งูจงอางมี 4 สายพันธุ์ที่แตกต่างกัน

.

.
งูจงอาง - มีสี่สายพันธุ์ที่แตกต่างกัน
เป็นงูพิษที่มีขนาดยาวที่สุดในโลก
© Ryan McVay / Getty
.
.

อาณาเขตของงูพิษแผ่ขยายไปทั่วเขตร้อนของเอเชีย
งูจงอางมีการเผยแพร่ชื่อครั้งแรกในปี 1836
โดย นักชีววิทยาชาวเดนมาร์ค Theodore Cantor
ที่จับงูจงอาง 3 ตัวได้ใน Sunderbans
กับอีกหนึ่งตัวในป่าใกล้กับ Calcutta

งานวิจัยขั้นแรกจึงระบุสายพันธุ์
Ophiophagus hannah
และตั้งชื่อภาษาอังกฤษว่า King cobra

Theodore Cantor ได้อธิบายลักษณะงูจงอางว่า
มีแม่เบี้ยแผ่กว้าง มีเขี้ยว และฟันกราม
ชื่อเรียกในท้องถิ่น sunkr choar (shonkhochur) 
และคนท้องถิ่นกลัวยิ่งกว่างูเห่า/งูพิษพื้นเมือง

งูจงอางที่สง่างาม (Ophiophagus hannah)
ซึ่งมองเห็นได้ในทันทีด้วยแม่เบี้ยที่คล้ายเปลวไฟ
เป็นงูพิษที่ใหญ่ที่สุดในโลก/เติบโตได้ยาวเกือบ 13 ฟุต (4 เมตร)
อาศัยอยู่ในอาณาจักรขนาดใหญ่ทั่วเขตร้อนของเอเชีย
ขยายจากพื้นที่อินโดนีเซียไปยังอินเดีย

ทีมวิจัยนำโดย Kartik Shankar 
มี Priyanka Swamy, S.R. Ganesh,
Gunanidhi Sahoo, S.P. Vijaykumar,
Kartik Shanker กับ Sushil Dutta
ด้วยความร่วมมือกับ Sweden Malaysia และ  UK

งานวิจัยครั้งใหม่ได้เผยแพร่ว่า
งูจงอางไม่ได้มีเพียงเผ่าพันธุ์เดียว
มีความเป็นไปได้ว่า  มีงูจงอางสี่สายพันธุ์ที่แตกต่างกัน

สี่สายพันธุ์ที่เสนอ (ซึ่งยังไม่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ) มี
เชื้อสาย Ghats ตะวันตกในอินเดียตะวันตกเฉียงใต้ 
เชื้อสายอินโดจีนในอินโดนีเซียและจีนตะวันตก 
เชื้อสายอินโด-มาเลย์ ซึ่งครอบคลุมอินเดียและมาเลเซีย
และเชื้อสายเกาะลูซอนที่พบในฟิลิปปินส์

" การมีอยู่ของงูจงอางหลายสายพันธุ์
เป็นเรื่องน่าประหลาดใจ เพราะพวกมันมีลักษณะคล้ายกัน
มีถิ่นที่อยู่ใกล้เคียงกัน มีพฤติกรรมคล้ายคลึงกัน  "
Kartik Shanker ผู้เขียนร่วมของการศึกษาใหม่
และนักนิเวศวิทยาเชิงวิวัฒนาการ
ที่ Indian Institute of Science ใน Bangalore
ให้สัมภาษณ์กับ Telegraph India
แม้ว่าพวกมันจะมีความคล้ายคลึงกัน
แต่งูจงอางที่พบในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์อันกว้างใหญ่นี้
มีความแตกต่างทางกายภาพบ้าง  ตัวอย่างเช่น
งูจงอางที่โตเต็มวัยในประเทศไทย
จะมีวงแหวนสีขาวนวลอยู่ประมาณ 70 วง
ในขณะที่งูจงอางในฟิลิปปินส์จะมีวงแหวนเพียงไม่กี่วง

งูจงอางแสดงพฤติกรรมที่แตกต่างกันในระดับภูมิภาคเช่นกัน 
งูจงอางเป็นงูสายพันธุ์เดียวที่รวบรวมวัสดุและสร้างรังสำหรับไข่
แต่ไข่งูในรังนั้นอาจได้รับการปฏิบัติแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับภูมิภาค
ในบางภูมิภาค แม่งูจะเลื้อยออกไปหลังจากวางไข่แล้ว
ในขณะที่ในที่อื่นๆ แม่งูอาจจะฟักไข่ในลักษณะเดียวกับที่นกทำรัง

(ที่มาของข่าว งูจงอางหวงไข่
เพราะบางรังจะมีงูจงอางตัวผู้มาร่วมเฝ้ารังด้วย
ในช่วงเวลานี้ อันตรายมากที่สุด
ถ้าคนหรือสัตว์เข้าไปใกล้บริเวณรังไข่งูจงอาง
เพราะมันคิดว่าจะมาทำร้ายไข่/ตัวอ่อนงูจงอาง
มันจะเลื้อยมายิก(ไล่)ให้ไปไกล ๆ หรืออาจจะฉก
ฆ่ากินเป็นอาหารเจริญปากเจริญท้องซะเลย)

แต่นี่ไม่ใช่แค่ความแตกต่างทางร่างกาย
และพฤติกรรมที่แยกสายเลือดงูจงอางทั้งสี่นี้ออกจากกัน
นักวิจัยยังจำเป็นต้องทราบด้วยว่า
ประชากรงูจงอางมีความแตกต่างทางพันธุกรรมหรือไม่
การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับงูพิษที่ใหญ่ที่สุดในโลกนั้นเป็นงานที่ท้าทาย
นักชีววิทยา P. Gowri Shankar หัวหน้าทีมวิจัยและผู้เชี่ยวชาญงูจงอาง
ที่ Kālinga Center for Rainforest Ecology
ในเมือง Karnataka กรณาฏกะ ประเทศอินเดีย
ต้องใช้เวลาหลายปีในการท่องป่าเขตร้อน
เพื่อค้นหางูจงอางที่สามารถดักจับและศึกษาได้

“ ถ้าเป็นกบ ถ้าเป็นเต่า คงจะง่ายกว่า
แต่ถ้าเป็นงูจงอางเป็นอีกเรื่องหนึ่ง "
P. Gowri Shankar ให้สัมภาษณ์กับ National Geographic

ในที่สุด ทีมงานของ P. Gowri Shankar
สามารถรวบรวมสารพันธุกรรมได้มากพอ
ที่จะวิเคราะห์ DNA จากตัวอย่างงูจงอาง 62 ตัว
ที่พบในช่วงต่าง ๆ ของตัวแปรประชากร

นักวิจัยได้รวบรวมเกล็ดงูจงอางที่มีชีวิต
ลอกผิวหนัง ตับ เนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อ กระดูก
ซี่โครง จากงูจงอางตัวผู้ตัวเมียที่ตายแล้ว
จากรถยนต์ทับตาย หรือถูกคนฆ่าตาย
และจากเกล็ดตัวอย่างที่เก็บรักษาไว้
ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติในฝรั่งเศส

ในขั้นต้น ทีมผู้วิจัยศึกษาดูจาก
Mitochondrial Genes ซึ่งถ่ายทอดจากแม่สู่ลูก
และระบุสายเลือดที่แตกต่างกันได้สี่สาย
จากนั้นก็มองไปที่ความแตกต่างใน DNA
ที่มี Nucleus ในแต่ละเซลล์
ระหว่างสายเลือดของงูจงอางทั้งสี่สายพันธุ์นี้
นักวิจัยพบว่าสายเลือดทั้งสี่นี้ 
ในแต่ละภูมิภาค  จะมีเฉพาะแต่ละสายพันธุ์
ที่ถูกแยกจากกันด้วยพันธุกรรมที่แตกต่างกัน

" ความหลากหลายทางพันธุกรรมที่ทับซ้อนกัน
กับพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่แยกจากกัน
แสดงให้เห็นว่า แต่ละสายพันธุ์นี้
มีการพัฒนาแยกออกจากกัน
โดยไม่มีการไหล(ถ่ายทอด) ยีนระหว่างกัน
การค้นพบนี้มีความหมายต่อการอนุรักษ์สายพันธุ์เหล่านี้
 
ปัจจุบันงูจงอางถูกระบุว่ามีสภาพ
เปราะบาง (เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์)
โดยสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN)
International Union for the Conservation of Nature
แต่การแบ่งกลุ่มออกเป็นหลายสายพันธุ์
มีแนวโน้มที่จะบังคับให้มีการตรวจสอบสถานะนี้อีกครั้ง
(เพื่อเลื่อนลำดับการคุ้มครองขึ้นไปอีก) "
Kartik Shanker ให้สัมภาษณ์กับ Telegraph India

 .
.
.
.

งานวิจัยนี้เผยแพร่เมื่อเดือนกันยายน 2021
ในวารสาร Molecular Phylogenetics and Evolution

แยกเป็น : CS1 ใน Western Ghats
เชื้อสาย Ghats ตะวันตกหรือ CS1 
แยกออกมาจากญาติที่ใกล้เคียงที่สุด
ทางภูมิศาสตร์และพันธุกรรม 
นั่นคือเชื้อสายอินโดจีนหรือ CS2 
ในพื้นที่แห้งแล้งของคาบสมุทรอินเดีย
 
CS2 (เชื้อสายอินโดจีน) ทางเหนือของคอคอดกระ กาตตะวันออก
เทือกเขาหิมาลัยตะวันออก จีนตอนใต้ เวียดนาม  ไทยและหมู่เกาะอันดามัน

CS3 ในภูมิภาคอินโด-มาเลย์ทางใต้ของคอคอดกระ
คาบสมุทรมาเลเซีย บอร์เนียว บาหลี สุมาตรา ชวา และมินโดโร

CS4 ในหมู่เกาะลูซอนของฟิลิปปินส์

นักวิจัยเชื่อว่างูจงอางกระจายไปทั่วเกาะต่าง ๆ
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงยุคน้ำแข็ง
ที่สะพานบนบกตามธรรมชาติเชื่อมต่อระหว่างเกาะต่าง ๆ
 
หลักฐานที่มีอยู่มากมายก่อนหน้านี้
จากอาณาจักรพืชและสัตว์ทั่วโลก
ได้พิสูจน์แล้วว่าการแยกตัวทางภูมิศาสตร์
สามารถผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
หรือการเกิดขึ้นของสายพันธุ์ที่แตกต่างกัน

การศึกษาที่คล้ายกันในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา
โดยกลุ่มวิจัยอิสระระบุว่า ช้างป่าแอฟริกาตะวันตก
นกกีวีสายพันธุ์ในนิวซีแลนด์ เสือดาวลายเมฆซุนดาในอินโดนีเซีย
อุรังอุตังในสุมาตรา และปลาโลมาแม่น้ำสินธุเป็นสายพันธุ์ใหม่

เรียบเรียง/ที่มา

https://bit.ly/3uAeAT6
https://bit.ly/3qH5Qtj
.
งูจงอาง
.
.
.

.
.

.
.

.
.

.
.

.
.

.
.

.
.

.
.

.
.

.
.

.
.

.
.



เรื่องเล่าไร้สาระ

งูจงอาง แถวภาคใต้เรียก บองหลา บ้องหลา
ถ้าสัตว์ที่มีขนาดใหญ่มาก มีอายุมาก ยิงแทงไม่เข้า
นับถือว่าศักดิ์สิทธิ์ จะเรียกว่า ทวด เช่น
ทวดช้าง ทวดฟาน ทวดเสือ ทวดปลา ทวดหมูป่า

ในอดีต บ้านเมืองยังไม่เจริญ
ทวดบองหลามักจะมาเยี่ยมเยือนลูกหลาน
ชาวบ้านจะตะโกนกันว่า ทวดมา ๆ
ต่างคนต่างรีบหยบเริน(กลับบ้านเรือน/หลบซ่อน)
แล้วแอบแลดูทวดเลื้อยผ่านหมู่บ้าน
ณ เวลานั้นทั้งหมู่บ้านจะเงียบสงบผิดปรกติ
หมู หมา กา ไก่ วัว ควาย เด็ก ๆ
จะเงียบสงบ/ไม่ส่งเสียงร้องแต่อย่างใด
จัดว่าเป็น หมู่บ้านไร้เสียง นาน ๆ ครั้ง
จนกว่าทวดบองหลาเลื้อยผ่านหมู่บ้านไป
ทุกชีวิตต่างกลับมาสู่ปรกติอีกครั้ง

บางทีทวดก็ไปนอนในถ้ำเพื่อลอกคราบ
ช่วงนี้ทวดมักจะอ่อนแอมากกว่าปกติ
ชาวบ้านที่กล้า ๆ กลัว ๆ จะปะแป้งให้ทวด
ถวายน้ำแดง ขนมถ้วย เพื่อให้ทวดกิน
กับทาแป้งขูดเบา ๆ หาหวยจากลำตัวทวด
เคยเป็นข่าวลือว่า หนุ่มแถ(เกเร/ไม่เข้าเรื่อง)
ตายเพราะไปจั๊กจี้ทวดตอนปะแป้ง
ทวดเลยขบ(กัด)เข้าให้ตายคาที่ไปเลย

.
.

มีครั้งหนึ่ง ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง
มีเสียงร้องตะโกนว่า ทวดมา ๆ ๆ
ทุกคนต่างหยบเรินแล้วทั้งหมู่บ้านต่างเงียบสงบ
สักพักมีเสียงร้องของทวดว่า
เฮ่ ไปไหนกันเหม็ด มีคนยู๋ม้าย
ชาวบ้านต่างโผล่หน้าออกมาทักทายทวด
พร้อมกับส่งเสียงเจี๊ยวจ๊าวและหัวเราะกันยกใหญ่
เพราะทวดคือ คนแรก ๆ ที่มาก่อตั้งหมู่บ้านนี้
แล้วย้ายกลับไปอยู่ที่อื่นนานมากแล้ว
นาน ๆ ทวดจะกลับมาเยี่ยมหมู่บ้านแห่งนี้
แต่พอคนไปดูรอยเท้าที่ทวดเดินมาที่หมู่บ้าน
มีรอยคดเคี้ยวเหมือนกับงูเลื้อยไปมา
เพราะไม้เท้าทวดกวัดแกว่งไปมาช้า ๆ บนพิ้นดิน

.
.

ตอนผมวัยรุ่น ผมเคยเจอผู้เฒ่าผู้แก่
คนแถวบ้าน อายุน้อยกว่าหรือมากกว่า
เรียกท่านด้วยความเคารพ/กึ่งยกย่อง
ว่า เสือหัด ท่านมาจากบ้านพรุ ข่าวว่า ท่านคือ
นักเลงเก่า โจรเก่า พูดจาสุภาพมีอารมณ์ขัน
หยอกล้อ เซ้าซี้ท่านเล่นได้แบบพอสำรวม
ท่านชอบถือไม้เท้าเดินในเมืองมาบ้านเพื่อน
ท่าทางเดินเชื่องช้ามาก ไม้เท้าแกว่งไปมาบนพื้น
แถวบ้านพื้นซีเมนต์จึงไม่เห็นรอยไม้เท้า

ครั้งสุดท้าย ผมเห็นเสือหัดเดินช้า ๆ ไปสายสอง
มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกของบ้านทุ่งหาดใหญ่
ผมเห็นด้านหลังท่าน รู้สึกถึงความทรงพลัง/มีอำนาจ
ก่อนที่ท่านจะเลือนลับหายไปในที่สุด
แล้วผมไม่เคยเห็นท่านอีกเลยในหลายปีต่อมา

.
.

ข่าวล่าสุด
ทวดงูบองหลา เลื้อยลงเขามาให้เห็นทุกปี
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่