สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 12
เรียนโยธามาและปัจจุบันก็เป็นวิศวะ อ่านคำถามเราเข้าใจว่าเป็นเรื่องของอายุการใช้งาน หรือการเสีย Serviceability ซึ่งปกติโครงสร้างทางโยธา เมื่อวิศวกรคนใดเซ็นลงไปแล้ว ภายในระยะเวลา 20 - 50 ปี ถ้าโครงสร้างนั้นเกิดมีปัญหาหรือถล่มขึ้นมา วิศวกรคนนั้นจะต้องรับผิดชอบ ขึ้นอยู่กับว่ามันคือโครงสร้างอะไร ถ้ามีแต่เสาเป็นตอม่อแบบนี้ผมว่าก็มี 50 ปีอะ ซึ่งเอาจริง ๆ มันไม่ใช่ 50 ปีแล้วจะถล่มนะ แต่มันจะต้องมีการตรวจสอบสภาพตามระยะเวลาที่กำหนดอยู่เหมือนกัน ส่วนใหญ่โครงสร้างเก่าถ้าออกแบบถูกหลักวิศวกรรมปัญหาที่เกิดมันก็จะไม่ใช่ปัญหาใหญ่อะไร แค่คอนกรีตบางทีมันโดนลมโดนฝนมาก ๆ น้ำหรืออากาศก็มีโอกาสซึมเข้าไปถึงในเหล็กเสริม พอองค์ประกอบครบ สนิมก็เกิด แล้วพอเหล็กเกิดสนิมมันก็จะพองตัวดันคอนกรีตให้ร้าวเพิ่มจนบางทีคอนกรีตก็ร่อนออกมาเห็นแต่เหล็กเสริม ซึ่งเอาจริง ๆ มันก็เป็นไปได้ยากมาก ๆ อีกเพราะถ้าระยะหุ้มเหล็กเพียงพอ แล้วเลือกใช้คอนกรีตได้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศตรงนั้น ยังไง ๆ มันก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าอายุในความหมายของคนทั่วไปหมายถึงเอาจนกว่ามันจะพังถล่มลงมาด้วยตัวเอง ผมว่ายากครับ และไม่มีหลักวิศวกรรมตรงไหนจะไปตอบได้ด้วย แต่ให้คิดตามง่าย ๆ แบบนี้ก็แล้วกันว่าพีระมิดเองก็สร้างมาจากหินปูน ตอนนี้ก็มีอายุหลัก 4,000 กว่าปีแล้ว และก็ยังไม่มีใครตอบได้ว่ามันจะถล่มลงมาเมื่อไหร่ ซึ่งเอาจริง ๆ ตามทฤษฎี คอนกรีตมันก็คือการเลียนแบบกระบวนการเกิดหินตามธรรมชาตินั่นแหละ บ้านที่สร้างจากคอนกรีตสมัยนี้จึงแทบไม่ต่างอะไรไปจากการตัดหินจริง ๆ มาสร้าง แล้วหินก้อนนึงอะคุณก็ดูเอารึกันบางก้อนอยู่มาพร้อมกับฟอสซิลไดโนเสาร์ เพราะฉะนั้นตัวแปรเดียวที่จะเล่นงานมันได้ก็คือน้ำและฝน เพราะงั้นถ้าพูดถึงอายุของมันแบบจริง ๆ ผมว่าก็อยู่ไปจนมนุษยชาติสูญพันธุ์แหละครับ ไม่ได้พูดเล่น วิศวกรเราก็เชื่อกันแบบนั้นจริง ๆ แต่ถ้าพูดถึงอายุการให้บริการ อันนี้ต้องตรวจสอบเป็นประจำ แต่ก็นั่นแหละ พันกว่าปีถ้าไม่ริ้อซะก่อนมันก็ยังให้บริการได้เรื่อย ๆ
แสดงความคิดเห็น
เสาตอหม้อทางด่วน รถไฟ สะพาน อายุการใช้งานกี่ปี เวลาหมดอายุจะมีปัญหาเยอะแค่ไหน
อายุการใช้งานประมาณกี่ปี การกำจัดทิ้งย่อมเกิดปัญหาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ยิ่งในกรุงเทพทางด่วน รถไฟฟ้า
เวลากำจัดไม่อยากจะคิดเลยว่าปัญหาตามมาจะมากมายขนาดไหน
ปล.กว่าจะถึงเวลานั้นพวกเราที่มีชีวิตอยู่ ณ ตอนนี้คงจะหายไปหมด คงเป็นหน้าที่ของคนรุ่นถัดๆ ไปที่จะต้องแก้ปัญหาในอนาคต