ตอนทศวรรษ 90 และต้นทศวรรษ 2000 เราได้เห็นยุทธวิธีของกองทัพสหรัฐอเมริกาในการทำสงครามกับอิรักทั้ง 2 ครั้ง คือ สงครามอ่าวในปี 1991 และ สงครามอิรักในปี 2003 ซึ่งบางคนเรียกง่ายๆ ว่าเทศกาลไล่ซัดดัม ซึ่งเทคโนโลยีในยุคนั้นคือขีปนาวุธโทมาฮอร์ค ซึ่งเป็นขีปนาวุธร่อนเข้าหาเป้าหมาย ซึ่งสหรัฐอเมริกาใช้ในการยิงเบิกฤกษ์ทั้ง 2 ครั้ง และใช้อากาศยานล่องหนเป็นครั้งแรกคือเครื่องบินแบบ F-117A ส่วนยุทธวิธีคือการโจมตีเป้าหมายทางอากาศยุทธศาสตร์/ยุทธวิธี ให้กองทัพอิรักมีศักยภาพอ่อนลง เช่นปิดสนามบิน ปิดเรดาร์ ตัดการส่งกำลังบำรุง ทั้งในแบกแดด บาสรา และเมืองสำคัญอื่นๆ อีก จนอิรักต้องออกข้อสอบด้านกำลังภาคพื้นในสหรัฐอเมริกาและชาติพันธมิตรทำนั่นคือการบุกเมืองคาฟจีในซาอุดิอาระเบีย เราก็ได้เห็นเฮลิคอปเตอร์แบบอาปาเช่ ทำการสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด การโจมตีกองกำลังภาคพื้นโดยใช้เครื่องบินแบบ AC-130 เป็นต้นและกองกำลังภาคพื้นของอิรักก็แตกพ่ายไป จนได้เวลาอันเหมาะสมก็นำกำลังบุกเข้าคูเวตเพื่อปลดปล่อยคูเวตได้สำเร็จในปี 1991 และโค่นซัดดัมได้สำเร็จในปี 2003 ซึ่งเทคโนโลยีทางการทหารของสหรัฐอเมริกาที่พัฒนาขึ้นมาในปี 2003 คือระเบิด J-DAM ลูกเดียวทำลายอาคารได้ทั้งอาคาร นอกจากนี้การส่งกำลังบำรุงของสหรัฐอเมริกาและชาติพันธมิตร ถือว่าตอบโจทย์อย่างมาก เพราะมีการส่งทั้งอาหาร กระสุน วัตถุระเบิด นำมันเชื้อเพลิง เข้าไปอย่างพอเพียง ทหารที่ล้าก็หมุนออกมาพักได้ ซึ่งเทศกาลไล่ซัดดัมปี 1991 ใช้เวลา 43 วัน (17 ม.ค. - 28 ก.พ.91) ปี 2003 ใช้เวลา 20 วัน (20 มี.ค. - 9 เม.ย.03 นับถึงวันซัดดัมโดนโค่นอำนาจลง)
มาในยุค 5G ในปี 2022 ได้เห็นเทคโนโลยีทางการทหารของรัสเซียในสงครามยูเครน ซึ่งนับแต่วันแรกจนถึงวันนี้ 45 วันแล้ว เกมกลับพลิกเพราะในช่วงแรกของสงคราม รัสเซียใช้ยุทธวิธีแบบเดียวกับสหรัฐอเมริกาในช่วงแรก โดยใช้ขีปนาวุธอีสกันดาร์ยิงเบิกฤกษ์ และใช้ขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิคเป็นครั้งแรก แต่ผ่านไป 3 วัน เจอปัญหาด้านการส่งกำลังบำรุง เช่นรถถังน้ำมันหมด ทหารไม่มีข้าวกิน จนขวัญกำลังใจตกต่ำ จนมีการทิ้งฐานและหนีไปให้ทหารยูเครนจับเป็นเชลย เรียกว่าไม่มีวี่แววว่าจะชนะสงครามง่ายๆ เลย สุดท้ายต้องถอนทหารออกจากกรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครน และบางเมืองเช่นเคอร์ซอนกลับโดนทหารยูเครนยึดคืนได้ ซึ่งมีการตั้งข้อสังเกตว่าถ้ายิ่งนานวันรัสเซียจะเจอปัญหาแบบในซีเรีย หรือในอัฟกานิสถายที่เคยเจอมาแล้วในอดีต
คิดว่ามีปัจจัยอะไรอีกบ้างที่ทำให้ชาติมหาอำนาจทั้ง 2 ชาติมียุทธวิธีไม่เหมือนกัน
ยุทธวิธีทางทหารของสหรัฐอเมริกา vs ยุทธวิธีทางทหารของรัสเซีย
มาในยุค 5G ในปี 2022 ได้เห็นเทคโนโลยีทางการทหารของรัสเซียในสงครามยูเครน ซึ่งนับแต่วันแรกจนถึงวันนี้ 45 วันแล้ว เกมกลับพลิกเพราะในช่วงแรกของสงคราม รัสเซียใช้ยุทธวิธีแบบเดียวกับสหรัฐอเมริกาในช่วงแรก โดยใช้ขีปนาวุธอีสกันดาร์ยิงเบิกฤกษ์ และใช้ขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิคเป็นครั้งแรก แต่ผ่านไป 3 วัน เจอปัญหาด้านการส่งกำลังบำรุง เช่นรถถังน้ำมันหมด ทหารไม่มีข้าวกิน จนขวัญกำลังใจตกต่ำ จนมีการทิ้งฐานและหนีไปให้ทหารยูเครนจับเป็นเชลย เรียกว่าไม่มีวี่แววว่าจะชนะสงครามง่ายๆ เลย สุดท้ายต้องถอนทหารออกจากกรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครน และบางเมืองเช่นเคอร์ซอนกลับโดนทหารยูเครนยึดคืนได้ ซึ่งมีการตั้งข้อสังเกตว่าถ้ายิ่งนานวันรัสเซียจะเจอปัญหาแบบในซีเรีย หรือในอัฟกานิสถายที่เคยเจอมาแล้วในอดีต
คิดว่ามีปัจจัยอะไรอีกบ้างที่ทำให้ชาติมหาอำนาจทั้ง 2 ชาติมียุทธวิธีไม่เหมือนกัน