วินจยย.-ไรเดอร์ ร้องจ๊าก!! น้ำมัน 2 ลิตร 100 บาท จ่ายแบงก์แดงไม่พอวิ่งงาน
https://ch3plus.com/news/economy/ruangden/282336
ราคาน้ำมันพุ่งไม่หยุด 2 วัน ปรับขึ้นติดกัน 1 บาท 80 สตางค์ วินมอเตอร์ไซด์ - ไรเดอร์ช็อค!!! เติม 100 ไม่พอวิ่งงาน
ราคาน้ำมันเชลล์ วี เพาเวอร์ แก๊สโซฮอล์ 95 ซึ่งเป็นน้ำมันตัวพรีเมียมของเชลล์ วันนี้ ราคา 2 ลิตรร้อยแล้ว ส่วนเชลล์ ฟิวเซฟ แก๊สโซฮอล์ 95 ราคาลิตรละ 43.45 บาท ขณะที่แก๊สโซฮอล์ อี 20 ซึ่งขณะนี้กำลังเป็นที่นิยมของกลุ่มไรเดอร์ เนื่องจากมีราคาถูกลงมาหน่อย ราคาวันนี้อยู่ที่ ลิตรละ 42.34 บาท
ตั้งแต่ต้นเดือนนี้ ราคาน้ำมันปรับขึ้นมาแล้วถึง 6 ครั้ง รวมขึ้นมาแล้วถึง 3.6 บาท สัปดาห์นี้สัปดาห์เดียว 3 ครั้ง และทำสถิติ ปรับขึ้น 2 วันติด 1 บาท 80 สตางค์
กลุ่มวินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง และไรเดอร์ส่งอาหาร ถึงกับช็อค!! ทีมข่าวลงพื้นที่พูดคุย ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ราคาน้ำมันที่ปรับขึ้น 2 วันติด 1.80 บาท ทำให้รายได้เหลือไม่พอใช้จ่าย ในวันที่ทานข้าวมื้อนึง ต้องควัก 50-70 บาท ปกติเติมน้ำมันวันละ 60-80 บาท แต่วันนี้ต้องเติม 100-150 บาทแล้ว ขณะที่การปรับค่าโดยสาร ก็ไม่ใช่ทางออก เพราะจะกระทบกับผู้โดยสาร
ขณะที่ไรเดอร์ส่งอาหาร เปิดเผยว่า ปกติเติมน้ำมันวันละ 1 ถัง ก็พอวิ่งรับงาน แต่วันนี้ต้องเติมถึง 2 ถัง และใช้เงินมากถึง 150-180 บาท ทำให้มีรายได้ลดลงมาก หลายคนต้องทำงานหนักขึ้น ด้วยการเพิ่มชั่วโมงทำงาน เพื่อให้มีรายได้พอใช้จ่าย บางคนเริ่มมองหาช่องทาง เปลี่ยนไปเช่ารถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ที่แม้จะมีค่าเช่าเดือนละ3,000 บาท เฉลี่ยวันละ 100 บาท แต่ก็น่าจะคุ้มค่ากว่า การเติมน้ำมัน 2 ลิตร 100 บาท
ขณะที่วันนี้ ราคาน้ำมันดิบโลก ปรับลงแรง 13 -15% โดยราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส และเบรนท์ ปรับลดลงสูงสุดในรอบเกือบ 2 ปี หลัง UAE ส่งสัญญาณสนับสนุนสมาชิกกลุ่มโอเปก ปรับเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน ชดเชยซัพพลายที่หายไปจากการคว่ำบาตรรัสเซีย ขณะที่สำนักงานพลังงานสากล ประกาศความพร้อมที่จะระบายน้ำมันออกมาได้อีก ประกอบกับรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ ออกมาเรียกร้องให้ประเทศผู้ผลิตน้ำมันทั่วโลก เร่งเพิ่มกำลังการผลิต เพื่อสกัดราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
รับชมผ่านยูทูบ :
https://youtu.be/-ahk_b59sqQ
สุดอั้นตรึงไม่ไหว 'ไวไว' ขายซองละ 6 บาท!
https://www.nationtv.tv/news/378866279
ไวไว ปรุงสำเร็จ ขึ้นราคาแล้วจาก 5.50 บาท เป็น 6 บาทต่อซอง พร้อมปรับปริมาณสินค้าขึ้น 2 กรัมต่อซอง จับตาสินค้าอุปโภคบริโภคจำเป็นขึ้นต่อเนื่อง ผู้บริโภคเตรียมใจ ชีวิตความเป็นอยู่ การกินปี 65 แพงขึ้นยกแผง
ประโยค “แพงทั้งแผ่นดิน” เริ่มเห็นภาพชัดขึ้นเรื่อยๆ เมื่อภาวะค่าครองชีพพุ่ง ราคาสินค้าปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากอาหารสด เนื้อหมู มะนาว ฯ มายังสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นอกจากจะมีประเด็นรายวันในเรื่อง “ส่วนลดชั่วคราว” ที่ผู้ผลิตให้ร้านค้า จนพ่อค้าแม่ขายต้องออกมาบ่นว่า “กำไร” ที่ขายได้ต่อวซองลดลง
ล่าสุด ไม่ต้องเถียงเรื่องส่วนลด ต้นทุนที่กระทบภาคการผลิตแล้ว เพราะรายงานข่าวจากวงการสินค้าอุปโภคบริโภค พบว่า
“ไวไว” บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปปรุงสำเร็จ หรือไวไว ปรุงสำเร็จ ได้
“ปรับปริมาณ-ขึ้นราคา” เรียบร้อยแล้ว จากเดิมบะหมี่ฯ 1 ซองมีน้ำหนัก 55 กรัม เพิ่มเป็น 57 กรัม โดยปริมาณที่เพิ่มขึ้นกลับไม่ใช่ตัวเส้น แต่เป็นเครื่องปรุง โซเดียม 1,020 มิลลิกรัม(มก.) จาก 710 มก. ไขมัน 12 กรัม จาก 10 กรัม และราคาขายเพิ่ม 50 สตางค์ต่อซอง เป็น 6 บาท จากเดิม 5.50 บาท
สิ่งที่น่าสนใจต้องติดตามต่อคือ บะหมี่ฯ เป็นสินค้าควบคุมราคาโดยกรมการค้าภายใน(คน.) กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งการจะปรับราคาต้องรับได้หนังสืออนุมัติจาก คน.ก่อน ยิ่งกว่าสินค้าที่ปรับราคาขายใหม่ยกแผง ยังรวมไปถึงสินค้าเดิมในสต๊อกด้วยหรือไม่ เพราะปริมาณยังคงเป็นเท่าเดิม
อย่างไรก็ตาม นาทีนี้ภาคธุรกิจเผชิญแรงกดดันจากราคาพลังงานเชื้อเพลิงอย่างหนัก จากสงครามความขัดแย้งของรัสเซียยูเครน แต่ละวันน้ำมันปรับตัวพุ่งขึ้นสูงมาก กระทบทุกภาคส่วนทั้งการดำรงชีวิต ค่าครองชีพผู้บริโภค ผู้ผลิตมีต้นทุนสูงขึ้น ซ้ำเติมสถานการณ์ก่อนหน้านี้ที่วัตถุดิบแป้งสาลี น้ำมันปาล์ม ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของสินค้าถึง 60-70%ราคาถีบขึ้นหลายเท่าตัว
บะหมี่ฯ ดัชนีนิยามเศรษฐกิจ กำลังซื้อ และเป็นอาหารขวัญใจผู้บริโภคยามทุกข์ยากขึ้นราคา และไวไว ปรุงสำเร็จหนึ่งในสินค้าที่มีราคาต่ำ(Floor) เมื่อขยับแล้ว แบรนด์หลักรายอื่นๆจะขยับตามหรือไม่ ทั้ง "มาม่า" จากไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ ในเครือสหพัฒน์ และ "ยำยำ" จากค่ายญี่ปุ่น อายิโนะโมะโต๊ะ
สำหรับบะหมี่ฯ เป็นสินค้าควบคุมราคาที่ไม่ได้ปรับราคาขายนานนับสิบปี รวมถึงสินค้าหลักที่จำหน่ายราคา 6 บาท จะทยอยหายไปจากตลาด แล้วมีสินค้าใหม่ ต้นทุนใหม่ ราคาใหม่ที่ปรับตัวสูงขึ้นมาแทนที่หรือไม่
เกษตรกรช้ำ! ต้นทุนพุ่งแต่ราคากุ้งร่วง 40% วอนพาณิชย์ช่วยผนึกอาเซียนรวมกลุ่มเหมือนโอเปก
https://www.khaosod.co.th/economics/news_6934507
นาย
เอกพจน์ ยอดพินิจ นายกสมาคมกุ้งไทย กล่าวว่า จากราคาต้นทุนวัตถุดิบในการเลี้ยงกุ้ง อาหารกุ้ง เคมีภัณฑ์ในการเตรียมบ่อกุ้ง ราคาพลังงานที่สูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนในการเลี้ยงกุ้งสูงขึ้นประมาณ 30-40% แต่ราคาในประเทศมีการลดลง เพราะผู้ส่งออกได้รับผลกระทบจากสงคราม ต้นทุนในการขนส่งเพิ่มขึ้น ตามกลไกของราคาสินค้าเกษตร ต้นทุนการผลิต การส่งออก ส่วนใหญ่จะผ่องถ่ายมายังต้นทุน คือเกษตรกร ทำให้ขณะนี้ราคากุ้งในประเทศลดลงประมาณ 40% จากช่วงต้นปีหรือเดือนม.ค. ที่ไม่มีกุ้ง
ทั้งนี้ ผลผลิตกุ้งไทยส่วนใหญ่ 90% จะส่งออก และที่เหลือประมาณ 10% จะบริโภคภายในประเทศ โดยรอบการเลี้ยงกุ้งจะมีประมาณ 60-120 วัน ทางเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจึงต้องดำเนินการลดต้นทุน เพื่อให้เหลือส่วนต่างระหว่างรายได้หรือรายจ่าย ไม่ให้การเลี้ยงกุ้งต้องขาดทุนในภาระที่ต้นทุนในการเลี้ยงสูงขึ้นต่อเนื่อง เกษตรกรพยายาลดต้นทุนทั้งลดปริมาณอาหารกุ้งจากที่เคยให้ 1.5 กิโลกรัม (ก.ก.) ก็ให้ลดลงเหลือ 1.3 ก.ก. ส่วนการตีน้ำเพื่อให้ออกซิเจน ก็ลดความถี่ในการตีน้ำลง เพื่อประหยัดเชื้อเพลิง
“ได้เสนออธิบดีกรมเจรจาการค้า ไปให้กระทรวงพาณิชย์ เป็นหัวเรือใหญ่ช่วยเหลือเกษตรกรไทย ในการใช้เวทีอาเซียน ร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เพราะประเทศในอาเซียน ส่วนใหญ่ล้วนประกอบอาชีพเกษตร ที่เป็นประเภทใกล้เคียงกัน นำไปขายในตลาดเดียวกัน หากสามารถร่วมมือกันได้ในส่วนของไทยและประเทศผู้ผลิตอื่น เพื่อร่วมกำหนดราคาเหมือนราคาน้ำมันที่โอเปกเขาทำกัน”
สัญญาณชัดอีก 3-6 เดือน สินค้าอั้นไม่อยู่ ข้าวของจะแพงขึ้น
https://www.dailynews.co.th/news/842714/
บิ๊กธุรกิจส่งสัญญาณชัด สินค้าอั้นไม่อยู่อีก 3-6 เดือน จ่อขยับแน่ หลังต้นทุนราคาน้ำมันพุ่งสูง สต๊อกเก่าเริ่มทยอยหมด จี้รัฐหนุนตรึงดีเซล 30 บาทต่อลิตร คงค่าไฟ
นาย
เกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และในฐานะประธานสภาธุรกิจไทย-รัสเซีย เปิดเผยว่า ได้สำรวจความเห็นจาก 45 กลุ่มอุตสาหกรรมของ ส.อ.ท. ถึงปัญหาความขัดแย้งระหว่างยูเครน-รัสเซีย พบว่า ส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบทางอ้อมที่ราคาน้ำมันดิบตลาดโลก ค่าระวางเรือ และวัตถุดิบต่างๆ ที่สูงขึ้น เช่น นิกเกิล ข้าวสาลี ข้าวโพด เป็นปัจจัยที่ทำให้ต้นทุนการผลิตภาพรวมเพิ่มสูง ดังนั้นคำสั่งซื้อ หรือออร์เดอร์ใหม่ มีแนวโน้มต้องปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นตามต้นทุนที่สูงเกือบทั้งหมด โดยประเมินว่า ภาพรวมในอีก 3-6 เดือนข้างหน้า ราคาสินค้า จะทยอยปรับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะปุ๋ย ที่คาดว่า จะปรับขึ้นในอีก 1-2 เดือนนี้ หลังจากรัสเซียห้ามส่งออกปุ๋ย
“น้ำมันขึ้นทุก 1 ดอลลาร์สหรัฐ จะมีผลต่อราคาขายปลีกไทยขึ้น 25 สตางค์ต่อลิตร แต่ต้นทุนการผลิตยังมีอื่นๆ ทั้งวัตถุดิบ ชิ้นส่วนฯ ก่อนหน้านั้นทาง ส.อ.ท.ได้ขอให้สมาชิกช่วยตรึงราคาสินค้าแต่ยอมรับว่าสต๊อกเก่าที่มีอยู่เริ่มร่อยหรอลง ซึ่งแต่ละรายต้นทุนและสต๊อกก็ต่างกันไป ขณะที่ก่อนหน้านี้รัฐได้ลดภาษีสรรพสามิตดีเซลลงไป 3 บาทต่อลิตร ยังคงเหลือเก็บอยู่ประมาณ 2.99 บาทต่อลิตร จุดนี้อาจนำมาดูแลได้ แต่ก็เข้าใจว่า ถ้าน้ำมันดิบตลาดโลกที่เริ่มมีการพูดกันไปถึงระดับ 300 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเกิดขึ้นจริง การตรึงไว้ระดับเดิมก็คงจะไม่ไหวเช่นกัน”
ทั้งนี้ผลสำรวจเอกชนได้เสนอให้รัฐออกมาตรการดูแลราคาพลังงาน ซึ่งเห็นว่ารัฐควรจะยังคงตรึงราคาน้ำมันดีเซลไว้ไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร เพราะเป็นหัวใจหลักของระบบเศรษฐกิจ ส่วนมาตรการประหยัดก็ต้องทำควบคู่กันไป เช่นเดียวกับราคาก๊าซหุงต้มหากดูแลไม่ให้ขึ้นได้ ก็จะส่งผลดีต่อประชาชน รวมถึงการคงค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ
JJNY : 5in1 วิน-ไรเดอร์ร้องจ๊าก!!│'ไวไว'ขายซองละ6บาท!│เกษตรกรช้ำ!ราคากุ้งร่วง│อีก3-6ด. ของจะแพงขึ้น│‘พท.’ยันย้ำสูตรคำนวณ
https://ch3plus.com/news/economy/ruangden/282336
ราคาน้ำมันพุ่งไม่หยุด 2 วัน ปรับขึ้นติดกัน 1 บาท 80 สตางค์ วินมอเตอร์ไซด์ - ไรเดอร์ช็อค!!! เติม 100 ไม่พอวิ่งงาน
ราคาน้ำมันเชลล์ วี เพาเวอร์ แก๊สโซฮอล์ 95 ซึ่งเป็นน้ำมันตัวพรีเมียมของเชลล์ วันนี้ ราคา 2 ลิตรร้อยแล้ว ส่วนเชลล์ ฟิวเซฟ แก๊สโซฮอล์ 95 ราคาลิตรละ 43.45 บาท ขณะที่แก๊สโซฮอล์ อี 20 ซึ่งขณะนี้กำลังเป็นที่นิยมของกลุ่มไรเดอร์ เนื่องจากมีราคาถูกลงมาหน่อย ราคาวันนี้อยู่ที่ ลิตรละ 42.34 บาท
ตั้งแต่ต้นเดือนนี้ ราคาน้ำมันปรับขึ้นมาแล้วถึง 6 ครั้ง รวมขึ้นมาแล้วถึง 3.6 บาท สัปดาห์นี้สัปดาห์เดียว 3 ครั้ง และทำสถิติ ปรับขึ้น 2 วันติด 1 บาท 80 สตางค์
กลุ่มวินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง และไรเดอร์ส่งอาหาร ถึงกับช็อค!! ทีมข่าวลงพื้นที่พูดคุย ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ราคาน้ำมันที่ปรับขึ้น 2 วันติด 1.80 บาท ทำให้รายได้เหลือไม่พอใช้จ่าย ในวันที่ทานข้าวมื้อนึง ต้องควัก 50-70 บาท ปกติเติมน้ำมันวันละ 60-80 บาท แต่วันนี้ต้องเติม 100-150 บาทแล้ว ขณะที่การปรับค่าโดยสาร ก็ไม่ใช่ทางออก เพราะจะกระทบกับผู้โดยสาร
ขณะที่ไรเดอร์ส่งอาหาร เปิดเผยว่า ปกติเติมน้ำมันวันละ 1 ถัง ก็พอวิ่งรับงาน แต่วันนี้ต้องเติมถึง 2 ถัง และใช้เงินมากถึง 150-180 บาท ทำให้มีรายได้ลดลงมาก หลายคนต้องทำงานหนักขึ้น ด้วยการเพิ่มชั่วโมงทำงาน เพื่อให้มีรายได้พอใช้จ่าย บางคนเริ่มมองหาช่องทาง เปลี่ยนไปเช่ารถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ที่แม้จะมีค่าเช่าเดือนละ3,000 บาท เฉลี่ยวันละ 100 บาท แต่ก็น่าจะคุ้มค่ากว่า การเติมน้ำมัน 2 ลิตร 100 บาท
ขณะที่วันนี้ ราคาน้ำมันดิบโลก ปรับลงแรง 13 -15% โดยราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส และเบรนท์ ปรับลดลงสูงสุดในรอบเกือบ 2 ปี หลัง UAE ส่งสัญญาณสนับสนุนสมาชิกกลุ่มโอเปก ปรับเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน ชดเชยซัพพลายที่หายไปจากการคว่ำบาตรรัสเซีย ขณะที่สำนักงานพลังงานสากล ประกาศความพร้อมที่จะระบายน้ำมันออกมาได้อีก ประกอบกับรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ ออกมาเรียกร้องให้ประเทศผู้ผลิตน้ำมันทั่วโลก เร่งเพิ่มกำลังการผลิต เพื่อสกัดราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
รับชมผ่านยูทูบ : https://youtu.be/-ahk_b59sqQ
สุดอั้นตรึงไม่ไหว 'ไวไว' ขายซองละ 6 บาท!
https://www.nationtv.tv/news/378866279
ไวไว ปรุงสำเร็จ ขึ้นราคาแล้วจาก 5.50 บาท เป็น 6 บาทต่อซอง พร้อมปรับปริมาณสินค้าขึ้น 2 กรัมต่อซอง จับตาสินค้าอุปโภคบริโภคจำเป็นขึ้นต่อเนื่อง ผู้บริโภคเตรียมใจ ชีวิตความเป็นอยู่ การกินปี 65 แพงขึ้นยกแผง
ประโยค “แพงทั้งแผ่นดิน” เริ่มเห็นภาพชัดขึ้นเรื่อยๆ เมื่อภาวะค่าครองชีพพุ่ง ราคาสินค้าปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากอาหารสด เนื้อหมู มะนาว ฯ มายังสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นอกจากจะมีประเด็นรายวันในเรื่อง “ส่วนลดชั่วคราว” ที่ผู้ผลิตให้ร้านค้า จนพ่อค้าแม่ขายต้องออกมาบ่นว่า “กำไร” ที่ขายได้ต่อวซองลดลง
ล่าสุด ไม่ต้องเถียงเรื่องส่วนลด ต้นทุนที่กระทบภาคการผลิตแล้ว เพราะรายงานข่าวจากวงการสินค้าอุปโภคบริโภค พบว่า “ไวไว” บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปปรุงสำเร็จ หรือไวไว ปรุงสำเร็จ ได้ “ปรับปริมาณ-ขึ้นราคา” เรียบร้อยแล้ว จากเดิมบะหมี่ฯ 1 ซองมีน้ำหนัก 55 กรัม เพิ่มเป็น 57 กรัม โดยปริมาณที่เพิ่มขึ้นกลับไม่ใช่ตัวเส้น แต่เป็นเครื่องปรุง โซเดียม 1,020 มิลลิกรัม(มก.) จาก 710 มก. ไขมัน 12 กรัม จาก 10 กรัม และราคาขายเพิ่ม 50 สตางค์ต่อซอง เป็น 6 บาท จากเดิม 5.50 บาท
สิ่งที่น่าสนใจต้องติดตามต่อคือ บะหมี่ฯ เป็นสินค้าควบคุมราคาโดยกรมการค้าภายใน(คน.) กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งการจะปรับราคาต้องรับได้หนังสืออนุมัติจาก คน.ก่อน ยิ่งกว่าสินค้าที่ปรับราคาขายใหม่ยกแผง ยังรวมไปถึงสินค้าเดิมในสต๊อกด้วยหรือไม่ เพราะปริมาณยังคงเป็นเท่าเดิม
อย่างไรก็ตาม นาทีนี้ภาคธุรกิจเผชิญแรงกดดันจากราคาพลังงานเชื้อเพลิงอย่างหนัก จากสงครามความขัดแย้งของรัสเซียยูเครน แต่ละวันน้ำมันปรับตัวพุ่งขึ้นสูงมาก กระทบทุกภาคส่วนทั้งการดำรงชีวิต ค่าครองชีพผู้บริโภค ผู้ผลิตมีต้นทุนสูงขึ้น ซ้ำเติมสถานการณ์ก่อนหน้านี้ที่วัตถุดิบแป้งสาลี น้ำมันปาล์ม ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของสินค้าถึง 60-70%ราคาถีบขึ้นหลายเท่าตัว
บะหมี่ฯ ดัชนีนิยามเศรษฐกิจ กำลังซื้อ และเป็นอาหารขวัญใจผู้บริโภคยามทุกข์ยากขึ้นราคา และไวไว ปรุงสำเร็จหนึ่งในสินค้าที่มีราคาต่ำ(Floor) เมื่อขยับแล้ว แบรนด์หลักรายอื่นๆจะขยับตามหรือไม่ ทั้ง "มาม่า" จากไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ ในเครือสหพัฒน์ และ "ยำยำ" จากค่ายญี่ปุ่น อายิโนะโมะโต๊ะ
สำหรับบะหมี่ฯ เป็นสินค้าควบคุมราคาที่ไม่ได้ปรับราคาขายนานนับสิบปี รวมถึงสินค้าหลักที่จำหน่ายราคา 6 บาท จะทยอยหายไปจากตลาด แล้วมีสินค้าใหม่ ต้นทุนใหม่ ราคาใหม่ที่ปรับตัวสูงขึ้นมาแทนที่หรือไม่
เกษตรกรช้ำ! ต้นทุนพุ่งแต่ราคากุ้งร่วง 40% วอนพาณิชย์ช่วยผนึกอาเซียนรวมกลุ่มเหมือนโอเปก
https://www.khaosod.co.th/economics/news_6934507
นายเอกพจน์ ยอดพินิจ นายกสมาคมกุ้งไทย กล่าวว่า จากราคาต้นทุนวัตถุดิบในการเลี้ยงกุ้ง อาหารกุ้ง เคมีภัณฑ์ในการเตรียมบ่อกุ้ง ราคาพลังงานที่สูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนในการเลี้ยงกุ้งสูงขึ้นประมาณ 30-40% แต่ราคาในประเทศมีการลดลง เพราะผู้ส่งออกได้รับผลกระทบจากสงคราม ต้นทุนในการขนส่งเพิ่มขึ้น ตามกลไกของราคาสินค้าเกษตร ต้นทุนการผลิต การส่งออก ส่วนใหญ่จะผ่องถ่ายมายังต้นทุน คือเกษตรกร ทำให้ขณะนี้ราคากุ้งในประเทศลดลงประมาณ 40% จากช่วงต้นปีหรือเดือนม.ค. ที่ไม่มีกุ้ง
ทั้งนี้ ผลผลิตกุ้งไทยส่วนใหญ่ 90% จะส่งออก และที่เหลือประมาณ 10% จะบริโภคภายในประเทศ โดยรอบการเลี้ยงกุ้งจะมีประมาณ 60-120 วัน ทางเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจึงต้องดำเนินการลดต้นทุน เพื่อให้เหลือส่วนต่างระหว่างรายได้หรือรายจ่าย ไม่ให้การเลี้ยงกุ้งต้องขาดทุนในภาระที่ต้นทุนในการเลี้ยงสูงขึ้นต่อเนื่อง เกษตรกรพยายาลดต้นทุนทั้งลดปริมาณอาหารกุ้งจากที่เคยให้ 1.5 กิโลกรัม (ก.ก.) ก็ให้ลดลงเหลือ 1.3 ก.ก. ส่วนการตีน้ำเพื่อให้ออกซิเจน ก็ลดความถี่ในการตีน้ำลง เพื่อประหยัดเชื้อเพลิง
“ได้เสนออธิบดีกรมเจรจาการค้า ไปให้กระทรวงพาณิชย์ เป็นหัวเรือใหญ่ช่วยเหลือเกษตรกรไทย ในการใช้เวทีอาเซียน ร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เพราะประเทศในอาเซียน ส่วนใหญ่ล้วนประกอบอาชีพเกษตร ที่เป็นประเภทใกล้เคียงกัน นำไปขายในตลาดเดียวกัน หากสามารถร่วมมือกันได้ในส่วนของไทยและประเทศผู้ผลิตอื่น เพื่อร่วมกำหนดราคาเหมือนราคาน้ำมันที่โอเปกเขาทำกัน”
สัญญาณชัดอีก 3-6 เดือน สินค้าอั้นไม่อยู่ ข้าวของจะแพงขึ้น
https://www.dailynews.co.th/news/842714/
บิ๊กธุรกิจส่งสัญญาณชัด สินค้าอั้นไม่อยู่อีก 3-6 เดือน จ่อขยับแน่ หลังต้นทุนราคาน้ำมันพุ่งสูง สต๊อกเก่าเริ่มทยอยหมด จี้รัฐหนุนตรึงดีเซล 30 บาทต่อลิตร คงค่าไฟ
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และในฐานะประธานสภาธุรกิจไทย-รัสเซีย เปิดเผยว่า ได้สำรวจความเห็นจาก 45 กลุ่มอุตสาหกรรมของ ส.อ.ท. ถึงปัญหาความขัดแย้งระหว่างยูเครน-รัสเซีย พบว่า ส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบทางอ้อมที่ราคาน้ำมันดิบตลาดโลก ค่าระวางเรือ และวัตถุดิบต่างๆ ที่สูงขึ้น เช่น นิกเกิล ข้าวสาลี ข้าวโพด เป็นปัจจัยที่ทำให้ต้นทุนการผลิตภาพรวมเพิ่มสูง ดังนั้นคำสั่งซื้อ หรือออร์เดอร์ใหม่ มีแนวโน้มต้องปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นตามต้นทุนที่สูงเกือบทั้งหมด โดยประเมินว่า ภาพรวมในอีก 3-6 เดือนข้างหน้า ราคาสินค้า จะทยอยปรับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะปุ๋ย ที่คาดว่า จะปรับขึ้นในอีก 1-2 เดือนนี้ หลังจากรัสเซียห้ามส่งออกปุ๋ย
“น้ำมันขึ้นทุก 1 ดอลลาร์สหรัฐ จะมีผลต่อราคาขายปลีกไทยขึ้น 25 สตางค์ต่อลิตร แต่ต้นทุนการผลิตยังมีอื่นๆ ทั้งวัตถุดิบ ชิ้นส่วนฯ ก่อนหน้านั้นทาง ส.อ.ท.ได้ขอให้สมาชิกช่วยตรึงราคาสินค้าแต่ยอมรับว่าสต๊อกเก่าที่มีอยู่เริ่มร่อยหรอลง ซึ่งแต่ละรายต้นทุนและสต๊อกก็ต่างกันไป ขณะที่ก่อนหน้านี้รัฐได้ลดภาษีสรรพสามิตดีเซลลงไป 3 บาทต่อลิตร ยังคงเหลือเก็บอยู่ประมาณ 2.99 บาทต่อลิตร จุดนี้อาจนำมาดูแลได้ แต่ก็เข้าใจว่า ถ้าน้ำมันดิบตลาดโลกที่เริ่มมีการพูดกันไปถึงระดับ 300 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเกิดขึ้นจริง การตรึงไว้ระดับเดิมก็คงจะไม่ไหวเช่นกัน”
ทั้งนี้ผลสำรวจเอกชนได้เสนอให้รัฐออกมาตรการดูแลราคาพลังงาน ซึ่งเห็นว่ารัฐควรจะยังคงตรึงราคาน้ำมันดีเซลไว้ไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร เพราะเป็นหัวใจหลักของระบบเศรษฐกิจ ส่วนมาตรการประหยัดก็ต้องทำควบคู่กันไป เช่นเดียวกับราคาก๊าซหุงต้มหากดูแลไม่ให้ขึ้นได้ ก็จะส่งผลดีต่อประชาชน รวมถึงการคงค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ