คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 16
แถลงความคืบหน้าสถานการณ์โรคไวรัสโควิด-19 ประจำวันที่ 8 เมษายน 2565 เวลา 12.00 น.
แถลงความคืบหน้าสถานการณ์โรคไวรัสโควิด-19
ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
ประจำวันที่ 8 เมษายน 2565
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันศุกร์ที่ 8 เมษายน 2565
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/537770957841233
จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 7 เม.ย. 2565)
รวม *130,662,007 โดส ใน 77 จังหวัด
ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 7 เมษายน 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 108,279 โดส
เข็มที่ 1 : 23,047 ราย
เข็มที่ 2 : 17,790 ราย
เข็มที่ 3 : 67,442 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 55,809,207 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 50,471,709 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 24,381,091 ราย
* ปรับปรุงข้อมูลวัคซีนสะสม
** ปรับฐานประชากร ปี 2565 ตามมติการประชุม ศบค.
เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2565 เป็นจำนวน 69,556,204 คน
แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/537693884515607
ฉลองสงกรานต์อย่างปลอดภัย เพื่อปกป้องตัวคุณเองและครอบครัวของคุณจากโควิด
อย่าลืมสวมหน้ากาก รักษาระยะห่าง หมั่นล้างมือ และฉีดวัคซีนนะคะ
ที่มา : World Health Organization Thailand
องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/537656781185984
ติดเชื้อโควิดซ้ำเกิดขึ้นได้ สาเหตุคืออะไร? อันตรายหรือไม่?
ที่นี่มีคำตอบ
ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/537657967852532
สธ. ให้หน่วยบริการสาธารณสุขทุกแห่ง ดูแลประชาชนช่วง 7 วันอันตรายเทศกาลสงกรานต์
วันที่ 11–17 เม.ย. 65 และบริการฉีดวัคซีนผู้สูงอายุและลูกหลานที่เดินทางกลับภูมิลำเนา
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้มีข้อสั่งการไปยังหน่วยบริการสาธารณสุขทุกแห่ง เตรียมความพร้อมให้บริการประชาชนในช่วง 7 วันอันตรายเทศกาลสงกรานต์ ตั้งแต่วันที่ 11–17 เมษายน 2565 เนื่องจากมีผู้ที่เดินทางกลับภูมิลำเนาจำนวนมาก โดยนอกจากการเตรียมการรองรับในกรณีเกิดอุบัติเหตุฉุกเฉิน ทั้งการรักษา ระบบส่งต่อ ห้องผ่าตัด กำลังคน ยาและเวชภัณฑ์ยา ได้ให้โรงพยาบาลรวมถึง รพ.สต.ในพื้นที่ใช้โอกาสนี้ให้บริการฉีดวัคซีนโควิด 19 ให้กับผู้สูงอายุและลูกหลานที่เดินทางกลับภูมิลำเนาและต้องการฉีดวัคซีนหรือครบระยะการรับวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อขยายการรับวัคซีนให้มากที่สุด โดยให้กรมควบคุมโรคประสานกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจัดส่งวัคซีนไปให้เพียงพอ ส่วนผู้บริหารในพื้นที่ ทั้งนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ให้อยู่ประจำในพื้นที่เพื่อบริหารจัดการสถานการณ์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/537712941180368
คงมาตรการป้องกันควบคุมโควิด
• จำกัดเวลาดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านอาหาร พื้นที่นำร่องท่องเที่ยว/พื้นที่เฝ้าระวังสูง ไม่เกิน 23.00 น.
• ร้านอาหารดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ต้องผ่าน SHA+ หรือ Thai Stop COVID 2-Plus และมาตรการ COVID Free Setting
• สถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ เปิดแบบร้านอาหารได้ ขออนุญาตคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม.
• Work From Home ตามความเหมาะสม
ที่มา ศบค.
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/537732754511720
รายละเอียดผู้เสียชีวิตของประเทศไทย
วันศุกร์ที่ 8 เมษายน 2565 จำนวน 89 ราย
แหล่งข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/537779241173738
กทม. เตือนเฝ้าระวังการติดเชื้อโควิด เด็กเล็ก 0-4 ปี ขยายเตียงรองรับหลังสงกรานต์ เร่งฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกัน
นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงกรณีกระทรวงสาธารณสุขเตือนเฝ้าระวังการติดเชื้อโควิด-19 ในเด็กเล็ก 0-4 ปี พร้อมกำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมขยายเตียงรองรับหลังสงกรานต์ และเร่งฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกัน กรุงเทพมหานคร โดยสำนักการแพทย์ และสำนักอนามัย ร่วมกับ กรมควบคุมโรค และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 อย่างใกล้ชิดทุกกลุ่มอายุ และกลุ่มเสี่ยงต่างๆ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กอายุ 0-4 ปี เนื่องจากยังไม่ได้รับวัคซีน ซึ่งพบว่า การป่วยและความรุนแรงของโรคกลุ่มเด็กเล็ก 0-6 เดือน เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ที่ป่วยแล้วจะมีอาการรุนแรงและเสียชีวิตมากกว่ากลุ่มวัยอื่น สำหรับการเตรียมความพร้อมบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขของ กทม. เพื่อรองรับการรักษากลุ่มเด็กเล็กที่ติดเชื้อโควิด 19 สำนักการแพทย์ ได้เน้นย้ำโรงพยาบาลในสังกัด กทม. ซึ่งมีกุมารแพทย์ประจำทุกแห่ง ให้การดูแลผู้ป่วยเด็กเล็กที่มีผลยืนยันติดโควิดอย่างเร่งด่วน เตรียมความพร้อมรอบด้าน ประเมินอาการ ให้การรักษา และประสานส่งต่อผู้ป่วยไปศูนย์บริการสาธารณสุข โรงพยาบาลทั่วไป รวมถึงสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี หรือโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย โดยมีศูนย์เอราวัณ สำนักการแพทย์ สายด่วน 1669 ประสานส่งต่อเครือข่าย
ทั้งนี้ การดูแลป้องกัน เมื่อเด็กปฐมวัยติดเชื้อ หากผู้ปกครองมีผลบวก และเด็กติดเชื้อโควิดด้วย จะใช้ระบบการรักษาแบบครอบครัว ไม่ว่าจะอยู่ในโรงพยาบาลหรือศูนย์พักคอย แต่ถ้าเด็กติดเชื้อแล้วผู้ปกครองไม่ติดเชื้อก็จะอนุญาตให้ผู้ปกครอง สามารถอยู่ระหว่างการรักษาได้ แต่จะไม่แนะนำให้ปู่ย่า ตายาย หรือคนในครอบครัวที่สูงอายุดูแลเด็กที่ติดเชื้อเนื่องจากอาจจะติดเชื้อโควิด-19 ได้ รวมทั้งการเน้นย้ำผู้ปกครอง
สังเกตอาการและประเมินเด็กในครอบครัว โดยเฉพาะเด็กเล็กมีภาวะโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคมะเร็ง ฯลฯ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ส่วนพ่อแม่ติดเชื้อ และเด็กไม่ติดเชื้อ กรณีนี้หากมีญาติสามารถที่จะดูแลเด็กได้ก็ให้ดูแลต่อ แต่หากไม่มีผู้ที่จะดูแลเด็กทางกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ก็จะเป็นหน่วยงานที่เข้ามาประสานและช่วยดูแลต่อ
ที่มา กรุงเทพมหานคร
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/537780454506950
“ริน รด พรม” เล่นสงกรานต์แบบไทย
• เตรียมคนให้ปลอดภัย
• เตรียมพื้นที่จัดงานให้ปลอดภัย
** ขออนุญาตจัดงานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม.
ปฏิบัติตาม Thai Stop COVID 2-Plus และ COVID Free Setting
ที่มา กรมอนามัย
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/537785094506486
ผลสำรวจ!!! คนไทย มากกว่าร้อยละ 30 ยังมีพฤติกรรมเสี่ยงติดโควิด 19
จากผลการสำรวจการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพในประเด็นความตระหนักรู้ต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล (Universal Prevention) ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ของกองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข โดยความร่วมมือจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ และศูนย์สนับสนุนบริการสุขภาพที่ 1 – 12 ระหว่างวันที่ 5 – 31 มีนาคม 2565 มีผู้ตอบแบบสำรวจ จำนวนทั้งสิ้น 113,847 คน อายุเฉลี่ยระหว่าง 25 - 26 ปี ผลการสำรวจ พบว่า มากกว่าร้อยละ 30 ของประชาชนคนไทยทั่วประเทศมีความตระหนักรู้ต่อการป้องกันโรคโควิด ที่ส่งผลต่อการมีพฤติกรรมเสี่ยงติดเชื้อโควิด
ที่มา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/537804404504555
แถลงความคืบหน้าสถานการณ์โรคไวรัสโควิด-19
ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
ประจำวันที่ 8 เมษายน 2565
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันศุกร์ที่ 8 เมษายน 2565
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/537770957841233
จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 7 เม.ย. 2565)
รวม *130,662,007 โดส ใน 77 จังหวัด
ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 7 เมษายน 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 108,279 โดส
เข็มที่ 1 : 23,047 ราย
เข็มที่ 2 : 17,790 ราย
เข็มที่ 3 : 67,442 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 55,809,207 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 50,471,709 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 24,381,091 ราย
* ปรับปรุงข้อมูลวัคซีนสะสม
** ปรับฐานประชากร ปี 2565 ตามมติการประชุม ศบค.
เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2565 เป็นจำนวน 69,556,204 คน
แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/537693884515607
ฉลองสงกรานต์อย่างปลอดภัย เพื่อปกป้องตัวคุณเองและครอบครัวของคุณจากโควิด
อย่าลืมสวมหน้ากาก รักษาระยะห่าง หมั่นล้างมือ และฉีดวัคซีนนะคะ
ที่มา : World Health Organization Thailand
องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/537656781185984
ติดเชื้อโควิดซ้ำเกิดขึ้นได้ สาเหตุคืออะไร? อันตรายหรือไม่?
ที่นี่มีคำตอบ
ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/537657967852532
สธ. ให้หน่วยบริการสาธารณสุขทุกแห่ง ดูแลประชาชนช่วง 7 วันอันตรายเทศกาลสงกรานต์
วันที่ 11–17 เม.ย. 65 และบริการฉีดวัคซีนผู้สูงอายุและลูกหลานที่เดินทางกลับภูมิลำเนา
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้มีข้อสั่งการไปยังหน่วยบริการสาธารณสุขทุกแห่ง เตรียมความพร้อมให้บริการประชาชนในช่วง 7 วันอันตรายเทศกาลสงกรานต์ ตั้งแต่วันที่ 11–17 เมษายน 2565 เนื่องจากมีผู้ที่เดินทางกลับภูมิลำเนาจำนวนมาก โดยนอกจากการเตรียมการรองรับในกรณีเกิดอุบัติเหตุฉุกเฉิน ทั้งการรักษา ระบบส่งต่อ ห้องผ่าตัด กำลังคน ยาและเวชภัณฑ์ยา ได้ให้โรงพยาบาลรวมถึง รพ.สต.ในพื้นที่ใช้โอกาสนี้ให้บริการฉีดวัคซีนโควิด 19 ให้กับผู้สูงอายุและลูกหลานที่เดินทางกลับภูมิลำเนาและต้องการฉีดวัคซีนหรือครบระยะการรับวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อขยายการรับวัคซีนให้มากที่สุด โดยให้กรมควบคุมโรคประสานกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจัดส่งวัคซีนไปให้เพียงพอ ส่วนผู้บริหารในพื้นที่ ทั้งนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ให้อยู่ประจำในพื้นที่เพื่อบริหารจัดการสถานการณ์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/537712941180368
คงมาตรการป้องกันควบคุมโควิด
• จำกัดเวลาดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านอาหาร พื้นที่นำร่องท่องเที่ยว/พื้นที่เฝ้าระวังสูง ไม่เกิน 23.00 น.
• ร้านอาหารดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ต้องผ่าน SHA+ หรือ Thai Stop COVID 2-Plus และมาตรการ COVID Free Setting
• สถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ เปิดแบบร้านอาหารได้ ขออนุญาตคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม.
• Work From Home ตามความเหมาะสม
ที่มา ศบค.
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/537732754511720
รายละเอียดผู้เสียชีวิตของประเทศไทย
วันศุกร์ที่ 8 เมษายน 2565 จำนวน 89 ราย
แหล่งข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/537779241173738
กทม. เตือนเฝ้าระวังการติดเชื้อโควิด เด็กเล็ก 0-4 ปี ขยายเตียงรองรับหลังสงกรานต์ เร่งฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกัน
นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงกรณีกระทรวงสาธารณสุขเตือนเฝ้าระวังการติดเชื้อโควิด-19 ในเด็กเล็ก 0-4 ปี พร้อมกำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมขยายเตียงรองรับหลังสงกรานต์ และเร่งฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกัน กรุงเทพมหานคร โดยสำนักการแพทย์ และสำนักอนามัย ร่วมกับ กรมควบคุมโรค และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 อย่างใกล้ชิดทุกกลุ่มอายุ และกลุ่มเสี่ยงต่างๆ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กอายุ 0-4 ปี เนื่องจากยังไม่ได้รับวัคซีน ซึ่งพบว่า การป่วยและความรุนแรงของโรคกลุ่มเด็กเล็ก 0-6 เดือน เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ที่ป่วยแล้วจะมีอาการรุนแรงและเสียชีวิตมากกว่ากลุ่มวัยอื่น สำหรับการเตรียมความพร้อมบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขของ กทม. เพื่อรองรับการรักษากลุ่มเด็กเล็กที่ติดเชื้อโควิด 19 สำนักการแพทย์ ได้เน้นย้ำโรงพยาบาลในสังกัด กทม. ซึ่งมีกุมารแพทย์ประจำทุกแห่ง ให้การดูแลผู้ป่วยเด็กเล็กที่มีผลยืนยันติดโควิดอย่างเร่งด่วน เตรียมความพร้อมรอบด้าน ประเมินอาการ ให้การรักษา และประสานส่งต่อผู้ป่วยไปศูนย์บริการสาธารณสุข โรงพยาบาลทั่วไป รวมถึงสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี หรือโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย โดยมีศูนย์เอราวัณ สำนักการแพทย์ สายด่วน 1669 ประสานส่งต่อเครือข่าย
ทั้งนี้ การดูแลป้องกัน เมื่อเด็กปฐมวัยติดเชื้อ หากผู้ปกครองมีผลบวก และเด็กติดเชื้อโควิดด้วย จะใช้ระบบการรักษาแบบครอบครัว ไม่ว่าจะอยู่ในโรงพยาบาลหรือศูนย์พักคอย แต่ถ้าเด็กติดเชื้อแล้วผู้ปกครองไม่ติดเชื้อก็จะอนุญาตให้ผู้ปกครอง สามารถอยู่ระหว่างการรักษาได้ แต่จะไม่แนะนำให้ปู่ย่า ตายาย หรือคนในครอบครัวที่สูงอายุดูแลเด็กที่ติดเชื้อเนื่องจากอาจจะติดเชื้อโควิด-19 ได้ รวมทั้งการเน้นย้ำผู้ปกครอง
สังเกตอาการและประเมินเด็กในครอบครัว โดยเฉพาะเด็กเล็กมีภาวะโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคมะเร็ง ฯลฯ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ส่วนพ่อแม่ติดเชื้อ และเด็กไม่ติดเชื้อ กรณีนี้หากมีญาติสามารถที่จะดูแลเด็กได้ก็ให้ดูแลต่อ แต่หากไม่มีผู้ที่จะดูแลเด็กทางกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ก็จะเป็นหน่วยงานที่เข้ามาประสานและช่วยดูแลต่อ
ที่มา กรุงเทพมหานคร
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/537780454506950
“ริน รด พรม” เล่นสงกรานต์แบบไทย
• เตรียมคนให้ปลอดภัย
• เตรียมพื้นที่จัดงานให้ปลอดภัย
** ขออนุญาตจัดงานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม.
ปฏิบัติตาม Thai Stop COVID 2-Plus และ COVID Free Setting
ที่มา กรมอนามัย
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/537785094506486
ผลสำรวจ!!! คนไทย มากกว่าร้อยละ 30 ยังมีพฤติกรรมเสี่ยงติดโควิด 19
จากผลการสำรวจการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพในประเด็นความตระหนักรู้ต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล (Universal Prevention) ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ของกองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข โดยความร่วมมือจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ และศูนย์สนับสนุนบริการสุขภาพที่ 1 – 12 ระหว่างวันที่ 5 – 31 มีนาคม 2565 มีผู้ตอบแบบสำรวจ จำนวนทั้งสิ้น 113,847 คน อายุเฉลี่ยระหว่าง 25 - 26 ปี ผลการสำรวจ พบว่า มากกว่าร้อยละ 30 ของประชาชนคนไทยทั่วประเทศมีความตระหนักรู้ต่อการป้องกันโรคโควิด ที่ส่งผลต่อการมีพฤติกรรมเสี่ยงติดเชื้อโควิด
ที่มา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/537804404504555
แสดงความคิดเห็น
🇹🇭มาลาริน💙8เม.ย.ไม่ติดTop10โลก/ป่วย25,140คน หาย24,854คน ตาย89คน/จ่อปรับมาตรการเข้าไทยเลิก RT-PCR/เล็งหั่นกฎและผลิตATK
นายกฯ จ่อปรับมาตรการเข้าไทยระยะ 2 เลิก RT-PCR สงกรานต์ขอดูก่อน สั่งระดมทีมแพทย์เตียงยาให้พอ
"บิ๊กตู่" ประชุมศบค. เตรียมปรับมาตรการเข้าไทย ระยะ 2 ยกเลิกตรวจ RT-PCR ก่อนเดินทางทั้ง 3 กลุ่ม (พ.ค.2565) ขอประเมินสงกรานต์ก่อน สั่งระดมสรรพกำลังบุคลากรการแพทย์ฯ เตียง ยา เวชภัณฑ์ ให้เพียงพอต่อการดูแลผู้ติดเชื้อในขณะนี้-หลังสงกรานต์
วันนี้ (8 เม.ย.) เวลา 09.45 น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ครั้งที่ 6/2565 รับทราบร่างการปรับมาตรการผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักร ประเภท Test & Go Sandbox และ Quarantine ระยะ 2
ทั้งนี้ นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อที่ประชุมว่า ต่างประเทศชื่นชมการดำเนินการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ของไทยที่ผ่านมา พบว่าสัดส่วนผู้ที่เดินทางเข้ามาติดเชื้อน้อย และหลังจากที่ผ่อนคลายมาตรการเดินทางเข้าประเทศ มีการเดินทางเข้าใหม่มากขึ้น โดยขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพิ่มบุคลากรในการปฏิบัติงาน เพื่ออำนวยความสะดวกและประสิทธิภาพการบริการด้วย สำหรับการประชุม ศบค.วันนี้ เพื่อรับทราบสถานการณ์ ติดตามประเมินสถานการณ์ภายหลังจากที่ได้มีการผ่อนคลายหลักเกณฑ์มาตรการเดินทางเข้าประเทศตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 แต่ยังคงมาตรการการเดินทางเข้าประเทศผ่านระบบ Test & Go ซึ่งเป็นภาวการณ์ที่หลายประเทศก็มีการผ่อนคลายการเข้าประเทศ และบางประเทศได้เปิดรับนักท่องเที่ยวแบบไม่ต้องกักตัว ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้การท่องเที่ยวได้ฟื้นตัวและสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวให้ทันต่อสถานการณ์ นอกจากนี้ จะมีการพิจารณาการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับช่วงเทศกาลสงกรานต์ และการเดินทางเข้าประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้ โดยวันนี้จะเห็นว่าชาวต่างชาติได้ทยอยเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่ถึงแม้จะมีอาการไม่รุนแรง แต่ก็มีอัตราการติดเชื้อที่สูง ติดเชื้อได้ไว และหากการควบคุมทำได้ไม่ดีพอ จะส่งผลต่อจำนวนผู้ติดเชื้อที่มีอาการหนัก และจำนวนผู้เสียชีวิตที่จะเพิ่มจำนวนมากขึ้น จากสัปดาห์ที่ผ่านมาที่อัตราผู้เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น ขอให้พิจารณาให้ผู้ป่วยกลุ่ม 608 และเด็ก สามารถเข้ารับการรักษาในระบบ UCEP Plus ในสถานพยาบาลได้ โดยไม่ต้องรอรักษาตามอาการ และขอให้ ศปก.สธ. ศปก.ศบค. และศปม. ช่วยกันระดมสรรพกำลังบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เตียง ยา และเวชภัณฑ์ ให้มีเพียงพอต่อการดูแลผู้ติดเชื้อทั้งในขณะนี้และช่วงหลังเทศกาลสงกรานต์ ขณะที่แนวทางการดูแลประชาชนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ขอให้เพิ่มจำนวนคู่สายของสายด่วน 1330 เพิ่มช่องทางติดต่ออื่น ๆ และเตรียมความพร้อมของระบบให้รองรับความต้องการในปริมาณมากได้ รวมถึงจัดกำลังเจ้าหน้าที่หรืออาสาสมัครให้เพียงพอ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับเรื่องเข้าระบบและให้ความช่วยเหลือผู้ติดเชื้อให้เข้าถึงการรักษาพยาบาลได้อย่างรวดเร็วที่สุด
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน คงจะยังไม่จบง่าย ๆ และองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้ออกคำเตือนเกี่ยวกับโอมิครอนสายพันธุ์ลูกผสม XE ที่สามารถแพร่เชื้อติดต่อได้ง่ายและเร็วกว่าทุกสายพันธุ์ ในเทศกาลสงกรานต์ที่กำลังจะมาถึง ซึ่งจะเกิดได้จากการเดินทางกลับบ้าน แล้วมีการพบปะสังสรรค์กันจำนวนมาก จึงอาจส่งผลให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น มีผู้ป่วยอาการหนัก และผู้เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น รวมถึงผู้ที่เคยป่วยโควิดแล้วก็อาจจะติดเชื้อซ้ำได้อีก ซึ่งเป็นข้อมูลจากทางสาธารณสุข ถึงแม้ว่าจะฉีดวัคซีนมาแล้วก็ตาม ถ้าหากไม่ระวังตัวเอง จึงขอให้ ศปก.สธ. เพิ่มประสิทธิภาพของระบบการติดตามการกลายพันธุ์ของเชื้อในประเทศไทย เพื่อเตรียมการรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
นายกรัฐมนตรีย้ำให้เร่งให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับภาวะหลังติดเชื้อโควิด-19 (Long COVID) เพราะการติดเชื้อโรคโควิด-19 ไม่ใช่ไข้หวัดธรรมดา หรือไข้หวัดใหญ่ แม้หายแล้วก็จะมีโอกาสเกิดภาวะผิดปกติระยะยาวในผู้ป่วยบางราย จึงขอให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันในการกำกับติดตาม เฝ้าระวัง และป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 อย่างเต็มความสามารถต่อไป รวมถึงเตรียมแผนรับมือกับภาวะหลังติดเชื้อโควิด-19 เพื่อดูแลผู้ป่วยที่อาจประสบปัญหา Long COVID จนทำให้บั่นทอนสมรรถนะในการดำรงชีวิตประจำวัน
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงการติดตามความคืบหน้าการวิจัยพัฒนาวัคซีนและยารักษาโรคโควิด-19 มีความสำคัญมาก ขอให้เป็นวาระรายงานในที่ประชุม ศบค. เป็นระยะ ๆ เป็นแนวทางให้ประชาชนได้เห็นว่ารัฐบาลให้ความสำคัญในเรื่องนี้ รวมทั้งขอความร่วมมือประชาชนให้ป้องกันตัวเองและครอบครัวอย่างสูงสุดต่อไปอีก จะต้องไม่ประมาท โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ สถานประกอบการต่าง ๆ ต้องปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด เจ้าหน้าที่ต้องไม่หละหลวม ไม่ปล่อยปละละเลย หากตรวจพบจะต้องลงโทษสถานหนักทุกพื้นที่ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถควบคุมการแพร่ระบาด ลดจำนวนผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยอาการหนัก และผู้เสียชีวิตให้ได้ เพื่อจะได้อยู่ร่วมกับโควิดได้โดยไม่เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ และสังคม ขอฝากทุกคนให้ช่วยกันดูแลด้วย และนายกรัฐมนตรียังกำชับให้มีการเตรียมความพร้อมมาตรการต่าง ๆ ที่เหมาะสม เพื่อเตรียมพร้อมก่อนการเปิดภาคเรียนวันที่ 17 พฤษภาคมนี้
สำหรับมติที่ประชุม ศบค. ที่สำคัญมีดังนี้
1. รับทราบร่างการปรับมาตรการผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักร ประเภท Test & Go Sandbox และ Quarantine ระยะ 2 (พฤษภาคม 2565) ที่มีแผนงาน ประกอบด้วย
1. ระบบการลงทะเบียน – ปรับหลักฐานที่ต้องใช้ในระบบ Thailand Pass
2. ผลตรวจก่อนเดินทาง – ยกเลิกตรวจ RT-PCR ก่อนเดินทางทั้ง 3 กลุ่ม
3. ประกันภัย – ผ่อนคลายวงเงินประกัน หรืออื่น ๆ
4. ปรับรูปแบบการตรวจหาเชื้อ เมื่อมาถึง และระหว่างพำนัก กรณี Test & Go – ปรับรูปแบบการตรวจหาเชื้อฯ เมื่อเดินทางมาถึง กรณี Quarantine ลดระยะเวลากักตัว กรณีผู้ควบคุมยานพาหนะฯ และลูกเรือ ลดระยะเวลากักตัว หรือผ่อนคลายอื่น ๆ
5. กรณีผู้เดินทางติดเชื้อฯ และกรณีเป็นผู้เสี่ยงสูง (HRC) - ผู้ติดเชื้อฯ อาการเล็กน้อย (ผู้ป่วยสีเขียว) ผ่อนคลายอื่น ๆ – ผู้เสี่ยงสูง (HRC) ยกเลิกการกักตัว หรือผ่อนคลายอื่น ๆ
2. เห็นชอบแผนการจัดหา Long-acting antibody (LAAB) สำหรับกลุ่มเสี่ยงสูงที่ภูมิคุ้มกันต่ำ ที่มีหลักการ ฉีดภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (Passive immunity) ในกลุ่มเสี่ยงสูงที่ไม่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ด้วยวัคซีน มีรายละเอียดในเอกสารกำกับยา คือ
1) เป็น Antibody ชนิด long-acting antibody มีส่วนประกอบ 2 ชนิด (150 mg tixagemab co-packaged with 150 mg cilgavimab)
2) ผ่านการรับรองใช้แบบฉุกเฉิน EUA โดย US FDA เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2564
3) ขึ้นทะเบียนยาโดยบริษัท AstraZeneca ประเทศอังกฤษเมื่อเดือนมิถุนายน 2564 มีข้อบ่งใช้ คือ กลุ่มเป้าหมายผู้มีความเสี่ยงสูงที่ภูมิคุ้มกันต่ำ โดยให้ก่อนการสัมผัสโรค สำหรับเชื้อไวรัสโควิด ขนาดการใช้ ฉีดเข้ากล้ามทุก 6 เดือน ภูมิต้านทานสามารถป้องกันโควิด19 ได้ 6 -12 เดือนต่อการให้ 1 ครั้ง ประสิทธิผล ร้อยละ 83 ในการลดความเสี่ยงของอาการรุนแรงของโควิด 19 สายพันธุ์ Omicron subvariants BA.1 BA.2 และ BA.1.1 สำหรับกระบวนการจัดหา หารืออัยการสูงสูงสุดแนะนำให้ปรับสัญญากับบริษัท AstraZeneca โดยเปลี่ยนจากวัคซีน AstraZeneca บางส่วน โดยอยู่ในกรอบวงเงินงบประมาณเดิมที่ ครม. อนุมัติแล้วและไม่ต้องเสียงบประมาณเพิ่ม (ข้อมูล ณ 8 เมษายน 2565)
นายกรัฐมนตรียังกล่าวถึงการจัดกิจกรรมช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยนโยบายของรัฐบาล และ ศบค. ขอให้เป็นสงกรานต์ที่ปลอดภัย เป็นไปตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ควบคู่ไปกับการเตรียมความพร้อมของตัวเองในการเดินทาง เคารพกฎจราจร ปลอดภัยจากโควิดและเดินทางปลอดภัย พร้อมย้ำว่า ขอให้รักตนเอง รักครอบครัว รักผู้อื่น
https://mgronline.com/politics/detail/9650000034184
ศบค.เล็งหั่น‘กฎ’เข้าประเทศ เพิ่มกำลังผลิต‘ATKไทย’-ปรับสัญญาวัคซีนแอสตร้าฯ
วันศุกร์ ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2565, 14.38 น.
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่าศบค.เห็นชอบคงระดับสถานการณ์พื้นที่เดิม สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) รายงานเรื่องการเตรียมชุดตรวจเอทีเค (ATK) กระจายให้กับกลุ่มเสี่ยง มี.ค.-ก.ย.65 ว่า ได้เตรียมไว้ประมาณ 22.8 ล้านชิ้น กระจายไปแล้ว 3.1 ล้านชิ้น มีผู้รับ 1.2 ล้านคน มีผลเป็นบวก 2.3% ใช้ต้นทุนต่อชุดประมาณ 55 บาท โดยอนุมัติงบประมาณแล้ว 170 ล้านบาท
ขณะยังมีการรายงานว่า ศิริราชพยาบาลได้พัฒนาชุดตรวจเอทีเคสัญชาติไทย ราคา 40 บาทต่อชิ้น ผลิตได้ 2 แสนชิ้นต่อเดือน โดยนายกฯระบุว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะเพิ่มการผลิตได้ 1 ล้านชิ้นต่อเดือน ซึ่งนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุขแจ้งว่าเป็นไปได้ โดยภาครัฐจำเป็นต้องเข้ามาช่วยดำเนินการ
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารายงานให้ที่ประชุมทราบถึงการเดินทางเข้าประเทศหลังมีการออกมาตรการยกเลิกการตรวจ RT-PCR ก่อนเดินทางเข้าประเทศว่าการเดินทางประเทศเมื่อปี 64 ที่ผ่านมามีผู้เดินทางเข้าประเทศ 4.2 แสนคน ส่วนปี 65 ระหว่าง มี.ค.-เม.ย. มีผู้เดินทางเข้ามาถึง 4.7 แสนคน ทำให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นผู้นำในการเปิดประเทศ และชาวต่างชาตินิยมเดินทางมาประเทศไทยจำนวนมาก ประชุมได้รับทราบแนวทางการปรับมาตรการสำหรับผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักรที่จะเริ่มในเดือน พ.ค. ว่าอาจจะปรับลดหลักฐานที่จะต้องใช้ในระบบไทยแลนด์พลัส ผ่อนคลายวงเงินประกัน เดิม 2 หมื่นดอลลาร์ที่อาจสูงเกินให้ต่ำลงมา ปรับรูปแบบการตรวจหาเชื้อเมื่อเดินทางเข้าประเทศมาเป็นตรวจเอทีเค แต่ทั้งนี้ ยังเป็นเพียงหลักการที่ยังไม่ได้ข้อสรุป จะมีการพิจารณาเรื่องนี้ในการประชุมศบค.ครั้งต่อไป เพราะจะให้มีผลในเดือน พ.ค. อีกทั้งนายกฯต้องการดูผลในช่วงสงกรานต์ก่อน
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ในที่ประชุมยังได้มีการรายงานเกี่ยวกับเหตุไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับวัคซีนโควิด-19 ว่า มีจำนวนผู้ฉีดวัคซีนทั้งสิ้นถึงวันที่ 3 เม.ย.จำนวน 130,139,978 โดส พบอาการไม่พึงประสงค์ร้ายแรงที่เกี่ยวกับวัคซีนจำนวน 123 ราย หรือคิดเป็น 0.9 รายต่อล้านโดส มีการเสียชีวิตที่สรุปได้ว่าเกี่ยวกับวัคซีนจำนวน 6 ราย หรือคิดเป็น 0.04 รายต่อล้านโดส ข้อมูลตรงนี้จะทำให้ประชาชนมีความมั่นใจในการเข้ารับวัคซีนให้มากขึ้น อีกทั้งในปัจจุบันมีกลุ่ม 608 ที่ยังไม่ได้ไปรับวัคซีนเข็มกระตุ้นถึง 60%
นอกจากนี้ ศบค.ยังมีแผนจัดหา Long-acting antibody (LAAB) เป็นวัคซีนภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปสำหรับกลุ่มเสี่ยงสูงที่ภูมิต่ำ เมื่อฉีดแล้วจะมีภูมิคุ้มกันทันที ไม่ต้องรอสร้างในร่างกาย ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับสัญญาที่สั่งซื้อวัคซีนจากบริษัทแอสตร้าเซเนก้าให้เราได้รับวัคซีนดังกล่าวโดยใช้กรอบวงเงินเดิม
https://www.naewna.com/local/646465
ติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ
....💕💕🤟🤟