เช่น ปฏิบัติการนาโตทิ้งระเบิดยูโกสลาเวียเป็นกรณีที่อื้อฉาวที่สุดครั้งหนึ่ง นาโตดำเนินปฏิบัติการทางทหารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสหประชาชาติ
1. การรุกรานยูเครนของรัสเซียถูกสื่อตะวันตกประโคมว่าเป็นความขัดแย้งในยุโรปที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งนี่ไม่ใช่ความจริง และสะท้อนว่าโลกตะวันตก "ความจำสั้น" เมื่อเอ่ยถึงเรื่องการรุกรานซึ่งตัวเองก็ทำมาก่อนกับความขัดแย้งที่นองเลือดยิ่งกว่านี้และเกิดขึ้นประชิดยุโรปตะวันตกยิ่งกว่านี้เสียอีก นั่นคือ "สงครามกลางเมืองยูโกสลาเวีย" ซึ่งในสงครามครั้งนั้นโลกตะวันตก/นาโต ใช้ "อำนาจบาตรใหญ่" โจมตีประเทศอื่นตามอำเภอใจมาแล้ว
2. เบื้องหลังของเหตุการณ์นี้เริ่มขึ้นในช่วงทศวรรษ 1990 สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย ซึ่งมีคนส่วนใหญ่เป็นชาวเซิร์บทำกดขี่ชนกลุ่มน้อยชาวแอลเบเนียที่อาศัยในจังหวัดโคโซโวอย่างหนัก กีดกันชาวโคโซโวจากหน้าที่การงานและโอนมันให้กับชาวเซิร์บ (ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ) ทั้งยังเกิดการสังหารหมู่ชาวโคโซโว ทำให้ชาวโคโซโวคับแค้นใจต้องลุกฮือจับอาวุธขึ้นสู้ในที่สุดในปี 1996 และเกิดการปะทะกันเรื่อยมา
3. องค์การนาโตพยายามไกล่เกลี่ยให้หยุดยิงแต่ไม่สำเร็จ นาโตพยายามให้แต่ละฝ่ายบรรลุข้อตกลงรังบุยเลต์ (Rambouillet Agreement) ในต้นปี 1999 ซึ่งจะเปิดทางให้มีกองกำลังรักษาสันติภาพของนาโตจำนวน 30,000 นายในโคโซโว ให้สิทธิแก่กองทหารนาโต้เข้ามาในในดินแดนยูโกสลาเวียอย่างไม่จำกัด สิทธิการใช้ถนนในท้องถิ่น ท่าเรือ ทางรถไฟ และสนามบิน โดยไม่ต้องชำระเงินและเรียกขอสิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณะโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และต้องให้ภูมิคุ้มกันของนาโต้ไม่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายยูโกสลาเวีย
4. ข้อตกลงนี้เท่ากับทำให้นาโตมี "สิทธิสภาพนอกอาณาเขต" เหนือประเทศยูโกสลาเวีย เป็นข้อเรียกร้องที่เหมือนกับประเทศนักล่าอาณานิคมเมื่อศตวรรษที่แล้ว แถมยังขูดเลือดขูดเนื้อจากเจ้าบ้านอย่างไม่เกรงใจ แน่นอนว่ายูโกสลาเวียไม่ยอมลงนามในข้อตกลงนี้ และเป็นเหตุให้นาโตอ้างความชอบธรรมที่จะส่งกำลังทหารไปประจำการในประเทศยูโกสลาเวียโดยการขู่เข็ญ และเหนือสิ่งอื่นใดอ้างเป็นเหตุให้ส่งกำลังโจมตียูโกสลาเวียเสียเลย
5. วันที่ 23 มีนาคม 1999 ไม่กี่ชั่วโมงก่อนการประกาศว่าการเจรจาล้มเหลว ยูโกสลาเวียประกาศทางโทรทัศน์แห่งชาติว่าได้ประกาศภาวะฉุกเฉินโดยอ้างถึง "ภัยคุกคามจากสงครามที่ใกล้เข้ามา ... ต่อยูโกสลาเวียโดยนาโต" และเริ่มระดมกำลังพลและทรัพยากรจำนวนมาก จนเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 1999 เวลา 22:17 น. เวลา UTC ฮาเวียร์ โซลานา เลขาธิการนาโตก็ประกาศว่าเขาได้สั่งการผู้บัญชาการสูงสุดของฝ่ายพันธมิตรยุโรป (SACEUR) คือนายพลเวสลีย์ คลาร์ก ให้ "เริ่มปฏิบัติการทางอากาศในสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย"
6. การโจมตีครั้งนี้ใช้เครื่องบิน 1,000 ลำที่ปฏิบัติการจากฐานทัพอากาศในอิตาลีและเยอรมนี และเรือบรรทุกเครื่องบิน USS Theodore Roosevelt ของสหรัฐลอยลำอยู่ในทะเลเอเดรียติก วันที่ 24 มีนาคม เวลา 19.00 น. เวลา UTC นาโตเริ่มการทิ้งระเบิดโจมตียูโกสลาเวีย ในช่วงสิบสัปดาห์ของความขัดแย้ง เครื่องบินของนาโตทำการบินกว่า 38,000 เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในภารกิจการต่อสู้ โดยเน้นที่เป้าหมายด้านการทหารของยูโกสลาเวีย
7. แต่การโจมตีนี้มีปัญหาเรื่องความชอบธรรมอย่างมาก ขณะที่นาโตอ้างว่าต้องส่งกำลังเข้าไปและทำการโจมตียูโกสลาเวียเพื่อป้องกันหายนะด้านมนุษยธรรม แต่กลุ่มเฝ้าระวังสื่อ Accuracy in Media กล่าวหาว่านาโตการบิดเบือนสถานการณ์ในโคโซโวและโกหกเกี่ยวกับจำนวนพลเรือนที่เสียชีวิตเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับสหรัฐฯ เพื่อเข้าร่วมในความขัดแย้งครั้งนี้ ข้อหานี้ยังถูกสื่อต่างๆ โจมตีรัฐบาลคลินตันด้วย กล่าวหาว่าปั่นตัวเลขผู้เสียชีวิตชาวโคโซโวที่ถูกชาวเซิร์บฆ่า
8. ที่สำคัญการโจมตีครั้งนี้ไม่ได้รับไฟเขียวจากสหประชาชาติเลย ประเทศในกลุ่มนาโตพยายามขออนุญาตจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) ในการดำเนินการทางทหาร แต่ถูกจีนและรัสเซียคัดค้าน ทำให้นาโตต้องโจมตียูโกสลาเวียโดยไม่ได้รับอนุมัติจากสหประชาชาติโดย "เลี่ยงบาลี" ด้วยการระบุว่าเป็นการแทรกแซงด้านมนุษยธรรม
9. ประเด็นการโจมตีแต่ฝ่ายเดียวนี้ถูกนำเข้าสู่ที่ประชุม UNSC โดยรัสเซีย ในร่างมติมีหัวใจหลักคือเพื่อจะยืนยันว่า "การใช้กำลังฝ่ายเดียวดังกล่าวถือเป็นการละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติอย่างโจ่งแจ้ง" จีน นามิเบีย และรัสเซียโหวตให้มตินี้ สมาชิกคนอื่นๆ ไม่เห็นด้วย มติจึงไม่ผ่าน
10. จีนนั้นนอกจากจะคัดค้านการรุกรานแต่ฝ่ายเดียวของนาโตแล้วยังตกเป็นเหยื่อการโจมตีของนาโตด้วย เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม สหรัฐได้ทิ้งระเบิดสถานทูตจีนในกรุงเบลเกรด ส่งผลให้นักข่าวชาวจีนเสียชีวิต 3 คน รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐอ้างสาเหตุของข้อผิดพลาดว่า "เพราะคำสั่งวางระเบิดอิงตามแผนที่ที่ล้าสมัย" แต่รัฐบาลจีนไม่ยอมรับคำอธิบายนี้ และกรณีนี้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีน-สหรัฐเสื่อมทรามลงทั้งในระดับรัฐบาลและประชาชน
11. และมีรายงานว่าสถานทูตจีนในกรุงเบลเกรดถูกกำหนดเป้าหมายโดย CIA นอกระบอบการกำหนดเป้าหมายของนาโตตามปกติ จอร์จ เทเนต์ ผู้อำนวยการ CIA ในขณะนั้นให้การต่อหน้าคณะกรรมการรัฐสภาว่าเหตุระเบิดสถานทูตจีนเป็นผลงานของ CIA จริง และเกิดจากการระบุพิกัดที่ไม่ถูกต้องเพราะคิดว่าเป็นเป้าหมายทางทหารของยูโกสลาเวียที่ตั้งบนถนนสายเดียวกัน
12. แต่ในเดือนตุลาคม 1999 หรือ 5 เดือนหลังจากการทิ้งระเบิด The Observer สื่ออังกฤษพร้อมด้วย Politiken สื่อเดนมาร์กได้ตีพิมพ์ผลการสอบสวนโดยอ้างแหล่งข่าวนิรนามซึ่งกล่าวว่าเหตุระเบิดเป็นความตั้งใจจริง เพราะสถานทูตจีนเป็นตัวกลางส่งผ่านการสื่อสารกองทัพยูโกสลาเวีย แต่ในเดือนเมษายน 2000 The New York Times ของสหรัฐได้ตีพิมพ์ผลการสอบสวนระบุว่า "การสอบสวนไม่มีหลักฐานว่าเหตุระเบิดที่สถานทูตเป็นการกระทำโดยเจตนา"
13. นอกจากจีนแล้ว อีกชาติหนึ่งที่คัดค้านการโจมตียูโกสลาเวียคือรัสเซีย รัฐบาลรัสเซียวิพากษ์วิจารณ์การโจมตียูโกสลาเวียว่าเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศและเป็นการท้าทายสถานะของรัสเซีย เพราะรัสเซียมีความเกี่ยวพันแนบแน่นกับชาวเซิร์บ แต่รัสเซียมีอิทธิพลต่อการเมืองโลกน้อยมากในเวลานั้น เพราะยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่หลังจากการล่มสลายของอดีตสหภาพโซเวียต
14. สิ่งที่รัสเซียทำได้คือ ในวันที่การทิ้งระเบิดเริ่มขึ้น รัสเซียได้เรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประชุมเพื่อพิจารณา "สถานการณ์ที่อันตรายอย่างยิ่งซึ่งเกิดจากการปฏิบัติการทางทหารฝ่ายเดียวขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ต่อสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย" อย่างไรก็ตาม ร่างมติที่รัสเซีย เบลารุส และอินเดียร่วมกันเสนอให้เรียกร้องให้ "ยุติการใช้กำลังกับสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียทันที" ต้องตกไป
15. ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีบางทัศนะอ้างว่าการที่มติประณามของรัสเซียที่ถูกตีตกไป เท่ากับสหประชาชาติเห็นชอบปฏิบัติการของนาโตโดยปริยาย และยังมีการอ้างกันว่าการที่สหประชาชาติจัดตั้ง "ภารกิจการบริหารชั่วคราวของสหประชาชาติในโคโซโว" (UNMIK) โดยมติคณะมนตรีความมั่นคงที่ 1244 เท่ากับยอมรับการโจมตีของนาโตโดยเป็นการมอบสถานะความชอบธรรมทางกฎหมายหลังการกระทำได้ผ่านพ้นไปแล้ว
16. รัสเซียจึงได้แต่ทำตัวเป็นคนกลางไกล่เกลี่ย โดยร่วมทีมกับฟินแลนด์ ทุกฝ่ายตกลงที่จะหยุดยิงมีข้อตกลงใหม่คือข้อตกลงคูมาโนโว (Kumanovo Agreement) ซึ่งคราวนี้ยูโกสลาเวียยอมรับเพราะต่างจากข้อตกลงคราวก่อนที่ไม่มีบทบัญญัติให้นาโตมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขตเหนือยูโกสลาเวีย อันเป็นเหตุให้เจ้าของประเทศไม่ยอมรับข้อตกลงนั้น และเป็นเหตุให้นาโตอ้างการโจมตียูโกสลาเวีย
17. สงครามสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน และพลร่มรัสเซียได้ยึดสนามบินสลาตินาในฐานะเป็นกองกำลังรักษาสันติภาพกลุ่มแรกในเขตสงคราม เหตุการณ์นี้นับว่าสร้างความอับอายให้แก่นาโตไม่น้อยเพราะรัสเซียเดินทางมาถึงก่อนฝ่ายตนที่ลงทุนโจมตีทางอากาศมาโดยตลอด เมื่อมาถึงแล้วชาวเซิร์บพากันยินดีกับการมาถึงของรัสเซีย เพราะมันสะท้อนว่าต่อจากนี้เป็นปฏิบัติการของสหประชาชาติแล้ว ไม่ใช่ปฏิบัติการของนาโต
18. ผลของการทิ้งระเบิดของนาโต คร่าชีวิตสมาชิกกองกำลังความมั่นคงยูโกสลาเวียไปประมาณ 1,000 นาย นอกจากนี้ยังมีพลเรือน 489 ถึง 528 คนเสียชีวิต Amnesty International ออกรายงานซึ่งระบุว่ากองกำลังนาโตจงใจมุ่งเป้าไปที่เป้าหมายพลเรือน และได้ทิ้งระเบิดเป้าหมายที่พลเรือนต้องถูกสังหารอย่างเลี่ยงไม่ได้ แต่นาโตปฏิเสธว่ารายงานดังกล่าว "ไม่มีมูลและมีสมมติฐานที่แย่"
19. นอม ชอมสกี (Noam Chomsky) นักวิชาการชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงก้องโลก ตำหนิการโจมตีครั้งนี้ของนาโตอย่างมาก โดยเฉพาะการโจมตีเป้าหมายที่มิใช่ด้านการทหาร ตามทัศนะของชอมสกี เขาเชื่อว่าวัตถุประสงค์หลักของการแทรกแซงของนาโต้คือการทำให้ยูโกสลาเวียแตกเป็นประเทศย่อยๆ แล้วให้หันมาใช้ระบบเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่แบบตะวันตก เนื่องจากเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคที่ยังคงท้าทายอำนาจของตะวันตกในเวลานั้น
20. ในเวลานั้นรัสเซียยังคงมีอำนาจจำกัดในเวทีโลก แต่เหตุการณ์นี้ไม่มีวันเลืมเลือนไปจากใจของว่าที่ผู้นำรัสเซียในอนาคต คือ วลาดิมีร์ ปูติน ในเวลาต่อมาปูตินทำให้รัสเซียแข็งแกร่งขึ้นอีกครั้ง จนกระทั่งเป็นภัยคุกคามต่อนาโต และเขาเองก็มองนาโตเป็นภัยคุกคาม จนกระทั่งโลกตะวันตกและรัสเซียปะทะกันในที่สุดในกรณียูเครนเมื่อปี 2014 ในการปราศรัยเกี่ยวกับแหลมไครเมียในเดือนมีนาคม 2014 ปูตินกล่าวถึงการโจมตียูโกสลาเวียของนาโตว่า "เราจำปี 1999 ได้เป็นอย่างดี"
21. ปูตินกล่าวว่า "พันธมิตรตะวันตกของเราซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกาไม่ต้องการให้กฎหมายระหว่างประเทศมาชี้นำในนโยบายที่ใช้กันจริงๆ แต่โดยกฎของปืน พวกเขาเชื่อในความพิเศษและความเป็นเอกเทศเฉพาะตัวของพวกเขา...เรื่องนี้เกิดขึ้นในยูโกสลาเวีย เราจำปี 1999 ได้เป็นอย่างดี เป็นเรื่องยากที่จะเชื่อ...มีมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในเรื่องนี้หรือไม่ ซึ่งอนุญาตให้ดำเนินการเหล่านี้ได้? ไม่มีอะไรแบบนั้นเลย"
22. หลังจากที่นาโตได้สมาชิกใหม่เป็นอดีตเครือประเทศสหภาพโซเวียตหลายประเทศและยังพยายามขยายอิทธิพลมายังยูเครนและจอร์เจีย ซึ่งรัสเซียประกาศมิให้นาโตแตะต้องมาโดยตลอด ในที่สุด 24 กุมภาพันธ์ 2022 วลาดิมีร์ ปูติน ส่งกองทัพรุกรานยูเครน
23. ก่อนหน้านั้นไม่กี่วัน (15 กุมภาพันธ์) ปูตินกล่าวว่าความทรงจำของเขายังคงชัดเจนจนถึงวันนี้จากสงครามที่นาโตเริ่มในยุโรปเพื่อต่อต้านยูโกสลาเวียและการทิ้งระเบิดที่เบลเกรด ปูตินกล่าวว่า “มันเกิดขึ้น โดยไม่มีมาตรการคว่ำบาตรจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เป็นตัวอย่างที่น่าเศร้ามาก แต่เป็นความจริงที่ชัดเจน”
24. หลังการรุกรานยูเครน รัสเซียถูกคว่ำบาตรอย่างเต็มที่จากทั้งนาโตและพันธมิตรชาติตะวันตกทั้งในยุโรปและบางชาติในเอเชีย ราวกับต้องการให้รัสเซียถูกโดดเดี่ยวจากประชาคมโลก
โดย กรกิจ ดิษฐาน
https://www.posttoday.com/world/678110
เรื่องการโจมตีประเทศอื่นทำไมนาโตทำได้ รัสเซียทำไม่ได้!
เช่น ปฏิบัติการนาโตทิ้งระเบิดยูโกสลาเวียเป็นกรณีที่อื้อฉาวที่สุดครั้งหนึ่ง นาโตดำเนินปฏิบัติการทางทหารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสหประชาชาติ
1. การรุกรานยูเครนของรัสเซียถูกสื่อตะวันตกประโคมว่าเป็นความขัดแย้งในยุโรปที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งนี่ไม่ใช่ความจริง และสะท้อนว่าโลกตะวันตก "ความจำสั้น" เมื่อเอ่ยถึงเรื่องการรุกรานซึ่งตัวเองก็ทำมาก่อนกับความขัดแย้งที่นองเลือดยิ่งกว่านี้และเกิดขึ้นประชิดยุโรปตะวันตกยิ่งกว่านี้เสียอีก นั่นคือ "สงครามกลางเมืองยูโกสลาเวีย" ซึ่งในสงครามครั้งนั้นโลกตะวันตก/นาโต ใช้ "อำนาจบาตรใหญ่" โจมตีประเทศอื่นตามอำเภอใจมาแล้ว
2. เบื้องหลังของเหตุการณ์นี้เริ่มขึ้นในช่วงทศวรรษ 1990 สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย ซึ่งมีคนส่วนใหญ่เป็นชาวเซิร์บทำกดขี่ชนกลุ่มน้อยชาวแอลเบเนียที่อาศัยในจังหวัดโคโซโวอย่างหนัก กีดกันชาวโคโซโวจากหน้าที่การงานและโอนมันให้กับชาวเซิร์บ (ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ) ทั้งยังเกิดการสังหารหมู่ชาวโคโซโว ทำให้ชาวโคโซโวคับแค้นใจต้องลุกฮือจับอาวุธขึ้นสู้ในที่สุดในปี 1996 และเกิดการปะทะกันเรื่อยมา
3. องค์การนาโตพยายามไกล่เกลี่ยให้หยุดยิงแต่ไม่สำเร็จ นาโตพยายามให้แต่ละฝ่ายบรรลุข้อตกลงรังบุยเลต์ (Rambouillet Agreement) ในต้นปี 1999 ซึ่งจะเปิดทางให้มีกองกำลังรักษาสันติภาพของนาโตจำนวน 30,000 นายในโคโซโว ให้สิทธิแก่กองทหารนาโต้เข้ามาในในดินแดนยูโกสลาเวียอย่างไม่จำกัด สิทธิการใช้ถนนในท้องถิ่น ท่าเรือ ทางรถไฟ และสนามบิน โดยไม่ต้องชำระเงินและเรียกขอสิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณะโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และต้องให้ภูมิคุ้มกันของนาโต้ไม่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายยูโกสลาเวีย
4. ข้อตกลงนี้เท่ากับทำให้นาโตมี "สิทธิสภาพนอกอาณาเขต" เหนือประเทศยูโกสลาเวีย เป็นข้อเรียกร้องที่เหมือนกับประเทศนักล่าอาณานิคมเมื่อศตวรรษที่แล้ว แถมยังขูดเลือดขูดเนื้อจากเจ้าบ้านอย่างไม่เกรงใจ แน่นอนว่ายูโกสลาเวียไม่ยอมลงนามในข้อตกลงนี้ และเป็นเหตุให้นาโตอ้างความชอบธรรมที่จะส่งกำลังทหารไปประจำการในประเทศยูโกสลาเวียโดยการขู่เข็ญ และเหนือสิ่งอื่นใดอ้างเป็นเหตุให้ส่งกำลังโจมตียูโกสลาเวียเสียเลย
5. วันที่ 23 มีนาคม 1999 ไม่กี่ชั่วโมงก่อนการประกาศว่าการเจรจาล้มเหลว ยูโกสลาเวียประกาศทางโทรทัศน์แห่งชาติว่าได้ประกาศภาวะฉุกเฉินโดยอ้างถึง "ภัยคุกคามจากสงครามที่ใกล้เข้ามา ... ต่อยูโกสลาเวียโดยนาโต" และเริ่มระดมกำลังพลและทรัพยากรจำนวนมาก จนเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 1999 เวลา 22:17 น. เวลา UTC ฮาเวียร์ โซลานา เลขาธิการนาโตก็ประกาศว่าเขาได้สั่งการผู้บัญชาการสูงสุดของฝ่ายพันธมิตรยุโรป (SACEUR) คือนายพลเวสลีย์ คลาร์ก ให้ "เริ่มปฏิบัติการทางอากาศในสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย"
6. การโจมตีครั้งนี้ใช้เครื่องบิน 1,000 ลำที่ปฏิบัติการจากฐานทัพอากาศในอิตาลีและเยอรมนี และเรือบรรทุกเครื่องบิน USS Theodore Roosevelt ของสหรัฐลอยลำอยู่ในทะเลเอเดรียติก วันที่ 24 มีนาคม เวลา 19.00 น. เวลา UTC นาโตเริ่มการทิ้งระเบิดโจมตียูโกสลาเวีย ในช่วงสิบสัปดาห์ของความขัดแย้ง เครื่องบินของนาโตทำการบินกว่า 38,000 เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในภารกิจการต่อสู้ โดยเน้นที่เป้าหมายด้านการทหารของยูโกสลาเวีย
7. แต่การโจมตีนี้มีปัญหาเรื่องความชอบธรรมอย่างมาก ขณะที่นาโตอ้างว่าต้องส่งกำลังเข้าไปและทำการโจมตียูโกสลาเวียเพื่อป้องกันหายนะด้านมนุษยธรรม แต่กลุ่มเฝ้าระวังสื่อ Accuracy in Media กล่าวหาว่านาโตการบิดเบือนสถานการณ์ในโคโซโวและโกหกเกี่ยวกับจำนวนพลเรือนที่เสียชีวิตเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับสหรัฐฯ เพื่อเข้าร่วมในความขัดแย้งครั้งนี้ ข้อหานี้ยังถูกสื่อต่างๆ โจมตีรัฐบาลคลินตันด้วย กล่าวหาว่าปั่นตัวเลขผู้เสียชีวิตชาวโคโซโวที่ถูกชาวเซิร์บฆ่า
8. ที่สำคัญการโจมตีครั้งนี้ไม่ได้รับไฟเขียวจากสหประชาชาติเลย ประเทศในกลุ่มนาโตพยายามขออนุญาตจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) ในการดำเนินการทางทหาร แต่ถูกจีนและรัสเซียคัดค้าน ทำให้นาโตต้องโจมตียูโกสลาเวียโดยไม่ได้รับอนุมัติจากสหประชาชาติโดย "เลี่ยงบาลี" ด้วยการระบุว่าเป็นการแทรกแซงด้านมนุษยธรรม
9. ประเด็นการโจมตีแต่ฝ่ายเดียวนี้ถูกนำเข้าสู่ที่ประชุม UNSC โดยรัสเซีย ในร่างมติมีหัวใจหลักคือเพื่อจะยืนยันว่า "การใช้กำลังฝ่ายเดียวดังกล่าวถือเป็นการละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติอย่างโจ่งแจ้ง" จีน นามิเบีย และรัสเซียโหวตให้มตินี้ สมาชิกคนอื่นๆ ไม่เห็นด้วย มติจึงไม่ผ่าน
10. จีนนั้นนอกจากจะคัดค้านการรุกรานแต่ฝ่ายเดียวของนาโตแล้วยังตกเป็นเหยื่อการโจมตีของนาโตด้วย เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม สหรัฐได้ทิ้งระเบิดสถานทูตจีนในกรุงเบลเกรด ส่งผลให้นักข่าวชาวจีนเสียชีวิต 3 คน รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐอ้างสาเหตุของข้อผิดพลาดว่า "เพราะคำสั่งวางระเบิดอิงตามแผนที่ที่ล้าสมัย" แต่รัฐบาลจีนไม่ยอมรับคำอธิบายนี้ และกรณีนี้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีน-สหรัฐเสื่อมทรามลงทั้งในระดับรัฐบาลและประชาชน
11. และมีรายงานว่าสถานทูตจีนในกรุงเบลเกรดถูกกำหนดเป้าหมายโดย CIA นอกระบอบการกำหนดเป้าหมายของนาโตตามปกติ จอร์จ เทเนต์ ผู้อำนวยการ CIA ในขณะนั้นให้การต่อหน้าคณะกรรมการรัฐสภาว่าเหตุระเบิดสถานทูตจีนเป็นผลงานของ CIA จริง และเกิดจากการระบุพิกัดที่ไม่ถูกต้องเพราะคิดว่าเป็นเป้าหมายทางทหารของยูโกสลาเวียที่ตั้งบนถนนสายเดียวกัน
12. แต่ในเดือนตุลาคม 1999 หรือ 5 เดือนหลังจากการทิ้งระเบิด The Observer สื่ออังกฤษพร้อมด้วย Politiken สื่อเดนมาร์กได้ตีพิมพ์ผลการสอบสวนโดยอ้างแหล่งข่าวนิรนามซึ่งกล่าวว่าเหตุระเบิดเป็นความตั้งใจจริง เพราะสถานทูตจีนเป็นตัวกลางส่งผ่านการสื่อสารกองทัพยูโกสลาเวีย แต่ในเดือนเมษายน 2000 The New York Times ของสหรัฐได้ตีพิมพ์ผลการสอบสวนระบุว่า "การสอบสวนไม่มีหลักฐานว่าเหตุระเบิดที่สถานทูตเป็นการกระทำโดยเจตนา"
13. นอกจากจีนแล้ว อีกชาติหนึ่งที่คัดค้านการโจมตียูโกสลาเวียคือรัสเซีย รัฐบาลรัสเซียวิพากษ์วิจารณ์การโจมตียูโกสลาเวียว่าเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศและเป็นการท้าทายสถานะของรัสเซีย เพราะรัสเซียมีความเกี่ยวพันแนบแน่นกับชาวเซิร์บ แต่รัสเซียมีอิทธิพลต่อการเมืองโลกน้อยมากในเวลานั้น เพราะยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่หลังจากการล่มสลายของอดีตสหภาพโซเวียต
14. สิ่งที่รัสเซียทำได้คือ ในวันที่การทิ้งระเบิดเริ่มขึ้น รัสเซียได้เรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประชุมเพื่อพิจารณา "สถานการณ์ที่อันตรายอย่างยิ่งซึ่งเกิดจากการปฏิบัติการทางทหารฝ่ายเดียวขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ต่อสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย" อย่างไรก็ตาม ร่างมติที่รัสเซีย เบลารุส และอินเดียร่วมกันเสนอให้เรียกร้องให้ "ยุติการใช้กำลังกับสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียทันที" ต้องตกไป
15. ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีบางทัศนะอ้างว่าการที่มติประณามของรัสเซียที่ถูกตีตกไป เท่ากับสหประชาชาติเห็นชอบปฏิบัติการของนาโตโดยปริยาย และยังมีการอ้างกันว่าการที่สหประชาชาติจัดตั้ง "ภารกิจการบริหารชั่วคราวของสหประชาชาติในโคโซโว" (UNMIK) โดยมติคณะมนตรีความมั่นคงที่ 1244 เท่ากับยอมรับการโจมตีของนาโตโดยเป็นการมอบสถานะความชอบธรรมทางกฎหมายหลังการกระทำได้ผ่านพ้นไปแล้ว
16. รัสเซียจึงได้แต่ทำตัวเป็นคนกลางไกล่เกลี่ย โดยร่วมทีมกับฟินแลนด์ ทุกฝ่ายตกลงที่จะหยุดยิงมีข้อตกลงใหม่คือข้อตกลงคูมาโนโว (Kumanovo Agreement) ซึ่งคราวนี้ยูโกสลาเวียยอมรับเพราะต่างจากข้อตกลงคราวก่อนที่ไม่มีบทบัญญัติให้นาโตมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขตเหนือยูโกสลาเวีย อันเป็นเหตุให้เจ้าของประเทศไม่ยอมรับข้อตกลงนั้น และเป็นเหตุให้นาโตอ้างการโจมตียูโกสลาเวีย
17. สงครามสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน และพลร่มรัสเซียได้ยึดสนามบินสลาตินาในฐานะเป็นกองกำลังรักษาสันติภาพกลุ่มแรกในเขตสงคราม เหตุการณ์นี้นับว่าสร้างความอับอายให้แก่นาโตไม่น้อยเพราะรัสเซียเดินทางมาถึงก่อนฝ่ายตนที่ลงทุนโจมตีทางอากาศมาโดยตลอด เมื่อมาถึงแล้วชาวเซิร์บพากันยินดีกับการมาถึงของรัสเซีย เพราะมันสะท้อนว่าต่อจากนี้เป็นปฏิบัติการของสหประชาชาติแล้ว ไม่ใช่ปฏิบัติการของนาโต
18. ผลของการทิ้งระเบิดของนาโต คร่าชีวิตสมาชิกกองกำลังความมั่นคงยูโกสลาเวียไปประมาณ 1,000 นาย นอกจากนี้ยังมีพลเรือน 489 ถึง 528 คนเสียชีวิต Amnesty International ออกรายงานซึ่งระบุว่ากองกำลังนาโตจงใจมุ่งเป้าไปที่เป้าหมายพลเรือน และได้ทิ้งระเบิดเป้าหมายที่พลเรือนต้องถูกสังหารอย่างเลี่ยงไม่ได้ แต่นาโตปฏิเสธว่ารายงานดังกล่าว "ไม่มีมูลและมีสมมติฐานที่แย่"
19. นอม ชอมสกี (Noam Chomsky) นักวิชาการชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงก้องโลก ตำหนิการโจมตีครั้งนี้ของนาโตอย่างมาก โดยเฉพาะการโจมตีเป้าหมายที่มิใช่ด้านการทหาร ตามทัศนะของชอมสกี เขาเชื่อว่าวัตถุประสงค์หลักของการแทรกแซงของนาโต้คือการทำให้ยูโกสลาเวียแตกเป็นประเทศย่อยๆ แล้วให้หันมาใช้ระบบเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่แบบตะวันตก เนื่องจากเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคที่ยังคงท้าทายอำนาจของตะวันตกในเวลานั้น
20. ในเวลานั้นรัสเซียยังคงมีอำนาจจำกัดในเวทีโลก แต่เหตุการณ์นี้ไม่มีวันเลืมเลือนไปจากใจของว่าที่ผู้นำรัสเซียในอนาคต คือ วลาดิมีร์ ปูติน ในเวลาต่อมาปูตินทำให้รัสเซียแข็งแกร่งขึ้นอีกครั้ง จนกระทั่งเป็นภัยคุกคามต่อนาโต และเขาเองก็มองนาโตเป็นภัยคุกคาม จนกระทั่งโลกตะวันตกและรัสเซียปะทะกันในที่สุดในกรณียูเครนเมื่อปี 2014 ในการปราศรัยเกี่ยวกับแหลมไครเมียในเดือนมีนาคม 2014 ปูตินกล่าวถึงการโจมตียูโกสลาเวียของนาโตว่า "เราจำปี 1999 ได้เป็นอย่างดี"
21. ปูตินกล่าวว่า "พันธมิตรตะวันตกของเราซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกาไม่ต้องการให้กฎหมายระหว่างประเทศมาชี้นำในนโยบายที่ใช้กันจริงๆ แต่โดยกฎของปืน พวกเขาเชื่อในความพิเศษและความเป็นเอกเทศเฉพาะตัวของพวกเขา...เรื่องนี้เกิดขึ้นในยูโกสลาเวีย เราจำปี 1999 ได้เป็นอย่างดี เป็นเรื่องยากที่จะเชื่อ...มีมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในเรื่องนี้หรือไม่ ซึ่งอนุญาตให้ดำเนินการเหล่านี้ได้? ไม่มีอะไรแบบนั้นเลย"
22. หลังจากที่นาโตได้สมาชิกใหม่เป็นอดีตเครือประเทศสหภาพโซเวียตหลายประเทศและยังพยายามขยายอิทธิพลมายังยูเครนและจอร์เจีย ซึ่งรัสเซียประกาศมิให้นาโตแตะต้องมาโดยตลอด ในที่สุด 24 กุมภาพันธ์ 2022 วลาดิมีร์ ปูติน ส่งกองทัพรุกรานยูเครน
23. ก่อนหน้านั้นไม่กี่วัน (15 กุมภาพันธ์) ปูตินกล่าวว่าความทรงจำของเขายังคงชัดเจนจนถึงวันนี้จากสงครามที่นาโตเริ่มในยุโรปเพื่อต่อต้านยูโกสลาเวียและการทิ้งระเบิดที่เบลเกรด ปูตินกล่าวว่า “มันเกิดขึ้น โดยไม่มีมาตรการคว่ำบาตรจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เป็นตัวอย่างที่น่าเศร้ามาก แต่เป็นความจริงที่ชัดเจน”
24. หลังการรุกรานยูเครน รัสเซียถูกคว่ำบาตรอย่างเต็มที่จากทั้งนาโตและพันธมิตรชาติตะวันตกทั้งในยุโรปและบางชาติในเอเชีย ราวกับต้องการให้รัสเซียถูกโดดเดี่ยวจากประชาคมโลก
โดย กรกิจ ดิษฐาน https://www.posttoday.com/world/678110