ยูฟ่าไฟเขียวกฏการเงินใหม่ กำหนดเพดานค่าใช้จ่าย 70% ของรายได้
คณะกรรมการของยูฟ่าไฟเขียวข้อบังคับการเงินฉบับใหม่ที่จะมาทดแทนระบบแฟร์เพลย์การเงิน ซึ่งจะกำหนดเพดานการใช้จ่ายไว้ที่ 70 เปอร์เซนต์ของรายได้สโมสร
กฏใหม่มาในชื่อข้อบังคับความเสถียรภาพทางการเงินและใบอนุญาตสโมสร (FSCLR) ซึ่งจะกำหนดเพดานสำหรับการใช้จ่ายค่าเหนื่อย, ค่าตัวและค่าเอเยนต์ไว้ที่ 70 เปอร์เซนต์ของรายได้สโมสร
ยูฟ่าจะนำกฏนี้มาใช้ตั้งแต่เดือนมิถุนายนและจะให้เวลาสโมสรปรับตัวกัน 3 ปี โดยฤดูกาล 2023-24 นั้นจะกำหนดเพดานไว้ที่ 90 เปอร์เซนต์ของรายได้และลดเหลือ 80 เปอร์เซนต์ในฤดูกาล 2024-25 จากนั้นค่อยปรับเหลือ 70 เปอร์เซนต์
กฏแฟร์เพลย์การเงินของเดิมถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2010 ในยุคของ มิเชล พลาตินี่ และ จานนี่ อินฟานติโน่ และทีแรกสมาคมสโมสรยุโรปต่อต้านการนำกฏดังกล่าวมาใช้
กฏเก่าถูกออกแบบมาป้องกันสโมสรยุโรปจากการใช้จ่ายเกินตัวและการอัดฉีดเงินจากส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับฟุตบอล ปัจจุบันสโมสรใช้จ่ายได้เท่ากับรายได้ตลอดช่วงเวลา 3 ปีและเกินกำหนดได้เพียงแค่ 5 ล้านยูโรเท่านั้น
กระนั้นกฏยังระบุให้สโมสรใช้เกินลิมิตได้มากถึง 30 ล้านยูโร หากเจ้าของทีมหรือผู้ที่เกี่ยวข้องหาเงินมาโปะจำนวนดังกล่าวได้
สำหรับกฏใหม่นั้นออกแบบมาเพื่อรักษาสมดุลของการแข่งขันและช่วยให้สโมสรมีความเสถียรภาพมากขึ้น แต่ยังทำให้ทีมเงินถุงเงินถังได้เปรียบอยู่มากกว่าจะลดช่องว่างลง
ยูฟ่าศึกษาเรื่องการกำหนดเพดานค่าเหนื่อยด้วยเหมือนกัน แต่ก็พบกับคำถามว่าการทำแบบนั้นจะถูกต้องตามกฏหมายของยุโรปหรือไม่
เชื่อกันว่าข้อบังคับใหม่นั้นจะมีการลงโทษทั้งในรูปแบบของตัดแต้ม, การปรับร่วงไปเล่นในทัวร์นาเมนต์ยูฟ่าที่ระดับต่ำกว่าและการตัดสิทธิ์จากการแข่งขันฟุตบอลยุโรป
ยูฟ่ายังระบุเพิ่มเติมว่าพวกเขาอนุญาตให้สโมสรขาดทุนได้รวม 60 ล้านยูโรตลอดช่วงเวลา 3 ปี เพิ่มจากเดิมที่เคยกำหนดไว้เพียง 30 ล้านยูโรตลอด 3 ปี
นอกเหนือจากนี้อาจมีโบนัสให้ใช้จ่ายได้เกินเพดานที่กำหนดไว้อีก 9 ล้านยูโรหากสโมสรที่สภาพการเงินแข็งแกร่ง เรียกว่าโบนัสจากความเสถียรภาพ
credit : www.soccersuck.com
ยูฟ่าปรับกฎการเงินใหม่ กำหนดสโมสรใช้จ่าย 70% ของรายได้
ยูฟ่าปรับเปลี่ยนการบังคับใช้กฏการเงินแบบใหม่ ซึ่งจะกำหนดให้แต่ละสโมสรมีเพดานการใช้จ่ายไว้ที่ 70% ของรายได้
คณะกรรมการบริหารของสหพันธ์ฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) ประกาศอนุมัติการใช้กฎการเงินรูปแบบใหม่ ซึ่งจะมาแทนที่กฎเดิมอย่าง ไฟแนนเชียล แฟร์ เพลย์ โดยกฎใหม่จะบังคับให้แต่ละสโมสรมีเพดานการใช้จ่ายอยู่ที่ 70% ของรายได้
ก่อนหน้านี้ ยูฟ่าได้นำกฎไฟแนนเชียล แฟร์ เพลย์ มาบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2010 เพื่อป้องกันไม่ให้สโมสรใช้จ่ายเงินเกินตัว และป้องกันการเกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างสโมสร ทว่ากฎนี้ก็ยังมีช่องว่างให้บรรดาทีมใหญ่หาทางลบเลี่ยงในการเพิ่มรายได้ในรูปแบบต่าง ๆ อยู่ดี
ด้วยเหตุนี้ ยูฟ่าจึงตัดสินปรับรูปแบบกฎการเงินโฉมใหม่ โดยจะกำหนดเพดานสำหรับแต่ละสโมสรในการใช้จ่ายค่าเหนื่อย, ค่าตัวและค่าเอเยนต์ไว้ที่ 70% ของรายได้ ซึ่งจะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่เดือนมิถุนายนนี้เป็นต้นไป และเปิดโอกาสให้ทุกสโมสรได้มีโอกาสปรับตัวตามกฎใหม่เป็นเวลา 3 ปี
“กฎระเบียบทางการเงินฉบับแรกของยูฟ่า ซึ่งเปิดตัวในปี 2010 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อช่วยดึงระบบการเงินของฟุตบอลยุโรปกลับมาจากปากเหว และปฏิวัติวิธีการบริหารสโมสรฟุตบอลในยุโรป"
“อย่างไรก็ตาม วิวัฒนาการของอุตสาหกรรมฟุตบอล ควบคู่ไปกับผลกระทบทางการเงินที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของโรคระบาดใหญ่ ได้แสดงให้เห็นความจำเป็นในการปฏิรูปกฎระเบียบด้านความยั่งยืนทางการเงินฉบับใหม่” อเล็กซานเดอร์ เซเฟริน ประธานยูฟ่า กล่าว
ทั้งนี้ ช่วงเวลา 3 ปีที่ยูฟ่าเปิดโอกาสให้แต่ละสโมสรได้ปรับตัว จะเริ่มตั้งแต่ฤดูกาล 2023-24 ที่จะกำหนดเพดานการใช้จ่ายไว้ที่ 90% ของรายได้ และจะลดเหลือ 80% ของรายได้ในฤดูกาล 2024-25 กระทั่งจะเริ่มบังคับใช้เพดานการใช้จ่าย 70% ของรายได้ตั้งแต่ปี 2025 เป็นต้นไป
credit : www.goal.com/th
ยูฟ่าไฟเขียวกฏการเงินใหม่ กำหนดเพดานค่าใช้จ่าย 70% ของรายได้ & ยูฟ่าปรับกฎการเงินใหม่ กำหนดสโมสรใช้จ่าย 70% ของรายได้
คณะกรรมการของยูฟ่าไฟเขียวข้อบังคับการเงินฉบับใหม่ที่จะมาทดแทนระบบแฟร์เพลย์การเงิน ซึ่งจะกำหนดเพดานการใช้จ่ายไว้ที่ 70 เปอร์เซนต์ของรายได้สโมสร
กฏใหม่มาในชื่อข้อบังคับความเสถียรภาพทางการเงินและใบอนุญาตสโมสร (FSCLR) ซึ่งจะกำหนดเพดานสำหรับการใช้จ่ายค่าเหนื่อย, ค่าตัวและค่าเอเยนต์ไว้ที่ 70 เปอร์เซนต์ของรายได้สโมสร
ยูฟ่าจะนำกฏนี้มาใช้ตั้งแต่เดือนมิถุนายนและจะให้เวลาสโมสรปรับตัวกัน 3 ปี โดยฤดูกาล 2023-24 นั้นจะกำหนดเพดานไว้ที่ 90 เปอร์เซนต์ของรายได้และลดเหลือ 80 เปอร์เซนต์ในฤดูกาล 2024-25 จากนั้นค่อยปรับเหลือ 70 เปอร์เซนต์
กฏแฟร์เพลย์การเงินของเดิมถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2010 ในยุคของ มิเชล พลาตินี่ และ จานนี่ อินฟานติโน่ และทีแรกสมาคมสโมสรยุโรปต่อต้านการนำกฏดังกล่าวมาใช้
กฏเก่าถูกออกแบบมาป้องกันสโมสรยุโรปจากการใช้จ่ายเกินตัวและการอัดฉีดเงินจากส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับฟุตบอล ปัจจุบันสโมสรใช้จ่ายได้เท่ากับรายได้ตลอดช่วงเวลา 3 ปีและเกินกำหนดได้เพียงแค่ 5 ล้านยูโรเท่านั้น
กระนั้นกฏยังระบุให้สโมสรใช้เกินลิมิตได้มากถึง 30 ล้านยูโร หากเจ้าของทีมหรือผู้ที่เกี่ยวข้องหาเงินมาโปะจำนวนดังกล่าวได้
สำหรับกฏใหม่นั้นออกแบบมาเพื่อรักษาสมดุลของการแข่งขันและช่วยให้สโมสรมีความเสถียรภาพมากขึ้น แต่ยังทำให้ทีมเงินถุงเงินถังได้เปรียบอยู่มากกว่าจะลดช่องว่างลง
ยูฟ่าศึกษาเรื่องการกำหนดเพดานค่าเหนื่อยด้วยเหมือนกัน แต่ก็พบกับคำถามว่าการทำแบบนั้นจะถูกต้องตามกฏหมายของยุโรปหรือไม่
เชื่อกันว่าข้อบังคับใหม่นั้นจะมีการลงโทษทั้งในรูปแบบของตัดแต้ม, การปรับร่วงไปเล่นในทัวร์นาเมนต์ยูฟ่าที่ระดับต่ำกว่าและการตัดสิทธิ์จากการแข่งขันฟุตบอลยุโรป
ยูฟ่ายังระบุเพิ่มเติมว่าพวกเขาอนุญาตให้สโมสรขาดทุนได้รวม 60 ล้านยูโรตลอดช่วงเวลา 3 ปี เพิ่มจากเดิมที่เคยกำหนดไว้เพียง 30 ล้านยูโรตลอด 3 ปี
นอกเหนือจากนี้อาจมีโบนัสให้ใช้จ่ายได้เกินเพดานที่กำหนดไว้อีก 9 ล้านยูโรหากสโมสรที่สภาพการเงินแข็งแกร่ง เรียกว่าโบนัสจากความเสถียรภาพ
credit : www.soccersuck.com
ยูฟ่าปรับกฎการเงินใหม่ กำหนดสโมสรใช้จ่าย 70% ของรายได้
ยูฟ่าปรับเปลี่ยนการบังคับใช้กฏการเงินแบบใหม่ ซึ่งจะกำหนดให้แต่ละสโมสรมีเพดานการใช้จ่ายไว้ที่ 70% ของรายได้
คณะกรรมการบริหารของสหพันธ์ฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) ประกาศอนุมัติการใช้กฎการเงินรูปแบบใหม่ ซึ่งจะมาแทนที่กฎเดิมอย่าง ไฟแนนเชียล แฟร์ เพลย์ โดยกฎใหม่จะบังคับให้แต่ละสโมสรมีเพดานการใช้จ่ายอยู่ที่ 70% ของรายได้
ก่อนหน้านี้ ยูฟ่าได้นำกฎไฟแนนเชียล แฟร์ เพลย์ มาบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2010 เพื่อป้องกันไม่ให้สโมสรใช้จ่ายเงินเกินตัว และป้องกันการเกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างสโมสร ทว่ากฎนี้ก็ยังมีช่องว่างให้บรรดาทีมใหญ่หาทางลบเลี่ยงในการเพิ่มรายได้ในรูปแบบต่าง ๆ อยู่ดี
ด้วยเหตุนี้ ยูฟ่าจึงตัดสินปรับรูปแบบกฎการเงินโฉมใหม่ โดยจะกำหนดเพดานสำหรับแต่ละสโมสรในการใช้จ่ายค่าเหนื่อย, ค่าตัวและค่าเอเยนต์ไว้ที่ 70% ของรายได้ ซึ่งจะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่เดือนมิถุนายนนี้เป็นต้นไป และเปิดโอกาสให้ทุกสโมสรได้มีโอกาสปรับตัวตามกฎใหม่เป็นเวลา 3 ปี
“กฎระเบียบทางการเงินฉบับแรกของยูฟ่า ซึ่งเปิดตัวในปี 2010 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อช่วยดึงระบบการเงินของฟุตบอลยุโรปกลับมาจากปากเหว และปฏิวัติวิธีการบริหารสโมสรฟุตบอลในยุโรป"
“อย่างไรก็ตาม วิวัฒนาการของอุตสาหกรรมฟุตบอล ควบคู่ไปกับผลกระทบทางการเงินที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของโรคระบาดใหญ่ ได้แสดงให้เห็นความจำเป็นในการปฏิรูปกฎระเบียบด้านความยั่งยืนทางการเงินฉบับใหม่” อเล็กซานเดอร์ เซเฟริน ประธานยูฟ่า กล่าว
ทั้งนี้ ช่วงเวลา 3 ปีที่ยูฟ่าเปิดโอกาสให้แต่ละสโมสรได้ปรับตัว จะเริ่มตั้งแต่ฤดูกาล 2023-24 ที่จะกำหนดเพดานการใช้จ่ายไว้ที่ 90% ของรายได้ และจะลดเหลือ 80% ของรายได้ในฤดูกาล 2024-25 กระทั่งจะเริ่มบังคับใช้เพดานการใช้จ่าย 70% ของรายได้ตั้งแต่ปี 2025 เป็นต้นไป
credit : www.goal.com/th