นิติวิศวกรรม (Forensic Engineering)
วิศวกรวิเคราะห์ความเสียหาย (Failure Analysis Engineer)
เคยได้ยินชื่อต่างๆ เหล่านี้กันไหมครับ ???
สาขาวิชาวิศวกรรมที่แทบไม่มีคนรู้จักในประเทศไทย
หากจะนิยามอาชีพตัวเองง่าย ๆ
เมื่อซักเกือบยี่สิบปีก่อน ก็คงจะต้องบอกว่า
ผมทำงานคล้ายคุณหมอพรทิพย์ แต่หากเป็นสมัยนี้ ต้องบอกว่าพวกผมทำงานคล้าย CSI
หากคุณหมอพรทิพย์ และ CSI สืบจากศพ
งานของพวกผม CSI ทุ่งรังสิต ก็สืบจากสนิมและรอยแตก
เพื่อทวงความเป็นธรรมให้กับเครื่องจักรที่เสียหายก่อนวัยอันควร
ทั้งจากการออกแบบที่ผิดพลาด การใช้งานที่ไม่ถูกต้อง การบำรุงรักษาที่ไม่ดี การกัดกร่อน อุบัติเหตุ
และบางครั้งก็รวมถึงการกลั่นแกล้งระหว่างมนุษย์ด้วยกัน แต่ดันเอาเครื่องจักรเป็นเครื่องมือในการทำร้ายกัน
การทำงานของวิศวกรวิเคราะห์ความเสียหาย เราทำงานกันเป็นทีม เป็นทีมที่รวบรวม คนที่มีความสามารถแตกต่างกันเข้ามาไว้ในทีมเดียวกัน
เพราะงานการเกิดความเสียหายนั้น บ่อยครั้งที่พบว่าสาเหตุของความเสียหาย ไม่ได้เกิดจากสาเหตุเพียงสาเหตุเดียว
เราจึงต้องอาศัยมุมมองในแต่ด้าน จากแต่ละคนที่มีความชำนาญแตกต่างกัน
อย่างตัวผมเอง ถนัดด้านความเสียหายจากการกัดกร่อน น้องอีกคนถนัดงานวิเคราะห์ผิวแตก
พี่อีกท่านถนัดงานเสียหายของวัสดุที่อุณหภูมิสูง
เรามีคนทั้งคนที่จบด้านวิศวกรรมวัสดุ วิศวกกรเครื่องกล รวมทั้งคนที่จบวิทยาศาสตร์เคมี
เรียกได้ว่าเราคล้าย ๆ ทีมฟุตบอล ที่มีกองหน้า กองกลาง กองหลังและผู้รักษาประตูที่ทำงานประสานกัน
โดยผลัดกันเป็นกัปตันทีม แล้วแต่ว่าเครื่องจักรที่เสีย น่าจะอยู่ในความชำนาญของใคร
นอกจากนี้การทำงานเป็นทีมยังป้องกันความผิดพลาดจากอีโก้ของตัวเอง ที่คิดว่าตัวเองรู้
แต่จริง ๆ แล้วสาเหตุที่เครื่องจักรเสียหายอาจไม่ใช่สิ่งที่เราคิด
ในการวิเคราะห์ชิ้นส่วนที่แตกหักนั้น เราจะมุ่งหา จุดเริ่มต้นของรอยแตก (Crack Origin)
ว่ารอยแตกเริ่มมาจากตำแหน่งไหน โดยอาศัยรูปแบบที่ปรากฏอยู่บนรอยหักของเครื่องจักร
รอยที่เราเห็นบนผิวหน้าแตกนั้น มีอยู่หลายรูปแบบ
บางครั้งคุณจะเห็นร่องรอยคล้ายพัดที่คลี่ออก (Radial Mark) โดยจุดเริ่มรอยแตกก็จะอยู่ที่บริเวณด้ามพัด
บางครั้งคุณอาจจะเห็นรูปแบบสันทรายที่ชายหาดบนผิวแตก (Beach Mark) ที่บ่งบอกว่าชิ้นงานคุณเสียหายจากการล้า (Fatigue) หรือแรงกระทำที่ซ้ำไปซ้ำมา (Cyclic Load)
บางที คุณอาจจะเห็นลักษณะร่องรอยของสายน้ำหลายสาย (River Mark) ที่รวมตัวกันเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา และหากคุณล่องแพทวนน้ำขึ้นไป คุณก็จะพบกับต้นน้ำหรือจุดเริ่มต้นของการแตกหัก
หรืออาจพบ หางหนู (Ratchet Mark) ที่บ่งชี้ว่า ชิ้นงานของคุณอาจมีจุดเริ่มต้นของรอยแตกหลายตำแหน่ง
หลังจากได้จุดเริ่มต้นรอยแตกแล้ว เราจึงวิเคราะห์ต่อไปว่า ทำไมตำแหน่งนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นของความเสียหาย
บริเวณนั้นมีความเค้นสูงกว่าจุดอื่น ?
หรือมีข้อบกพร่องในเนื้อวัสดุ ?
หรือหากเครื่องจักรของคุณเกิดความเสียหายจากการกัดกร่อน หรือเกิดสนิมจนใช้การไม่ได้
รูปแบบของการเกิดสนิมก็สามารถนำมาวิเคราะห์ได้เช่นเดียวกับผิวรอยแตก
บางครั้งก็สามารถบอกได้ว่าชิ้นงานผ่านอะไรมา
หากคุณเจอสนิมสีดำบนเนื้อเหล็ก ก็อาจเป็นไปได้ว่าชิ้นงานนั้น ผ่านการใช้งานที่อุณหภูมิสูง
เจอสนิมสีส้มแดง ก็เป็นไปได้ว่าชิ้นงานสัมผัสกับความชื้นสูง
เมื่อใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ขยายภาพน้องสนิมซักสามพันเท่า
แล้วเห็นคล้ายดอกฝ้ายบนผิวเหล็ก ก็อาจเป็นเพราะชิ้นงานคุณอาจสัมผัสกับน้ำทะเลหรือไอเกลือมาก่อนที่จะเกิดความเสียหายขึ้น
ในการทำงานวิเคราะห์ความเสียหาย เราจึงเหมือนเป็นนักสืบ คล้ายกับเชอล๊อคโฮม ใกล้เคียงคินดะอิจิ หรือโคนัน ก็แล้วแต่ว่าคุณอายุเท่าไหร่ และรู้จักใคร 🙂
เราเป็นคนชี้เป้าว่าใครเป็นผู้ร้ายที่ทำลายเครื่องจักร
เราทำให้เกิดการเรียนรู้จากความผิดผลาด
เราศึกษาหารากของปัญหา (Root Cause) เพื่อหาทางแก้ไข
เพื่อให้อุตสาหกรรมสามารถเดินไปข้างหน้า โดยไม่ต้องเดินย้อนกลับไปด้านหลัง เพื่อแก้ไขปัญหาเดิม ๆ ที่เคยเกิดขึ้น
We solve problems that you don't know you have.
We are Failure Analysis Engineer !!
#เหล็กไม่เอาถ่าน
บรรลัยวิทยา
วิศวกรวิเคราะห์ความเสียหาย (Failure Analysis Engineer)
เคยได้ยินชื่อต่างๆ เหล่านี้กันไหมครับ ???
สาขาวิชาวิศวกรรมที่แทบไม่มีคนรู้จักในประเทศไทย
หากจะนิยามอาชีพตัวเองง่าย ๆ
เมื่อซักเกือบยี่สิบปีก่อน ก็คงจะต้องบอกว่า
ผมทำงานคล้ายคุณหมอพรทิพย์ แต่หากเป็นสมัยนี้ ต้องบอกว่าพวกผมทำงานคล้าย CSI
หากคุณหมอพรทิพย์ และ CSI สืบจากศพ
งานของพวกผม CSI ทุ่งรังสิต ก็สืบจากสนิมและรอยแตก
เพื่อทวงความเป็นธรรมให้กับเครื่องจักรที่เสียหายก่อนวัยอันควร
ทั้งจากการออกแบบที่ผิดพลาด การใช้งานที่ไม่ถูกต้อง การบำรุงรักษาที่ไม่ดี การกัดกร่อน อุบัติเหตุ
และบางครั้งก็รวมถึงการกลั่นแกล้งระหว่างมนุษย์ด้วยกัน แต่ดันเอาเครื่องจักรเป็นเครื่องมือในการทำร้ายกัน
การทำงานของวิศวกรวิเคราะห์ความเสียหาย เราทำงานกันเป็นทีม เป็นทีมที่รวบรวม คนที่มีความสามารถแตกต่างกันเข้ามาไว้ในทีมเดียวกัน
เพราะงานการเกิดความเสียหายนั้น บ่อยครั้งที่พบว่าสาเหตุของความเสียหาย ไม่ได้เกิดจากสาเหตุเพียงสาเหตุเดียว
เราจึงต้องอาศัยมุมมองในแต่ด้าน จากแต่ละคนที่มีความชำนาญแตกต่างกัน
อย่างตัวผมเอง ถนัดด้านความเสียหายจากการกัดกร่อน น้องอีกคนถนัดงานวิเคราะห์ผิวแตก
พี่อีกท่านถนัดงานเสียหายของวัสดุที่อุณหภูมิสูง
เรามีคนทั้งคนที่จบด้านวิศวกรรมวัสดุ วิศวกกรเครื่องกล รวมทั้งคนที่จบวิทยาศาสตร์เคมี
เรียกได้ว่าเราคล้าย ๆ ทีมฟุตบอล ที่มีกองหน้า กองกลาง กองหลังและผู้รักษาประตูที่ทำงานประสานกัน
โดยผลัดกันเป็นกัปตันทีม แล้วแต่ว่าเครื่องจักรที่เสีย น่าจะอยู่ในความชำนาญของใคร
นอกจากนี้การทำงานเป็นทีมยังป้องกันความผิดพลาดจากอีโก้ของตัวเอง ที่คิดว่าตัวเองรู้
แต่จริง ๆ แล้วสาเหตุที่เครื่องจักรเสียหายอาจไม่ใช่สิ่งที่เราคิด
ในการวิเคราะห์ชิ้นส่วนที่แตกหักนั้น เราจะมุ่งหา จุดเริ่มต้นของรอยแตก (Crack Origin)
ว่ารอยแตกเริ่มมาจากตำแหน่งไหน โดยอาศัยรูปแบบที่ปรากฏอยู่บนรอยหักของเครื่องจักร
รอยที่เราเห็นบนผิวหน้าแตกนั้น มีอยู่หลายรูปแบบ
บางครั้งคุณจะเห็นร่องรอยคล้ายพัดที่คลี่ออก (Radial Mark) โดยจุดเริ่มรอยแตกก็จะอยู่ที่บริเวณด้ามพัด
บางครั้งคุณอาจจะเห็นรูปแบบสันทรายที่ชายหาดบนผิวแตก (Beach Mark) ที่บ่งบอกว่าชิ้นงานคุณเสียหายจากการล้า (Fatigue) หรือแรงกระทำที่ซ้ำไปซ้ำมา (Cyclic Load)
บางที คุณอาจจะเห็นลักษณะร่องรอยของสายน้ำหลายสาย (River Mark) ที่รวมตัวกันเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา และหากคุณล่องแพทวนน้ำขึ้นไป คุณก็จะพบกับต้นน้ำหรือจุดเริ่มต้นของการแตกหัก
หรืออาจพบ หางหนู (Ratchet Mark) ที่บ่งชี้ว่า ชิ้นงานของคุณอาจมีจุดเริ่มต้นของรอยแตกหลายตำแหน่ง
หลังจากได้จุดเริ่มต้นรอยแตกแล้ว เราจึงวิเคราะห์ต่อไปว่า ทำไมตำแหน่งนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นของความเสียหาย
บริเวณนั้นมีความเค้นสูงกว่าจุดอื่น ?
หรือมีข้อบกพร่องในเนื้อวัสดุ ?
หรือหากเครื่องจักรของคุณเกิดความเสียหายจากการกัดกร่อน หรือเกิดสนิมจนใช้การไม่ได้
รูปแบบของการเกิดสนิมก็สามารถนำมาวิเคราะห์ได้เช่นเดียวกับผิวรอยแตก
บางครั้งก็สามารถบอกได้ว่าชิ้นงานผ่านอะไรมา
หากคุณเจอสนิมสีดำบนเนื้อเหล็ก ก็อาจเป็นไปได้ว่าชิ้นงานนั้น ผ่านการใช้งานที่อุณหภูมิสูง
เจอสนิมสีส้มแดง ก็เป็นไปได้ว่าชิ้นงานสัมผัสกับความชื้นสูง
เมื่อใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ขยายภาพน้องสนิมซักสามพันเท่า
แล้วเห็นคล้ายดอกฝ้ายบนผิวเหล็ก ก็อาจเป็นเพราะชิ้นงานคุณอาจสัมผัสกับน้ำทะเลหรือไอเกลือมาก่อนที่จะเกิดความเสียหายขึ้น
ในการทำงานวิเคราะห์ความเสียหาย เราจึงเหมือนเป็นนักสืบ คล้ายกับเชอล๊อคโฮม ใกล้เคียงคินดะอิจิ หรือโคนัน ก็แล้วแต่ว่าคุณอายุเท่าไหร่ และรู้จักใคร 🙂
เราเป็นคนชี้เป้าว่าใครเป็นผู้ร้ายที่ทำลายเครื่องจักร
เราทำให้เกิดการเรียนรู้จากความผิดผลาด
เราศึกษาหารากของปัญหา (Root Cause) เพื่อหาทางแก้ไข
เพื่อให้อุตสาหกรรมสามารถเดินไปข้างหน้า โดยไม่ต้องเดินย้อนกลับไปด้านหลัง เพื่อแก้ไขปัญหาเดิม ๆ ที่เคยเกิดขึ้น
We solve problems that you don't know you have.
We are Failure Analysis Engineer !!
#เหล็กไม่เอาถ่าน