ประเทศไทยได้รับการกล่าวถึงและยกย่องในเรื่องระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในเวทีนานาชาติ แม้รัฐบาลในตอนแรกๆเหมือนจะพยายามทำให้มันอ่อนแอลง โดยพยายามนำความคิดในเรื่องการร่วมจ่ายเข้ามา แต่ภายหลังเรื่องนี้ดูจะเงียบลงไป
ตอนนี้มีกลุ่มบางกลุ่มพยายามผลักดันเรื่องการกระจายอำนาจ พยายามให้ท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทและการตัดสินใจที่มากขึ้นในงานบริการ ซึ่งงานบริการสุขภาพก็เป็นส่วนหนึ่งในนั้น
คำถามแรกก็คือระบบหลักประกันสุขภาพ ควรจะทำในระดับท้องถิ่นหรือในระดับชาติ ท้องถิ่นแต่ละแห่งสามารถมีระบบสิทธิประโยชน์แตกต่างกันไปตามสภาพเศรษฐกิจของแต่ละท้องที่ได้หรือไม่ ท้องถิ่นที่ร่ำรวยจะมีการรักษาพยาบาลที่ทันสมัยกว่า มียาและเวชภัณฑ์ที่ดีกว่าอีกท้องถิ่นที่มีรายได้ต่ำกว่าได้หรือไม่ ความเหลื่อมล้ำตรงนี้จะยอมรับกันได้หรือไม่
คำถามที่สอง ศักยภาพของระบบประกันฯ เนื่องจากระบบประกันสุขภาพคือระบบการกระจายความเสี่ยง ยิ่งมีขนาดสมาชิกในระบบประกันมากเพียงใด ความสามารถในการรองรับภาระการเจ็บป่วยที่มีต้นทุนสูงมากแต่อุบัติการณ์ต่ำ ก็จะเป็นไปได้มากเพียงนั้น โรคที่มีต้นทุนการรักษาสูงแต่เกิดไม่บ่อย ย่อมจะสามารถจัดให้มีได้ในระบบประกันขนาดใหญ่ แต่ไม่สามารถจัดให้มีได้ในท้องถิ่นที่มีระบบประกันฯขนาดเล็ก
ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ากับการกระจายอำนาจ ไปด้วยกันได้หรือไม่
ตอนนี้มีกลุ่มบางกลุ่มพยายามผลักดันเรื่องการกระจายอำนาจ พยายามให้ท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทและการตัดสินใจที่มากขึ้นในงานบริการ ซึ่งงานบริการสุขภาพก็เป็นส่วนหนึ่งในนั้น
คำถามแรกก็คือระบบหลักประกันสุขภาพ ควรจะทำในระดับท้องถิ่นหรือในระดับชาติ ท้องถิ่นแต่ละแห่งสามารถมีระบบสิทธิประโยชน์แตกต่างกันไปตามสภาพเศรษฐกิจของแต่ละท้องที่ได้หรือไม่ ท้องถิ่นที่ร่ำรวยจะมีการรักษาพยาบาลที่ทันสมัยกว่า มียาและเวชภัณฑ์ที่ดีกว่าอีกท้องถิ่นที่มีรายได้ต่ำกว่าได้หรือไม่ ความเหลื่อมล้ำตรงนี้จะยอมรับกันได้หรือไม่
คำถามที่สอง ศักยภาพของระบบประกันฯ เนื่องจากระบบประกันสุขภาพคือระบบการกระจายความเสี่ยง ยิ่งมีขนาดสมาชิกในระบบประกันมากเพียงใด ความสามารถในการรองรับภาระการเจ็บป่วยที่มีต้นทุนสูงมากแต่อุบัติการณ์ต่ำ ก็จะเป็นไปได้มากเพียงนั้น โรคที่มีต้นทุนการรักษาสูงแต่เกิดไม่บ่อย ย่อมจะสามารถจัดให้มีได้ในระบบประกันขนาดใหญ่ แต่ไม่สามารถจัดให้มีได้ในท้องถิ่นที่มีระบบประกันฯขนาดเล็ก