ในวันที่หิมะโปรย
ความเสียหายที่มีสาเหตุมาจาก ความผิดพลาดในการซ่อมบำรุง
ความเสียหายที่มีสาเหตุมาจาก การประกอบติดตั้งที่ไม่สมบูรณ์
ความเสียหายที่มีสาเหตุมาจากการเลือกใช้วัสดุที่ไม่เหมาะสม
เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องที่ผมพบเจอเป็นเรื่องปกติตลอดชีวิตการทำงานด้านวิเคราะห์ความเสียหาย
แต่เรื่องบางเรื่อง เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดบางเรื่องก็ทำให้เกิดความเสียหายของวัสดุได้เช่นเดียวกัน
หลายปีก่อน ผมมีโอกาสได้ไปจีนอยู่ 2-3 ครั้ง จากงานวิเคราะห์ความเสียหายของแบตเตอรี่สำรองไฟ
ได้ไปทั้ง เซิ่นเจิ้น และเซียงไฮ้ ที่มีโรงงานแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด ระดับโลกตั้งอยู่
ที่จำได้แม่นก็เพราะตอนที่ไปเป็นทริปที่ทรหด เรียกได้ว่าไปจีนเช้าเย็นกลับ
เพราะเครื่องออกประมาณเที่ยงคืน โดนปลุกมาตี 3-4 ตามเวลาในประเทศไทยเพื่อมากินข้าวเช้าบนเครื่อง
พอหลังจากลงเครื่องก็ต้องรีบหาเสื้อหนา ๆ มาใส่ เพราะตอนนั้นที่เซี่ยงไฮ้อุณหภูมิอยู่ที่ 4 องศาเซลเซียส แถมลมยังแรงและมีฝนโปรยปราย
หลังจากดูโรงงานเสร็จและบรรยายถึงสาเหตุความเสียหายของแบตเตอรี่ที่เราพบว่าบริเวณรอยต่อของขั้วแบตเตอรี่ Strap / Lug
เกิดการตกค้างของดีบุก (Over Tinning) ซึ่งทำหน้าที่เป็นฟลักซ์ (Flux) ในระหว่างการหลอมขั้วแบตเตอรี่
ทำให้เกิดการกัดกร่อนแบบกัลวานิก (Galvanic Corrosion) และเกิดการทำลายฟิล์มพาสซีฟ PbO
2 ของขั้วบวกแบตเตอรี่ตามมา
ไม่ใช่ความเสียหายจากการใช้งานในเมืองไทยที่มีอากาศร้อน ตามที่บริษัทผู้ผลิตชี้แจงและบ่ายเบี่ยง
เนื่องจากหลักฐานที่ชัดเจน มีผลทางโลหะวิทยา การเดินทางเข้ามาเคลมแบตเตอรี่ที่เสียหายล็อตใหญ่จึงผ่านไปด้วยดี
แต่ที่สิ่งที่สำคัญคือปัญหาแบบนี้มันเกิดขึ้นได้อย่างไร ในโรงงานระดับโลกแบบนี้ ?
เพราะในการทำงานก็ใช้เครื่องจักรที่ทันสมัยในการควบคุมและดูแล
โรงงานได้ ISO มีมาตรฐานในการผลิต
ในวันนั้นจากการประชุมกับทางผู้ผลิต เราไม่ได้รับคำตอบ !!
แต่หลังจาก 1 เดือนผ่านไป เมื่อมีการสืบย้อนกลับไปถึงวันที่แบตเตอรี่ล็อตนี้
จึงได้รับคำตอบว่า เหตุการณ์ความเสียหายของแบตเตอรี่นั้นเกิดขึ้นในวันที่หิมะตกหนัก
ซี่งเป็นเรื่องที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนักในเซียงไฮ้
และเป็นไปได้ว่า
หิมะที่ตกหนัก ทำให้ปลายขั้วแบตเตอรี่ที่มีดีบุกเคลือบอยู่เย็นกว่าปกติ
เมื่อทำการหล่อขั้วแบตเตอรี่ดีบุกจึงละลายไม่หมดและตกค้างที่บริเวณดังกล่าวทำให้เกิดการกัดกร่อนขึ้น
เนื่องจากควบคุมอากาศและบังคับไม่ให้หิมะตกไม่ได้
และทางบริษัทฯ ไม่สามารถจัดหาพวงมาลัยดอกไม้สดมาแขวนไว้หน้าเครื่องทุกสัปดาห์แบบประเทศไทย
จึงตกลงกันได้ว่าจะมีการตั้งค่าอุณหภูมิบ่อน้ำตะกั่วสำหรับหล่อขั้วแบตเตอรี่ให้สูงขึ้นเพื่อแก้ปัญหานี้
เรื่องบางเรื่องดูเหมือนจะเหลือเชื่อ แต่เชื่อเถอะว่า
ลึก ๆ แล้ววิทยาศาสตร์ก็มีคำตอบ
หากมีการเก็บข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบ และเข้าใจจนถึงฐานรากในเรื่องที่ทำอยู่
การวิเคราะห์ความเสียหายที่เกิดขึ้นในวัสดุก็เป็นเรื่องที่ง่ายนิดเดียว ???
#เหล็กไม่เอาถ่าน
บรรลัยวิทยา: ในวันที่ีหิมะโปรย
ความเสียหายที่มีสาเหตุมาจาก ความผิดพลาดในการซ่อมบำรุง
ความเสียหายที่มีสาเหตุมาจาก การประกอบติดตั้งที่ไม่สมบูรณ์
ความเสียหายที่มีสาเหตุมาจากการเลือกใช้วัสดุที่ไม่เหมาะสม
เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องที่ผมพบเจอเป็นเรื่องปกติตลอดชีวิตการทำงานด้านวิเคราะห์ความเสียหาย
แต่เรื่องบางเรื่อง เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดบางเรื่องก็ทำให้เกิดความเสียหายของวัสดุได้เช่นเดียวกัน
หลายปีก่อน ผมมีโอกาสได้ไปจีนอยู่ 2-3 ครั้ง จากงานวิเคราะห์ความเสียหายของแบตเตอรี่สำรองไฟ
ได้ไปทั้ง เซิ่นเจิ้น และเซียงไฮ้ ที่มีโรงงานแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด ระดับโลกตั้งอยู่
ที่จำได้แม่นก็เพราะตอนที่ไปเป็นทริปที่ทรหด เรียกได้ว่าไปจีนเช้าเย็นกลับ
เพราะเครื่องออกประมาณเที่ยงคืน โดนปลุกมาตี 3-4 ตามเวลาในประเทศไทยเพื่อมากินข้าวเช้าบนเครื่อง
พอหลังจากลงเครื่องก็ต้องรีบหาเสื้อหนา ๆ มาใส่ เพราะตอนนั้นที่เซี่ยงไฮ้อุณหภูมิอยู่ที่ 4 องศาเซลเซียส แถมลมยังแรงและมีฝนโปรยปราย
หลังจากดูโรงงานเสร็จและบรรยายถึงสาเหตุความเสียหายของแบตเตอรี่ที่เราพบว่าบริเวณรอยต่อของขั้วแบตเตอรี่ Strap / Lug
เกิดการตกค้างของดีบุก (Over Tinning) ซึ่งทำหน้าที่เป็นฟลักซ์ (Flux) ในระหว่างการหลอมขั้วแบตเตอรี่
ทำให้เกิดการกัดกร่อนแบบกัลวานิก (Galvanic Corrosion) และเกิดการทำลายฟิล์มพาสซีฟ PbO2 ของขั้วบวกแบตเตอรี่ตามมา
ไม่ใช่ความเสียหายจากการใช้งานในเมืองไทยที่มีอากาศร้อน ตามที่บริษัทผู้ผลิตชี้แจงและบ่ายเบี่ยง
เนื่องจากหลักฐานที่ชัดเจน มีผลทางโลหะวิทยา การเดินทางเข้ามาเคลมแบตเตอรี่ที่เสียหายล็อตใหญ่จึงผ่านไปด้วยดี
แต่ที่สิ่งที่สำคัญคือปัญหาแบบนี้มันเกิดขึ้นได้อย่างไร ในโรงงานระดับโลกแบบนี้ ?
เพราะในการทำงานก็ใช้เครื่องจักรที่ทันสมัยในการควบคุมและดูแล
โรงงานได้ ISO มีมาตรฐานในการผลิต
ในวันนั้นจากการประชุมกับทางผู้ผลิต เราไม่ได้รับคำตอบ !!
แต่หลังจาก 1 เดือนผ่านไป เมื่อมีการสืบย้อนกลับไปถึงวันที่แบตเตอรี่ล็อตนี้
จึงได้รับคำตอบว่า เหตุการณ์ความเสียหายของแบตเตอรี่นั้นเกิดขึ้นในวันที่หิมะตกหนัก
ซี่งเป็นเรื่องที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนักในเซียงไฮ้
และเป็นไปได้ว่า
หิมะที่ตกหนัก ทำให้ปลายขั้วแบตเตอรี่ที่มีดีบุกเคลือบอยู่เย็นกว่าปกติ
เมื่อทำการหล่อขั้วแบตเตอรี่ดีบุกจึงละลายไม่หมดและตกค้างที่บริเวณดังกล่าวทำให้เกิดการกัดกร่อนขึ้น
เนื่องจากควบคุมอากาศและบังคับไม่ให้หิมะตกไม่ได้
และทางบริษัทฯ ไม่สามารถจัดหาพวงมาลัยดอกไม้สดมาแขวนไว้หน้าเครื่องทุกสัปดาห์แบบประเทศไทย
จึงตกลงกันได้ว่าจะมีการตั้งค่าอุณหภูมิบ่อน้ำตะกั่วสำหรับหล่อขั้วแบตเตอรี่ให้สูงขึ้นเพื่อแก้ปัญหานี้
เรื่องบางเรื่องดูเหมือนจะเหลือเชื่อ แต่เชื่อเถอะว่า
ลึก ๆ แล้ววิทยาศาสตร์ก็มีคำตอบ
หากมีการเก็บข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบ และเข้าใจจนถึงฐานรากในเรื่องที่ทำอยู่
การวิเคราะห์ความเสียหายที่เกิดขึ้นในวัสดุก็เป็นเรื่องที่ง่ายนิดเดียว ???
#เหล็กไม่เอาถ่าน