ทำไม “Starlink” อาจไม่เหมาะกับประเทศไทย ?
ทำไม "Starlink" อาจไม่เหมาะกับประเทศไทย ?
“Starlink” โครงการอินเทอร์เน็ตดาวเทียมเชื่อมรอบโลกหนึ่งในบริการของ SpaceX ที่มี Elon Musk เป็นผู้ผลักดัน เปิดให้จองแล้วในราคาค่าบริการเริ่มต้นเพียง 99 เหรียญสหรัฐต่อเดือน หรือประมาณ 3,000 บาท
โดย “Starlink” วางแผนที่จะส่งดาวเทียมออกไปถึง 42,000 ดวง และตอนนี้ได้รับใบอนุญาตแล้ว 11,943 ดวง โดยคาดว่าภายในปี 2024 จะสามารถปล่อยดาวเทียมได้ 4,425 ดวง เพื่อช่วยให้อินเทอร์เน็ตคุณภาพเข้าถึงทุกพื้นที่ในราคาไม่แพง
ซึ่งบริการอินเทอร์เน็ตนี้ครอบครุมทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย แล้วบริการของสตาร์ลิ้งก์จะเหมาะกับประเทศไทยหรือเปล่า ? ค่าใช้จ่ายจะแพงมั้ย ? จะกระทบธุรกิจอะไรบ้าง ? พี่ทยุจะพาทุกคนไปหาคำตอบกัน..
จุดเริ่มต้นของ “Starlink”
บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมไม่ใช่ไอเดียใหม่ แต่ในอดีตนั้นติดเรื่องค่าใช้จ่ายในการส่งดาวเทียม และความเร็วอินเทอร์เน็ตที่อาจจะไม่คุ้มค่าในการลงทุน ทำให้ไอเดียการส่งดาวเทียมไปให้บริการอินเทอร์เน็ต นั้นไม่ได้เป็นที่นิยมเท่าไหร่
จนในปัจจุบันที่เทคโนโลยีพัฒนามาไกลทำให้ต้นทุนต่าง ๆ ลดลง ซึ่ง SpaceX เองมีข้อได้เปรียบในการปล่อยดาวเทียมสู่ชั้นบรรยากาศธุรกิจ และด้วยการโคจรที่ใกล้โลกมากขึ้น กับการใช้ดาวเทียมจำนวนมากในการรับส่งสัญญาณ ทำให้สตาร์ลิ้งก์มีความสามารถในการสร้างเครือข่ายรับส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตไปทั่วทุกมุมโลกได้
บริการอินเทอร์เน็ตดาวเทียมดียังไง ?
ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่เราใช้กันจะเป็นการเชื่อมต่อผ่าน Submarine Fiber Optic Cable หรือที่บ้านเราเรียกกันว่าสาย Fiber ซึ่งเป็นการส่งข้อมูลผ่านสายใยแก้ว โดยสายเหล่านี้จะมีการลากผ่านไปทั่วโลกเพื่อให้เราสามารถเชื่อมโยงกันรอบโลกนั่นเอง
แต่สายใยแก้วนี้ก็จะมีข้อจำกัดเพราะต้องมีการโยงลากสายไป ทำให้บางพื้นที่อาจติดข้อจำกัดและไม่สามารถลากสายหรือการสร้างจุดให้บริการอาจใช้ต้นทุนที่สูงเมื่อเทียบกับผู้ใช้บริการ ทำให้ปัจจุบันเราจะพบบริการเหล่านี้ได้ตามหัวเมืองหลัก หรือเมืองหลวงเป็นซะส่วนใหญ่
ใครที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ต Fiber ในไทยจะรู้ดีว่าก่อนที่จะขอใช้บริการอินเทอร์เน็ต Fiber นั้นต้องแจ้งผู้ให้บริการเพื่อทำการลากสาย Fiber เข้ามาในบ้านก่อน ซึ่งในบางพื้นที่ก็ไม่รองรับและไม่สามารถใช้บริการนี้ได้
และด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมนั้นจะสามารถทลายข้อจำกัดด้านพื้นที่ได้ ทำให้ผู้ใช้งานที่อยู่นอกพื้นที่ให้บริการของอินเทอร์เน็ต Fiber หรือไม่ว่าที่ไหนก็ตาม สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ด้วยข้อจำกัดที่น้อยกว่า
สามารถซื้อในไทยได้ไหม ?
ตอนนี้ทางสตาร์ลิ้งก์เอง เปิดให้ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถจองใช้บริการล่วงหน้าได้แล้ว โดยมีค่าใช้จ่ายในการจองอยู่ที่ 99 เหรียญสหรัฐ และสำหรับพื้นที่ในประเทศไทยนั้นคาดว่าจะครอบคลุมการใช้งานภายในปี 2022
และถึงแม้จะมีการประกาศว่าสิทธิ์นี้จะมีจำกัดก็ตาม แต่ราคานี้ยังไม่รวมถึงค่าเครื่องรับสัญญาณที่มีมูลค่าประมาณ 409 เหรียญสหรัฐหรือประมาณ 15,000 บาท และค่าบริการรายเดือนในอนาคตด้วย ที่ถูกตั้งไว้ 99 เหรียญสหรัฐต่อเดือน หรือประมาณเดือนละ 3,000 บาท ซึ่งหากเทียบกับอินเทอร์เน็ตในไทยแล้วถือเป็นราคาที่สูงพอสมควร
อีกทั้งไทยเองยังต้องการความชัดเจนต่าง ๆ รวมถึงการได้รับอนุมัติจากทางกสทช. ที่จะใช้บริการอินเทอร์เน็ตจากดาวเทียมต่างชาติอีกด้วย ดังนั้นสตาร์ลิ้งก์ในไทยอาจจะต้องรอความชัดเจนไปก่อนอีกซักระยะ พี่ทุยเลยมองว่าการจองตั้งแต่ตอนนี้อาจจะยังไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมเท่าไหร่
“Starlink” เหมาะกับประเทศไทยหรือไม่ ?
สำหรับพื้นที่ที่มีการใช้บริการอินเทอร์เน็ต Fiber ได้นั้น ตอบได้ทันที่เลยว่าการให้บริการอินเทอร์เน็ตในไทยผ่าน Fiber นั้นดีกว่า เพราะไทยมีอินเทอร์เน็ตที่มีความเร็วที่สูงและมีความเสถียรที่สูงเลยทีเดียว จนทำให้ติดอันดับ 1 ประเทศที่มีเน็ตบ้านเฉลี่ยเร็วที่สุดในโลกในการจัดอันดับของ OOKLA เลยทีเดียว ด้วยความเร็วเฉลี่ย 308.35 Mbps แซงหน้าประเทศสิงคโปร์และฮ่องกงเป็นที่เรียบร้อย
ถึงแม้สตาร์ลิ้งก์จะเป็นเทคโนโลยีใหม่และสามารถส่งสัญญาณครอบคลุมเป็นวงกว้างกว่า แต่ด้วยระยะทางที่ห่างจากโลกมาก กว่าทำให้การส่งสัญญาณอาจได้รับการรบกวนบ้าง ส่งผลให้ความเร็วและความเสถียรยังไม่สามารถสู้อินเทอร์เน็ตผ่านสาย Fiber โดยตรงได้
แต่สำหรับประสบการณ์ของผู้ใช้งานกลุ่มแรกในสหรัฐอเมริกานั้น ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าที่อยู่นอกพื้นที่การใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบ Fiber ให้ผลตอบรับบริการนี้ดีมาก ทั้งด้านความเร็วและความเสถียร ทำให้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตคุณภาพได้ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ห่างไกลตัวเมืองหรือที่ใดก็ตาม ซึ่งจะเหมาะกับพื้นที่ชนบทและนอกตัวเมืองสำคัญของไทยมากกว่า
ด้วยความที่อินเทอร์เน็ตในไทยนั้นมีคุณภาพติดอันดับต้น ๆ ของโลกอยู่แล้ว และการแข่งขันอันดุเดือดของผู้ให้บริการในไทยทำให้ พื้นที่ใช้งานของอินเทอร์เน็ต Fiber ในไทยนั้นค่อนข้างครอบคลุมพื้นที่สำคัญ ๆ ไว้อยู่แล้ว และด้วยค่าบริการอินเทอร์เน็ตในไทยที่ค่อนข้างถูกเมื่อเทียบค่าบริการของสตาร์ลิ้งก์ ดังนั้นกลุ่มลูกค้าของสตาร์ลิ้งก์ในไทย น่าจะเป็นกลุ่มที่อยู่นอกพื้นที่บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและต้องมีทุนทรัพย์ในระดับนึง
ธุรกิจอะไรในไทยที่จะได้รับผลกระทบ
ในอนาคตอันใกล้นี้สตาร์ลิ้งก์ในไทยยังถือเป็นเรื่องที่ใหม่และเร็วเกินไป ทั้งด้านความเข้าใจของผู้ใช้งานเองที่อาจจะยังเป็นเรื่องใหม่อยู่ รวมถึงการขออนุมัติจาก กสทช. เองที่ยังไม่ได้เริ่มอนุมัติการใช้งานสตาร์ลิ้งก์ในไทย อีกทั้งข้อจำกัดต่าง ๆ ในเรื่องของดินฟ้าอากาศ
แต่ในอนาคตเมื่อสตาร์ลิ้งก์มีการส่งดาวเทียมไปมากขึ้น มีความเสถียรของสัญญาณและพื้นที่การให้บริการมากขึ้น ก็อาจเป็นคู่แข่งคนสำคัญของกลุ่มสื่อสารในไทย เพราะถึงแม้จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าบริการอื่น ๆ ในไทย แต่ด้วยพื้นที่และระยะที่ครอบคลุมของดาวเทียมจะช่วยกลบจุดบอดของบริการอื่น ๆ ได้ เช่น ปัญหาเวลาไปต่างจังหวัดบางพื้นที่ไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่เสถียร หรือเข้าไปบางพื้นที่ไม่สามารถใช้สัญญาณโทรศัพท์ และด้วยเหตุผลนี้จึงอาจกลายเป็นคู่แข่งคนสำคัญของกลุ่มสื่อสารในอนาคต
ในทางกลับกันเราอาจจะได้เห็นการพัฒนาที่กว้างขวางขึ้นก็เป็นได้ เพราะการที่เราสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้จากทุกพื้นที่นั้น หมายถึงการถึงเข้าถึงข้อมูลและการกระจายตัวของความรู้อีกด้วย พื้นที่ห่างไกลตัวเมืองก็สามารถอัปเดตข้อมูลข่าวสารพัฒนาได้เท่าทันพื้นที่อื่น
ส่วนธุรกิจที่อาจได้อานิสงส์จากสตาร์ลิ้งก์คือ ธุรกิจท่องเที่ยว ทุกคนลองนึกภาพตามพี่ทุยดูนะ ว่าถ้าเราสามารถท่องเที่ยวไปด้วยและสามารถทำงานจากที่ไหนในมุมโลกก็ได้ เพียงมีตัวรับสัญญาณสตาร์ลิ้งก์เพียงตัวเดียว นักท่องเที่ยว หรือ นักธุรกิจต่างชาติ ก็สามารถเข้ามาใช้อินเทอร์เน็ตที่ไทยได้อย่างไม่มีปัญหา
สำหรับพี่ทุยแล้วสตาร์ลิ้งก์จะต้องเข้ามามีบทบาทในอนาคตของเราแน่นอน แต่สำหรับตอนนี้เทคโนโลยีนี้อาจจะเร็วเกินไปสำหรับหลาย ๆ คน ตอนนี้คงต้องรอให้ทุกอย่างชัดเจนและลงตัวก่อน พี่ทุยก็จะติดตามข่าวสารจากสตาร์ลิ้งก์ต่อไปเรื่อย ๆ เพื่อที่ศึกษาเรื่องผลกระทบและผลประโยชน์จากธุรกิจดี ๆ แบบนี้ และมาอัปเดตให้กับทุกคนได้อย่างเต็มที่ต่อไป..
ดาวเทียม Starlink ช่วยอินเทอร์เน็ตเก่งสุดในโลกทำไมไทยไม่เอา
ทำไม "Starlink" อาจไม่เหมาะกับประเทศไทย ?
“Starlink” โครงการอินเทอร์เน็ตดาวเทียมเชื่อมรอบโลกหนึ่งในบริการของ SpaceX ที่มี Elon Musk เป็นผู้ผลักดัน เปิดให้จองแล้วในราคาค่าบริการเริ่มต้นเพียง 99 เหรียญสหรัฐต่อเดือน หรือประมาณ 3,000 บาท
โดย “Starlink” วางแผนที่จะส่งดาวเทียมออกไปถึง 42,000 ดวง และตอนนี้ได้รับใบอนุญาตแล้ว 11,943 ดวง โดยคาดว่าภายในปี 2024 จะสามารถปล่อยดาวเทียมได้ 4,425 ดวง เพื่อช่วยให้อินเทอร์เน็ตคุณภาพเข้าถึงทุกพื้นที่ในราคาไม่แพง
ซึ่งบริการอินเทอร์เน็ตนี้ครอบครุมทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย แล้วบริการของสตาร์ลิ้งก์จะเหมาะกับประเทศไทยหรือเปล่า ? ค่าใช้จ่ายจะแพงมั้ย ? จะกระทบธุรกิจอะไรบ้าง ? พี่ทยุจะพาทุกคนไปหาคำตอบกัน..
จุดเริ่มต้นของ “Starlink”
บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมไม่ใช่ไอเดียใหม่ แต่ในอดีตนั้นติดเรื่องค่าใช้จ่ายในการส่งดาวเทียม และความเร็วอินเทอร์เน็ตที่อาจจะไม่คุ้มค่าในการลงทุน ทำให้ไอเดียการส่งดาวเทียมไปให้บริการอินเทอร์เน็ต นั้นไม่ได้เป็นที่นิยมเท่าไหร่
จนในปัจจุบันที่เทคโนโลยีพัฒนามาไกลทำให้ต้นทุนต่าง ๆ ลดลง ซึ่ง SpaceX เองมีข้อได้เปรียบในการปล่อยดาวเทียมสู่ชั้นบรรยากาศธุรกิจ และด้วยการโคจรที่ใกล้โลกมากขึ้น กับการใช้ดาวเทียมจำนวนมากในการรับส่งสัญญาณ ทำให้สตาร์ลิ้งก์มีความสามารถในการสร้างเครือข่ายรับส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตไปทั่วทุกมุมโลกได้
บริการอินเทอร์เน็ตดาวเทียมดียังไง ?
ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่เราใช้กันจะเป็นการเชื่อมต่อผ่าน Submarine Fiber Optic Cable หรือที่บ้านเราเรียกกันว่าสาย Fiber ซึ่งเป็นการส่งข้อมูลผ่านสายใยแก้ว โดยสายเหล่านี้จะมีการลากผ่านไปทั่วโลกเพื่อให้เราสามารถเชื่อมโยงกันรอบโลกนั่นเอง
แต่สายใยแก้วนี้ก็จะมีข้อจำกัดเพราะต้องมีการโยงลากสายไป ทำให้บางพื้นที่อาจติดข้อจำกัดและไม่สามารถลากสายหรือการสร้างจุดให้บริการอาจใช้ต้นทุนที่สูงเมื่อเทียบกับผู้ใช้บริการ ทำให้ปัจจุบันเราจะพบบริการเหล่านี้ได้ตามหัวเมืองหลัก หรือเมืองหลวงเป็นซะส่วนใหญ่
ใครที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ต Fiber ในไทยจะรู้ดีว่าก่อนที่จะขอใช้บริการอินเทอร์เน็ต Fiber นั้นต้องแจ้งผู้ให้บริการเพื่อทำการลากสาย Fiber เข้ามาในบ้านก่อน ซึ่งในบางพื้นที่ก็ไม่รองรับและไม่สามารถใช้บริการนี้ได้
และด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมนั้นจะสามารถทลายข้อจำกัดด้านพื้นที่ได้ ทำให้ผู้ใช้งานที่อยู่นอกพื้นที่ให้บริการของอินเทอร์เน็ต Fiber หรือไม่ว่าที่ไหนก็ตาม สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ด้วยข้อจำกัดที่น้อยกว่า
สามารถซื้อในไทยได้ไหม ?
ตอนนี้ทางสตาร์ลิ้งก์เอง เปิดให้ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถจองใช้บริการล่วงหน้าได้แล้ว โดยมีค่าใช้จ่ายในการจองอยู่ที่ 99 เหรียญสหรัฐ และสำหรับพื้นที่ในประเทศไทยนั้นคาดว่าจะครอบคลุมการใช้งานภายในปี 2022
และถึงแม้จะมีการประกาศว่าสิทธิ์นี้จะมีจำกัดก็ตาม แต่ราคานี้ยังไม่รวมถึงค่าเครื่องรับสัญญาณที่มีมูลค่าประมาณ 409 เหรียญสหรัฐหรือประมาณ 15,000 บาท และค่าบริการรายเดือนในอนาคตด้วย ที่ถูกตั้งไว้ 99 เหรียญสหรัฐต่อเดือน หรือประมาณเดือนละ 3,000 บาท ซึ่งหากเทียบกับอินเทอร์เน็ตในไทยแล้วถือเป็นราคาที่สูงพอสมควร
อีกทั้งไทยเองยังต้องการความชัดเจนต่าง ๆ รวมถึงการได้รับอนุมัติจากทางกสทช. ที่จะใช้บริการอินเทอร์เน็ตจากดาวเทียมต่างชาติอีกด้วย ดังนั้นสตาร์ลิ้งก์ในไทยอาจจะต้องรอความชัดเจนไปก่อนอีกซักระยะ พี่ทุยเลยมองว่าการจองตั้งแต่ตอนนี้อาจจะยังไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมเท่าไหร่
“Starlink” เหมาะกับประเทศไทยหรือไม่ ?
สำหรับพื้นที่ที่มีการใช้บริการอินเทอร์เน็ต Fiber ได้นั้น ตอบได้ทันที่เลยว่าการให้บริการอินเทอร์เน็ตในไทยผ่าน Fiber นั้นดีกว่า เพราะไทยมีอินเทอร์เน็ตที่มีความเร็วที่สูงและมีความเสถียรที่สูงเลยทีเดียว จนทำให้ติดอันดับ 1 ประเทศที่มีเน็ตบ้านเฉลี่ยเร็วที่สุดในโลกในการจัดอันดับของ OOKLA เลยทีเดียว ด้วยความเร็วเฉลี่ย 308.35 Mbps แซงหน้าประเทศสิงคโปร์และฮ่องกงเป็นที่เรียบร้อย
ถึงแม้สตาร์ลิ้งก์จะเป็นเทคโนโลยีใหม่และสามารถส่งสัญญาณครอบคลุมเป็นวงกว้างกว่า แต่ด้วยระยะทางที่ห่างจากโลกมาก กว่าทำให้การส่งสัญญาณอาจได้รับการรบกวนบ้าง ส่งผลให้ความเร็วและความเสถียรยังไม่สามารถสู้อินเทอร์เน็ตผ่านสาย Fiber โดยตรงได้
แต่สำหรับประสบการณ์ของผู้ใช้งานกลุ่มแรกในสหรัฐอเมริกานั้น ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าที่อยู่นอกพื้นที่การใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบ Fiber ให้ผลตอบรับบริการนี้ดีมาก ทั้งด้านความเร็วและความเสถียร ทำให้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตคุณภาพได้ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ห่างไกลตัวเมืองหรือที่ใดก็ตาม ซึ่งจะเหมาะกับพื้นที่ชนบทและนอกตัวเมืองสำคัญของไทยมากกว่า
ด้วยความที่อินเทอร์เน็ตในไทยนั้นมีคุณภาพติดอันดับต้น ๆ ของโลกอยู่แล้ว และการแข่งขันอันดุเดือดของผู้ให้บริการในไทยทำให้ พื้นที่ใช้งานของอินเทอร์เน็ต Fiber ในไทยนั้นค่อนข้างครอบคลุมพื้นที่สำคัญ ๆ ไว้อยู่แล้ว และด้วยค่าบริการอินเทอร์เน็ตในไทยที่ค่อนข้างถูกเมื่อเทียบค่าบริการของสตาร์ลิ้งก์ ดังนั้นกลุ่มลูกค้าของสตาร์ลิ้งก์ในไทย น่าจะเป็นกลุ่มที่อยู่นอกพื้นที่บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและต้องมีทุนทรัพย์ในระดับนึง
ธุรกิจอะไรในไทยที่จะได้รับผลกระทบ
ในอนาคตอันใกล้นี้สตาร์ลิ้งก์ในไทยยังถือเป็นเรื่องที่ใหม่และเร็วเกินไป ทั้งด้านความเข้าใจของผู้ใช้งานเองที่อาจจะยังเป็นเรื่องใหม่อยู่ รวมถึงการขออนุมัติจาก กสทช. เองที่ยังไม่ได้เริ่มอนุมัติการใช้งานสตาร์ลิ้งก์ในไทย อีกทั้งข้อจำกัดต่าง ๆ ในเรื่องของดินฟ้าอากาศ
แต่ในอนาคตเมื่อสตาร์ลิ้งก์มีการส่งดาวเทียมไปมากขึ้น มีความเสถียรของสัญญาณและพื้นที่การให้บริการมากขึ้น ก็อาจเป็นคู่แข่งคนสำคัญของกลุ่มสื่อสารในไทย เพราะถึงแม้จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าบริการอื่น ๆ ในไทย แต่ด้วยพื้นที่และระยะที่ครอบคลุมของดาวเทียมจะช่วยกลบจุดบอดของบริการอื่น ๆ ได้ เช่น ปัญหาเวลาไปต่างจังหวัดบางพื้นที่ไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่เสถียร หรือเข้าไปบางพื้นที่ไม่สามารถใช้สัญญาณโทรศัพท์ และด้วยเหตุผลนี้จึงอาจกลายเป็นคู่แข่งคนสำคัญของกลุ่มสื่อสารในอนาคต
ในทางกลับกันเราอาจจะได้เห็นการพัฒนาที่กว้างขวางขึ้นก็เป็นได้ เพราะการที่เราสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้จากทุกพื้นที่นั้น หมายถึงการถึงเข้าถึงข้อมูลและการกระจายตัวของความรู้อีกด้วย พื้นที่ห่างไกลตัวเมืองก็สามารถอัปเดตข้อมูลข่าวสารพัฒนาได้เท่าทันพื้นที่อื่น
ส่วนธุรกิจที่อาจได้อานิสงส์จากสตาร์ลิ้งก์คือ ธุรกิจท่องเที่ยว ทุกคนลองนึกภาพตามพี่ทุยดูนะ ว่าถ้าเราสามารถท่องเที่ยวไปด้วยและสามารถทำงานจากที่ไหนในมุมโลกก็ได้ เพียงมีตัวรับสัญญาณสตาร์ลิ้งก์เพียงตัวเดียว นักท่องเที่ยว หรือ นักธุรกิจต่างชาติ ก็สามารถเข้ามาใช้อินเทอร์เน็ตที่ไทยได้อย่างไม่มีปัญหา
สำหรับพี่ทุยแล้วสตาร์ลิ้งก์จะต้องเข้ามามีบทบาทในอนาคตของเราแน่นอน แต่สำหรับตอนนี้เทคโนโลยีนี้อาจจะเร็วเกินไปสำหรับหลาย ๆ คน ตอนนี้คงต้องรอให้ทุกอย่างชัดเจนและลงตัวก่อน พี่ทุยก็จะติดตามข่าวสารจากสตาร์ลิ้งก์ต่อไปเรื่อย ๆ เพื่อที่ศึกษาเรื่องผลกระทบและผลประโยชน์จากธุรกิจดี ๆ แบบนี้ และมาอัปเดตให้กับทุกคนได้อย่างเต็มที่ต่อไป..