ทำไมภาษาไทยถึงเรียก “เรื่องสั้น” กับเรื่องยาวครับ…

ตอนเด็ก เข้าใจมาตลอดว่าเรื่องสั้นคือเรื่องสั้น
สั้นที่มันแปลว่าสั้นจริงๆ เนื้อหาไม่เยอะมาก อาจจะแค่เท่านิทานก่อนนอนสักเรื่อง หรือไม่เกิน 3 เรื่อง
ตามความรู้สึกผม มันควรจะเช่นนั้น สำหรับผมคือ มันไม่น้อยไป แต่ก็ไม่มากไป กำลังดีสำหรับที่จะอ่าน

นิทานก่อนนอน เรื่องหนึ่ง มีคำเฉลี่ยที่ 150-300 คำ และไม่เกิน 500 คำ
แม้แต่นิทานชาดก ก็ไม่เกิน 500 คำนะ มันแค่ใช้ศัพท์อ่านยาก
ตามสไตล์พระพุทธศาสนา วิชาที่มีความหลากหลายทางอักษรไทยที่สุด
คำยาวๆ แต่ถ้าพิจารณาถึงแก่นแท้เนื้อความคือมันก็สั้นๆไม่ต่างกับนิทานทั่วไป

ที่ผมระบุไว้ว่าความยาวเท่านิทาน 3 เรื่อง เพราะ ความยาวไม่เกิน 900 คำ หรือแม้แต่เพดานเลยที่ 1,500 คำ
ผมว่ามันเป็นจำนวนคำที่โอเคมากๆนะ สำหรับโอกาสที่อยากอ่านอะไรสักอย่าง ว่างๆ หยิบมาอ่านแล้วจบได้ในเวลาไม่นาน
อ่านฆ่าเวลาแปปๆให้พอเพลินสมอง ในช่วงที่ไม่ได้มีเวลามากมาย 
ใช่ครับ ในสถานการณ์แบบนี้มันไม่ควรเกิน 1,500 คำ

คำจำกัดความที่ควรเป็นเลยคือ "อ่านจนจบได้ในเวลาไม่นาน และ จบภายในครั้งแรกที่เอามาอ่าน"
สังเกตุได้ว่าเวลาเราเจอบทความทางวิชาการต่างๆ ถ้าคำมันเกิน 1,200 คำ โดยประมาณ ก็จะมีคอมเม้นท์ว่า แชร์ก่อนไว้ว่างมาอ่าน กันแล้ว แต่สั้นกว่านี้ไม่มี

แต่เรื่องสั้น กลับเป็นเรื่องราวที่มีความยาวขั้นต่ำก็ 1,000 คำเข้าไปแล้ว
และก็มากได้ถึง 10,000-15,000 คำ และเพดานคือ 30,000 คำ

โอ้โห สั้นตรงไหนไม่ทราบครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่