ไม่บ่อยครั้งที่เราจะได้เห็นภาพยนตร์หรืออนิเมชั่นที่บอกเล่าเรื่องราวของเบื้องหลังการสร้างภาพยนตร์ชนิดที่ว่าละเอียดยิบทุกขั้นตอน รวมไปถึงวิธีคิดในหัวของผู้สร้าง ปัญหาต่างๆที่ต้องเจอ กว่าจะสำเร็จออกมาเป็นภาพยนตร์สักหนึ่งเรื่องนั้น ไม่มีคำว่าง่ายเลยจริงๆ นี่คือสิ่งที่ Pompo: The Cinéphile หรือในชื่อไทย "ปอมโปะ ทีมป่วนก๊วนทำหนัง" ถ่ายทอดออกมาตลอดเวลา 90 นาที
เรื่องราวทั้งหมดเกิดขึ้น ณ เมืองหลวงแห่งภาพยนตร์ “Nyallwood” อันเป็นแหล่งรวมของเหล่ายอดฝีมือผู้คร่ำหวอดในวงการภาพยนตร์และเหล่าคนที่แสวงหาความฝันอันยิ่งใหญ่ "คุณปอมโปะ" โปรดิวเซอร์ผู้มากความสามารถหลานสาวของผู้กำกับชื่อดังแห่งยุค ที่ถนัดในการสร้างภาพยนตร์เกรด B ขายความเซ็กซี่ ได้เล็งเห็นความสามารถของ “จีน ฟีนิ” ผู้ช่วยของเธอที่มีพรสวรรค์ซ่อนอยู่ วันหนึ่งคุณปอมโปะจึงได้มอบหมายให้จีน รับหน้าที่เป็นผู้กำกับให้กับหนังเรื่องใหม่ที่เธอจะสร้าง ร่วมกับทีมงานที่มีทั้งนักแสดงหน้าใหม่ใสซื่อ "นาตาลี" ที่ทิ้งบ้านเกิดเพื่อมาเป็นนักแสดงใน Nyallwood หรือจะเป็นนักแสดงรุ่นเก๋าที่คว้ารางวัลมาแล้วมากมายอย่าง "มาร์ติน" งานนี้จีนที่เพิ่งรับหน้าที่เป็นผู้กำกับครั้งแรกจึงต้องงัดศักยภาพทุกอย่างของตัวเองออกมาเพื่อสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ให้สำเร็จให้ได้!!
ตัวละครหลัก
Joelle Davidovich Pomponette หรือคุณปอมโปะ (CV: Konomi Kohara)
Gene Fini จีน ฟินิ (CV: Hiroya Shimizu)
Nathalie Woodward นาตาลี วูดวาร์ด (CV: Rinka Ootani)
Martin Braddock มาร์ติน แบรดด็อก (CV: Akio Ootsuka)
Mystia มิสเทีย (CV: Ai Kakuma)
การเล่าเรื่องในช่วงเปิดเรื่อง Pompo: The Cinéphile ก็เล่นท่าใส่คนดูด้วยการใช้เทคนิคการตัดต่อแบบไม่เรียงช่วงเวลา มีการข้ามไปข้ามมาระหว่างเหตุการณ์ของตัวละคร ซึ่งอาจจะทำให้ใครหลายคนสับสน แต่นั่นก็เป็นแค่ช่วงแรกๆ เท่านั้น เมื่อผ่านไปสักพักหนังก็กลับมาใช้สูตรการเล่าเรื่องแบบปกติเป็นเส้นตรงอย่างที่เราคุ้นเคย แล้วก็กระตุ้นเรื่องด้วยจุดวิกฤติ(หนังจะสร้างได้ทันเส้นตายหรือไม่)ในตอนท้าย
ในส่วนของเนื้อเรื่องหากแม้จะเป็นเรื่องราวเบื้องหลังการสร้างภาพยนตร์แต่เนื้อเรื่องก็ไม่ได้เป็นแนวสารคดีน่าเบื่อ มีแต่ตัวละครพูดศัพท์ทางเทคนิคโชว์ความรู้แต่อย่างใด กลับกันมันคือภาษาที่คุยกันง่ายมาก ทุกคนสามารถเข้าใจได้แน่นอน
กระบวนการสร้างภาพยนตร์ในเรื่องจะเน้นไปที่งานถ่ายทำ(Production) และงานตัดต่อ(Post Production) ซึ่งเป็นส่วนที่ผู้กำกับรับผิดชอบมากที่สุด เพราะฉะนั้นเกือบตลอดทั้งเรื่อง คนดูสัมผัสถึงความคิดในหัวของ ผกก.จีน ทั้งเรื่องการเลือกใช้มุมกล้อง การถ่ายภาพ แม้กระทั่งการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า (ถ้าฝนตกจะทำอย่างไร ถ่ายต่อไหม? หรือแก้บทหน้ากล้องเลย) การรับมือกับความคิดเห็นของคนอื่นในกองถ่าย และในส่วนของงานตัดต่อก็เป็นส่วนที่ตัวหนังเน้นด้วยเช่นกัน ทั้งเรื่องว่าจะตัดแบบไหน หนังจะยาวไปรึเปล่า ถ้ายาวไปทำอย่างไร เอาฉากไหนขึ้นก่อน ตัดรับหน้าตัวละครตอนไหน ฯลฯ ซึ่งดูไปแล้วก็ปวดหัวแทนจริงๆ (ฮ่าๆ)
เรื่องของการตลาดก็สำคัญไม่แพ้กัน คุณปอมโปะ ที่รับหน้าที่เป็นโปรดิวเซอร์ ตัวหนังก็ได้เผยถึงความลำบากของเธอที่ต้องรับผิดชอบเรื่องตัวเลข งบประมาณต่างๆ (สปอยเล็กน้อย) ในช่วงตัดต่อ ผกก.จีน รู้สึกว่าเขาจะต้องถ่ายซ่อมบางฉากเพื่อความสมบูรณ์ ตรงนี้เองเราก็จะเห็นว่า แม้จะเป็นตัวละครน่ารักสดใสมาตลอด ตามใจผกก.จีนทุกอย่าง แต่ครั้งนี้คุณปอมโปะก็ถึงกับตกที่นั่งลำบาก เพราะการถ่ายซ่อมนั้นต้องใช้งบประมาณสูงมาก ทั้งต้องรวบรวมทีมงานเดิม ที่ตอนนี้ก็แยกย้ายกันไปทำงานเรื่องอื่นๆกันหมดแล้ว ไหนจะติดเรื่องคิวนักแสดง หรือมีผลต่อภาพลักษณ์ของหนังอีก สปอนเซอร์ก็อาจจะถอนตัวได้(หากตัวหนังเสร็จไม่ทันกำหนด) เรียกว่าเป็นปัญหาใหญ่มากๆ และเมื่อไม่มีงบขนาดนั้น สิ่งที่คุณปอมโปะทำได้คือการระดมทุนจากที่ต่างๆ จุดนี้ที่ทำให้เราสัมผัสความเป็นอนิเมะแนวโชเน็น(พลังวัยรุ่น) กับการลุ้นว่าตัวหนังจะได้ทุนมาถ่ายซ่อมได้รึเปล่า ตัวละครสำคัญที่มีส่วนอย่างมาก คือ เพื่อนสมัยเรียนของ จีน ฟินิ ที่ตอนนี้กลายเป็นผู้ดูแลสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ ซึ่งเขาเองก็มีความฝันในการทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่เหมือนกับจีนด้วย
สิ่งที่รู้สึกว่าอนิเมชั่นเรื่องนี้ทำได้ดี คือ การที่ตัวหนังใช้ความเป็นอนิเมชั่นได้สมบูรณ์แบบ โดยการสามารถสื่อสารภาพในหัวของตัวละครให้เป็นจริงได้ อย่างเช่น ฉากการตัดวิดีโอ หนังสื่อสารโดยใช้ภาพของตัวละครจีนถือดาบแล้วฟันม้วนฟิล์มจริงๆ เลย (ตัดกันจะๆ) หรือการเล่นจังหวะเปลี่ยนฉากที่แปลกใหม่และแหวกแนวก็ดูน่าตื่นตาไม่น้อย
ทางด้านงานภาพต้องบอกว่า แม้ CLAP Studio จะเพิ่งมีผลงานเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สอง (ถัดจาก Kono Sekai no Tanoshimikata) แต่ก็มีคุณภาพการผลิตนั้นที่อยู่เหนือมาตรฐาน ทั้งเรื่องตัวละคร การเคลื่อนไหว รายละเอียดของสิ่งของ ฉากหลัง และแสงสีของเมือง Nyallwood เรียกว่าไม่แพ้งานรุ่นพี่อย่าง Your Name ของชินไค มาโคโตะ เลยแม้แต่น้อย
สิ่งที่ชอบอีกอย่าง คือ การล้อเลียน Hollywood ของตัวหนัง ความน่ารักของการที่เอาความเป็นญี่ปุ่นไปใส่ในวัฒนธรรมของชาติตะวันตกเป็นสิ่งที่ทำให้เราอมยิ้มได้ตลอดทั้งเรื่องจริงๆ ซึ่งตัวละครอย่าง จีน และนาตาลี ก็เป็นตัวละครที่เราพบเห็นได้ทั่วไปในอนิเมะของญี่ปุ่น ทั้งความขี้อาย ไม่มั่นใจในตัวเอง การต่อสู้กับชีวิตและโชคชะตาต่อความฝัน
สรุป Pompo: The Cinéphile หรือ ปอมโปะ ทีมป่วนก๊วนทำหนัง เป็นอนิเมชั่นที่อัดแน่นไปด้วยจิตวิญญาณของคนทำหนัง ว่ากว่าจะมาเป็นภาพยนตร์สักเรื่องต้องฟันฝ่าอุปสรรคอะไรบ้าง ด้วยการเล่าเรื่องที่สนุกเป็นมิตรต่อผู้ชมและภาพที่งดงาม ตัวละครน่ารักน่าชม ทำให้สามารถเข้าไปอยู่ในใจของคนดูและอาจจะเปลี่ยนทัศนะคติของใครหลายคนที่มีต่อภาพยนตร์ไปเลยก็ได้
ฝากเพจ
Story Decoder ด้วยนะครับ อัพบ้างเป็นบางครั้ง 555
รีวิว Pompo: The Cinéphile : เปิดมุมมองคนทำหนังผ่านอนิเมชั่นสไตล์ญี่ปุ่น
เรื่องราวทั้งหมดเกิดขึ้น ณ เมืองหลวงแห่งภาพยนตร์ “Nyallwood” อันเป็นแหล่งรวมของเหล่ายอดฝีมือผู้คร่ำหวอดในวงการภาพยนตร์และเหล่าคนที่แสวงหาความฝันอันยิ่งใหญ่ "คุณปอมโปะ" โปรดิวเซอร์ผู้มากความสามารถหลานสาวของผู้กำกับชื่อดังแห่งยุค ที่ถนัดในการสร้างภาพยนตร์เกรด B ขายความเซ็กซี่ ได้เล็งเห็นความสามารถของ “จีน ฟีนิ” ผู้ช่วยของเธอที่มีพรสวรรค์ซ่อนอยู่ วันหนึ่งคุณปอมโปะจึงได้มอบหมายให้จีน รับหน้าที่เป็นผู้กำกับให้กับหนังเรื่องใหม่ที่เธอจะสร้าง ร่วมกับทีมงานที่มีทั้งนักแสดงหน้าใหม่ใสซื่อ "นาตาลี" ที่ทิ้งบ้านเกิดเพื่อมาเป็นนักแสดงใน Nyallwood หรือจะเป็นนักแสดงรุ่นเก๋าที่คว้ารางวัลมาแล้วมากมายอย่าง "มาร์ติน" งานนี้จีนที่เพิ่งรับหน้าที่เป็นผู้กำกับครั้งแรกจึงต้องงัดศักยภาพทุกอย่างของตัวเองออกมาเพื่อสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ให้สำเร็จให้ได้!!
ตัวละครหลัก
Joelle Davidovich Pomponette หรือคุณปอมโปะ (CV: Konomi Kohara)
Gene Fini จีน ฟินิ (CV: Hiroya Shimizu)
Nathalie Woodward นาตาลี วูดวาร์ด (CV: Rinka Ootani)
Martin Braddock มาร์ติน แบรดด็อก (CV: Akio Ootsuka)
Mystia มิสเทีย (CV: Ai Kakuma)
การเล่าเรื่องในช่วงเปิดเรื่อง Pompo: The Cinéphile ก็เล่นท่าใส่คนดูด้วยการใช้เทคนิคการตัดต่อแบบไม่เรียงช่วงเวลา มีการข้ามไปข้ามมาระหว่างเหตุการณ์ของตัวละคร ซึ่งอาจจะทำให้ใครหลายคนสับสน แต่นั่นก็เป็นแค่ช่วงแรกๆ เท่านั้น เมื่อผ่านไปสักพักหนังก็กลับมาใช้สูตรการเล่าเรื่องแบบปกติเป็นเส้นตรงอย่างที่เราคุ้นเคย แล้วก็กระตุ้นเรื่องด้วยจุดวิกฤติ(หนังจะสร้างได้ทันเส้นตายหรือไม่)ในตอนท้าย
ในส่วนของเนื้อเรื่องหากแม้จะเป็นเรื่องราวเบื้องหลังการสร้างภาพยนตร์แต่เนื้อเรื่องก็ไม่ได้เป็นแนวสารคดีน่าเบื่อ มีแต่ตัวละครพูดศัพท์ทางเทคนิคโชว์ความรู้แต่อย่างใด กลับกันมันคือภาษาที่คุยกันง่ายมาก ทุกคนสามารถเข้าใจได้แน่นอน
กระบวนการสร้างภาพยนตร์ในเรื่องจะเน้นไปที่งานถ่ายทำ(Production) และงานตัดต่อ(Post Production) ซึ่งเป็นส่วนที่ผู้กำกับรับผิดชอบมากที่สุด เพราะฉะนั้นเกือบตลอดทั้งเรื่อง คนดูสัมผัสถึงความคิดในหัวของ ผกก.จีน ทั้งเรื่องการเลือกใช้มุมกล้อง การถ่ายภาพ แม้กระทั่งการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า (ถ้าฝนตกจะทำอย่างไร ถ่ายต่อไหม? หรือแก้บทหน้ากล้องเลย) การรับมือกับความคิดเห็นของคนอื่นในกองถ่าย และในส่วนของงานตัดต่อก็เป็นส่วนที่ตัวหนังเน้นด้วยเช่นกัน ทั้งเรื่องว่าจะตัดแบบไหน หนังจะยาวไปรึเปล่า ถ้ายาวไปทำอย่างไร เอาฉากไหนขึ้นก่อน ตัดรับหน้าตัวละครตอนไหน ฯลฯ ซึ่งดูไปแล้วก็ปวดหัวแทนจริงๆ (ฮ่าๆ)
เรื่องของการตลาดก็สำคัญไม่แพ้กัน คุณปอมโปะ ที่รับหน้าที่เป็นโปรดิวเซอร์ ตัวหนังก็ได้เผยถึงความลำบากของเธอที่ต้องรับผิดชอบเรื่องตัวเลข งบประมาณต่างๆ (สปอยเล็กน้อย) ในช่วงตัดต่อ ผกก.จีน รู้สึกว่าเขาจะต้องถ่ายซ่อมบางฉากเพื่อความสมบูรณ์ ตรงนี้เองเราก็จะเห็นว่า แม้จะเป็นตัวละครน่ารักสดใสมาตลอด ตามใจผกก.จีนทุกอย่าง แต่ครั้งนี้คุณปอมโปะก็ถึงกับตกที่นั่งลำบาก เพราะการถ่ายซ่อมนั้นต้องใช้งบประมาณสูงมาก ทั้งต้องรวบรวมทีมงานเดิม ที่ตอนนี้ก็แยกย้ายกันไปทำงานเรื่องอื่นๆกันหมดแล้ว ไหนจะติดเรื่องคิวนักแสดง หรือมีผลต่อภาพลักษณ์ของหนังอีก สปอนเซอร์ก็อาจจะถอนตัวได้(หากตัวหนังเสร็จไม่ทันกำหนด) เรียกว่าเป็นปัญหาใหญ่มากๆ และเมื่อไม่มีงบขนาดนั้น สิ่งที่คุณปอมโปะทำได้คือการระดมทุนจากที่ต่างๆ จุดนี้ที่ทำให้เราสัมผัสความเป็นอนิเมะแนวโชเน็น(พลังวัยรุ่น) กับการลุ้นว่าตัวหนังจะได้ทุนมาถ่ายซ่อมได้รึเปล่า ตัวละครสำคัญที่มีส่วนอย่างมาก คือ เพื่อนสมัยเรียนของ จีน ฟินิ ที่ตอนนี้กลายเป็นผู้ดูแลสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ ซึ่งเขาเองก็มีความฝันในการทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่เหมือนกับจีนด้วย
สิ่งที่รู้สึกว่าอนิเมชั่นเรื่องนี้ทำได้ดี คือ การที่ตัวหนังใช้ความเป็นอนิเมชั่นได้สมบูรณ์แบบ โดยการสามารถสื่อสารภาพในหัวของตัวละครให้เป็นจริงได้ อย่างเช่น ฉากการตัดวิดีโอ หนังสื่อสารโดยใช้ภาพของตัวละครจีนถือดาบแล้วฟันม้วนฟิล์มจริงๆ เลย (ตัดกันจะๆ) หรือการเล่นจังหวะเปลี่ยนฉากที่แปลกใหม่และแหวกแนวก็ดูน่าตื่นตาไม่น้อย
ทางด้านงานภาพต้องบอกว่า แม้ CLAP Studio จะเพิ่งมีผลงานเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สอง (ถัดจาก Kono Sekai no Tanoshimikata) แต่ก็มีคุณภาพการผลิตนั้นที่อยู่เหนือมาตรฐาน ทั้งเรื่องตัวละคร การเคลื่อนไหว รายละเอียดของสิ่งของ ฉากหลัง และแสงสีของเมือง Nyallwood เรียกว่าไม่แพ้งานรุ่นพี่อย่าง Your Name ของชินไค มาโคโตะ เลยแม้แต่น้อย
สิ่งที่ชอบอีกอย่าง คือ การล้อเลียน Hollywood ของตัวหนัง ความน่ารักของการที่เอาความเป็นญี่ปุ่นไปใส่ในวัฒนธรรมของชาติตะวันตกเป็นสิ่งที่ทำให้เราอมยิ้มได้ตลอดทั้งเรื่องจริงๆ ซึ่งตัวละครอย่าง จีน และนาตาลี ก็เป็นตัวละครที่เราพบเห็นได้ทั่วไปในอนิเมะของญี่ปุ่น ทั้งความขี้อาย ไม่มั่นใจในตัวเอง การต่อสู้กับชีวิตและโชคชะตาต่อความฝัน
สรุป Pompo: The Cinéphile หรือ ปอมโปะ ทีมป่วนก๊วนทำหนัง เป็นอนิเมชั่นที่อัดแน่นไปด้วยจิตวิญญาณของคนทำหนัง ว่ากว่าจะมาเป็นภาพยนตร์สักเรื่องต้องฟันฝ่าอุปสรรคอะไรบ้าง ด้วยการเล่าเรื่องที่สนุกเป็นมิตรต่อผู้ชมและภาพที่งดงาม ตัวละครน่ารักน่าชม ทำให้สามารถเข้าไปอยู่ในใจของคนดูและอาจจะเปลี่ยนทัศนะคติของใครหลายคนที่มีต่อภาพยนตร์ไปเลยก็ได้
ฝากเพจ Story Decoder ด้วยนะครับ อัพบ้างเป็นบางครั้ง 555