หลังจากปิดผู้ที่ยื่นประมูลเพื่อเป็นเจ้าของแมนยูคนต่อไปเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (17 ก.พ.) แม้ว่ามีผู้ประมูลเพิ่มทั้งจากกลุ่มอเมริกา และซาอุ ดูเหมือนว่าพี่น้องเกลเซอร์อาจจะส่อล้ม และตามข่าวว่าอาจจะหาบทสรุปในช่วงเดือนมีนาคมหรือเมษายน แต่ที่แน่ๆมี 2 ตัวเก็งท้าชิงเจ้าของปีศาจแดงคนใหม่ มาดูกันว่าแต่ละมีจุดเด่น-จุดด้อยอย่างไร มาดูกัน
เซอร์ จิม แรตคลิฟฟ์
ผู้ยื่นประมูลคนแรกที่ถูกพูดในตอนนี้คือเซอร์ จิม แรตคลิฟฟ์ เป็นมหาเศรษฐี วิศวกรเคมี และนักธุรกิจชาวอังกฤษ เขาเป็นซีอีโอของกลุ่มบริษัทเคมีภัณฑ์ INEOS บริษัทด้านเคมีภัณฑ์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก ปัจจุบันเขาถือหุ้น 2 ใน 3 ของ Ineos และจากการอ้างอิงของนิตยสาร Forbes ระบุว่า แรตคลิฟฟ์ มีทรัพย์สินสุทธิ 13,500 ล้านปอนด์ เขาเกิดในฟอลส์เวิร์ธ เกรเทอร์แมนเชสเตอร์ เป็นบุตรชายของพ่อที่เป็นช่างไม้ และแม่ที่เป็นพนักงานบัญชี อาศัยอยู่ที่นั่นจนกระทั่งอายุ 10 ขวบ ในที่สุดพ่อของเขาก็เปิดโรงงานทำเฟอร์นิเจอร์ อายุ 10 ขวบ เขาย้ายตามครอบครัวไปอยู่ที่ยอร์คเชอร์ตะวันออกและเข้าเรียนที่ Beverley Grammar School และอาศัยอยู่ที่ฮัลล์จนถึงอายุ 18 ปี และสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมในปี ค.ศ. 1974
นอกจากธุรกิจเคมีภัณฑ์ เซอร์จิม แรตคลิฟฟ์ ไม่ใช่นักธุรกิจหน้าใหม่ในวงการกีฬา เพราะเขาเป็นเจ้าของสโมสรฟุตบอลเอฟซี โลซานน์-สปอร์ต (FC Lausanne-Sport) ลีกสวิตเซอร์แลนด์ และ นีซ (OGC Nice) ทีมฟุตบอลในลีกเอิง ฝรั่งเศส ส่วนกีฬาด้านความเร็ว แรตคลิฟฟ์ มีทีมจักรยาน Ineos รวมทั้งยังเป็นสปอนเซอร์ให้กับทีมรถแข่งฟอร์มูลาวัน เมอร์เซเดส-เอเอ็มจี (Mercedes-AMG)
จุดเด่น
เนื่องจากเขาเป็นแฟนบอลแมนยูตั้งแต่เด็ก และผูกพันกับสโมสรมานาน สิ่งที่เซอร์จิมมีนโยบายหากทำสำเร็จคือดึงความเป็นแมนเชสเตอร์ให้มาเป็นแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดอีกครั้ง โดยมีแฟนบอลเป็นหัวใจสำคัญ ผลักดันให้ทีมผู้หญิงประสบความสำเร็จเพื่อแข่งกับทีมอื่น และปรับปรุงโอลด์ แทรฟฟอร์ด และแคริงตัน รวมทั้งไล่ล่าความสำเร็จเพื่อให้ทีมคว้าแชมป์ UCL อีกครั้ง ยิ่งทำให้แฟนบอลเจ้าถิ่นยิ่งถูกอกถูกใจ จนได้การโหวตสูงสุดใน The Athletic สื่อดังของอังกฤษไปกว่า 66% มากกว่ากลุ่มกาตาร์แค่เพียง 17% ตามข่าวเซอร์จิมจะซื้อหุ้นส่วนใหญ่อยู่ราว 4.6พันล้านเหรียญ แม้จะไม่ได้เป็นเจ้าของแบบ 100% โดยจะมีคนอื่นๆมาร่วมหุ้นด้วย
จุดด้อย
จากแหล่งข่าวว่าเซอร์จิมต้องกู้เงินเพื่อลงทุนสโมสร จนมีข้อกังวลว่าทีมต้องเป็นหนี้เป็นสินเหมือนพี่น้องตระกูลเกลเซอร์ก่อไว้อีกหรือเปล่า แต่เซอร์จิมมายืนยันว่าไม่เกิดหนี้สิน และทำกำไรเข้าบริษัทตามที่ลือไว้ รวมทั้งนโยบายที่ต้องการให้เป็นสโมสรของคนอังกฤษ ยิ่งมีข้อกังวลว่าเป็นแนวคิดที่โบราณ และยิ่งส่งผลต่อการซื้อขายนักเตะต่างชาติ และการบริหารทีมนีซที่โดนถูกวิจารณ์ว่าไม่เป็นชิ้นเป็นอัน
ชีค ยาสซีม บิน ฮาหมัด อัล ธานี
ส่วนอีกคนที่ได้ความสนใจไม่แพ้กันอย่าง ชีค ยาสซีม บิน ฮาหมัด อัล ธานี ประธานของธนาคารใหญ่แห่งประเทศกาตาร์ และเป็นบุตรชายของ ฮาหมัด บิน คาลิฟา อัล ธานี อดีตรองนายกรัฐมนตรีของกาตาร์ และเป็นแฟนตัวยงของปีศาจแดงอีกด้วย โดยมีกลุ่ม Class of 92 เป็นแรงบันดาลใจ
จุดเด่น
ความพยายามในการยื่นเทคโอเวอร์แมนยูมาหลายครั้ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ครั้งนี้ได้ออกตัวว่าถ้าหากเทคโอเวอร์สำเร็จจะเป็นสโมสรที่มูลค่าสูงสุดของโลก ส่วนการลงทุนจะเป็นการซื้อสโมสรทั้งหมดอยู่ราว 5.5 พันล้านเหรียญ นโยบายเด่นๆน่าสนใจมากจะผลักดันให้สโมสรกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้งจะได้รับชื่อเสียงเป็นเลิศของด้านฟุตบอล รวมแฟนบอลให้เป็นหนึ่งเดียว,ปลดหนี้สโมสรให้หมด,ปรับปรุงสนามโอลด์ แทรฟฟอร์ด และศูนย์ซ้อมแคริงตัน,ลงทุนซื้อนักเตะดังๆตามที่เทน ฮากต้องการ ความสูงสุดคือการคว้าแชมป์ UCL อีกครั้ง
จุดด้อย
ความกังวลในการเทคโอเวอร์ซึ่งไปซ้ำซ้อนอีกกลุ่มหนึ่งที่บริหาร PSG จนมีแหล่งข่าวว่ายูฟ่าอาจขวางกลุ่มทุนดังกล่าวมาซื้อแมนฯ ยูไนเต็ด เนื่องจากมีกฎห้ามครอบครองสโมสรมากกว่า 1 แห่งที่ลงแข่งขันทัวร์นาเมนต์เดียวกัน ทั้งนี้กลุ่มทุนที่มาจากกาตาร์นี้จะไม่เกี่ยวข้องกับกาตาร์ สปอร์ตส์ อินเวสต์เมนต์ส โดยสิ้นเชิง ซึ่งเหตุผลนี้ทำให้ยูฟ่าสามารถยอมรับได้และจะไม่ขัดขวางการเทคโอเวอร์แมนฯ ยูไนเต็ด รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่าง นาสเซอร์ อัล-เคไลฟี ประธานสโมสรเปแอสเช กับอเล็กซานเดอร์ เชเฟริน ประธานยูฟ่า เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลด้วย เนื่องจากทั้งคู่มีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นต่อกัน และอัล-เคไลฟียังเป็นประธานสมาคมสโมสรยุโรป (อีซีเอ) และสื่อดังอย่างบีอิน มีเดีย ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดทัวร์นาเมนต์ของยูฟ่าในหลายประเทศทั่วโลกด้วย
หากการเทคโอเวอร์ของกลุ่มกาตาร์สำเร็จยิ่งทำให้แฟนบอลเจ้าถิ่นกังวลคือ การออกกฎของห้ามต่างๆที่เคยเกิดขึ้นตอนเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2022 จนจำกัดเสรีภาพ โดยเฉพาะทีมผู้หญิง และแฟนบอลผู้มีความหลากหลายทางเพศ เพราะสโมสรมีจุดยืนสนับสนุน LGBTQ+ เช่นเดียวกับสโมสรชื่อดังอื่นๆ จากเท่าที่เห็นทั้งแมนซิตี้ และ PSG ดูไม่มีข้อน่ากังวลอะไร เพราะไม่มีการแทรกแซง และเคารพความเป็นแฟนบอลเจ้าถิ่นด้วย แต่ที่น่ากังวลที่สุดคือแทรกแซงการทำทีม ถ้าหากการทำผลงานไม่เป็นที่น่าพอใจสั่งปลดกุนซือทันทีเหมือนที่เกิดขึ้นจาก PSG รวมทั้งหลากฝ่ายเกิดข้อกังวลว่าอาจจะเกิดหนี้สินเหมือนที่เคยเกิดขึ้นกับแมนซิตี้ แม้แต่แกรี่ เนวิลล์ ตำนานของปีศาจแดงไม่เห็นด้วยการเทคโอเวอร์ของกลุ่มกาตาร์นี้ด้วย
แล้วแฟนผีอยากให้ใครเป็นเจ้าของคนใหม่ของปีศาจแดง
เทียบให้ชัดจุดเด่น-จุดด้อย เซอร์จิม VS ท่านชีค ว่าใครจะได้เป็นเจ้าของแมนยูคนต่อไป?