ดุสิตโพลห่วงสงครามรัสเซีย – ยูเครน ทำไทยค่าครองชีพสูง
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_305251/
สวนดุสิตโพล คนห่วงสงครามรัสซีย – ยูเครน ไทยกระทบหนักน้ำมันแพง ค่าครองชีพสูง แนะรัฐควรมีบทบาทเตรียมพร้อมรับมือผลกระทบ
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,143 คน ระหว่างวันที่ 7-10 มีนาคม 2565พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่สนใจติดตามข่าวสงคราม รัสเซีย-ยูเครน โดย ร้อยละ 52.40 ระบุว่า ค่อนข้างสนใจ รองลงมา ร้อยละ 30.71 ระบุว่า สนใจมาก ร้อยละ13.04 ระบุว่า ไม่ค่อยสนใจ
ขณะที่ร้อยละ 84.89ระบุว่า ติดตามข่าวจากสื่อโซเชียลมากที่สุด (ไลน์ เฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ ยูทูปฯลฯ) รองลงมาคือร้อยละ 59.40 ระบุว่า โทรทัศน์ ร้อยละ 34.36 ระบุว่า เว็บไซต์สำนักข่าว
โดยร้อยละ 53.81 ระบุว่า ค่อนข้างรู้สึกกังวลเกี่ยวกับ สงคราม รัสเซีย-ยูเครน รองลงมา ร้อยละ 21.34 ระบุว่า กังวลมาก ร้อยละ 19.95 ระบุว่า ไม่ค่อยกังวล
ด้านผลกระทบต่อประเทศไทย ร้อยละ 88.32 ระบุว่า น้ำมันแพงขึ้น รองงมา ร้อยละ 63.39 ระบุว่า ค่าครองชีพสูงขึ้น สินค้าแพงขึ้น ร้อยละ 51.19ระบุว่า ราคาทองคำผันผวน
ทั้งนี้ ร้อยละ 75.40 มองว่า ไทยควรมีบทบาทต่อสงครามครั้งนี้ด้วยการเตรียมพร้อมรับมือจากผลกระทบที่เกิดขึ้น รองลงมา ร้อยละ 66.78 ระบุว่า แสดงความห่วงใยต่อผู้ที่กำลังตกอยู่ในภาวะสงคราม ร้อยละ 56.33 ระบุว่า วางตัวให้เหมาะสม เป็นกลาง
ขณะที่ร้อยละ 57.46 มองว่าทางออกคือ ผู้นำของทั้ง 2 ประเทศควรเจรจาตกลงกันอีกครั้ง รองงมาร้อยละ53.93 ระบุว่า ถอยกันคนละก้าว คำนึงถึงประชาชนเป็นหลัก ร้อยละ 52.69 ระบุว่า แก้ปัญหาด้วยสันติวิธี ไม่ใช้ความรุนแรง
และจากกรณี ประเทศไทยร่วมโหวตเห็นด้วยให้รัสเซียถอนทัพจากยูเครนนั้น ร้อยละ 56.59 มองว่าอยากให้สงครามจบลงโดยเร็ว รองลงมา ร้อยละ 51.46 ระบุ เหมาะสม เป็นไปตามหลักมนุษยธรรม ร้อยละ 50.40 ระบุว่า เป็นการแสดงบทบาทที่ดีในเวทีโลก
ห่วงสินค้าแพง “หอการค้า” ถก “พาณิชย์” รับมือวัตถุดิบขาดหลังวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน
https://www.prachachat.net/economy/news-885330
‘สนั่น’นำทัพ หอการค้าถก ‘พาณิชย์’ รับมือวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน ยอมรับห่วงราคาสินค้าแพง หลังต้นทุนพุ่ง ‘ธัญพืช-ปุ๋ย-เหล็ก-ยาง’ ขึ้นราคา หวั่นสถานการณ์ยืดเยื้อกระทบขาดแคลนวัตถุดิบ – ค่าขนส่งทุบซ้ำอีก เตือนเอกชนบริหารต้นทุน-วางแผนสำรองรอบคอบ
วันที่ 13 มีนาคม 2565 นาย
สนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ”ว่า ในสัปดาห์หน้า คณะทำงานมาติดตามสถานการณ์วิกฤตรัสเซีย-ยูเครน หอการค้าไทย จะประชุมกระทรวงพาณิชย์เพื่อติดตามและประเมินสถานการณ์ล่าสุด หลังจากนั้นจะมีการทยอยพบและหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
โดยหอการค้าไทยได้ติดตามสถานการณ์ขณะนี้พบว่า ต้นทุนราคาสินค้าที่จะสูงขึ้นเนื่องจากสถานการณ์ความขัดแย้งนี้ เช่น สินค้าประเภทธัญพืชต่าง ๆ ทั้ง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวสาลี เมล็ดทานตะวัน เป็นต้น ซึ่งนอกจากราคาที่จะสูงขึ้นแล้ว อาจประสบกับภาวะขาดแคลน สิ่งเหล่านี้จะกระทบกับต้นทุนสินค้าอาหาร
นอกจากนั้น วัตถุดิบจำพวกสินแร่ต่าง ๆ (Rare Earth) อาจจะกระทบกับการผลิตแผงวงจรไฟฟ้า และการผลิตชิป และอาจทำให้ต้นทุนการนำเข้าของบางสินค้ากระทบด้วย ซึ่งเอกชนต้องวางแผนบริหารจัดการต้นทุนอย่างรอบคอบ
“สิ่งที่กังวลอยู่ในขณะนี้ คือเรื่องราคาปุ๋ยที่จะแพงขึ้น เพราะไทยนำเข้าปุ๋ยประมาณ 5 ล้านตันต่อปี หากราคาปุ๋ยมีราคาสูงขึ้น เกษตรกรก็จะใส่น้อยลง ผลผลิตก็จะน้อยลงตามไปด้วย อันหมายถึงรายได้ของเกษตรกรที่จะหายไป ซึ่งปัญหานี้คาดว่าจะเกิดขึ้นอีกไม่นาน”
ขณะเดียวกัน หอการค้าฯ ประเมินว่า สินค้าที่จะปรับราคาสูงขึ้น จะเป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับ รัสเซีย ยูเครน เช่น เหล็ก ผลิตภัณฑ์ยาง สินแร่ต่าง ๆ สินค้าเหล่านี้เป็นวัตถุดิบที่นำมาต่อยอดในอุตสาหกรรมจำนวนมาก รวมไปถึงข้าวสาลี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เมล็ดทานตะวัน และธัญพืชต่าง ๆ นอกจากนั้น สินค้าที่ไทยนำเข้าจากยุโรป ก็จะมีราคาสูงขึ้น เนื่องจากผลพวงของราคาพลังงานที่ยุโรปนำเข้าจากรัสเซีย
“ราคาอาหาร เป็นสิ่งที่น่ากังวล เพราะนอกจากต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้นแล้ว ยังได้รับผลกระทบมาจากราคาอาหารสัตว์ที่สูงขึ้น ส่งผลให้เนื้อสัตว์มีราคาแพงตามอีกด้วย และที่สำคัญคือสินค้าที่กระทบกับพลังงานที่ราคาสูงขึ้น ทั้งโดยตรงและที่เกี่ยวเนื่องกับค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น (Logistics Cost)”
อย่างไรก็ตาม ต้นทุนหลาย ๆ อย่างที่เพิ่มขึ้น เกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ ดังนั้น ต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมควบคุมปริมาณการผลิตให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จะได้ไม่เป็นการแบกรับต้นทุนจนเกินกำลัง
“ขอให้ประชาชนและภาคเอกชน เตรียมตัวคือรับมือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นยืดเยื้อ ซึ่งเชื่อว่า ภาครัฐคงจะช่วยพยุงสถานการณ์ไม่ได้นานหากเหตุการณ์ยืดเยื้อ ซึ่งก็ไม่ควรไปฝืนราคาตลาดโลกนานมากเกินไป ดังนั้น แต่ละท่านควรมีแผนสำรอง เพื่อให้สามารถเดินหน้าธุรกิจต่อไปได้ และควรระมัดระวังเรื่องการลงทุนเพิ่มเติม โดยต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และเห็นด้วยกับภาครัฐที่ ส่งเสริมให้ประชาชนประหยัดพลังงาน”
จีนยึดโควิดเป็นศูนย์ทำท่าจะไม่ไหว ประชาชนเริ่มหงุดหงิด
https://www.posttoday.com/world/677979
โลกเริ่มอยู่กับโควิด แต่จีนเจอระบาดหนักสุดรอบ 2 ปี ไล่นายกเทศมนตรี 2 คน สั่งปิดเมืองใหญ่ ผู้คนเริ่มหวั่นไหว และไล่ข้าราชการออกไม่ช่วยอะไร
1. ณ วันที่ 13 มี.ค. สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่าจีนรายงานผู้ป่วยโควิด-19 ได้รับการยืนยันรายใหม่ 1,938 รายในวันที่ 12 มีนาคม หน่วยงานด้านสุขภาพแห่งชาติของประเทศกล่าวเมื่อวันอาทิตย์ว่าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 588 ในวันก่อนหน้า เป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในรอบ 2 ปีของการระบาดในจีน โดยมณฑลจี๋หลินทางตะวันออกเฉียงเหนือรายงานผู้ป่วยในพื้นที่ 1,412 ราย มณฑลซานตงทางเหนือมี 175 ราย และมณฑลกวางตุ้งทางใต้รายงาน 62 ราย
2. แต่วิธีการแก้ปัญหาของจีนยังยึดมั่นกับนโยบาย
"โควิดเป็นศูนย์" หรือ
“dynamic zero” นั่นคือการกำจัดการติดเชื้อให้หมดโดยเร็ว ทำการทุ่มทรัพยากรและกำลังคนในการติดตามการติดเชื้อ ซึ่งวิธีนี้มีประสิทธิภาพกับเชื้อเดลตา แต่มันอาจจะไม่ได้ผลกับโอเมกา วึ่งติดเชื้อได้ง่ายแต่อาการไม่รุนแรง จนทำให้หลายประเทศเริ่มใช้โนบายเปลี่ยนผ่านไปสู่ภาวะโรคประจำถิ่นแล้ว รวมถึงประเทศไทย
3. จีนยังใช้วิธี
"เชือดไก่ให้ลิงดู" ด้วยการไล่ข้าราชการระดับสูงของพื้นที่ที่มีการระบาดหนักๆ ออกไป ซึ่งเคยใช้มาแล้วเมื่อปีที่แล้ว ล่าสุด เมื่อเกิดการระบาดอย่างรวดเร็งครั้งใหญ่จีนยังบใช้วิธีการเดิม แต่คราวนี้ไล่นายกเทศมนตรีของเมืองที่เกิดการระบาดหนักรวดเดียวถึง 2 คน คือ นายกเทศมนตรีเมืองจี๋หลินและเขตจิ่วไถของเมืองฉางชุน ต่างก็ถูกไล่ออก สำนักข่าวซินหัวของรัฐประกาศเมื่อวันเสาร์ โดยไม่ได้ระบุแน่ชัดว่าการไล่ออกจ้างเกิดขึ้นเมื่อใด โดยทั้งสองแห่งมีการระบาดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
4. ฉางชุน ซึ่งมีประชากร 9 ล้านคน ถูกล็อกดาวน์บางส่วนเมื่อวันศุกร์ โดยแต่ละครัวเรือนอนุญาตให้ส่งสมาชิกเพียงคนเดียวเพื่อซื้อเสบียงวันเว้นวัน เมืองจี๋หลินซึ่งมีผู้ป่วยมากกว่า 1,000 รายในช่วง 10 วันที่ผ่านมา มีการระบาดอย่างต่อเนื่องที่มหาวิทยาลัยเกษตรในท้องถิ่น
4. สัญญาณหนึ่งที่แสดงว่าจีนเริ่มจะไม่ไหวกับการใช้ทรัพยากรบุคคลในกระบวนการตรวจสอบอยา่งมากตามนโยบายโควิดเป็นศูนย์คือ เมื่อวันที่ 12 มี.ค. จีนได้อนุมัติชุดแอนติเจนสำหรับไวรัสโควิด-19 จำนวน 5 ชุดที่ผลิตโดยบริษัทในท้องถิ่นเพื่อให้ประชาชนใช้ในการทดสอบตัวเอง สถานีโทรทัศน์ CCTV ของรัฐกล่าวเมื่อวันเสาร์
5. การอนุมัติมีขึ้นหลังจากหน่วยงานกำกับดูแลด้านสุขภาพของประเทศเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมากล่าวว่าจะอนุญาตให้ประชาชนทั่วไปซื้อชุดทดสอบแอนติเจนไวรัสโควิด-19 ในร้านค้าและทางออนไลน์เป็นครั้งแรก หลังจากที่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ในเมืองต่างๆ ของจีนเป็นฝ่ายทำหน้าที่เช็ดจมูกและลำคอประชาชนหลายแสนรายการให้เสร็จภายในไม่กี่วันหลังจากพบผู้ป่วยเพียงไม่กี่ราย โดยใช้การทดสอบกรดนิวคลีอิกที่ต้องใช้ห้องปฏิบัติการเพื่อประมวลผลตัวอย่าง การทุ่มเทขนาดนี้ทำใฝห้การระบาดถูกคุมไว้ได้ แต่มันไม่ตลอดไป
6. สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่าผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่ากลยุทธ์ดังกล่าวมีความท้าทายมากขึ้นในการติดตามการแพร่กระจายของโอไมครอน จำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศที่เพิ่มขึ้นรายวันของจีนพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 ปีในสัปดาห์นี้ โดยพบผู้ติดเชื้อที่เป็นพาหะที่ไม่แสดงอาการจำนวนมาก ซึ่งเจ้าหน้าที่จีนบอกว่าเป็นเพราะจีนมีอัตราการฉีดวัคซีน 90%
7. แต่การระบาดครั้งนี้สร้างความหวั่นไหวให้กับผู้คนมากที่สุดครั้งหนึ่งโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ เช่น เซี่ยงไฮ้ ซึ่งมีการสั่งปิดโรงเรียนและสถานที่ชุมชุนใหญ่ๆ เช่น ดิสนีย์แลนด์เซี่ยงไฮ้ ทำให้เกิดข่าวลือว่าจะมีการล็อคดาวน์ทั้งเมือง สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า มีสัญญาณว่าหลังจากต่อสู้กับโรคระบาดมานานกว่าสองปี ประชาชนก็เริ่มที่จะฉุนเฉียว
8. ผู้พักอาศัยในเซี่ยงไฮ้รายหนึ่งชื่อเหยียนถูกกักตัวในมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์หลังจากมีการพบผู้ป่วยหลายรายที่นั่น
“ผมไม่ได้คาดหวังว่าสถานการณ์จะเลวร้ายขนาดนี้ ผมเลยเอาของเล็กๆ น้อยๆ ไปใช้ในชีวิตประจำวันเท่านั้น” เหยียนกล่าว
"ผมคิดว่าการกักกันจะใช้เวลาเพียงหนึ่งวันหรือมากกว่านั้น" และบอกว่า
“เนื่องจากผมมีสำนักงานของตัวเอง ผมสามารถนอนคนเดียวได้ แต่เพื่อนร่วมงานอีก 7-8 คนต้องนอนในห้องใหญ่ห้องเดียว” เขากล่าวเสริม
9. ชาวเซี่ยงไฮ้ยังใช้แพลตฟอร์มไมโครบล็อก Weibo ที่เหมือน Twitter ของจีนเพื่อบ่นเกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสัตว์เลี้ยงของพวกเขาหากพวกเขาถูกกักตัวโดยไม่มีคำเตือน พนักงานธนาคารบอกกับรอยเตอร์ว่าพวกเขาได้นำกระเป๋าเดินทางไปที่สำนักงานเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการล็อคดาวน์แล้ว
10. ในขณะที่ผู้จัดการที่โรงเรียนนานาชาติในเซี่ยงไฮ้กล่าวว่าเขาได้รับการร้องขอจากนายจ้างให้เก็บเสบียงอาหารในสำนักงานของเขาเป็นเวลาสองสัปดาห์
"ทำไมไม่เพียงแค่ขอให้คนทำงานจากที่บ้านจนกว่าจะพ้นช่วงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น" เขากล่าว
"มันเริ่มดูเหมือนว่ามาตรการเหล่านี้เป็นการแสดงละครและสำหรับการแสดง - บริษัท และองค์กรต้องการแสดงให้เห็นว่าพวกเขามีส่วนร่วมกับ 'การต่อสู้กับ COVID' อย่างไร"
11.
"โอ๊ย ทำไมมันถึงเป็นปี 2020 อีกล่ะ" ผู้อาศัยที่ผิดหวังคนหนึ่งโพสต์บน Weibo ภายใต้ชื่อผู้ใช้ ChineseRock
"มันน่ารำคาญมาก เมื่อเร็ว ๆ นี้เซี่ยงไฮ้ดูเหมือนว่าจะมีการกักบริเวณพื้นที่หรือสำนักงานทุกวัน"
JJNY : ดุสิตโพลห่วงสงครามทำค่าครองชีพสูง│ห่วงสินค้าแพง “หอการค้า”ถก พณ.│จีนโควิดทำท่าจะไม่ไหว│อึ้งรับครู เงินเดือน 3,800
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_305251/
สวนดุสิตโพล คนห่วงสงครามรัสซีย – ยูเครน ไทยกระทบหนักน้ำมันแพง ค่าครองชีพสูง แนะรัฐควรมีบทบาทเตรียมพร้อมรับมือผลกระทบ
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,143 คน ระหว่างวันที่ 7-10 มีนาคม 2565พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่สนใจติดตามข่าวสงคราม รัสเซีย-ยูเครน โดย ร้อยละ 52.40 ระบุว่า ค่อนข้างสนใจ รองลงมา ร้อยละ 30.71 ระบุว่า สนใจมาก ร้อยละ13.04 ระบุว่า ไม่ค่อยสนใจ
ขณะที่ร้อยละ 84.89ระบุว่า ติดตามข่าวจากสื่อโซเชียลมากที่สุด (ไลน์ เฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ ยูทูปฯลฯ) รองลงมาคือร้อยละ 59.40 ระบุว่า โทรทัศน์ ร้อยละ 34.36 ระบุว่า เว็บไซต์สำนักข่าว
โดยร้อยละ 53.81 ระบุว่า ค่อนข้างรู้สึกกังวลเกี่ยวกับ สงคราม รัสเซีย-ยูเครน รองลงมา ร้อยละ 21.34 ระบุว่า กังวลมาก ร้อยละ 19.95 ระบุว่า ไม่ค่อยกังวล
ด้านผลกระทบต่อประเทศไทย ร้อยละ 88.32 ระบุว่า น้ำมันแพงขึ้น รองงมา ร้อยละ 63.39 ระบุว่า ค่าครองชีพสูงขึ้น สินค้าแพงขึ้น ร้อยละ 51.19ระบุว่า ราคาทองคำผันผวน
ทั้งนี้ ร้อยละ 75.40 มองว่า ไทยควรมีบทบาทต่อสงครามครั้งนี้ด้วยการเตรียมพร้อมรับมือจากผลกระทบที่เกิดขึ้น รองลงมา ร้อยละ 66.78 ระบุว่า แสดงความห่วงใยต่อผู้ที่กำลังตกอยู่ในภาวะสงคราม ร้อยละ 56.33 ระบุว่า วางตัวให้เหมาะสม เป็นกลาง
ขณะที่ร้อยละ 57.46 มองว่าทางออกคือ ผู้นำของทั้ง 2 ประเทศควรเจรจาตกลงกันอีกครั้ง รองงมาร้อยละ53.93 ระบุว่า ถอยกันคนละก้าว คำนึงถึงประชาชนเป็นหลัก ร้อยละ 52.69 ระบุว่า แก้ปัญหาด้วยสันติวิธี ไม่ใช้ความรุนแรง
และจากกรณี ประเทศไทยร่วมโหวตเห็นด้วยให้รัสเซียถอนทัพจากยูเครนนั้น ร้อยละ 56.59 มองว่าอยากให้สงครามจบลงโดยเร็ว รองลงมา ร้อยละ 51.46 ระบุ เหมาะสม เป็นไปตามหลักมนุษยธรรม ร้อยละ 50.40 ระบุว่า เป็นการแสดงบทบาทที่ดีในเวทีโลก
ห่วงสินค้าแพง “หอการค้า” ถก “พาณิชย์” รับมือวัตถุดิบขาดหลังวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน
https://www.prachachat.net/economy/news-885330
‘สนั่น’นำทัพ หอการค้าถก ‘พาณิชย์’ รับมือวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน ยอมรับห่วงราคาสินค้าแพง หลังต้นทุนพุ่ง ‘ธัญพืช-ปุ๋ย-เหล็ก-ยาง’ ขึ้นราคา หวั่นสถานการณ์ยืดเยื้อกระทบขาดแคลนวัตถุดิบ – ค่าขนส่งทุบซ้ำอีก เตือนเอกชนบริหารต้นทุน-วางแผนสำรองรอบคอบ
วันที่ 13 มีนาคม 2565 นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ”ว่า ในสัปดาห์หน้า คณะทำงานมาติดตามสถานการณ์วิกฤตรัสเซีย-ยูเครน หอการค้าไทย จะประชุมกระทรวงพาณิชย์เพื่อติดตามและประเมินสถานการณ์ล่าสุด หลังจากนั้นจะมีการทยอยพบและหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
โดยหอการค้าไทยได้ติดตามสถานการณ์ขณะนี้พบว่า ต้นทุนราคาสินค้าที่จะสูงขึ้นเนื่องจากสถานการณ์ความขัดแย้งนี้ เช่น สินค้าประเภทธัญพืชต่าง ๆ ทั้ง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวสาลี เมล็ดทานตะวัน เป็นต้น ซึ่งนอกจากราคาที่จะสูงขึ้นแล้ว อาจประสบกับภาวะขาดแคลน สิ่งเหล่านี้จะกระทบกับต้นทุนสินค้าอาหาร
นอกจากนั้น วัตถุดิบจำพวกสินแร่ต่าง ๆ (Rare Earth) อาจจะกระทบกับการผลิตแผงวงจรไฟฟ้า และการผลิตชิป และอาจทำให้ต้นทุนการนำเข้าของบางสินค้ากระทบด้วย ซึ่งเอกชนต้องวางแผนบริหารจัดการต้นทุนอย่างรอบคอบ
“สิ่งที่กังวลอยู่ในขณะนี้ คือเรื่องราคาปุ๋ยที่จะแพงขึ้น เพราะไทยนำเข้าปุ๋ยประมาณ 5 ล้านตันต่อปี หากราคาปุ๋ยมีราคาสูงขึ้น เกษตรกรก็จะใส่น้อยลง ผลผลิตก็จะน้อยลงตามไปด้วย อันหมายถึงรายได้ของเกษตรกรที่จะหายไป ซึ่งปัญหานี้คาดว่าจะเกิดขึ้นอีกไม่นาน”
ขณะเดียวกัน หอการค้าฯ ประเมินว่า สินค้าที่จะปรับราคาสูงขึ้น จะเป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับ รัสเซีย ยูเครน เช่น เหล็ก ผลิตภัณฑ์ยาง สินแร่ต่าง ๆ สินค้าเหล่านี้เป็นวัตถุดิบที่นำมาต่อยอดในอุตสาหกรรมจำนวนมาก รวมไปถึงข้าวสาลี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เมล็ดทานตะวัน และธัญพืชต่าง ๆ นอกจากนั้น สินค้าที่ไทยนำเข้าจากยุโรป ก็จะมีราคาสูงขึ้น เนื่องจากผลพวงของราคาพลังงานที่ยุโรปนำเข้าจากรัสเซีย
“ราคาอาหาร เป็นสิ่งที่น่ากังวล เพราะนอกจากต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้นแล้ว ยังได้รับผลกระทบมาจากราคาอาหารสัตว์ที่สูงขึ้น ส่งผลให้เนื้อสัตว์มีราคาแพงตามอีกด้วย และที่สำคัญคือสินค้าที่กระทบกับพลังงานที่ราคาสูงขึ้น ทั้งโดยตรงและที่เกี่ยวเนื่องกับค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น (Logistics Cost)”
อย่างไรก็ตาม ต้นทุนหลาย ๆ อย่างที่เพิ่มขึ้น เกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ ดังนั้น ต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมควบคุมปริมาณการผลิตให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จะได้ไม่เป็นการแบกรับต้นทุนจนเกินกำลัง
“ขอให้ประชาชนและภาคเอกชน เตรียมตัวคือรับมือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นยืดเยื้อ ซึ่งเชื่อว่า ภาครัฐคงจะช่วยพยุงสถานการณ์ไม่ได้นานหากเหตุการณ์ยืดเยื้อ ซึ่งก็ไม่ควรไปฝืนราคาตลาดโลกนานมากเกินไป ดังนั้น แต่ละท่านควรมีแผนสำรอง เพื่อให้สามารถเดินหน้าธุรกิจต่อไปได้ และควรระมัดระวังเรื่องการลงทุนเพิ่มเติม โดยต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และเห็นด้วยกับภาครัฐที่ ส่งเสริมให้ประชาชนประหยัดพลังงาน”
จีนยึดโควิดเป็นศูนย์ทำท่าจะไม่ไหว ประชาชนเริ่มหงุดหงิด
https://www.posttoday.com/world/677979
โลกเริ่มอยู่กับโควิด แต่จีนเจอระบาดหนักสุดรอบ 2 ปี ไล่นายกเทศมนตรี 2 คน สั่งปิดเมืองใหญ่ ผู้คนเริ่มหวั่นไหว และไล่ข้าราชการออกไม่ช่วยอะไร
1. ณ วันที่ 13 มี.ค. สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่าจีนรายงานผู้ป่วยโควิด-19 ได้รับการยืนยันรายใหม่ 1,938 รายในวันที่ 12 มีนาคม หน่วยงานด้านสุขภาพแห่งชาติของประเทศกล่าวเมื่อวันอาทิตย์ว่าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 588 ในวันก่อนหน้า เป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในรอบ 2 ปีของการระบาดในจีน โดยมณฑลจี๋หลินทางตะวันออกเฉียงเหนือรายงานผู้ป่วยในพื้นที่ 1,412 ราย มณฑลซานตงทางเหนือมี 175 ราย และมณฑลกวางตุ้งทางใต้รายงาน 62 ราย
2. แต่วิธีการแก้ปัญหาของจีนยังยึดมั่นกับนโยบาย "โควิดเป็นศูนย์" หรือ “dynamic zero” นั่นคือการกำจัดการติดเชื้อให้หมดโดยเร็ว ทำการทุ่มทรัพยากรและกำลังคนในการติดตามการติดเชื้อ ซึ่งวิธีนี้มีประสิทธิภาพกับเชื้อเดลตา แต่มันอาจจะไม่ได้ผลกับโอเมกา วึ่งติดเชื้อได้ง่ายแต่อาการไม่รุนแรง จนทำให้หลายประเทศเริ่มใช้โนบายเปลี่ยนผ่านไปสู่ภาวะโรคประจำถิ่นแล้ว รวมถึงประเทศไทย
3. จีนยังใช้วิธี "เชือดไก่ให้ลิงดู" ด้วยการไล่ข้าราชการระดับสูงของพื้นที่ที่มีการระบาดหนักๆ ออกไป ซึ่งเคยใช้มาแล้วเมื่อปีที่แล้ว ล่าสุด เมื่อเกิดการระบาดอย่างรวดเร็งครั้งใหญ่จีนยังบใช้วิธีการเดิม แต่คราวนี้ไล่นายกเทศมนตรีของเมืองที่เกิดการระบาดหนักรวดเดียวถึง 2 คน คือ นายกเทศมนตรีเมืองจี๋หลินและเขตจิ่วไถของเมืองฉางชุน ต่างก็ถูกไล่ออก สำนักข่าวซินหัวของรัฐประกาศเมื่อวันเสาร์ โดยไม่ได้ระบุแน่ชัดว่าการไล่ออกจ้างเกิดขึ้นเมื่อใด โดยทั้งสองแห่งมีการระบาดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
4. ฉางชุน ซึ่งมีประชากร 9 ล้านคน ถูกล็อกดาวน์บางส่วนเมื่อวันศุกร์ โดยแต่ละครัวเรือนอนุญาตให้ส่งสมาชิกเพียงคนเดียวเพื่อซื้อเสบียงวันเว้นวัน เมืองจี๋หลินซึ่งมีผู้ป่วยมากกว่า 1,000 รายในช่วง 10 วันที่ผ่านมา มีการระบาดอย่างต่อเนื่องที่มหาวิทยาลัยเกษตรในท้องถิ่น
4. สัญญาณหนึ่งที่แสดงว่าจีนเริ่มจะไม่ไหวกับการใช้ทรัพยากรบุคคลในกระบวนการตรวจสอบอยา่งมากตามนโยบายโควิดเป็นศูนย์คือ เมื่อวันที่ 12 มี.ค. จีนได้อนุมัติชุดแอนติเจนสำหรับไวรัสโควิด-19 จำนวน 5 ชุดที่ผลิตโดยบริษัทในท้องถิ่นเพื่อให้ประชาชนใช้ในการทดสอบตัวเอง สถานีโทรทัศน์ CCTV ของรัฐกล่าวเมื่อวันเสาร์
5. การอนุมัติมีขึ้นหลังจากหน่วยงานกำกับดูแลด้านสุขภาพของประเทศเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมากล่าวว่าจะอนุญาตให้ประชาชนทั่วไปซื้อชุดทดสอบแอนติเจนไวรัสโควิด-19 ในร้านค้าและทางออนไลน์เป็นครั้งแรก หลังจากที่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ในเมืองต่างๆ ของจีนเป็นฝ่ายทำหน้าที่เช็ดจมูกและลำคอประชาชนหลายแสนรายการให้เสร็จภายในไม่กี่วันหลังจากพบผู้ป่วยเพียงไม่กี่ราย โดยใช้การทดสอบกรดนิวคลีอิกที่ต้องใช้ห้องปฏิบัติการเพื่อประมวลผลตัวอย่าง การทุ่มเทขนาดนี้ทำใฝห้การระบาดถูกคุมไว้ได้ แต่มันไม่ตลอดไป
6. สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่าผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่ากลยุทธ์ดังกล่าวมีความท้าทายมากขึ้นในการติดตามการแพร่กระจายของโอไมครอน จำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศที่เพิ่มขึ้นรายวันของจีนพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 ปีในสัปดาห์นี้ โดยพบผู้ติดเชื้อที่เป็นพาหะที่ไม่แสดงอาการจำนวนมาก ซึ่งเจ้าหน้าที่จีนบอกว่าเป็นเพราะจีนมีอัตราการฉีดวัคซีน 90%
7. แต่การระบาดครั้งนี้สร้างความหวั่นไหวให้กับผู้คนมากที่สุดครั้งหนึ่งโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ เช่น เซี่ยงไฮ้ ซึ่งมีการสั่งปิดโรงเรียนและสถานที่ชุมชุนใหญ่ๆ เช่น ดิสนีย์แลนด์เซี่ยงไฮ้ ทำให้เกิดข่าวลือว่าจะมีการล็อคดาวน์ทั้งเมือง สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า มีสัญญาณว่าหลังจากต่อสู้กับโรคระบาดมานานกว่าสองปี ประชาชนก็เริ่มที่จะฉุนเฉียว
8. ผู้พักอาศัยในเซี่ยงไฮ้รายหนึ่งชื่อเหยียนถูกกักตัวในมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์หลังจากมีการพบผู้ป่วยหลายรายที่นั่น “ผมไม่ได้คาดหวังว่าสถานการณ์จะเลวร้ายขนาดนี้ ผมเลยเอาของเล็กๆ น้อยๆ ไปใช้ในชีวิตประจำวันเท่านั้น” เหยียนกล่าว "ผมคิดว่าการกักกันจะใช้เวลาเพียงหนึ่งวันหรือมากกว่านั้น" และบอกว่า “เนื่องจากผมมีสำนักงานของตัวเอง ผมสามารถนอนคนเดียวได้ แต่เพื่อนร่วมงานอีก 7-8 คนต้องนอนในห้องใหญ่ห้องเดียว” เขากล่าวเสริม
9. ชาวเซี่ยงไฮ้ยังใช้แพลตฟอร์มไมโครบล็อก Weibo ที่เหมือน Twitter ของจีนเพื่อบ่นเกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสัตว์เลี้ยงของพวกเขาหากพวกเขาถูกกักตัวโดยไม่มีคำเตือน พนักงานธนาคารบอกกับรอยเตอร์ว่าพวกเขาได้นำกระเป๋าเดินทางไปที่สำนักงานเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการล็อคดาวน์แล้ว
10. ในขณะที่ผู้จัดการที่โรงเรียนนานาชาติในเซี่ยงไฮ้กล่าวว่าเขาได้รับการร้องขอจากนายจ้างให้เก็บเสบียงอาหารในสำนักงานของเขาเป็นเวลาสองสัปดาห์ "ทำไมไม่เพียงแค่ขอให้คนทำงานจากที่บ้านจนกว่าจะพ้นช่วงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น" เขากล่าว "มันเริ่มดูเหมือนว่ามาตรการเหล่านี้เป็นการแสดงละครและสำหรับการแสดง - บริษัท และองค์กรต้องการแสดงให้เห็นว่าพวกเขามีส่วนร่วมกับ 'การต่อสู้กับ COVID' อย่างไร"
11. "โอ๊ย ทำไมมันถึงเป็นปี 2020 อีกล่ะ" ผู้อาศัยที่ผิดหวังคนหนึ่งโพสต์บน Weibo ภายใต้ชื่อผู้ใช้ ChineseRock "มันน่ารำคาญมาก เมื่อเร็ว ๆ นี้เซี่ยงไฮ้ดูเหมือนว่าจะมีการกักบริเวณพื้นที่หรือสำนักงานทุกวัน"