วินจยย.บุรีรัมย์เดือดร้อนหนัก ทั้งโควิด-วิกฤตน้ำมัน สู้ไม่ไหว ต้องหยุดวิ่งเกือบ 70 คัน เหลือแค่ 20 คัน
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_6965459
วินจยย.บุรีรัมย์เดือดร้อนหนัก ทั้งโควิด-วิกฤตน้ำมัน สู้ไม่ไหว ต้องหยุดวิ่งเกือบ 70 คัน เหลือแค่ 20 คัน เป็นไปได้ช่วยลดค่าน้ำมัน
วันที่ 27 มี.ค.65 จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ประกอบภาวะวิกฤตราคาแพงขึ้นซ้ำเติมอีก ทำให้ส่งผลกระทบกับผู้มีอาชีพวินจยย. โดยที่วินจยย.รับจ้างสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเดิมมีมากกว่า 90 คัน ได้ทยอยหยุดวิ่งหันไปทำอาชีพอื่นชั่วคราวแล้วเกือบ 70 คัน ขณะนี้เหลือเพียงกว่า 20 คันเท่านั้น
เนื่องจากสถานการณ์โควิดผู้โดยสารใช้บริการน้อยลง ก็ทำให้รายได้ลดลงจากเมื่อก่อนเคยมีรายได้วันละ 400 – 500 บาท ปัจจุบันเหลือเพียงวันละ 100-200 บาทเท่านั้น แต่กลับต้องแบกรับภาระค่าน้ำมันที่แพงขึ้นถึงลิตรละกว่า 40 บาทแล้ว จากเดิมเคยเติมเพียงวันละ 60 บาท ทุกวันนี้ต้องเติมเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 80 – 100 บาท จากผลกระทบดังกล่าวทำให้รายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย หลายคนจึงตัดสินหยุดวิ่งหันไปทำอาชีพอื่นแทนชั่วคราว เพื่อหารายได้เลี้ยงครอบครัว
จากผลกระทบดังกล่าว จึงอยากร้องขอให้รัฐบาลเร่งหามาตรการออกมาช่วยเหลือเยียวยา ไม่ว่าจะเป็นช่วยเหลือเรื่องค่าครองชีพ ค่าน้ำ ค่าไฟ หรือจ่ายเป็นเงินเยียวยา และหากเป็นไปได้ก็อยากให้ค่าน้ำมันลดลงเหลือไม่เกินลิตรละ 30 บาท เพื่อให้วิน จยย.สามารถอยู่รอดได้
นาย
ลิว ช่างรัมย์ อายุ 70 ปี และ นาย
เลิม ขวัญรัมย์ อายุ 57 ปี คนขี่จักรยานยนต์รับจ้างวินสถานีขนส่งผู้โดยสาร จ.บุรีรัมย์ บอกว่า หลังจากเกิดโรคโควิดระบาดอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดก็มาเจอราคาน้ำมันแพงอีก ทำให้วิน จยย.ได้รับผลกระทบอย่างหนัก นอกจากรายได้ที่ลดลงจากพิษโควิดแล้ว ยังต้องแบกรับภาระค่าน้ำมันที่เพิ่มขึ้นอีก ซึ่งรายได้ไม่สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายทำให้วิน จยย.หลายคนต้องหยุดวิ่ง หันไปทำอาชีพอื่น ส่วนที่ยังวิ่งอยู่เพราะไม่รู้จะไปทำอะไรเนื่องจากทำอาชีพนี้มานานแล้ว ประกอบอายุมากแล้วจะไปแบกหามก็คงไม่ไหว จึงอยากให้รัฐบาลออกมาตรการช่วยเหลือด้วย
เตรียมรับมือ! วิกฤติราคาน้ำมัน "ของจริง" กำลังจะมาในเดือนเม.ย.นี้
https://www.pptvhd36.com/news/เศรษฐกิจ/168963
ราคาน้ำมันในตลาดมีแนวโน้มขยับขึ้นไปอีก จากมาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก ส่งผลให้น้ำมันรัสเซียส่งออกไปในตลาดลดฮวบฮาบ หลังบุกยูเครน
ราคาน้ำมันดิบในตลาดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทะยานขึ้น รับข่าวมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียเริ่มส่งผลต่อราคาในตลาดโลก จากก่อนหน้านี้ ราคาน้ำมันเพียงแต่สะท้อนสถานการณ์ที่เกิดขึ้นหลังรัสเซียบุกยูเครน
เทรดเดอร์ กล่าวว่าในเดือนเม.ย.นี้ การส่งออกน้ำมันจากรัสเซียจะร่วงลงราว 1-3 ล้านบาร์เรล/วัน จากมาตรการค่ว่ำบาตร ส่งผลให้ตลาดน้ำมันตึงตัวยิ่งขึ้น เพราะรัสเซียเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก
ตลาดน้ำมันได้รับแรงกดดันมากขึ้น จากเดิมเคลื่อนไหวตามอุปสงค์-อุปทาน จากสถานการณ์ชั่วคราว แต่จากรัสเซียบุกยูเครน และได้รับการตอบโต้จากสหรัฐและชาติตะวันตกด้วยมาตรการแซงชั่นครั้งใหญ่ ทำให้ตลาดน้ำมันจะกลับไปสู่ยุคสงครามเย็น แต่ที่ต่างออกไปคือความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างมากจากช่วงสงครามเย็น
ขณะนี้ ราคาน้ำมันเริ่มเจอกับคลื่นครั้งใหม่ เมื่อปริมาณน้ำมันโลกจะลดลงอย่างแน่นอนแล้ว ขณะนี้ผู้ค้าน้ำมัน รวมถึงบรรดาสถาบันการเงินและเรือขนส่งน้ำมันต่างยกเลิกการสั่งซื้อและขนส่งน้ำมันจากรัสเซียผ่านทะเลดำ ซึ่งเป็นเส้นทางการขนส่งน้ำมันใหญ่แห่งหนึ่งของโลก โดยขณะนี้ผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่ของโลกต่างยกเลิกการทำธุรกิจในรัสเซียแล้ว
การส่งออกน้ำมันของรัสเซีย ผ่านทะเลดำลดลงอย่างมากในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าในช่วงสองสัปดาห์แรกของการบุกยูเครน ปริมาณส่งออกไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่สัปดาห์ที่ผ่านมา ลดลงอย่างรวดเร็ว
องค์การพลังงานระหว่างประเทศ(IEA) ประเมินว่าการส่งออกน้ำมันของรัสเซียบจะลดลง 3 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนเม.ย.นี้ โดยกล่าวเตือนว่าจะเป็นวิกฤตพลังงานที่เลวร้ายที่สุดในรอบหลายสิบปี
เทรดเดอร์บางรายประเมินว่าน้ำมันรัสเซียจะหายไป 2 ล้านบาร์เรล/วัน หรือ ประมาณ 1 ใน 4 ของการผลิตน้ำมันในรัสเซีย พร้อมกับเตือนว่าราคาน้ำมใันจะทะยานขึ้นในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า
ราคาน้ำมันในตลาดโลกในขณะนี้ ตอบสนองกับการคาดการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา ทะยานขึ้น 9% มาเคลื่อนไหวแถว 120 ดอลลาร์/บาร์เรล
รัสเซีย นับเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ อันดับสามของโลก รองจากสหรัฐและซาอุดิอาระเบีย แต่ก่อนสงครามยูเครน ทางรัสเซียส่งออกน้ำมันประมาณ 7.5% ของโลก โดยมีประเทศนำเข้าหลัก ๆ คือ สหรัฐ แคนาดา สหราชอาณาจักรและออสเตรเลีย รวมถึงญี่ปุ่น ขณะที่สหภาพยุโรป ยังเป็นผู้ซื้อน้ำมันและก๊าซจากรัสเซียรายใหญ่สุด
ชมรมแพทย์ชนบท เผยยาฟาวิพิราเวียร์ขาดแคลนหนัก จี้สธ.แจงรายละเอียดให้ชัด
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6965863
ชมรมแพทย์ชนบท เผยยาฟาวิพิราเวียร์ขาดแคลน สร้างความอึมครึมของข่าวสารต่อประชาชน จี้สธ.ชี้แจงให้ชัดเจน เผยคนป่วยได้ยาเร็วช่วยให้โอกาสที่อาการจะหนักลดลง
เมื่อวันที่ 28 มี.ค.65 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟซบุ๊ก
ชมรมแพทย์ชนบท โพสต์ถึงสถานการณ์การขาดแคลนยาฟาวิพิราเวียร์ และข้อมูลข่าวสารที่ไม่ชัดเจน จนสร้างความวิตกให้ประชาชนในขณะนี้ว่า
ฟาวิพิราเวียร์ที่ขาดหนัก ยังไม่เท่าความอึมครึมของข่าวสาร
“ทำไมหมอไม่ให้ยาฟาวิ ยายผม 60 ปีแล้ว มีเบาหวานด้วย”
“ช่วงนี้ยาฟาวิมีน้อยมาก หมอขอสงวนไว้สำหรับคนที่หนักจริงๆนะ”
“โรงพยาบาลห่วยๆ ยาฟาวิก็ยังไม่มี ”
“มันไม่มียาจริงๆ กินฟ้าทะลายโจรไปก่อน ได้ผลเหมือนกัน หากไม่ดีขึ้นมาโรงพยาบาลได้ตลอด”
“ถ้ายายผมพี่ผมเป็นอะไรไป หมอต้องรับผิดชอบ”
นี่คือสถานการณ์จริงหน้างาน สืบเนื่องจากความคาดหวังของผู้ป่วยและญาติกับฟาวิพิราเวียร์ที่ขาดแคลนหนัก
สถานการณ์ฟาวิพิราเวียร์ที่ขาดหนักทั้งประเทศ ยังไม่ดีขึ้นนับตั้งแต่ที่ชมรมแพทย์ชนบทออกมาบ่นดังๆเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2565 และผู้ใหญ่ผู้โตพูดออกสื่อว่า “ไม่จริง ยามีเพียงพอ” แต่ความจริงถ้าลองถามโรงพยาบาลต่างๆดู จะพบมาช่วงเดือนสองเดือนนี้ ฟาวิมีใช้อย่างจำกัดจำเขี่ย แม้จ่ายยาตามแนวปฏิบัติของกรมการแพทย์ที่ใช้จ่ายเฉพาะคนอายุ 60 ปีขึ้นไปก็ยังไม่พออย่างยิ่ง ขาดหนักจนบางพื้นที่ให้เฉพาะคนที่มีภาวะปอดบวมเท่านั้น
ฟาวิพิราเวียร์เป็นยาต้านไวรัส ลดการแบ่งตัวของไวรัส งานวิจัยของศิริราชชัดเจนว่า การทานฟาวิเร็วภายใน 2 วันแรกของการเจ็บป่วย จะช่วยให้โอกาสที่อาการจะหนักลดลง ดังนั้นยาฟาวิหากจะให้ได้ผลดี ต้องทานให้เร็ว การมียาเพียงพอจึงจำเป็น
ฟาวิพอไม่พอ ขอให้ สธ.แถลงแบบลงรายละเอียดว่า เหตุที่ฟาวิจึงขาดหนัก การนำเข้าเคมีภัณฑ์สะดุดหรือ องค์การเภสัชผลิตปั๊มเม็ดยาได้สัปดาห์ละกี่เม็ด คงที่ไหม ราคาผลิตเองเม็ดละเท่าไหร่ ข่าวที่ว่าองค์การเภสัชจะเลิกผลิตโดยจะนำเข้าอย่างเดียวจริงไหม ทำไม ขณะนี้นำเข้ามาสัปดาห์ละกี่เม็ด ราคาเม็ดละเท่าไหร่ รวมๆแล้วแต่ละสัปดาห์จะมีฟาวิให้กระจายได้กี่เม็ด จะกระจายอย่างไร เป็นต้น
การขาดแคลนฟาวิพินาเวียร์เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ แต่สิ่งที่ไม่เข้าใจก็คือ ทำไมกระทรวงสาธารณสุขไม่ออกมาบอกความจริงกับสังคมและโรงพยาบาลต่างๆ และร่วมวางแผนกันให้เปิดเผย สิ่งที่ทุกโรงพยาบาลอยากรู้คือ จะได้รับจัดสรรครั้งละประมาณกี่เม็ดและหลังรับจัดสรรแล้วอีกกี่วันจึงจะได้มาอีก จะได้บริหารยาให้เหมาะสมกับจำนวนยาที่มี
ความยากของแพทย์และบุคลากรสุขภาพในปัจจุบันคือ ไม่รู้เลยว่ายาฟาวิที่เหลืออยู่ในมือสมมุติว่า มีเหลือ 2,000 เม็ด ซึ่งใช้ได้ 40 คน อีกกี่วันจึงจะได้มาเติม จะได้บริหารยาให้ดีที่สุดในท่ามกลางความขาดแคลน
ส่วนยาโมลนูพิราเวียร์นั้นแม้จะนำเข้ามาแล้ว แต่มีจำนวนน้อย ราคาแพงกว่าฟาวิมาก การจะขอใช้ยายุ่งยาก จึงไม่อาจนำมาทดแทนฟาวิได้
การยอมรับความจริงและร่วมวางแผนรับสถานการณ์ที่ขาดแคลนอย่างเปิดอกของ สธ. น่าจะดีกว่าการปล่อยให้อึมครึมปล่อยให้พื้นที่ไถๆเอาตามมีตามเกิดแบบนี้นะครับ ไถมาร่วมเดือนเดือน ชักจะไถไม่ไหวแล้ว คนไข้ไม่เข้าใจ ก็ทะเลาะกับแพทย์พยาบาลทุกวัน
รอบนี้อย่าบอกนะว่า “ยาฟาวิมีเพียงพอ” ปัญหามีไว้แก้ ขอแค่บอกความจริงกับสังคม แล้วแก้ปัญหาไปด้วยกัน
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=5676228419070935&id=142436575783508
JJNY : วินจยย.บุรีรัมย์เดือดร้อนหนัก│วิกฤติน้ำมัน"ของจริง"กำลังจะมา│เผยฟาวิพิราเวียร์ขาดแคลนหนัก│เผยแผนปูตินแบ่งยูเครน
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_6965459
วินจยย.บุรีรัมย์เดือดร้อนหนัก ทั้งโควิด-วิกฤตน้ำมัน สู้ไม่ไหว ต้องหยุดวิ่งเกือบ 70 คัน เหลือแค่ 20 คัน เป็นไปได้ช่วยลดค่าน้ำมัน
วันที่ 27 มี.ค.65 จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ประกอบภาวะวิกฤตราคาแพงขึ้นซ้ำเติมอีก ทำให้ส่งผลกระทบกับผู้มีอาชีพวินจยย. โดยที่วินจยย.รับจ้างสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเดิมมีมากกว่า 90 คัน ได้ทยอยหยุดวิ่งหันไปทำอาชีพอื่นชั่วคราวแล้วเกือบ 70 คัน ขณะนี้เหลือเพียงกว่า 20 คันเท่านั้น
เนื่องจากสถานการณ์โควิดผู้โดยสารใช้บริการน้อยลง ก็ทำให้รายได้ลดลงจากเมื่อก่อนเคยมีรายได้วันละ 400 – 500 บาท ปัจจุบันเหลือเพียงวันละ 100-200 บาทเท่านั้น แต่กลับต้องแบกรับภาระค่าน้ำมันที่แพงขึ้นถึงลิตรละกว่า 40 บาทแล้ว จากเดิมเคยเติมเพียงวันละ 60 บาท ทุกวันนี้ต้องเติมเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 80 – 100 บาท จากผลกระทบดังกล่าวทำให้รายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย หลายคนจึงตัดสินหยุดวิ่งหันไปทำอาชีพอื่นแทนชั่วคราว เพื่อหารายได้เลี้ยงครอบครัว
จากผลกระทบดังกล่าว จึงอยากร้องขอให้รัฐบาลเร่งหามาตรการออกมาช่วยเหลือเยียวยา ไม่ว่าจะเป็นช่วยเหลือเรื่องค่าครองชีพ ค่าน้ำ ค่าไฟ หรือจ่ายเป็นเงินเยียวยา และหากเป็นไปได้ก็อยากให้ค่าน้ำมันลดลงเหลือไม่เกินลิตรละ 30 บาท เพื่อให้วิน จยย.สามารถอยู่รอดได้
นายลิว ช่างรัมย์ อายุ 70 ปี และ นายเลิม ขวัญรัมย์ อายุ 57 ปี คนขี่จักรยานยนต์รับจ้างวินสถานีขนส่งผู้โดยสาร จ.บุรีรัมย์ บอกว่า หลังจากเกิดโรคโควิดระบาดอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดก็มาเจอราคาน้ำมันแพงอีก ทำให้วิน จยย.ได้รับผลกระทบอย่างหนัก นอกจากรายได้ที่ลดลงจากพิษโควิดแล้ว ยังต้องแบกรับภาระค่าน้ำมันที่เพิ่มขึ้นอีก ซึ่งรายได้ไม่สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายทำให้วิน จยย.หลายคนต้องหยุดวิ่ง หันไปทำอาชีพอื่น ส่วนที่ยังวิ่งอยู่เพราะไม่รู้จะไปทำอะไรเนื่องจากทำอาชีพนี้มานานแล้ว ประกอบอายุมากแล้วจะไปแบกหามก็คงไม่ไหว จึงอยากให้รัฐบาลออกมาตรการช่วยเหลือด้วย
เตรียมรับมือ! วิกฤติราคาน้ำมัน "ของจริง" กำลังจะมาในเดือนเม.ย.นี้
https://www.pptvhd36.com/news/เศรษฐกิจ/168963
ราคาน้ำมันในตลาดมีแนวโน้มขยับขึ้นไปอีก จากมาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก ส่งผลให้น้ำมันรัสเซียส่งออกไปในตลาดลดฮวบฮาบ หลังบุกยูเครน
ราคาน้ำมันดิบในตลาดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทะยานขึ้น รับข่าวมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียเริ่มส่งผลต่อราคาในตลาดโลก จากก่อนหน้านี้ ราคาน้ำมันเพียงแต่สะท้อนสถานการณ์ที่เกิดขึ้นหลังรัสเซียบุกยูเครน
เทรดเดอร์ กล่าวว่าในเดือนเม.ย.นี้ การส่งออกน้ำมันจากรัสเซียจะร่วงลงราว 1-3 ล้านบาร์เรล/วัน จากมาตรการค่ว่ำบาตร ส่งผลให้ตลาดน้ำมันตึงตัวยิ่งขึ้น เพราะรัสเซียเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก
ตลาดน้ำมันได้รับแรงกดดันมากขึ้น จากเดิมเคลื่อนไหวตามอุปสงค์-อุปทาน จากสถานการณ์ชั่วคราว แต่จากรัสเซียบุกยูเครน และได้รับการตอบโต้จากสหรัฐและชาติตะวันตกด้วยมาตรการแซงชั่นครั้งใหญ่ ทำให้ตลาดน้ำมันจะกลับไปสู่ยุคสงครามเย็น แต่ที่ต่างออกไปคือความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างมากจากช่วงสงครามเย็น
ขณะนี้ ราคาน้ำมันเริ่มเจอกับคลื่นครั้งใหม่ เมื่อปริมาณน้ำมันโลกจะลดลงอย่างแน่นอนแล้ว ขณะนี้ผู้ค้าน้ำมัน รวมถึงบรรดาสถาบันการเงินและเรือขนส่งน้ำมันต่างยกเลิกการสั่งซื้อและขนส่งน้ำมันจากรัสเซียผ่านทะเลดำ ซึ่งเป็นเส้นทางการขนส่งน้ำมันใหญ่แห่งหนึ่งของโลก โดยขณะนี้ผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่ของโลกต่างยกเลิกการทำธุรกิจในรัสเซียแล้ว
การส่งออกน้ำมันของรัสเซีย ผ่านทะเลดำลดลงอย่างมากในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าในช่วงสองสัปดาห์แรกของการบุกยูเครน ปริมาณส่งออกไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่สัปดาห์ที่ผ่านมา ลดลงอย่างรวดเร็ว
องค์การพลังงานระหว่างประเทศ(IEA) ประเมินว่าการส่งออกน้ำมันของรัสเซียบจะลดลง 3 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนเม.ย.นี้ โดยกล่าวเตือนว่าจะเป็นวิกฤตพลังงานที่เลวร้ายที่สุดในรอบหลายสิบปี
เทรดเดอร์บางรายประเมินว่าน้ำมันรัสเซียจะหายไป 2 ล้านบาร์เรล/วัน หรือ ประมาณ 1 ใน 4 ของการผลิตน้ำมันในรัสเซีย พร้อมกับเตือนว่าราคาน้ำมใันจะทะยานขึ้นในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า
ราคาน้ำมันในตลาดโลกในขณะนี้ ตอบสนองกับการคาดการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา ทะยานขึ้น 9% มาเคลื่อนไหวแถว 120 ดอลลาร์/บาร์เรล
รัสเซีย นับเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ อันดับสามของโลก รองจากสหรัฐและซาอุดิอาระเบีย แต่ก่อนสงครามยูเครน ทางรัสเซียส่งออกน้ำมันประมาณ 7.5% ของโลก โดยมีประเทศนำเข้าหลัก ๆ คือ สหรัฐ แคนาดา สหราชอาณาจักรและออสเตรเลีย รวมถึงญี่ปุ่น ขณะที่สหภาพยุโรป ยังเป็นผู้ซื้อน้ำมันและก๊าซจากรัสเซียรายใหญ่สุด
ชมรมแพทย์ชนบท เผยยาฟาวิพิราเวียร์ขาดแคลนหนัก จี้สธ.แจงรายละเอียดให้ชัด
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6965863
ชมรมแพทย์ชนบท เผยยาฟาวิพิราเวียร์ขาดแคลน สร้างความอึมครึมของข่าวสารต่อประชาชน จี้สธ.ชี้แจงให้ชัดเจน เผยคนป่วยได้ยาเร็วช่วยให้โอกาสที่อาการจะหนักลดลง
เมื่อวันที่ 28 มี.ค.65 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟซบุ๊ก ชมรมแพทย์ชนบท โพสต์ถึงสถานการณ์การขาดแคลนยาฟาวิพิราเวียร์ และข้อมูลข่าวสารที่ไม่ชัดเจน จนสร้างความวิตกให้ประชาชนในขณะนี้ว่า
ฟาวิพิราเวียร์ที่ขาดหนัก ยังไม่เท่าความอึมครึมของข่าวสาร
“ทำไมหมอไม่ให้ยาฟาวิ ยายผม 60 ปีแล้ว มีเบาหวานด้วย”
“ช่วงนี้ยาฟาวิมีน้อยมาก หมอขอสงวนไว้สำหรับคนที่หนักจริงๆนะ”
“โรงพยาบาลห่วยๆ ยาฟาวิก็ยังไม่มี ”
“มันไม่มียาจริงๆ กินฟ้าทะลายโจรไปก่อน ได้ผลเหมือนกัน หากไม่ดีขึ้นมาโรงพยาบาลได้ตลอด”
“ถ้ายายผมพี่ผมเป็นอะไรไป หมอต้องรับผิดชอบ”
นี่คือสถานการณ์จริงหน้างาน สืบเนื่องจากความคาดหวังของผู้ป่วยและญาติกับฟาวิพิราเวียร์ที่ขาดแคลนหนัก
สถานการณ์ฟาวิพิราเวียร์ที่ขาดหนักทั้งประเทศ ยังไม่ดีขึ้นนับตั้งแต่ที่ชมรมแพทย์ชนบทออกมาบ่นดังๆเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2565 และผู้ใหญ่ผู้โตพูดออกสื่อว่า “ไม่จริง ยามีเพียงพอ” แต่ความจริงถ้าลองถามโรงพยาบาลต่างๆดู จะพบมาช่วงเดือนสองเดือนนี้ ฟาวิมีใช้อย่างจำกัดจำเขี่ย แม้จ่ายยาตามแนวปฏิบัติของกรมการแพทย์ที่ใช้จ่ายเฉพาะคนอายุ 60 ปีขึ้นไปก็ยังไม่พออย่างยิ่ง ขาดหนักจนบางพื้นที่ให้เฉพาะคนที่มีภาวะปอดบวมเท่านั้น
ฟาวิพิราเวียร์เป็นยาต้านไวรัส ลดการแบ่งตัวของไวรัส งานวิจัยของศิริราชชัดเจนว่า การทานฟาวิเร็วภายใน 2 วันแรกของการเจ็บป่วย จะช่วยให้โอกาสที่อาการจะหนักลดลง ดังนั้นยาฟาวิหากจะให้ได้ผลดี ต้องทานให้เร็ว การมียาเพียงพอจึงจำเป็น
ฟาวิพอไม่พอ ขอให้ สธ.แถลงแบบลงรายละเอียดว่า เหตุที่ฟาวิจึงขาดหนัก การนำเข้าเคมีภัณฑ์สะดุดหรือ องค์การเภสัชผลิตปั๊มเม็ดยาได้สัปดาห์ละกี่เม็ด คงที่ไหม ราคาผลิตเองเม็ดละเท่าไหร่ ข่าวที่ว่าองค์การเภสัชจะเลิกผลิตโดยจะนำเข้าอย่างเดียวจริงไหม ทำไม ขณะนี้นำเข้ามาสัปดาห์ละกี่เม็ด ราคาเม็ดละเท่าไหร่ รวมๆแล้วแต่ละสัปดาห์จะมีฟาวิให้กระจายได้กี่เม็ด จะกระจายอย่างไร เป็นต้น
การขาดแคลนฟาวิพินาเวียร์เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ แต่สิ่งที่ไม่เข้าใจก็คือ ทำไมกระทรวงสาธารณสุขไม่ออกมาบอกความจริงกับสังคมและโรงพยาบาลต่างๆ และร่วมวางแผนกันให้เปิดเผย สิ่งที่ทุกโรงพยาบาลอยากรู้คือ จะได้รับจัดสรรครั้งละประมาณกี่เม็ดและหลังรับจัดสรรแล้วอีกกี่วันจึงจะได้มาอีก จะได้บริหารยาให้เหมาะสมกับจำนวนยาที่มี
ความยากของแพทย์และบุคลากรสุขภาพในปัจจุบันคือ ไม่รู้เลยว่ายาฟาวิที่เหลืออยู่ในมือสมมุติว่า มีเหลือ 2,000 เม็ด ซึ่งใช้ได้ 40 คน อีกกี่วันจึงจะได้มาเติม จะได้บริหารยาให้ดีที่สุดในท่ามกลางความขาดแคลน
ส่วนยาโมลนูพิราเวียร์นั้นแม้จะนำเข้ามาแล้ว แต่มีจำนวนน้อย ราคาแพงกว่าฟาวิมาก การจะขอใช้ยายุ่งยาก จึงไม่อาจนำมาทดแทนฟาวิได้
การยอมรับความจริงและร่วมวางแผนรับสถานการณ์ที่ขาดแคลนอย่างเปิดอกของ สธ. น่าจะดีกว่าการปล่อยให้อึมครึมปล่อยให้พื้นที่ไถๆเอาตามมีตามเกิดแบบนี้นะครับ ไถมาร่วมเดือนเดือน ชักจะไถไม่ไหวแล้ว คนไข้ไม่เข้าใจ ก็ทะเลาะกับแพทย์พยาบาลทุกวัน
รอบนี้อย่าบอกนะว่า “ยาฟาวิมีเพียงพอ” ปัญหามีไว้แก้ ขอแค่บอกความจริงกับสังคม แล้วแก้ปัญหาไปด้วยกัน
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=5676228419070935&id=142436575783508