ชาวบ้านตรังร้องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปีนี้สุดแพง สูงกว่าปีก่อนนับสิบเท่า
เผยแพร่: 29 มี.ค. 2565 15:47 ปรับปรุง: 29 มี.ค. 2565 15:47 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
ตรัง - ชาวบ้านในเขตเทศบาลนครตรัง ร้องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นการจัดเก็บอัตราตามกฎหมายใหม่สุดแพง สูงกว่าปีก่อนเป็นสิบเท่า วอนรัฐออกมาตรการช่วยเหลือเพราะยังเดือดร้อนหนักจากสถานการณ์โควิด
วันนี้ (29 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านในเขตเทศบาลนครตรัง ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง ถึงความเดือดร้อนจากการที่เทศบาลนครตรัง จัดเก็บอัตราภาษีที่ดินใหม่ ตามกฎหมายใหม่โดยไม่มีการประชาสัมพันธ์ล่วงหน้า ทำให้ครัวเรือนได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก ซ้ำเติมสถานการณ์โควิด-19 และหลายครอบครัวไม่มีเงินจ่ายภาษี จึงเตรียมเข้ายื่นคำร้องคัดค้านการประเมินภาษี หรือการเรียกเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว
นางกานดา อรรณพ อายุ 84 ปี อยู่บ้านเลขที่ 390 ถนนกันตัง นำผู้สื่อข่าวดูบริเวณหลังบ้านซึ่งปลูกกล้วยน้ำว้า กล้วยหอม รวมทั้งตะไคร้ และพืชสวนครัว ส่วนด้านหลังมีมะละกอ มะพร้าวเต็มพื้นที่ และเก็บผลผลิตได้แล้ว โดยบอกว่า อาศัยอยู่กับลูกหลาน และมีลูกชายอายุ 46 ปี ซึ่งเป็นผู้ป่วยติดเตียง เนื่องจากอาการป่วยทางสมอง ซึ่งตนจะต้องเลี้ยงดูอีกหนึ่งคน และคุณยายเองมีรายได้จากเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแค่เดือนละ 800 บาทเท่านั้น
โดย นางกานดา บอกว่า ปีที่ผ่านมาจ่ายค่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จำนวน 1,598 บาท แต่ในปีนี้ถูกเรียกเก็บภาษีสูงถึง 31,212 บาท ทั้งที่คุณยายอายุมากแล้วไม่มีรายได้แต่อย่างใด ซึ่งเทศบาลเรียกเก็บภาษีจำนวนมากขนาดนี้ตนเองคงไม่มีเงินที่จะมาจ่ายอย่างแน่นอน และบอกว่าถ้าหากเก็บจาก 1,500 บาท เป็นเก็บ 2,000 บาท หรือเรียกเก็บสัก 2,500 บาท คุณยายสามารถขอเงินจากลูกๆ หลานๆ มาจ่ายได้ และเตรียมเข้าไปยื่นหนังสือคัดค้านที่เทศบาลต่อไป
ส่วน นางสมพร จริงจิตร อยู่บ้านเลขที่ 342/1 ถนนกันตัง พร้อมน้องชาย พาผู้สื่อข่าวไปดูสภาพพื้นที่บริเวณหลังบ้าน พร้อมบอกว่า ปีที่แล้วถูกเรียกเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 700 กว่าบาท แต่ในปีนี้ถูกเรียกเก็บถึง 7,795 บาท ทั้งที่สภาพพื้นที่บ้านไม่ได้อยู่ติดถนนใหญ่ หรือไม่ได้สร้างเป็นบ้านให้เช่า แต่ได้ปลูกพืชผลการเกษตร พืชผักสวนครัวไว้รับประทานในครัวเรือน แต่กลับถูกเรียกเก็บภาษีสูงจนเกินไป เตรียมจะเข้ายื่นร้องคัดค้านเช่นเดียวกัน
ขณะที่ น.ส.สุณี ทอนหยี บ้านอยู่ถนนวิเศษกุล กล่าวว่า ปีนี้ต้องจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสูงถึง 8,010 บาท โดยปีที่แล้วจ่ายเพียง 800 กว่าบาทเท่านั้น โดยที่ดินที่ถูกประเมินให้ต้องจ่ายภาษีสูงมากนั้นเป็นถนนระยะทางยาวประมาณ 100 เมตร เข้าไปบ้านหลายหลัง ซึ่งมีญาติพี่น้องอาศัยอยู่ และเป็นถนนสาธารณะ ใครสามารถเข้าออกได้ และยังไม่ได้ยกให้เป็นของเทศบาล จึงสงสัยว่าทำไมต้องถูกเรียกเก็บภาษีดังกล่าวสูงมาก
ด้าน นายวัลลภ ช่วยบำรุง ปลัดเทศบาลนครตรัง กล่าวถึงเหตุผลที่การเรียกเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในอัตราที่สูงของปีนี้ สืบเนื่องมาจากการที่รัฐบาลมีการออกกฎหมายใหม่ คือ พ.ร.บ.ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา ทำให้การเรียกเก็บภาษีสูงขึ้นในทุกหมวด ซึ่งที่ดินในความครอบครองของประชาชนจะต้องถูกคำนวณเป็นภาษีทั้งหมด
โดยใน 3 ปีแรกของการบังคับใช้ เพื่อเป็นการบรรเทาการชำระภาษี มาตรการ 96 ให้ยกเว้นการจัดเก็บภาษีสำหรับเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม และมาตรา 97 ในกรณีที่ผู้เสียภาษีได้รับการประเมินภาษีในจำนวนที่สูงกว่าจำนวนภาษีโรงเรือนและที่ดิน หรือภาษีบำรุงท้องที่ที่ต้องเสีย หรือพึงชำระในปีก่อนที่การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามพระราชบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้
^
ประกอบกับในปี 2563-2564 รัฐบาลโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ออก พ.ร.ฎ.ลดจำนวนภาษีในอัตราร้อยละ 90 เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ประชาชนไม่รู้สึกว่าได้เริ่มต้นจ่ายภาษีใหม่มาแล้วตั้งแต่ปี 2563 กระทั่งในปีนี้เมื่อมีการจัดเก็บภาษีตามเกณฑ์ที่กำหนดจริงๆ และรัฐบาลไม่ได้ออก พ.ร.ฎ.ลดจำนวนภาษีออกมาช่วยอีก จึงทำให้ประชาชนต้องจ่ายภาษีสูงขึ้นดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม เทศบาลนครตรัง รับทราบปัญหาดี และยอมรับว่าภาษีแพงจริง เทศบาลเห็นใจและเข้าใจประชาชน เพราะไม่ได้เรียกเก็บโดยพลการ หรือกำหนดอัตราเองตามอำเภอใจ แต่เป็นการจัดเก็บตามกฎหมายใหม่ ซึ่งเหมือนกันหมดทั่วประเทศ ทั้งนี้ หากเห็นว่าอัตราภาษีที่แจ้งไปนั้นสูงเกินจริงสามารถมายื่นหนังสือคัดค้านได้ที่กองคลัง จะมีเจ้าหน้าที่ลงตรวจสอบแปลงที่ดินใหม่ โดยขณะนี้มีประชาชนเข้ายื่นคัดค้านแล้วนับ 100 ราย
ชาวบ้านตรังร้องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปีนี้สุดแพง สูงกว่าปีก่อนนับสิบเท่า
เผยแพร่: 29 มี.ค. 2565 15:47 ปรับปรุง: 29 มี.ค. 2565 15:47 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
ตรัง - ชาวบ้านในเขตเทศบาลนครตรัง ร้องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นการจัดเก็บอัตราตามกฎหมายใหม่สุดแพง สูงกว่าปีก่อนเป็นสิบเท่า วอนรัฐออกมาตรการช่วยเหลือเพราะยังเดือดร้อนหนักจากสถานการณ์โควิด
วันนี้ (29 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านในเขตเทศบาลนครตรัง ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง ถึงความเดือดร้อนจากการที่เทศบาลนครตรัง จัดเก็บอัตราภาษีที่ดินใหม่ ตามกฎหมายใหม่โดยไม่มีการประชาสัมพันธ์ล่วงหน้า ทำให้ครัวเรือนได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก ซ้ำเติมสถานการณ์โควิด-19 และหลายครอบครัวไม่มีเงินจ่ายภาษี จึงเตรียมเข้ายื่นคำร้องคัดค้านการประเมินภาษี หรือการเรียกเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว
นางกานดา อรรณพ อายุ 84 ปี อยู่บ้านเลขที่ 390 ถนนกันตัง นำผู้สื่อข่าวดูบริเวณหลังบ้านซึ่งปลูกกล้วยน้ำว้า กล้วยหอม รวมทั้งตะไคร้ และพืชสวนครัว ส่วนด้านหลังมีมะละกอ มะพร้าวเต็มพื้นที่ และเก็บผลผลิตได้แล้ว โดยบอกว่า อาศัยอยู่กับลูกหลาน และมีลูกชายอายุ 46 ปี ซึ่งเป็นผู้ป่วยติดเตียง เนื่องจากอาการป่วยทางสมอง ซึ่งตนจะต้องเลี้ยงดูอีกหนึ่งคน และคุณยายเองมีรายได้จากเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแค่เดือนละ 800 บาทเท่านั้น
โดย นางกานดา บอกว่า ปีที่ผ่านมาจ่ายค่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จำนวน 1,598 บาท แต่ในปีนี้ถูกเรียกเก็บภาษีสูงถึง 31,212 บาท ทั้งที่คุณยายอายุมากแล้วไม่มีรายได้แต่อย่างใด ซึ่งเทศบาลเรียกเก็บภาษีจำนวนมากขนาดนี้ตนเองคงไม่มีเงินที่จะมาจ่ายอย่างแน่นอน และบอกว่าถ้าหากเก็บจาก 1,500 บาท เป็นเก็บ 2,000 บาท หรือเรียกเก็บสัก 2,500 บาท คุณยายสามารถขอเงินจากลูกๆ หลานๆ มาจ่ายได้ และเตรียมเข้าไปยื่นหนังสือคัดค้านที่เทศบาลต่อไป
ส่วน นางสมพร จริงจิตร อยู่บ้านเลขที่ 342/1 ถนนกันตัง พร้อมน้องชาย พาผู้สื่อข่าวไปดูสภาพพื้นที่บริเวณหลังบ้าน พร้อมบอกว่า ปีที่แล้วถูกเรียกเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 700 กว่าบาท แต่ในปีนี้ถูกเรียกเก็บถึง 7,795 บาท ทั้งที่สภาพพื้นที่บ้านไม่ได้อยู่ติดถนนใหญ่ หรือไม่ได้สร้างเป็นบ้านให้เช่า แต่ได้ปลูกพืชผลการเกษตร พืชผักสวนครัวไว้รับประทานในครัวเรือน แต่กลับถูกเรียกเก็บภาษีสูงจนเกินไป เตรียมจะเข้ายื่นร้องคัดค้านเช่นเดียวกัน
ขณะที่ น.ส.สุณี ทอนหยี บ้านอยู่ถนนวิเศษกุล กล่าวว่า ปีนี้ต้องจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสูงถึง 8,010 บาท โดยปีที่แล้วจ่ายเพียง 800 กว่าบาทเท่านั้น โดยที่ดินที่ถูกประเมินให้ต้องจ่ายภาษีสูงมากนั้นเป็นถนนระยะทางยาวประมาณ 100 เมตร เข้าไปบ้านหลายหลัง ซึ่งมีญาติพี่น้องอาศัยอยู่ และเป็นถนนสาธารณะ ใครสามารถเข้าออกได้ และยังไม่ได้ยกให้เป็นของเทศบาล จึงสงสัยว่าทำไมต้องถูกเรียกเก็บภาษีดังกล่าวสูงมาก
ด้าน นายวัลลภ ช่วยบำรุง ปลัดเทศบาลนครตรัง กล่าวถึงเหตุผลที่การเรียกเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในอัตราที่สูงของปีนี้ สืบเนื่องมาจากการที่รัฐบาลมีการออกกฎหมายใหม่ คือ พ.ร.บ.ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา ทำให้การเรียกเก็บภาษีสูงขึ้นในทุกหมวด ซึ่งที่ดินในความครอบครองของประชาชนจะต้องถูกคำนวณเป็นภาษีทั้งหมด
โดยใน 3 ปีแรกของการบังคับใช้ เพื่อเป็นการบรรเทาการชำระภาษี มาตรการ 96 ให้ยกเว้นการจัดเก็บภาษีสำหรับเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม และมาตรา 97 ในกรณีที่ผู้เสียภาษีได้รับการประเมินภาษีในจำนวนที่สูงกว่าจำนวนภาษีโรงเรือนและที่ดิน หรือภาษีบำรุงท้องที่ที่ต้องเสีย หรือพึงชำระในปีก่อนที่การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามพระราชบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้
^
ประกอบกับในปี 2563-2564 รัฐบาลโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ออก พ.ร.ฎ.ลดจำนวนภาษีในอัตราร้อยละ 90 เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ประชาชนไม่รู้สึกว่าได้เริ่มต้นจ่ายภาษีใหม่มาแล้วตั้งแต่ปี 2563 กระทั่งในปีนี้เมื่อมีการจัดเก็บภาษีตามเกณฑ์ที่กำหนดจริงๆ และรัฐบาลไม่ได้ออก พ.ร.ฎ.ลดจำนวนภาษีออกมาช่วยอีก จึงทำให้ประชาชนต้องจ่ายภาษีสูงขึ้นดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม เทศบาลนครตรัง รับทราบปัญหาดี และยอมรับว่าภาษีแพงจริง เทศบาลเห็นใจและเข้าใจประชาชน เพราะไม่ได้เรียกเก็บโดยพลการ หรือกำหนดอัตราเองตามอำเภอใจ แต่เป็นการจัดเก็บตามกฎหมายใหม่ ซึ่งเหมือนกันหมดทั่วประเทศ ทั้งนี้ หากเห็นว่าอัตราภาษีที่แจ้งไปนั้นสูงเกินจริงสามารถมายื่นหนังสือคัดค้านได้ที่กองคลัง จะมีเจ้าหน้าที่ลงตรวจสอบแปลงที่ดินใหม่ โดยขณะนี้มีประชาชนเข้ายื่นคัดค้านแล้วนับ 100 ราย