วัดเชตุพน ตำบลวัดเกต อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
เป็นวัดเก่าอีกวัดหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ที่หลวงโยนะการพิจิตร
ได้ร่วมโดยเสด็จพระราชกุศลพระราชชายาเจ้าดารารัศมีในสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการบูรณะครั้งสำคัญ
...ตามประวัติวัด เชื่อกันว่าเป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างมาหลายร้อยปีแล้ว
และได้กลายเป็นวัดร้างอยู่เป็นเวลานาน ปรากฏซากที่เหลืออยู่เช่นฐานพระเจดีย์ ฐานพระอุโบสถ ฐานวิหาร แนวกำแพง
พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าหลวงเชียงใหม่ จึงได้โปรดให้มีการฟื้นฟูขึ้นเป็นครั้งแรก ปี พ.ศ.2428
พระภิกษุคันธา จากวัดฝายหินได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดเชตุพน
เจ้านายฝ่ายเหนือรวมทั้งศรัทธาประชาชน ได้ร่วมกันสร้างและบูรณะถาวรวัตถุให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ขึ้น
อันมีกำแพงวัดยาวด้านละ 45 วา และกุฏิหลังใหญ่ เป็นต้น
...ในปี พ.ศ.2439 พระเจ้าอินทวิชยานนท์ได้ถวายสมณศักดิ์ท่านเป็นสังฆราชที่ 5 แห่งนครเชียงใหม่
และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ สัญญาบัตรพัดยศจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ.2457
และเป็นพระราชาคณะในปี พ.ศ.2461 คนทั่วไปเรียกขานท่านว่า "เจ้าคุณโพธิรังสี"
...พระเจ้าอินทวิชยานนท์คงจะมีพระดำริให้รื้อหอคำของเจ้าหลวงองค์ก่อนมาสร้างเป็นวิหารวัดพระเชตุพนและวัดสวนดอก
แต่พระองค์ถึงแก่พิราลัยเสียก่อนในปี พ.ศ.2440 ต่อมามีการรื้อหอคำใหญ่ไปสร้างวิหารวัดสวนดอก ในปี พ.ศ.2443
...คุณสมหวัง ฤทธิเดช ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการพิพิธภัณฑ์วัดเกตุการาม เชียงใหม่
ให้ข้อมูลว่าท่านได้รับคำบอกเล่าจากคุณอนันต์ พัฒนัคอัมพร ซึ่งเคยบวชเรียนที่วัดเชตุพน ว่าเจ้าคุณโพธิรังสี (คันธา)
ได้รับการบอกเล่าต่อกันมาว่าครั้งที่เจ้าแก้วนวรัฐและพระราชชายาเจ้าดารารัศมี
ทรงรื้อหอคำหลังเล็กของพระเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์มาสร้างเป็นวิหารวัดเชตุพน
หลวงโยนะการพิจิตรได้โดยเสด็จพระราชกุศลโดยได้จัดการนำช่างฝีมือมาทำการก่อสร้าง
และเมื่อพบว่าไม้ที่นำมาก่อสร้างยังไม่พอ จึงถวายไม้ทำส่วนที่เป็นเพดานและเสาของพระวิหารหลวง
ซึ่งบนเพดานของวิหาร จะเห็นสัญลักษณ์ดอกไม้ประจำตัวของหลวงโยฯ ประดับอยู่โดยทั่วไป
นอกจากนี้ภายในวิหาร ก็ยังมีงานจิตรกรรมฝาหนังเกี่ยวกับพุทธประวัติ
กุฏิเจ้าอาวาส คงความเป็นเอกลักษณ์เก่า ซึ่งแวดล้อมไปด้วยสิ่งก่อสร้างใหม่ๆ
มีศาลาพระเจ้าทันใจ
...พระวิหารหลวงได้รับการบูรณะอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ.2545 เนื่องจากทรุดโทรมลงมาก
วัดเชตุพนในปัจจุบันยังคงเป็นวัดที่สำคัญอยู่ในสังฆราชูปถัมภ์และเป็นที่ตั้งของโรงเรียนพระปริยัติธรรม
เปิดสอนทั้งแผนกสามัญและแผนกธรรม-บาลี
ในละแวกวัดเกตการามนี้ เป็นพื้นที่เก่าแก่ในการตั้งรกราก ดังนั้นชาวบ้าน วัด ฯลฯ มีการกระจุกตัวกันอยู่มากพอสมควร
และหลายๆ สถานที่ก็มีประวัติเก่าแก่มาเนิ่นนาน
แต่ที่ได้กล่าวถึงวัดเชตุพนนี้ ด้วยเพราะต้องการสานต่อในเรื่องของหลวงโยฯ เท่าที่พอจะหาข้อมูลประกอบได้
ด้วยเพราะหลวงโยฯ ท่านมีผลงานเกี่ยวกับวัดในภาคเหนือค่อนข้างมากมายและหลากหลาย
แต่ด้วยสาเหตุบางประการที่มิอาจกล่าวถึงได้ จึงทำให้ชื่อเสียงของหลวงโยฯ ไม่เป็นที่เด่นชัดมากนัก
เชียงใหม่-นำชมวัดเชตุพน วิหารที่สร้างจากหอคำหลังเล็กของพระเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์
วัดเชตุพน ตำบลวัดเกต อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
เป็นวัดเก่าอีกวัดหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ที่หลวงโยนะการพิจิตร
ได้ร่วมโดยเสด็จพระราชกุศลพระราชชายาเจ้าดารารัศมีในสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการบูรณะครั้งสำคัญ
...ตามประวัติวัด เชื่อกันว่าเป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างมาหลายร้อยปีแล้ว
และได้กลายเป็นวัดร้างอยู่เป็นเวลานาน ปรากฏซากที่เหลืออยู่เช่นฐานพระเจดีย์ ฐานพระอุโบสถ ฐานวิหาร แนวกำแพง
พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าหลวงเชียงใหม่ จึงได้โปรดให้มีการฟื้นฟูขึ้นเป็นครั้งแรก ปี พ.ศ.2428
พระภิกษุคันธา จากวัดฝายหินได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดเชตุพน
เจ้านายฝ่ายเหนือรวมทั้งศรัทธาประชาชน ได้ร่วมกันสร้างและบูรณะถาวรวัตถุให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ขึ้น
อันมีกำแพงวัดยาวด้านละ 45 วา และกุฏิหลังใหญ่ เป็นต้น
...ในปี พ.ศ.2439 พระเจ้าอินทวิชยานนท์ได้ถวายสมณศักดิ์ท่านเป็นสังฆราชที่ 5 แห่งนครเชียงใหม่
และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ สัญญาบัตรพัดยศจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ.2457
และเป็นพระราชาคณะในปี พ.ศ.2461 คนทั่วไปเรียกขานท่านว่า "เจ้าคุณโพธิรังสี"
...พระเจ้าอินทวิชยานนท์คงจะมีพระดำริให้รื้อหอคำของเจ้าหลวงองค์ก่อนมาสร้างเป็นวิหารวัดพระเชตุพนและวัดสวนดอก
แต่พระองค์ถึงแก่พิราลัยเสียก่อนในปี พ.ศ.2440 ต่อมามีการรื้อหอคำใหญ่ไปสร้างวิหารวัดสวนดอก ในปี พ.ศ.2443
...คุณสมหวัง ฤทธิเดช ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการพิพิธภัณฑ์วัดเกตุการาม เชียงใหม่
ให้ข้อมูลว่าท่านได้รับคำบอกเล่าจากคุณอนันต์ พัฒนัคอัมพร ซึ่งเคยบวชเรียนที่วัดเชตุพน ว่าเจ้าคุณโพธิรังสี (คันธา)
ได้รับการบอกเล่าต่อกันมาว่าครั้งที่เจ้าแก้วนวรัฐและพระราชชายาเจ้าดารารัศมี
ทรงรื้อหอคำหลังเล็กของพระเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์มาสร้างเป็นวิหารวัดเชตุพน
หลวงโยนะการพิจิตรได้โดยเสด็จพระราชกุศลโดยได้จัดการนำช่างฝีมือมาทำการก่อสร้าง
และเมื่อพบว่าไม้ที่นำมาก่อสร้างยังไม่พอ จึงถวายไม้ทำส่วนที่เป็นเพดานและเสาของพระวิหารหลวง
ซึ่งบนเพดานของวิหาร จะเห็นสัญลักษณ์ดอกไม้ประจำตัวของหลวงโยฯ ประดับอยู่โดยทั่วไป
นอกจากนี้ภายในวิหาร ก็ยังมีงานจิตรกรรมฝาหนังเกี่ยวกับพุทธประวัติ
กุฏิเจ้าอาวาส คงความเป็นเอกลักษณ์เก่า ซึ่งแวดล้อมไปด้วยสิ่งก่อสร้างใหม่ๆ
มีศาลาพระเจ้าทันใจ
...พระวิหารหลวงได้รับการบูรณะอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ.2545 เนื่องจากทรุดโทรมลงมาก
วัดเชตุพนในปัจจุบันยังคงเป็นวัดที่สำคัญอยู่ในสังฆราชูปถัมภ์และเป็นที่ตั้งของโรงเรียนพระปริยัติธรรม
เปิดสอนทั้งแผนกสามัญและแผนกธรรม-บาลี
ในละแวกวัดเกตการามนี้ เป็นพื้นที่เก่าแก่ในการตั้งรกราก ดังนั้นชาวบ้าน วัด ฯลฯ มีการกระจุกตัวกันอยู่มากพอสมควร
และหลายๆ สถานที่ก็มีประวัติเก่าแก่มาเนิ่นนาน
แต่ที่ได้กล่าวถึงวัดเชตุพนนี้ ด้วยเพราะต้องการสานต่อในเรื่องของหลวงโยฯ เท่าที่พอจะหาข้อมูลประกอบได้
ด้วยเพราะหลวงโยฯ ท่านมีผลงานเกี่ยวกับวัดในภาคเหนือค่อนข้างมากมายและหลากหลาย
แต่ด้วยสาเหตุบางประการที่มิอาจกล่าวถึงได้ จึงทำให้ชื่อเสียงของหลวงโยฯ ไม่เป็นที่เด่นชัดมากนัก