อว่า พระวินัย ก็มีระบุไว้  ว่า  อะไรคือหน้าที่อันสมควรของพระ
ซึ่งมีส่วนต่างจากการทำประโยชน์ของฆราวาสครับ
ไม่งั้น จะไปบวชทำไม  ก็น่าตั้งข้อสงสัยไว้ครับ

ก็ขอย้ำว่า ไม่ได้หมายความว่า พวกวัตถุ หรือพิธีกรรม หรือสถานที่ทางศาสนา  ไม่มีประโยชน์อะไรเลย
แต่สิ่งเหล่านั้น  ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย  เราไม่ได้ขาดวัตถุ  ไม่ได้ขาดเรื่องพวกนี้
แต่ที่ขาดมากๆ  คือ  ขาดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อพุทธศาสนา


ไม่ได้จะบอกให้สุดโต่งไปทางใดทางนึง
มันคงต้องมีการผสมผสาน  มีกุศโลบาย  และหาความพอดี

คือ ต้องให้ความรู้ ให้ข้อมูล  เพื่อพาไปสู่ "แก่น"  เน้นทางนี้ให้มากขึ้น
ส่วนเรื่อง "เปลือก"  เรื่องปลีกย่อยนั้น  ก็ต้องให้ความสำคัญลดหลั่นกันไป
ไม่ใช่ให้ความสำคัญกับ "เปลือก"   จนลืม "แก่น" ไปแล้ว

หมายเหตุ :  ก็เห็นใจนะครับว่า พระบางรูป ในบางสถานการณ์ ก็มีเหตุปัจจัยที่ทำให้ต้องถูกชาวบ้านเรียกร้อง
กดดัน  หรือถูกสถานการณ์บางอย่างชักชวนให้ไปทำหน้าที่เพื่อสาธารณประโยชน์
พระก็เป็นที่พึ่งในสารพัดเรื่องให้กับชาวบ้าน ให้กับชุมชน  ให้กับสังคม
จนบางที พระก็เป๋ทำเกินสมควรไปไม่น้อย

แต่ก็มีพระหลายรูปที่หลงกลของกิเลส  ทำไปโดยเจตนาของตัวเอง

เอาเป็นว่า ใครสนใจประเด็นเหล่านี้  ในคลิปนี้มีแง่คิดที่เป็นประโยชน์ครับ

พระควรมีส่วนร่วมช่วยเหลือสังคมแค่ไหน?  โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ปยุตฺโต) https://youtu.be/q4m2HKoWaII
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่