[๒๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออายตนะ ภายในและภายนอก ๖
ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออายตนะ ภายในและภายนอก ๖ อย่างไร เล่า
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จัก
- นัยน์ตา รู้จักรูป และรู้จักนัยน์ตาและรูปทั้ง ๒ นั้น อันเป็น ที่อาศัยบังเกิดของสังโยชน์
- อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัด ประการนั้นด้วย
- สังโยชน์ ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
- สังโยชน์ที่ ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ภิกษุย่อม รู้จักหู รู้จัก
- เสียง ...
ภิกษุย่อมรู้จักจมูก รู้จัก
- กลิ่น ...
ภิกษุย่อมรู้จัก
- ลิ้น รู้จักรส ...
ภิกษุย่อม รู้จัก
- กาย รู้จักสิ่งที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย ...
ภิกษุย่อมรู้จัก
- ใจ รู้จัก ธรรมารมณ์ และรู้จักใจและ ธรรมารมณ์ทั้ง ๒ นั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดของ สังโยชน์
- อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้น ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการ นั้นด้วย
- สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น ด้วย
- สังโยชน์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัด ประการ นั้นด้วย
ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อม
- พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง
- พิจารณา เห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง
- พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้ง ภายนอกบ้าง
- พิจารณาเห็น ธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง
- พิจารณาเห็นธรรมคือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่
อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่า อาศัยระลึกเท่านั้น
เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออายตนะภายใน และภาย นอก ๖ อยู่ ฯ
จบอายตบรรพ
ตอนที่-57: ...พุทธวจน....ผลของการพิจารณาธรรม... อันเป็นที่อาศัยของสังโยชน์
[๒๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออายตนะ ภายในและภายนอก ๖
ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออายตนะ ภายในและภายนอก ๖ อย่างไร เล่า
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จัก
- นัยน์ตา รู้จักรูป และรู้จักนัยน์ตาและรูปทั้ง ๒ นั้น อันเป็น ที่อาศัยบังเกิดของสังโยชน์
- อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัด ประการนั้นด้วย
- สังโยชน์ ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
- สังโยชน์ที่ ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ภิกษุย่อม รู้จักหู รู้จัก
- เสียง ...
ภิกษุย่อมรู้จักจมูก รู้จัก
- กลิ่น ...
ภิกษุย่อมรู้จัก
- ลิ้น รู้จักรส ...
ภิกษุย่อม รู้จัก
- กาย รู้จักสิ่งที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย ...
ภิกษุย่อมรู้จัก
- ใจ รู้จัก ธรรมารมณ์ และรู้จักใจและ ธรรมารมณ์ทั้ง ๒ นั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดของ สังโยชน์
- อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้น ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการ นั้นด้วย
- สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น ด้วย
- สังโยชน์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัด ประการ นั้นด้วย
ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อม
- พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง
- พิจารณา เห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง
- พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้ง ภายนอกบ้าง
- พิจารณาเห็น ธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง
- พิจารณาเห็นธรรมคือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่
อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่า อาศัยระลึกเท่านั้น
เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออายตนะภายใน และภาย นอก ๖ อยู่ ฯ
จบอายตบรรพ