มาตรฐานที่จำเป็นสำหรับประตู-หน้าต่าง
ประตูและหน้าต่างที่ดี จะถูกทำการทดสอบคุณภาพเพื่อให้ได้มาตรฐานในการใช้งาน ซึ่งมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับกันทั่วโลก คือ มาตรฐานอุตสาหกรรมญี่ปุ่น หรือ JIS (Japanese Industrial Standards) โดยได้กำหนดมาตรฐานพื้นฐานของ ประตู และหน้าต่างที่ดีไว้ 3 มาตรฐาน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเจ้าของบ้านในการเลือกประตู และหน้าต่าง ดังนี้ครับ
Wind Pressure Resistance Performance (การต้านทานแรงลม)
ประตู หน้าต่าง เลือกใช้อย่างไร…คำตอบแรกคือ ประตู และหน้าต่างต้องมีความสามารถในการต้านทานแรงลม โดยสังเกตจากสลากบนตัวสินค้า เพราะหาก วัสดุหน้าประตู-หน้าต่าง ไม่สามารถต้านทานแรงลมได้ เมื่อเกิดลมพายุแรง จะส่งผลให้ประตูหน้าต่างโก่ง หลุดจากวงกบ กระจกแตก และส่งผลอันตรายต่อผู้อยู่อาศัยภายในบ้านได้ครับ
ซึ่ง Wind Pressure Resistance Performance หรือ การต้านทานแรงลม เป็นค่าที่บ่งบอกถึงความแข็งแรงของบานประตู และหน้าต่างในการต้านทานแรงลมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร โดยมีหน่วยเป็น พาสคัล (Pa) ซึ่งอาคารบ้านเรือนแต่ละประเภท จะต้องเลือกใช้ประตู และหน้าต่างที่มีคุณสมบัติการต้านทานแรงลมที่ต่างกัน โดยมาตรฐานอุตสาหกรรมไทย (มอก.744-2530) ได้จำกัดประเภทของประตู หน้าต่าง เลือกใช้อย่างไร เพื่อติดตั้งบนอาคารสูง หรือคอนโดมิเนียม อาคารสำนักงานไว้ดังนี้ครับ
– อาคารสูง 10-20 เมตร เหมาะกับหน้าต่างที่ต้านแรงลมได้ระหว่าง 800-1,200 Pa
– อาคารสูง 20-40 เมตร เหมาะกับหน้าต่างที่ต้านแรงลมได้ระหว่าง 1,200-1,600 Pa
– อาคารสูงกว่า 40 เมตร เหมาะกับหน้าต่างที่ต้านแรงลมไม่น้อยกว่า 1,600 Pa
หรือสามารถแบ่งการต้านทานแรงลม ได้เป็น 7 ระดับดังนี้
Water Tightness Performance (การป้องกันน้ำรั่วซึม)
ประตู หน้าต่าง เลือกใช้อย่างไร… คุณสมบัติรองลงมาที่ควรพิจารณา เมื่อต้องเลือกซื้อประตู และหน้าต่าง คือ การป้องกันน้ำฝนรั่วซึม เมื่อเกิดแรงลม หรือพายุฝนในช่วงฤดูฝนของทุก ๆ ปี แทบทุกบ้านมักพบปัญหาน้ำรั่วซึมจากขอบหน้าต่าง และขอบประตู ส่งผลให้เกิดความเสียหายภายในตัวบ้านทั้งพื้น ผนัง และ เฟอร์นิเจอร์ การสังเกต และเลือก วัสดุหน้าประตู-หน้าต่าง ที่สามารถป้องกันน้ำฝนรั่วซึมให้เหมาะสมกับตำแหน่งการตั้ง จึงเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กันครับ
มาตรฐาน Water Tightness Performance หรือการป้องกันน้ำรั่วซึมนั้นมีหน่วยเป็นพาสคัล (Pa) เช่นเดียวกับการต้านทานแรงลม โดยค่ามาตรฐานในการป้องกันน้ำฝนรั่วซึมจะอยู่ที่ 100-500 พาสคัล ซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของ ตำแหน่งการตั้ง ภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากน้ำฝน และความสูงของที่พักอาศัยเป็นหลักครับ โดยการป้องกันน้ำรั่วซึมนั้น สามารถแบ่งได้เป็น 5 ระดับ
Air Tightness Performance (การป้องกันอากาศรั่วไหล)
ประตู หน้าต่าง เลือกใช้อย่างไร… เมื่อต้องการควบคุมอุณหภูมิ หรืออากาศภายในห้องให้คงที่ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีการเปิดใช้เครื่องปรับอากาศ การเลือกประตู และหน้าต่างที่มีคุณสมบัติป้องกันอากาศรั่วไหลของอากาศผ่านตัวบานประตูและวงกบ จะช่วยให้ประหยัดพลังงานได้มากขึ้นครับ เพราะเครื่องปรับอากาศจะทำงานไม่หนัก แถมยังช่วยป้องกันเสียงรบกวน และป้องกันฝุ่นละออง โดยเฉพาะในช่วงฝุ่น PM 2.5 ที่กำลังจะมาถึง หรือแม้แต่กลิ่นไม่พึงประสงค์ มลพิษต่างๆ ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหาสุขภาพของทุกคนในครอบครัว
แต่หากประตู หรือหน้าต่างไม่มีคุณสมบัติในการป้องกันอากาศรั่วไหล ผู้อยู่อาศัยจะได้ยินเสียงลมเข้ามาภายในห้อง จนสร้างความรำคาญใจให้กับสมาชิกในครอบครัว ดังนั้นจึงต้องสังเกตข้อมูลหรือสอบถามผู้รู้เพื่อให้เลือกใช้ วัสดุหน้าประตู-หน้าต่าง ที่สามารถป้องกันอากาศรั่วไหลได้ โดยระดับในการป้องกันอากาศรั่วไหล สามารถแบ่งได้เป็น 4 ระดับ ดังนี้
รู้อย่างนี้แล้ว คำถามที่ว่าประตู หน้าต่าง เลือกใช้อย่างไร คงไม่ใช่เรื่องยากสำหรับคุณแม่บ้าน พ่อบ้าน ที่มีความต้องการจะสร้างบ้านใหม่ หรือรีโนเวทบ้านเก่าแล้วใช่มั้ยครับ เพราะเพียงแค่มองหาประตู-หน้าต่างที่ได้มาตรฐาน 3 ข้อสำคัญ คือ ต้านทานแรงลม ป้องกันน้ำฝนรั่วซึม ป้องกันอากาศรั่วไหล ตามที่ HomeGuru กล่าวไว้ข้างต้น ก็จะช่วยให้บ้านสวย และประตูมีอายุการใช้งานที่ยาวนานเพิ่มขึ้นด้วยนะครับ
HomeGuru by HomePro
อุ่นใจทุกเรื่องบ้านไปกับโฮมโปร และติดตามเคล็ดลับดีๆ เพื่อบ้านได้ทาง
http://bit.ly/HomeGuru_Homepro
และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นปัญหาเรื่องบ้านกับ HomeGuru เพิ่มเติมได้ทาง
https://bit.ly/3dQm4XE
3 มาตรฐานจำเป็นต้องรู้สำหรับประตู-หน้าต่าง
ประตูและหน้าต่างที่ดี จะถูกทำการทดสอบคุณภาพเพื่อให้ได้มาตรฐานในการใช้งาน ซึ่งมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับกันทั่วโลก คือ มาตรฐานอุตสาหกรรมญี่ปุ่น หรือ JIS (Japanese Industrial Standards) โดยได้กำหนดมาตรฐานพื้นฐานของ ประตู และหน้าต่างที่ดีไว้ 3 มาตรฐาน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเจ้าของบ้านในการเลือกประตู และหน้าต่าง ดังนี้ครับ
Wind Pressure Resistance Performance (การต้านทานแรงลม)
ประตู หน้าต่าง เลือกใช้อย่างไร…คำตอบแรกคือ ประตู และหน้าต่างต้องมีความสามารถในการต้านทานแรงลม โดยสังเกตจากสลากบนตัวสินค้า เพราะหาก วัสดุหน้าประตู-หน้าต่าง ไม่สามารถต้านทานแรงลมได้ เมื่อเกิดลมพายุแรง จะส่งผลให้ประตูหน้าต่างโก่ง หลุดจากวงกบ กระจกแตก และส่งผลอันตรายต่อผู้อยู่อาศัยภายในบ้านได้ครับ
ซึ่ง Wind Pressure Resistance Performance หรือ การต้านทานแรงลม เป็นค่าที่บ่งบอกถึงความแข็งแรงของบานประตู และหน้าต่างในการต้านทานแรงลมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร โดยมีหน่วยเป็น พาสคัล (Pa) ซึ่งอาคารบ้านเรือนแต่ละประเภท จะต้องเลือกใช้ประตู และหน้าต่างที่มีคุณสมบัติการต้านทานแรงลมที่ต่างกัน โดยมาตรฐานอุตสาหกรรมไทย (มอก.744-2530) ได้จำกัดประเภทของประตู หน้าต่าง เลือกใช้อย่างไร เพื่อติดตั้งบนอาคารสูง หรือคอนโดมิเนียม อาคารสำนักงานไว้ดังนี้ครับ
– อาคารสูง 10-20 เมตร เหมาะกับหน้าต่างที่ต้านแรงลมได้ระหว่าง 800-1,200 Pa
– อาคารสูง 20-40 เมตร เหมาะกับหน้าต่างที่ต้านแรงลมได้ระหว่าง 1,200-1,600 Pa
– อาคารสูงกว่า 40 เมตร เหมาะกับหน้าต่างที่ต้านแรงลมไม่น้อยกว่า 1,600 Pa
หรือสามารถแบ่งการต้านทานแรงลม ได้เป็น 7 ระดับดังนี้
Water Tightness Performance (การป้องกันน้ำรั่วซึม)
ประตู หน้าต่าง เลือกใช้อย่างไร… คุณสมบัติรองลงมาที่ควรพิจารณา เมื่อต้องเลือกซื้อประตู และหน้าต่าง คือ การป้องกันน้ำฝนรั่วซึม เมื่อเกิดแรงลม หรือพายุฝนในช่วงฤดูฝนของทุก ๆ ปี แทบทุกบ้านมักพบปัญหาน้ำรั่วซึมจากขอบหน้าต่าง และขอบประตู ส่งผลให้เกิดความเสียหายภายในตัวบ้านทั้งพื้น ผนัง และ เฟอร์นิเจอร์ การสังเกต และเลือก วัสดุหน้าประตู-หน้าต่าง ที่สามารถป้องกันน้ำฝนรั่วซึมให้เหมาะสมกับตำแหน่งการตั้ง จึงเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กันครับ
มาตรฐาน Water Tightness Performance หรือการป้องกันน้ำรั่วซึมนั้นมีหน่วยเป็นพาสคัล (Pa) เช่นเดียวกับการต้านทานแรงลม โดยค่ามาตรฐานในการป้องกันน้ำฝนรั่วซึมจะอยู่ที่ 100-500 พาสคัล ซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของ ตำแหน่งการตั้ง ภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากน้ำฝน และความสูงของที่พักอาศัยเป็นหลักครับ โดยการป้องกันน้ำรั่วซึมนั้น สามารถแบ่งได้เป็น 5 ระดับ
Air Tightness Performance (การป้องกันอากาศรั่วไหล)
ประตู หน้าต่าง เลือกใช้อย่างไร… เมื่อต้องการควบคุมอุณหภูมิ หรืออากาศภายในห้องให้คงที่ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีการเปิดใช้เครื่องปรับอากาศ การเลือกประตู และหน้าต่างที่มีคุณสมบัติป้องกันอากาศรั่วไหลของอากาศผ่านตัวบานประตูและวงกบ จะช่วยให้ประหยัดพลังงานได้มากขึ้นครับ เพราะเครื่องปรับอากาศจะทำงานไม่หนัก แถมยังช่วยป้องกันเสียงรบกวน และป้องกันฝุ่นละออง โดยเฉพาะในช่วงฝุ่น PM 2.5 ที่กำลังจะมาถึง หรือแม้แต่กลิ่นไม่พึงประสงค์ มลพิษต่างๆ ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหาสุขภาพของทุกคนในครอบครัว
แต่หากประตู หรือหน้าต่างไม่มีคุณสมบัติในการป้องกันอากาศรั่วไหล ผู้อยู่อาศัยจะได้ยินเสียงลมเข้ามาภายในห้อง จนสร้างความรำคาญใจให้กับสมาชิกในครอบครัว ดังนั้นจึงต้องสังเกตข้อมูลหรือสอบถามผู้รู้เพื่อให้เลือกใช้ วัสดุหน้าประตู-หน้าต่าง ที่สามารถป้องกันอากาศรั่วไหลได้ โดยระดับในการป้องกันอากาศรั่วไหล สามารถแบ่งได้เป็น 4 ระดับ ดังนี้
รู้อย่างนี้แล้ว คำถามที่ว่าประตู หน้าต่าง เลือกใช้อย่างไร คงไม่ใช่เรื่องยากสำหรับคุณแม่บ้าน พ่อบ้าน ที่มีความต้องการจะสร้างบ้านใหม่ หรือรีโนเวทบ้านเก่าแล้วใช่มั้ยครับ เพราะเพียงแค่มองหาประตู-หน้าต่างที่ได้มาตรฐาน 3 ข้อสำคัญ คือ ต้านทานแรงลม ป้องกันน้ำฝนรั่วซึม ป้องกันอากาศรั่วไหล ตามที่ HomeGuru กล่าวไว้ข้างต้น ก็จะช่วยให้บ้านสวย และประตูมีอายุการใช้งานที่ยาวนานเพิ่มขึ้นด้วยนะครับ
HomeGuru by HomePro
อุ่นใจทุกเรื่องบ้านไปกับโฮมโปร และติดตามเคล็ดลับดีๆ เพื่อบ้านได้ทาง http://bit.ly/HomeGuru_Homepro
และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นปัญหาเรื่องบ้านกับ HomeGuru เพิ่มเติมได้ทาง https://bit.ly/3dQm4XE