“ฝีคัณฑสูตร” พบได้บ่อยไม่แพ้โรคริดสีดวงทวาร และสร้างความทรมานให้แก่ผู้ป่วยไม่แพ้กัน โดยโรคดังกล่าวเป็นโรคที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อภายในต่อมบริเวณทวารหนักระยะเรื้อรัง (cryptoglandular infection) จนเกิดเป็นฝี เมื่อแตกออกจะมีหนองไหลออกมาบริเวณผิวหนังรอบทวารหนัก ทำให้มีหลายคนเกิดความสับสนกับโรคริดสีดวงทวาร และมักจะมีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับโรคนี้ ดังต่อไปนี้
1. สามารถรักษาหายเองได้
ความเข้าใจผิด ที่หลายคนสับสนระหว่างโรคฝีคัณฑสูตรกับโรคริดสีดวงทวาร และคิดว่าเป็นโรคที่คล้ายคลึงกัน สามารถหายเองได้เมื่อเวลาผ่านไปสักพัก หรือดูแลร่างกายเป็นอย่างดี ไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์
ความจริง โรคฝีคัณฑสูตรไม่สามารถหายเองได้ ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเท่านั้น เพราะสาเหตุของโรคเกิดจากการติดเชื้อที่ต่อมใกล้ทวารหนักแบบเรื้อรัง จนกลายเป็นถุงฝีที่มีหนองอยู่ ซึ่งจะหายขาดได้เมือ่ถุงฝีถูกระบายจนหมด การรักษาจะแบ่งเป็น 2 กรณี 1.หากหัวฝียังไม่แตก จะเป็นการผ่าตัดเพื่อเปิดหัวฝีและระบายหนองออก 2. หากหัวฝีแตกแล้ว หนองจะกลายเป็นโพรงฝี ต้องผ่าตัดระบายหนองและปิดโพรงฝี วิธีการผ่าตัดมีหลายแบบ เทคนิคการผ่าตัด LIFT เป็นการผ่าตัดฝีคัณฑสูตร โดยไม่ตัดกล้ามเนื้อหูรูด โดยจะทำการผูกและตัดโพรงฝี เพื่อตัดการเชื่อมต่อระหว่างในรูทวารกับนอกช่องทวาร ซึ่งเหมาะกับการรักษาฝีคัณฑสูตรแบบซับซ้อน โอกาสหายขาดมากถึง 90 เปอร์เซ็นต์
2. เป็นโรคที่ติดเชื้อจากผิวหนังไปในทวารหนัก
ความเข้าใจผิด หลายคนเข้าใจว่า โรคนี้เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อจากผิวหนังเข้าไปในทวารหนัก จนทำให้กลายเป็นฝึและแตกออกมา
ความจริง โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อของต่อมผลิตเมือกด้านใน หรือ ANAL Gland ที่อยู่บริเวณขอบของทวารหนัก ซึ่งเป็นทางผ่านของอุจจาระ เกิดการอุดตันและสะสมของแบคทีเรีย จนกลายเป็นฝี และแตกออกมาเป็นหนอง และกลายเป็นทางเชื่อมระหว่างทวารหนักและผิวหนัง การรักษาจะเป็นการผ่าตัดเพื่อปิดทางเชื่อมดังกล่าว
3. สามารถป้องกันได้ 100%
ความเข้าใจผิด หลายคนบอกว่าโรคนี้สามารถป้องกันได้ 100% หากว่าดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและรับประทานอาหารที่มีกากใยมากเพียงพอ
ความจริง แม้ว่ามีการสันนิษฐานถึงสาเหตุของการเกิดโรคต่าง ๆ แต่ก็ยังไม่สามารถค้นพบถึงสาเหตุและวิธีการป้องกันที่แท้จริงได้ แต่สามารถป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำได้ อย่างไรก็ตาม การรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ และรับประทานอาหารที่มีกากใย รวมถึงการดื่มน้ำอย่างเพียงพอก็ช่วยลดความเสี่ยงของโรคได้ในระดับหนึ่ง
4. เป็นโรคแบบเดียวกับริดสีดวงทวาร
ความเข้าใจผิด โรคริดสีดวงทวารและโรคฝีคัณฑสูตรเป็นโรคชนิดเดียวกัน มีวิธีการรักษาที่คล้ายคลึงกัน
ความจริง ทั้งสองโรคนี้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยโรคริดสีดวงทวารเกิดจากเส้นเลือดฝอยโป่งพอง จนเกิดก้อนเนื้อบวมบริเวณปากทวารหนัก เกิดจากการกินน้ำน้อย รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย ไม่ออกกำลังกาย เบ่งอุจจาระรุนแรง หรือนั่งขับถ่ายเป็นระยะเวลานาน ๆ ซึ่งหากว่าเป็นในระยะแรก การปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการขับถ่ายจะช่วยบรรเทาอาการให้หายได้ ไม่ต้องผ่าตัด โดยอาการของโรคริดสีดวงทวารคือ จะถ่ายเป็นเลือด ไม่มีหนอง มีก้อนริดสีดวงยื่นออกมา และมีโอกาสเป็นซ้ำสูง หากขาดการดูแลตัวเองอย่างต่อเนื่อง
ส่วน
โรคฝีคัณฑสูตร เกิดจากการติดเชื้อหรือเป็นฝีที่ทวารหนักจากต่อมด้านใน เมื่อฝีแตกออกมาจะเกิดเป็นทางเชื่อม อาการของโรคนี้ คือ จะมีหนองไหลซึมออกมาบริเวณข้างทวารหนัก เจ็บบริเวณขับถ่าย บางรายมีอาการคันหรือมีตุ่มขึ้นที่ก้น หรือมีไข้จากการอักเสบ การรักษาจะต้องรักษาด้วยการผ่าตัดปิดทางเชื่อมดังกล่าว โอกาสเป็นซ้ำมีน้อยมาก
5. รักษาแล้วไม่เป็นซ้ำ
ความเข้าใจผิด เมื่อผ่าตัดรักษาแล้ว จะไม่มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำอีก
ความจริง แม้ว่าโรคฝีคัณฑสูตรเมื่อผ่าตัดแล้ว โอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำมีน้อยมาก โดยเฉพาะการผ่าตัดด้วยเทคนิค LIFT ที่ลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำได้ถึง 90% แต่หากว่าผู้ป่วยประมาท ขาดการดูแลสุขภาพร่างกายอย่างต่อเนื่องก็อาจจะทำให้กลับมาเป็นซ้ำได้ ดังนั้น ผู้ป่วยจะต้องดูแลสุขภาพร่างกายและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อยู่เสมอ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
แม้ว่าหลายคนจะไม่ค่อยคุ้นชื่อกับโรคฝีคัณฑสูตร แต่เมื่อเป็นแล้วก็สร้างความทรมานไม่แพ้โรคริดสีดวงทวาร ซึ่งหากรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะช่วยลดความเจ็บปวดและเพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายขาดได้มากขึ้น
ข้อมูลโดย
ศูนย์ศัลยกรรมลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โรงพยาบาลเวชธานี
ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับโรคฝีคัณฑสูตร
ความเข้าใจผิด ที่หลายคนสับสนระหว่างโรคฝีคัณฑสูตรกับโรคริดสีดวงทวาร และคิดว่าเป็นโรคที่คล้ายคลึงกัน สามารถหายเองได้เมื่อเวลาผ่านไปสักพัก หรือดูแลร่างกายเป็นอย่างดี ไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์
ความจริง โรคฝีคัณฑสูตรไม่สามารถหายเองได้ ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเท่านั้น เพราะสาเหตุของโรคเกิดจากการติดเชื้อที่ต่อมใกล้ทวารหนักแบบเรื้อรัง จนกลายเป็นถุงฝีที่มีหนองอยู่ ซึ่งจะหายขาดได้เมือ่ถุงฝีถูกระบายจนหมด การรักษาจะแบ่งเป็น 2 กรณี 1.หากหัวฝียังไม่แตก จะเป็นการผ่าตัดเพื่อเปิดหัวฝีและระบายหนองออก 2. หากหัวฝีแตกแล้ว หนองจะกลายเป็นโพรงฝี ต้องผ่าตัดระบายหนองและปิดโพรงฝี วิธีการผ่าตัดมีหลายแบบ เทคนิคการผ่าตัด LIFT เป็นการผ่าตัดฝีคัณฑสูตร โดยไม่ตัดกล้ามเนื้อหูรูด โดยจะทำการผูกและตัดโพรงฝี เพื่อตัดการเชื่อมต่อระหว่างในรูทวารกับนอกช่องทวาร ซึ่งเหมาะกับการรักษาฝีคัณฑสูตรแบบซับซ้อน โอกาสหายขาดมากถึง 90 เปอร์เซ็นต์
2. เป็นโรคที่ติดเชื้อจากผิวหนังไปในทวารหนัก
ความเข้าใจผิด หลายคนเข้าใจว่า โรคนี้เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อจากผิวหนังเข้าไปในทวารหนัก จนทำให้กลายเป็นฝึและแตกออกมา
ความจริง โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อของต่อมผลิตเมือกด้านใน หรือ ANAL Gland ที่อยู่บริเวณขอบของทวารหนัก ซึ่งเป็นทางผ่านของอุจจาระ เกิดการอุดตันและสะสมของแบคทีเรีย จนกลายเป็นฝี และแตกออกมาเป็นหนอง และกลายเป็นทางเชื่อมระหว่างทวารหนักและผิวหนัง การรักษาจะเป็นการผ่าตัดเพื่อปิดทางเชื่อมดังกล่าว
3. สามารถป้องกันได้ 100%
ความเข้าใจผิด หลายคนบอกว่าโรคนี้สามารถป้องกันได้ 100% หากว่าดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและรับประทานอาหารที่มีกากใยมากเพียงพอ
ความจริง แม้ว่ามีการสันนิษฐานถึงสาเหตุของการเกิดโรคต่าง ๆ แต่ก็ยังไม่สามารถค้นพบถึงสาเหตุและวิธีการป้องกันที่แท้จริงได้ แต่สามารถป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำได้ อย่างไรก็ตาม การรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ และรับประทานอาหารที่มีกากใย รวมถึงการดื่มน้ำอย่างเพียงพอก็ช่วยลดความเสี่ยงของโรคได้ในระดับหนึ่ง
4. เป็นโรคแบบเดียวกับริดสีดวงทวาร
ความเข้าใจผิด โรคริดสีดวงทวารและโรคฝีคัณฑสูตรเป็นโรคชนิดเดียวกัน มีวิธีการรักษาที่คล้ายคลึงกัน
ความจริง ทั้งสองโรคนี้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยโรคริดสีดวงทวารเกิดจากเส้นเลือดฝอยโป่งพอง จนเกิดก้อนเนื้อบวมบริเวณปากทวารหนัก เกิดจากการกินน้ำน้อย รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย ไม่ออกกำลังกาย เบ่งอุจจาระรุนแรง หรือนั่งขับถ่ายเป็นระยะเวลานาน ๆ ซึ่งหากว่าเป็นในระยะแรก การปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการขับถ่ายจะช่วยบรรเทาอาการให้หายได้ ไม่ต้องผ่าตัด โดยอาการของโรคริดสีดวงทวารคือ จะถ่ายเป็นเลือด ไม่มีหนอง มีก้อนริดสีดวงยื่นออกมา และมีโอกาสเป็นซ้ำสูง หากขาดการดูแลตัวเองอย่างต่อเนื่อง
ส่วนโรคฝีคัณฑสูตร เกิดจากการติดเชื้อหรือเป็นฝีที่ทวารหนักจากต่อมด้านใน เมื่อฝีแตกออกมาจะเกิดเป็นทางเชื่อม อาการของโรคนี้ คือ จะมีหนองไหลซึมออกมาบริเวณข้างทวารหนัก เจ็บบริเวณขับถ่าย บางรายมีอาการคันหรือมีตุ่มขึ้นที่ก้น หรือมีไข้จากการอักเสบ การรักษาจะต้องรักษาด้วยการผ่าตัดปิดทางเชื่อมดังกล่าว โอกาสเป็นซ้ำมีน้อยมาก
5. รักษาแล้วไม่เป็นซ้ำ
ความเข้าใจผิด เมื่อผ่าตัดรักษาแล้ว จะไม่มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำอีก
ความจริง แม้ว่าโรคฝีคัณฑสูตรเมื่อผ่าตัดแล้ว โอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำมีน้อยมาก โดยเฉพาะการผ่าตัดด้วยเทคนิค LIFT ที่ลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำได้ถึง 90% แต่หากว่าผู้ป่วยประมาท ขาดการดูแลสุขภาพร่างกายอย่างต่อเนื่องก็อาจจะทำให้กลับมาเป็นซ้ำได้ ดังนั้น ผู้ป่วยจะต้องดูแลสุขภาพร่างกายและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อยู่เสมอ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
แม้ว่าหลายคนจะไม่ค่อยคุ้นชื่อกับโรคฝีคัณฑสูตร แต่เมื่อเป็นแล้วก็สร้างความทรมานไม่แพ้โรคริดสีดวงทวาร ซึ่งหากรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะช่วยลดความเจ็บปวดและเพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายขาดได้มากขึ้น
ข้อมูลโดย ศูนย์ศัลยกรรมลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โรงพยาบาลเวชธานี