🇹🇭มาลาริน💜16เม.ย.ไทยติดเชื้อใหม่Top10โลก/ป่วย18,892คน หาย22,220คน ตาย125คน/นายกฯสั่งรับมือหลังสงกรานต์ สังเกตตัวเอง


https://www.sanook.com/news/8547386/

https://www.bangkokbiznews.com/news/999443


https://www.thebangkokinsight.com/news/politics-general/covid-19/850105/

...ติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ

ไทยติดTop10โลก ในขณะที่จำนวนลดลงจากหลักสองหมื่น

นายกฯสั่งเตรียมพร้อมรับมือหลังสงกรานต์

สังเกตตัวเองในระยะ7-10วันค่ะ

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 16

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันเสาร์ที่ 16 เมษายน 2565
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/542978160653846


จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 15 เม.ย. 2565)
รวม 131,652,372 โดส ใน 77 จังหวัด

ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 15 เมษายน 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 21,007 โดส

เข็มที่ 1 : 3,938 ราย
เข็มที่ 2 : 2,920 ราย
เข็มที่ 3 : 14,149 ราย

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 56,002,319 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 50,670,905 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 24,979,148 ราย

แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/542942120657450


3 ข้อปฏิบัติหลังกลับจากงานสงกรานต์
1) สังเกตอาการตนเอง
2) ช่วงสังเกตอาการ เลี่ยงพบปะผู้คน
3) หากมีอาการหรือความเสี่ยงให้ตรวจด้วย ATK ทันที

ที่มา กรมอนามัย
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/542867020664960


รู้หรือไม่ ?
สงกรานต์วิถีใหม่ กลับบ้านปลอดภัย ห่างไกลอุบัติเหตุ และโควิด-19
สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่เดินทาง โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางโดยรถโดยสารสาธารณะ

ที่มา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/542879127330416


กรมอนามัย แนะ ช่วงสงกรานต์ ตลาด-ร้านอาหาร การ์ดอย่าตก เข้มมาตรการ COVID Free Setting

นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ช่วงเทศกาลสงกรานต์สถานประกอบการประเภทตลาด และร้านอาหาร ยังคงต้องเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลการสำรวจอนามัยโพล ระหว่างวันที่ 1–11 เมษายน 2565 พบว่ามาตรการที่ตลาดปฏิบัติได้มากที่สุดคือ กำหนดจุดเข้า-ออกชัดเจน และวัดอุณหภูมิก่อนเข้า ร้อยละ 80 รองลงมาคือ มีการระบายอากาศที่ดี ร้อยละ 51 มีจุดล้างมือด้วยสบู่และน้ำหรือแอลกอฮอล์อย่างเพียงพอ ร้อยละ 50 ตามลำดับ จึงขอเน้นย้ำสถานประกอบการตลาดทั่วประเทศคุมเข้มและปฏิบัติตามมาตรการ COVID Free Setting โดยจัดให้มีจุดเข้า-ออกเหมาะสมกับขนาดพื้นที่ จำกัดจำนวนผู้ใช้บริการ เว้นระยะห่างอย่างน้อย 1–2 เมตร จัดระบบการสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม ทำความสะอาดทำลายเชื้อทุกวัน โดยเฉพาะบริเวณพื้นผิวสัมผัสร่วมให้ทำความสะอาดทุกชั่วโมง จัดให้มีภาชนะรองรับขยะแบบมีฝาปิดมิดชิดและต้องล้างตลาดตามหลักสุขาภิบาลอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง รวมทั้งปรับสภาพแวดล้อมให้มีการระบายอากาศที่ดี ส่วนพ่อค้า แม่ค้า ผู้ปฏิบัติงานในตลาด ควรคัดกรองความเสี่ยงก่อนเข้าตลาดด้วยการประเมินผ่าน “ไทยเซฟไทย”หากพบเสี่ยงปานกลางหรือเสี่ยงสูง งดให้บริการ และตรวจ ATK ทันที ส่วนผู้รับบริการปฏิบัติตามหลัก UP (Universal Prevention) อย่างเคร่งครัด

สำหรับร้านอาหารขอให้เฝ้าระวังความเสี่ยงตามมาตรการป้องกันโควิด-19 โดยปฏิบัติดังนี้
1) ทำความสะอาดโต๊ะทันทีหลังใช้บริการ
2) ทำความสะอาดจุดสัมผัสร่วมและห้องน้ำทุก 1-2 ชั่วโมง
3) จัดอุปกรณ์กินอาหารเฉพาะบุคคล
4) กรณีจัดบริการอาหารรูปแบบผู้บริโภคบริการตนเองหรือบุพเฟ่ต์ ต้องจัดบริการถุงมือให้กับผู้บริโภค
5) จัดบริการเจลแอลกอฮอล์ประจำทุกโต๊ะ หรือบริเวณที่เข้าถึงง่าย
6) เว้นระยะห่างระหว่างบุคคลและโต๊ะกินอาหาร 1-2 เมตร หากมีพื้นที่จำกัดมีระยะไม่ถึง 1 เมตรให้ทำฉากกั้น
7) จำกัดระยะเวลากินอาหารไม่เกิน 2 ชั่วโมง และ8) มีการจัดการระบบระบายอากาศที่ดี โดยห้องน้ำควรเปิดพัดลมระบายอากาศตลอดเวลาที่ให้บริการ

ที่มา กรมอนามัย
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/542917077326621


สงกรานต์นี้ ยึดหลัก 2U ลดเสี่ยงแพร่และรับเชื้อโควิด

Universal Prevention
• เว้นระยะห่าง สวมหน้ากาก งดรับประทานอาหารร่วมกัน

Universal Vaccination
• ทุกกลุ่มอายุเข้ารับวัคซีนเข็มปกติ/เข็มกระตุ้น

ที่มา กรมควบคุมโรค
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/542946457323683


รายละเอียดผู้เสียชีวิตของประเทศไทย
วันเสาร์ที่ 16 เมษายน 2565 จำนวน 125 ราย
แหล่งข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/542989153986080


วัคซีนต้านโควิดของไฟเซอร์ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการป้องกันการป่วยหนักและการเสียชีวิตในเด็กอายุ 5 ปีขึ้นไป อาการข้างเคียงหลังได้รับวัคซีนสามารถเกิดได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่ทั่วไปมีอาการเพียงเล็กน้อยและหายได้เอง ส่วนอาการที่รุนแรงที่พบหลังรับวัคซีน ได้แก่ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และกลุ่มอาการอักเสบหลายระบบในเด็ก (MIS-C)

กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเป็นอาการที่พบได้ยากและมีสาเหตุหลายประการ ส่วนใหญ่เกิดในทารก วัยรุ่น หรือวัยหนุ่มสาว และหายได้เอง แต่บางคนก็อาจป่วยหนักและต้องรักษา

การวิจัยในอเมริกาพบว่า หลังจากฉีดวัคซีนไฟเซอร์จำนวน 8.7 ล้านเข็มให้เด็กอายุ 5-11 ปี มีผู้ป่วยเป็นกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเพียง 11 ราย คิดเป็น 0.00013% หรือ 1.3 รายต่อการฉีดวัคซีน 1 ล้านเข็ม และโดยทั่วไปพบในบุคคลเพศชายอายุ 12-24 ปี ส่วนอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบที่เกิดในเด็กอายุ 5-11 ปีหลังรับวัคซีน พบได้ยากมาก

ในทางตรงข้าม มีแนวโน้มว่าอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจะเกิดในผู้ที่ติดเชื้อโควิด 19 มากกว่าในผู้ที่รับวัคซีนต้านโควิด 19 งานวิจัยระบุว่าเด็กชาย/ชายหนุ่มอายุ 12 ปีขึ้นไป ที่ติดเชื้อโควิด มีโอกาสเป็นกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบมากกว่าชายในกลุ่มอายุเดียวกันที่รับวัคซีนต้านโควิด 19 ถึง 6 เท่า

กลุ่มอาการอักเสบหลายระบบในเด็ก (MIS-C) เป็นอาการใหม่ พบได้ยาก แต่รุนแรง ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับทั้งการติดเชื้อโควิด 19 และการรับวัคซีนต้านโควิด 19 อาการ MIS-C ทำให้อวัยวะหลายส่วนของร่างกายอักเสบ เช่น หัวใจ ปอด ไต สมอง ผิวหนัง ดวงตา และช่องท้อง

ผู้ที่มีอาการ MIS-C เฉียบพลันอาจต้องเข้ารับการรักษาในห้องไอซียู อาการและสัญญาณของ MIS-C ได้แก่ มีไข้ (สูงกว่า 38 องศา) ร่วมกับอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ ได้แก่ ปวดท้อง เส้นเลือดฝอยในตาแตก ท้องร่วง เวียนศีรษะ ผื่นขึ้น อาเจียน และกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เรายังไม่ทราบสาเหตุของ MIS-C อย่างแน่ชัด แต่ดูเหมือนว่าจะเกิดในเด็กอายุ 8-9 ปีมากที่สุด แม้ว่าจะพบในทารกและคนวัยหนุ่มสาวด้วย อาการ MIS-C สามารถรักษาได้ หากพบแพทย์อย่างทันท่วงที มียาที่ช่วยควบคุมการอักเสบและป้องกันไม่ให้อวัยวะเสียหาย เด็กส่วนใหญ่หายเป็นปกติ

การวิจัยในฝรั่งเศสหลังจากฉีดวัคซีน mRNA 8 ล้านเข็มให้เด็กอายุ 12-17 กว่า 4 ล้านคน พบผู้ป่วย MIS-C จำนวน 9 ราย โดย 8 รายเป็นชาย และ 3 รายต้องเข้าห้องไอซียู แต่ทุกคนหายดีแล้ว อัตราการพบโรค MIS-C ที่เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนคือ 1.1 รายต่อการฉีดวัคซีน 1 ล้านเข็ม ซึ่งต่ำกว่ามากเมื่อเทียบกับอัตราการเกิด MIS-C ในเด็กอายุ 12-17 ปีที่ติดเชื้อโควิดซึ่งอยู่ที่ 113 รายต่อ 1 ล้านคน ในการวิจัยอีกชิ้นหนึ่ง พบว่าเด็กและวัยรุ่นที่รับวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็ม มีโอกาสการเกิด MIS-C ลดลง 91% เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน

สรุปได้ว่า หลักฐานในปัจจุบันยืนยันประโยชน์ของการฉีดวัคซีนโควิด 19 ในเด็กอายุ 5-11 ปี ซึ่งสูงกว่าผลเสียจากอาการข้างเคียงที่รุนแรง

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเสี่ยงจากโอมิครอนในเด็กที่หน้า 22: https://cdn.who.int/media/docs/default-source/searo/thailand/2022_01_27_tha-sitrep-220-covid-19_th.pdf
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเสี่ยงและประโยชน์จากวัคซีนต้านโควิด 19 ในเด็กที่หน้า 19: https://cdn.who.int/media/docs/default-source/searo/thailand/2022_02_02_tha-sitrep-221-covid-19.pdf และ https://cdn.who.int/media/docs/default-source/searo/thailand/2022_02_09_tha-sitrep-222-covid-19.pdf

ที่มา: องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=298676042411393&id=100068069971811
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่